เปิดแผนจัดการขยะ มูลฝอยฉบับใหม่ของมหาดไทย เปิดช่องให้ เอกชน เข้ามาเก็บ ขนขยะทั่วประเทศ โดยอยู่ในอำนาจการอนุมัติของ "มท.1"โดยอาจใช้วิธีประมูล หรือ "วิธีพิเศษ" ก็ได้ เผยค่าเก็บ ขนขยะไม่เกิน 120 ก.ก. เดือนละ 60-102 บาท ค่ากำจัดอีกเดือนละ 40-70 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้อง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ไปแล้ว
หลักการของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดเกี่ยวกับ การบริหารจัดเก็บ ขน กำจัด ขยะมูลฝอยแบบใหม่ทั่วประเทศ เพื่อบังคับและกำกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 2 พ.ย.60 เป็นต้นไป มีปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการ มีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหา โดยประกาศฉบับนี้ มีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
หมวด 1 ว่าด้วย อำนาจหน้าที่ ราชการส่วนท้องถิ่น สามารถจัดให้มีระบบจัดการ และกำจัดมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึก ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดปริมาณ และคัดแยกมูลฝอย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
หมวด 2 ว่าด้วย การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย มีหลักการ เริ่มตั้งแต่ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยไว้ในที่สาธารณะให้เพียงพอรวมทั้งกำหนดให้มี “สีเฉพาะ”เพื่อแยกประเภทขยะ โดย สีน้ำเงิน สำหรับมูลฝอยทั่วไป สีเขียว สำหรับมูลฝอยอินทรีย์ สีเหลือง สำหรับมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ และ สีส้ม สำหรับมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตราย
สำหรับ การกำจัดมูลฝอย ให้คัดแยกมูลฝอยที่จัดเก็บได้ออกเป็น มูลฝอยที่ย่อยสลายง่าย , มูลฝอยที่ย่อยสลายยาก และ มูลฝอยที่ไม่ย่อยสลาย ก่อนนำไปกำจัดตามความเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ และคุณสมบัติของมูลฝอยนั้น ทั้งนี้ ในการกำจัดมูลฝอย ให้ดำเนินการตามวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธี ดังนี้ 1. การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล 2. การหมักทำปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ 3. การกำจัดด้วยพลังงานความร้อน 4. การแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือพลังงาน 5. วิธีอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด หรือคณะกรรมการจังหวัดให้คำแนะนำ ตามที่เห็นสมควร
หมวด 3 ว่าด้วย การมอบหมายให้เก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย หมวดนี้ให้ความสำคัญกับ “ผู้เก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย”เช่น ราชการส่วนท้องถิ่น อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย หรือกรณีราชการส่วนท้องถิ่นมอบหมายหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นจะเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าการที่ราชการส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการเอง และอาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย “โดยอนุโลม”หรือจะให้คณะกรรมการจังหวัด หรือคณะกรรมการกลาง แนะนำและกำกับ ในการรวมกลุ่ม ก็ได้
ไฮไลต์ ของประกาศฉบับนี้ คือ สามารถมอบหมายให้ "ภาคเอกชน" เข้ามาดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการได้ โดยคณะกรรมการจังหวัด หรือ คณะกรรมการกลาง จะมีบทบาทอย่างมาก เช่น ให้คำแนะนำราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดทำข้อเสนอ เพื่อให้ รมว.มหาดไทย หรือ ผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายให้ความเห็นชอบ ในการกำหนดสเปกของภาคเอกชน เช่น ต้นทุนการดำเนินการในภาพรวม และมูลค่าของการดำเนินการ รวมทั้งสัดส่วนการลงทุน ของราชการส่วนท้องถิ่น และเอกชน ต่อมูลค่าของการดำเนินการ , รูปแบบและระยะเวลาการมอบหมายให้เอกชนดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการ , ประมาณการผลตอบแทนในด้านต่างๆ ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทน ทางการเงิน และทางเศรษฐศาสตร์ และลักษณะการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนของการดำเนินการ
