ผู้จัดการรายวัน360- “หนุ่มไทย”ตอกกลับ"สาวฝรั่ง" วิจารณ์งบฯ จัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ ควรเอาไปช่วยคนจน ชี้สิ่งที่พระองค์ทำให้ประเทศยิ่งใหญ่กว่าเงินที่ใช้จัดงานมากมาย พร้อมเหน็บเจ็บๆ เทียบไม่ได้เลยกับเงินที่อเมริกาใช้ก่อสงครามทำลายประเทศอื่น แฉรัฐบาลสหรัฐฯเคยใช้งบฯกว่า 400 ล้านเหรียญ หรือกว่า 13,000 ล้านบาท จัดพิธีศพให้ "โรนัลด์ เรแกน" อดีตประธานาธิบดี เมื่อปี 47 ขณะที่ทูตต่างชาติ ยก"งานพระราชพิธีฯ" ยิ่งใหญ่-สมพระเกียรติที่สุด ส่งผลดีหลายด้าน ทั้งเชิงวัฒนธรรม-ประวัติศาสตร์-การท่องเที่ยว
จากกรณีมีสื่อและชาวต่างชาติ อย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ของสหรัฐฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยอ้างว่า พระราชพิธีฯดังกล่าวใช้งบประมาณสูงราว 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้มีผู้เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์กันในหลายแง่มุม
ทั้งนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อว่า Tanases Samutpetch ได้โพสต์ภาพการคอมเมนต์ ตอบโต้ของหนุ่มไทย กับสาวชาวต่างชาติ ภายในเพจ ข่าว CNN Internationalโดยชาวต่างชาติดังกล่าว เข้ามาวิจารณ์งบประมาณที่ใช้ในการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หนุ่มไทยจึงตอบโต้กลับว่า "เพราะวัฒนธรรมนั้น ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์ คุณบอกว่าคุณเรียนที่มหาวิทยาลัยบอสตัน แต่นั่นไม่ทำให้คุณเก่งขึ้นเลยหรือ"
จากนั้น สาวฝรั่งคนดังกล่าว จึงเข้ามาบอกว่า "คุณไม่คิดว่ากษัตริย์ของคุณ อยากจะนำเงินจำนวนมากนี้ ที่ใช้ในงานพระราชพิธี ไปใช้ในการช่วยเหลือคนจนเลยหรือ"
โดยหนุ่มไทยรายนี้ ตอบว่า..มันต่างกัน เพราะเงิน 90 ล้าน จะใช้เลี้ยงได้สักกี่คนใน 1 ปี แล้วหลังจากนั้น ก็คงอดอยากกันอีก แต่โครงการงานของพระองค์ทรงเหนือกว่าการให้เงินนั้นเสียอีก คือการสอนให้ประชาชนรู้จักหาเงิน และช่วยเหลือตนเองได้
กว่า 4,000 โครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่าน ยังคงอยู่ และยังสืบเนื่องต่อไป โครงการเหล่านั้นช่วยให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น ช่วยให้เขายืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งตนเอง
ถ้าเป็นคุณ คุณจะจ่ายเงินเท่าไหร่เพื่อแสดงออกถึงความรัก ความเทิดทูนแด่พระองค์ ซึ่งเป็นที่รักเป็นครั้งสุดท้าย เงิน 90 ล้าน มันเทียบไม่ได้เลยกับเงินที่กองทัพอเมริกาใช้ทำลายเวียดนาม อิรัก ซีเรีย และอีกหลายประเทศ ผมเข้าใจนะว่า อเมริกาคงไม่แคร์ พ่อแม่คุณ
แต่ที่นี่ประเทศไทย พวกเรารักพ่อแม่ของเรา และยินดีจะทำสิ่งนี้เพื่อท่าน ขนบธรรมเนียมประเพณีมันสืบทอดกันมาตามกาลเวลา พวกเราคือประเทศที่มีวัฒนธรรมกว่า 800 ปี และนี่คือสิ่งที่พวกเราภูมิใจ ซึ่งคุณคงไม่เข้าใจ
นอกจากนี้ ยังมีหนุ่มไทยคนหนึ่งเข้าไปเสริมว่า "อย่าลืมว่าคนอเมริกาเองก็ใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการทำสงครามในต่างหลายๆ ประเทศ ทำไมไม่ใช้เงินจำนวนนั้น ในการช่วยเหลือคนจนในประเทศของคุณล่ะ? "
ด้านน.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องนี้ว่า สำนักข่าวในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวแสดงความเห็นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของสื่ออเมริกัน ที่ว่างานพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ด้วยข้อความว่า
"นั่นเป็นประเทศของเขา และพระองค์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ของเขา เป็นประเพณีของเขา ปล่อยให้เขาแสดงความเคารพและความรัก ตามวิถีทางที่เขาเลือกเถิด มันไม่ใช่กงการอะไรของเรา ที่จะไปตัดสินเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ชาวอเมริกันอย่างเรา ก็เลือกตั้งเอาตัวตลกขึ้นมา"
**แฉมะกันใช้งบ400ล้านเหรียญจัดงานศพ "โรนัลด์ เรแกน"
ทีมข่าว MGR Online ได้ไปสืบค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เคยใช้งบประมาณในการจัดงานศพของ นายโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2547 อย่างน้อย 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 13,300 ล้านบาท) เช่นกัน
ข้อมูลจากสำนักข่าวยูพีไอ (UPI)โดย ชิโฮโกะ โกโต ซึ่งเคยเขียนถึงงบฯ ที่ใช้ในการจัดงานศพของนายเรแกน เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2547 ระบุว่า เงิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯนั้นเป็นขั้นต่ำ แต่หากพิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมไปถึงการประกาศวันหยุดอันยาวนาน ค่าใช้จ่าย ค่าเสียโอกาส ที่คนสหรัฐฯต้องสูญไปกับงานศพครั้งนั้น อาจสูงถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราว 33,000 ล้านบาท
"นับตั้งแต่นายเรแกนเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ร่างของชายวัย 93 ปี ได้ถูกขนถ่ายเป็นครั้งแรกจากห้องสมุดประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในซิมิ วัลเลย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อให้ผู้ไว้อาลัยได้เข้าคารวะศพเป็นเวลาหนึ่งวัน ไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อไว้ศพที่ แคปิตอล ฮิลล์ เป็นเวลาสองวัน ก่อนที่ขบวนรถจะย้ายศพไปที่มหาวิหารแห่งชาติวอชิงตัน เพื่อทำพิธีอย่างเป็นทางการ
"นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่เห็นกันชัดๆ ในการจัดงานศพอย่างเช่น โลงศพไม้มะฮอกกานี หนัก 700 ปอนด์ ที่ประเมินราคาได้ราว 14,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 465,000 บาท) แล้ว เพื่อจัดงานศพนายเรแกน เมืองหลวงของสหรัฐฯ ยังต้องปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งวัน ขณะที่ตลาดเงินก็ต้องปิดทำการ เพื่อไว้อาลัยให้กับอดีตผู้นำ การปิดทำการดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จ่ายภาษี และธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ ต้องจ่ายด้วย"