ทั้งนี้ การให้ภาคเอกชน มาดำเนินการ หลังจาก มท.1 เห็นชอบแล้ว ต้องนำกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ใช้วิธีการประมูลก่อน หรืออาจจะไม่ใช้วิธีประมูลก็ได้ โดย มีช่องทางพิเศษ ให้ขอคำแนะนำจากคณะกรรมการจังหวัด หรือคณะกรรมการกลาง ก่อนเสนอ มท.1 เช่นกัน แต่จะมีหลักเกณฑ์ตามที่ มท.1 กำหนด เช่น ความจำเป็นเร่งด่วนจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ , หรือหากใช้วิธีการประมูล จะไม่คุ้มค่า เป็นต้น
เมื่อคัดเลือกได้แล้ว จะต้องมีการทำสัญญาที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อไม่ให้มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทในอนาคต หากมีการแก้ไขสัญญา
หมวด 4 ว่าด้วย การดำเนินการ ใช้ และหาประโยชน์ ของขยะมูลฝอย โดยให้ท้องถิ่นรับคำแนะนำจากกรรมการฯ สำหรับ“บทเฉพาะกาล”นั้น กล่าวถึง การจัดการมูลฝอย ที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังดำเนิน กระบวนการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ฯลฯ จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อสุดท้าย ให้ราชการส่วนท้องถิ่น จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอย คือ ภายใน 3 ปี ถังขยะทั้ง 4 แบบ 4 สี จะต้องนำมาบังคับใช้ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าเร็วๆ นี้ กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ... (ที่อยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกา) ซึ่งมีหลักการ “อัตราค่าธรรมเนียม”ให้คิดตามต้นทุนที่แท้จริงในการบริหารจัดการขยะ , ค่าขยะรายเดือน ปรับปรุงให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดการในทุก 6 ปี , ขยะไม่เกิน 120 ก.ก. ค่าเก็บขน เดือนละ 60-102 บาท ค่ากำจัดเดือนละ 40-70 บาท จะได้ประกาศใช้ควบคู่ไปกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย ได้ลงนามในประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560 เพื่อให้สอดคล้อง พ.ร.บ.รักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 ไปแล้ว
หลักการของประกาศฉบับนี้ ได้กำหนดเกี่ยวกับ การบริหารจัดเก็บ ขน กำจัด ขยะมูลฝอยแบบใหม่ทั่วประเทศ เพื่อบังคับและกำกับองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ใช้บังคับ ตั้งแต่ วันที่ 2 พ.ย.60 เป็นต้นไป มีปลัดกระทรวงมหาดไทย รักษาการ มีอำนาจตีความ วินิจฉัยปัญหา โดยประกาศฉบับนี้ มีเนื้อหาสำคัญ ดังนี้
หมวด 1 ว่าด้วย อำนาจหน้าที่ ราชการส่วนท้องถิ่น สามารถจัดให้มีระบบจัดการ และกำจัดมูลฝอยที่มีประสิทธิภาพ เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีหน้าที่รณรงค์สร้างความรับรู้ ความเข้าใจ และจิตสำนึก ให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมในการลดปริมาณ และคัดแยกมูลฝอย เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
หมวด 2 ว่าด้วย การเก็บ ขน และกำจัดมูลฝอย มีหลักการ เริ่มตั้งแต่ ให้ราชการส่วนท้องถิ่น จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอยไว้ในที่สาธารณะให้เพียงพอรวมทั้งกำหนดให้มี “สีเฉพาะ”เพื่อแยกประเภทขยะ โดย สีน้ำเงิน สำหรับมูลฝอยทั่วไป สีเขียว สำหรับมูลฝอยอินทรีย์ สีเหลือง สำหรับมูลฝอยนำกลับมาใช้ใหม่ และ สีส้ม สำหรับมูลฝอยที่เป็นพิษ หรืออันตราย