"บางทีอาจเป็นเรื่องผิดปกติของความพยายามในการตีมูลค่าของงานศพระดับรัฐพิธี ทำให้ทั้งสำนักงานบริหารบุคคลของสหรัฐฯ และ สำนักงบประมาณต่างปฏิเสธที่จะประเมินงบประมาณของการจัดพิธีดังกล่าว โดยสำนักงานบริหารบุคคลของสหรัฐฯ ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 1.8 ล้านคน ที่รัฐบาลสหรัฐฯว่าจ้างอยู่ โดยหากคิดเป็นงบประมาณค่าจ้างรายวัน ก็อยู่ที่ราว 423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 14,000 ล้านบาท) โดยเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ถูกสั่งให้หยุดงานในวันพิธี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรที่แออัด นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่อีกบางส่วนที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในวันพิธี ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง ทำให้ค่าใช้จ่ายในวันจัดงานน่าจะสูงขึ้นกว่าวันทำงานปกติ
"นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายศพของนายเรแกนไปมาระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยประธานาธิบดีบุช ส่งเครื่องบินแอร์ฟอร์ซ วัน หนึ่งลำ ไปยังฝั่งตะวันตกเพื่อย้ายศพของนายเรแกน โดยเครื่องบินโบอิง 747s นั้นถูกสั่งทำตอนนายเรแกน เป็นประธานาธิบดี แต่เครื่องบินกว่าจะได้ใช้งานก็สมัยประธานาธิบดีบุช ผู้พ่อ โดยค่าใช้จ่ายสำหรับเชื้อเพลิง ในการนำเครื่องแอร์ฟอร์ซวัน บินไปกลับวอชิงตัน ดี.ซี. และแคลิฟอร์เนีย สองรอบนั้นก็ไม่ถูก เพราะเรื่องโบอิง 747 บรรทุกน้ำมันได้เต็มถังที่ 47,000 แกลลอน ขณะที่การบินระยะทาง 6 ชั่วโมงนั้น ใช้น้ำมันราวครึ่งถัง เมื่อคูณเข้ากับราคาน้ำมันแกลลอนละ 1.98 เหรียญสหรัฐฯ นั่นคิดเป็นเงินภาษีจำนวนไม่น้อยเลยที่ต้องใช้จ่ายไป
"ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก รวมไปถึงตลาดเงินใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ยังต้องปิดทำการในวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับผู้ลงทุนนับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ก็ปฏิเสธที่จะประเมินว่ามีเงินจำนวนมากเท่าไหร่ที่ต้องสูญเสียไปจากการปิดทำการในวันศุกร์ แต่จากการประเมินการซื้อขายต่อวันที่ 1,540 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 47,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้หากคำนวณว่าการซื้อขายในช่วงฤดูร้อน และธุรกรรมที่ทำกันในวันศุกร์นั้นมีน้อยอยู่แล้ว แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่าการปิดตลาดถือเป็นการสูญเสียโอกาสของนักลงทุนจำนวนมาก
"ในส่วนของธุรกิจร้านค้าที่อยู่ในย่านใจกลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก็เสียโอกาสเช่นกัน เมื่อร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาบรรดาลูกค้าที่เป็นพนักงานบริษัท ทำให้มีเพียงร้านอาหารกลางวันไม่กี่แห่งที่เปิดทำการ เพราะต่างเห็นว่าวันดังกลาวจะไม่มีลูกค้า" นักเขียนอาวุโสของยูพีไอระบุ
อย่างไรก็ตาม ในตอนท้าย ยูพีไอ ให้ความเห็นว่าค่าใช้จ่ายและการสูญเสียโอกาสดังกล่าว อาจมองได้ว่าคุ้มค่าเมื่อย้อนกลับไปมองในช่วง ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งประธานาธิบดีเรแกน ดำรงตำแหน่ง และสหรัฐฯ ยังตกอยู่ในยุคท้ายของสงครามเย็น นอกจากนี้ที่ผ่านมายังไม่มีเคยมีประธานาธิบดีคนใดที่เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ทางการสหรัฐฯ ไม่จัดรัฐพิธีให้ และหากมองอีกมุมหนึ่ง การจัดพิธีศพของเรแกน ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ในการสร้างความสามัคคีให้กับชาวสหรัฐฯ
สำหรับ นายโรนัลด์ วิลสัน เรแกน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2524-2532 เคยมีอาชีพเป็นนักแสดงหนังแอคชันคาวบอย ก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 33 และประธานาธิบดี คนที่ 40 ของสหรัฐฯ โดยระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสหรัฐฯ ถือว่ามีบทบาททางการเมืองโลกอย่างยิ่ง โดยเป็นยุคสิ้นสุดของสงครามเย็น และสหภาพโซเวียต พี่ใหญ่ของโลกคอมมิวนิสต์ ถึงวาระล่มสลาย นายเรแกน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2547 ที่นครลอสแองเจลิส ด้วยวัย 93 ปี
**ทูตต่างชาติยก"พระราชพิธีฯ" ยิ่งใหญ่-สมพระเกียรติที่สุด
เฟซบุ๊ก Nick de Marzo ซึ่งจากข้อมูลระบุว่า ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยกล่าวถึงความเห็นของเพื่อนทูตจากชาติต่างๆ รวม 9 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น แคนาดา เดนมาร์ก นิการากัว ออสเตรเลีย) ซึ่งได้รับชมพระราชพิธีฯ ผ่านสื่อต่างๆโดยต่างยกย่องว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ และสมพระเกียรติที่สุดแห่งปี เท่าที่เคยเห็นมา
นอกจากนี้ เหล่าทูตประเทศต่างๆ ยังให้ความเห็นถึงข้อมูลจากสื่อต่างชาติที่อ้างว่า พระราชพิธีฯ ดังกล่าวใช้งบประมาณสูงราว 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่า หากพิจารณาจากปัจจัยต่างๆแล้ว ถือว่าคุ้มค่า นอกจากนี้หากมองในเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวแล้ว ถือว่าพระราชพิธีฯ ส่งผลเชิงบวกอย่างยิ่ง ให้กับประเทศไทยในสายตาต่างชาติ
"มีคนถามเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ตามที่สำนักข่าวบางแห่งนำเสนอว่าเป็นเงิน 90 ล้าน US$ แต่โดยที่ผมแทบไม่ต้องอธิบายอะไรเลยว่า คุ้มหรือไม่คุ้ม เพื่อนๆต่างชาติของผมต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม พวกเขาให้เหตุผลว่า แค่สำนักข่าวต่างประเทศออกข่าวงานพระราชพิธีฯไปทั่วโลก แค่นี้ก็คุ้มแล้ว ยังไม่นับว่าหลังจากนี้จะมีคนมาเที่ยว เพราะได้แรงบันดาลใจจากที่เห็นข่าวงานพระราชพิธีฯ อีกมหาศาล รายได้จะเข้าประเทศไทยอีกมาก" เฟซบุ๊ก Nick de Marzo ระบุ