สำหรับ การกำจัดมูลฝอย ให้คัดแยกมูลฝอยที่จัดเก็บได้ออกเป็น มูลฝอยที่ย่อยสลายง่าย , มูลฝอยที่ย่อยสลายยาก และ มูลฝอยที่ไม่ย่อยสลาย ก่อนนำไปกำจัดตามความเหมาะสมกับลักษณะทางกายภาพ และคุณสมบัติของมูลฝอยนั้น ทั้งนี้ ในการกำจัดมูลฝอย ให้ดำเนินการตามวิธีการหนึ่ง หรือหลายวิธี ดังนี้ 1. การฝังกลบอย่างถูกหลักสุขาภิบาล 2. การหมักทำปุ๋ยหรือก๊าซชีวภาพ 3. การกำจัดด้วยพลังงานความร้อน 4. การแปรสภาพเป็นเชื้อเพลิงหรือพลังงาน 5. วิธีอื่นตามที่กระทรวงมหาดไทยกำหนด หรือคณะกรรมการจังหวัดให้คำแนะนำ ตามที่เห็นสมควร
หมวด 3 ว่าด้วย การมอบหมายให้เก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย หมวดนี้ให้ความสำคัญกับ “ผู้เก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย”เช่น ราชการส่วนท้องถิ่น อาจร่วมกับหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย หรือกรณีราชการส่วนท้องถิ่นมอบหมายหน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่นจะเป็นประโยชน์ แก่ประชาชนในท้องถิ่นมากกว่าการที่ราชการส่วนท้องถิ่นจะดำเนินการเอง และอาจมอบหมายให้หน่วยงานของรัฐ หรือราชการส่วนท้องถิ่นอื่น ในการดำเนินการเก็บ ขน หรือกำจัดมูลฝอย “โดยอนุโลม”หรือจะให้คณะกรรมการจังหวัด หรือคณะกรรมการกลาง แนะนำและกำกับ ในการรวมกลุ่ม ก็ได้
ไฮไลต์ ของประกาศฉบับนี้ คือ สามารถมอบหมายให้ "ภาคเอกชน" เข้ามาดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการได้ โดยคณะกรรมการจังหวัด หรือ คณะกรรมการกลาง จะมีบทบาทอย่างมาก เช่น ให้คำแนะนำราชการส่วนท้องถิ่นในการจัดทำข้อเสนอ เพื่อให้ รมว.มหาดไทย หรือ ผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายให้ความเห็นชอบ ในการกำหนดสเปกของภาคเอกชน เช่น ต้นทุนการดำเนินการในภาพรวม และมูลค่าของการดำเนินการ รวมทั้งสัดส่วนการลงทุน ของราชการส่วนท้องถิ่น และเอกชน ต่อมูลค่าของการดำเนินการ , รูปแบบและระยะเวลาการมอบหมายให้เอกชนดำเนินการ หรือร่วมดำเนินการ , ประมาณการผลตอบแทนในด้านต่างๆ ซึ่งอย่างน้อยต้องแสดงให้เห็นอัตราผลตอบแทน ทางการเงิน และทางเศรษฐศาสตร์ และลักษณะการจัดสรรผลประโยชน์ตอบแทนของการดำเนินการ
ทั้งนี้ การให้ภาคเอกชน มาดำเนินการ หลังจาก มท.1 เห็นชอบแล้ว ต้องนำกฎหมายว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารพัสดุภาครัฐมาใช้บังคับโดยอนุโลม และให้ใช้วิธีการประมูลก่อน หรืออาจจะไม่ใช้วิธีประมูลก็ได้ โดย มีช่องทางพิเศษ ให้ขอคำแนะนำจากคณะกรรมการจังหวัด หรือคณะกรรมการกลาง ก่อนเสนอ มท.1 เช่นกัน แต่จะมีหลักเกณฑ์ตามที่ มท.1 กำหนด เช่น ความจำเป็นเร่งด่วนจากเหตุการณ์ที่ไม่อาจคาดหมายได้ , หรือหากใช้วิธีการประมูล จะไม่คุ้มค่า เป็นต้น
เมื่อคัดเลือกได้แล้ว จะต้องมีการทำสัญญาที่ผ่านการตรวจพิจารณาของสำนักงานอัยการสูงสุด เพื่อไม่ให้มีปัญหาในเรื่องข้อพิพาทในอนาคต หากมีการแก้ไขสัญญา
หมวด 4 ว่าด้วย การดำเนินการ ใช้ และหาประโยชน์ ของขยะมูลฝอย โดยให้ท้องถิ่นรับคำแนะนำจากกรรมการฯ สำหรับ“บทเฉพาะกาล”นั้น กล่าวถึง การจัดการมูลฝอย ที่ได้ดำเนินการก่อนวันที่ประกาศนี้ใช้บังคับ และยังดำเนิน กระบวนการไม่แล้วเสร็จ ให้ดำเนินการต่อไปตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ฯลฯ จนกว่าจะแล้วเสร็จ
ข้อสุดท้าย ให้ราชการส่วนท้องถิ่น จัดให้มีภาชนะรองรับมูลฝอย คือ ภายใน 3 ปี ถังขยะทั้ง 4 แบบ 4 สี จะต้องนำมาบังคับใช้ประเทศ ซึ่งเชื่อว่าเร็วๆ นี้ กฎกระทรวงกำหนดอัตราค่าธรรมเนียม เกี่ยวกับการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย พ.ศ. ... (ที่อยู่ในขั้นตอนกฤษฎีกา) ซึ่งมีหลักการ “อัตราค่าธรรมเนียม”ให้คิดตามต้นทุนที่แท้จริงในการบริหารจัดการขยะ , ค่าขยะรายเดือน ปรับปรุงให้สอดคล้องกับต้นทุนการจัดการในทุก 6 ปี , ขยะไม่เกิน 120 ก.ก. ค่าเก็บขน เดือนละ 60-102 บาท ค่ากำจัดเดือนละ 40-70 บาท จะได้ประกาศใช้ควบคู่ไปกับประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดการมูลฝอย พ.ศ. 2560