จากกรณีมีสื่อและชาวต่างชาติ อย่างเช่น สถานีโทรทัศน์ซีเอ็นเอ็น ของสหรัฐฯ ให้ข้อมูลเกี่ยวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยอ้างว่า พระราชพิธีฯดังกล่าวใช้งบประมาณสูงราว 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 3,000 ล้านบาท) นั้น ทำให้มีผู้เข้ามาวิพากษ์วิจารณ์กันในหลายแง่มุม
ทั้งนี้ มีผู้ใช้เฟซบุ๊ก ชื่อว่า Tanases Samutpetch ได้โพสต์ภาพการคอมเมนต์ ตอบโต้ของหนุ่มไทย กับสาวชาวต่างชาติ ภายในเพจ ข่าว CNN Internationalโดยชาวต่างชาติดังกล่าว เข้ามาวิจารณ์งบประมาณที่ใช้ในการจัดงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ หนุ่มไทยจึงตอบโต้กลับว่า "เพราะวัฒนธรรมนั้น ทำให้เราแตกต่างจากสัตว์ คุณบอกว่าคุณเรียนที่มหาวิทยาลัยบอสตัน แต่นั่นไม่ทำให้คุณเก่งขึ้นเลยหรือ"
จากนั้น สาวฝรั่งคนดังกล่าว จึงเข้ามาบอกว่า "คุณไม่คิดว่ากษัตริย์ของคุณ อยากจะนำเงินจำนวนมากนี้ ที่ใช้ในงานพระราชพิธี ไปใช้ในการช่วยเหลือคนจนเลยหรือ"
โดยหนุ่มไทยรายนี้ ตอบว่า..มันต่างกัน เพราะเงิน 90 ล้าน จะใช้เลี้ยงได้สักกี่คนใน 1 ปี แล้วหลังจากนั้น ก็คงอดอยากกันอีก แต่โครงการงานของพระองค์ทรงเหนือกว่าการให้เงินนั้นเสียอีก คือการสอนให้ประชาชนรู้จักหาเงิน และช่วยเหลือตนเองได้
กว่า 4,000 โครงการในพระราชดำริของพระองค์ท่าน ยังคงอยู่ และยังสืบเนื่องต่อไป โครงการเหล่านั้นช่วยให้ชีวิตคนไทยดีขึ้น ช่วยให้เขายืนอยู่ได้ด้วยลำแข้งตนเอง
ถ้าเป็นคุณ คุณจะจ่ายเงินเท่าไหร่เพื่อแสดงออกถึงความรัก ความเทิดทูนแด่พระองค์ ซึ่งเป็นที่รักเป็นครั้งสุดท้าย เงิน 90 ล้าน มันเทียบไม่ได้เลยกับเงินที่กองทัพอเมริกาใช้ทำลายเวียดนาม อิรัก ซีเรีย และอีกหลายประเทศ ผมเข้าใจนะว่า อเมริกาคงไม่แคร์ พ่อแม่คุณ
แต่ที่นี่ประเทศไทย พวกเรารักพ่อแม่ของเรา และยินดีจะทำสิ่งนี้เพื่อท่าน ขนบธรรมเนียมประเพณีมันสืบทอดกันมาตามกาลเวลา พวกเราคือประเทศที่มีวัฒนธรรมกว่า 800 ปี และนี่คือสิ่งที่พวกเราภูมิใจ ซึ่งคุณคงไม่เข้าใจ
นอกจากนี้ ยังมีหนุ่มไทยคนหนึ่งเข้าไปเสริมว่า "อย่าลืมว่าคนอเมริกาเองก็ใช้จ่ายเงินจำนวนมากในการทำสงครามในต่างหลายๆ ประเทศ ทำไมไม่ใช้เงินจำนวนนั้น ในการช่วยเหลือคนจนในประเทศของคุณล่ะ? "
ด้านน.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพฯ ก็ได้โพสต์เฟซบุ๊กถึงเรื่องนี้ว่า สำนักข่าวในสหรัฐอเมริกา ได้กล่าวแสดงความเห็นต่อคำวิพากษ์วิจารณ์ของสื่ออเมริกัน ที่ว่างานพิธีพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ใช้งบประมาณจำนวนมาก ด้วยข้อความว่า
"นั่นเป็นประเทศของเขา และพระองค์ก็เป็นพระมหากษัตริย์ของเขา เป็นประเพณีของเขา ปล่อยให้เขาแสดงความเคารพและความรัก ตามวิถีทางที่เขาเลือกเถิด มันไม่ใช่กงการอะไรของเรา ที่จะไปตัดสินเขา โดยเฉพาะอย่างยิ่งนับตั้งแต่ชาวอเมริกันอย่างเรา ก็เลือกตั้งเอาตัวตลกขึ้นมา"
**แฉมะกันใช้งบ400ล้านเหรียญจัดงานศพ "โรนัลด์ เรแกน"
ทีมข่าว MGR Online ได้ไปสืบค้นข้อมูลย้อนหลังพบว่า รัฐบาลสหรัฐฯ ก็เคยใช้งบประมาณในการจัดงานศพของ นายโรนัลด์ เรแกน อดีตประธานาธิบดีคนที่ 40 ของสหรัฐฯ เมื่อปี 2547 อย่างน้อย 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 13,300 ล้านบาท) เช่นกัน
ข้อมูลจากสำนักข่าวยูพีไอ (UPI)โดย ชิโฮโกะ โกโต ซึ่งเคยเขียนถึงงบฯ ที่ใช้ในการจัดงานศพของนายเรแกน เมื่อวันที่ 16 มิ.ย. 2547 ระบุว่า เงิน 400 ล้านเหรียญสหรัฐฯนั้นเป็นขั้นต่ำ แต่หากพิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นๆ รวมไปถึงการประกาศวันหยุดอันยาวนาน ค่าใช้จ่าย ค่าเสียโอกาส ที่คนสหรัฐฯต้องสูญไปกับงานศพครั้งนั้น อาจสูงถึง 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ ราว 33,000 ล้านบาท
"นับตั้งแต่นายเรแกนเสียชีวิตลง เมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ร่างของชายวัย 93 ปี ได้ถูกขนถ่ายเป็นครั้งแรกจากห้องสมุดประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ในซิมิ วัลเลย์ มลรัฐแคลิฟอร์เนีย เพื่อให้ผู้ไว้อาลัยได้เข้าคารวะศพเป็นเวลาหนึ่งวัน ไปยังกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เพื่อไว้ศพที่ แคปิตอล ฮิลล์ เป็นเวลาสองวัน ก่อนที่ขบวนรถจะย้ายศพไปที่มหาวิหารแห่งชาติวอชิงตัน เพื่อทำพิธีอย่างเป็นทางการ
"นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายที่เห็นกันชัดๆ ในการจัดงานศพอย่างเช่น โลงศพไม้มะฮอกกานี หนัก 700 ปอนด์ ที่ประเมินราคาได้ราว 14,000 เหรียญสหรัฐฯ (ราว 465,000 บาท) แล้ว เพื่อจัดงานศพนายเรแกน เมืองหลวงของสหรัฐฯ ยังต้องปิดทำการเป็นเวลาหนึ่งวัน ขณะที่ตลาดเงินก็ต้องปิดทำการ เพื่อไว้อาลัยให้กับอดีตผู้นำ การปิดทำการดังกล่าวเป็นราคาที่ผู้จ่ายภาษี และธุรกิจขนาดเล็กต่างๆ ต้องจ่ายด้วย"
"บางทีอาจเป็นเรื่องผิดปกติของความพยายามในการตีมูลค่าของงานศพระดับรัฐพิธี ทำให้ทั้งสำนักงานบริหารบุคคลของสหรัฐฯ และ สำนักงบประมาณต่างปฏิเสธที่จะประเมินงบประมาณของการจัดพิธีดังกล่าว โดยสำนักงานบริหารบุคคลของสหรัฐฯ ระบุว่า มีเจ้าหน้าที่รัฐจำนวน 1.8 ล้านคน ที่รัฐบาลสหรัฐฯว่าจ้างอยู่ โดยหากคิดเป็นงบประมาณค่าจ้างรายวัน ก็อยู่ที่ราว 423 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (ราว 14,000 ล้านบาท) โดยเจ้าหน้าที่รัฐทุกคน ถูกสั่งให้หยุดงานในวันพิธี เพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรที่แออัด นอกจากนี้ ยังมีเจ้าหน้าที่อีกบางส่วนที่ต้องปฏิบัติหน้าที่ในวันพิธี ทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง ทำให้ค่าใช้จ่ายในวันจัดงานน่าจะสูงขึ้นกว่าวันทำงานปกติ
"นอกจากนี้ยังมีค่าใช้จ่ายในการขนย้ายศพของนายเรแกนไปมาระหว่างรัฐแคลิฟอร์เนีย กับกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. โดยประธานาธิบดีบุช ส่งเครื่องบินแอร์ฟอร์ซ วัน หนึ่งลำ ไปยังฝั่งตะวันตกเพื่อย้ายศพของนายเรแกน โดยเครื่องบินโบอิง 747s นั้นถูกสั่งทำตอนนายเรแกน เป็นประธานาธิบดี แต่เครื่องบินกว่าจะได้ใช้งานก็สมัยประธานาธิบดีบุช ผู้พ่อ โดยค่าใช้จ่ายสำหรับเชื้อเพลิง ในการนำเครื่องแอร์ฟอร์ซวัน บินไปกลับวอชิงตัน ดี.ซี. และแคลิฟอร์เนีย สองรอบนั้นก็ไม่ถูก เพราะเรื่องโบอิง 747 บรรทุกน้ำมันได้เต็มถังที่ 47,000 แกลลอน ขณะที่การบินระยะทาง 6 ชั่วโมงนั้น ใช้น้ำมันราวครึ่งถัง เมื่อคูณเข้ากับราคาน้ำมันแกลลอนละ 1.98 เหรียญสหรัฐฯ นั่นคิดเป็นเงินภาษีจำนวนไม่น้อยเลยที่ต้องใช้จ่ายไป
"ขณะเดียวกัน ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก รวมไปถึงตลาดเงินใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ ยังต้องปิดทำการในวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบกับผู้ลงทุนนับพันล้านเหรียญสหรัฐฯ แต่ตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ก็ปฏิเสธที่จะประเมินว่ามีเงินจำนวนมากเท่าไหร่ที่ต้องสูญเสียไปจากการปิดทำการในวันศุกร์ แต่จากการประเมินการซื้อขายต่อวันที่ 1,540 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 47,900 ล้านเหรียญสหรัฐฯ แม้หากคำนวณว่าการซื้อขายในช่วงฤดูร้อน และธุรกรรมที่ทำกันในวันศุกร์นั้นมีน้อยอยู่แล้ว แต่ก็ยังเห็นได้ชัดว่าการปิดตลาดถือเป็นการสูญเสียโอกาสของนักลงทุนจำนวนมาก
"ในส่วนของธุรกิจร้านค้าที่อยู่ในย่านใจกลางกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ก็เสียโอกาสเช่นกัน เมื่อร้านค้าและร้านอาหารต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาบรรดาลูกค้าที่เป็นพนักงานบริษัท ทำให้มีเพียงร้านอาหารกลางวันไม่กี่แห่งที่เปิดทำการ เพราะต่างเห็นว่าวันดังกลาวจะไม่มีลูกค้า" นักเขียนอาวุโสของยูพีไอระบุ
อย่างไรก็ตาม ในตอนท้าย ยูพีไอ ให้ความเห็นว่าค่าใช้จ่ายและการสูญเสียโอกาสดังกล่าว อาจมองได้ว่าคุ้มค่าเมื่อย้อนกลับไปมองในช่วง ทศวรรษที่ 1980 ซึ่งประธานาธิบดีเรแกน ดำรงตำแหน่ง และสหรัฐฯ ยังตกอยู่ในยุคท้ายของสงครามเย็น นอกจากนี้ที่ผ่านมายังไม่มีเคยมีประธานาธิบดีคนใดที่เมื่อเสียชีวิตไปแล้ว ทางการสหรัฐฯ ไม่จัดรัฐพิธีให้ และหากมองอีกมุมหนึ่ง การจัดพิธีศพของเรแกน ก็อาจเป็นค่าใช้จ่ายเพียงเล็กน้อย ในการสร้างความสามัคคีให้กับชาวสหรัฐฯ
สำหรับ นายโรนัลด์ วิลสัน เรแกน ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2524-2532 เคยมีอาชีพเป็นนักแสดงหนังแอคชันคาวบอย ก่อนที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ว่าการรัฐแคลิฟอร์เนีย คนที่ 33 และประธานาธิบดี คนที่ 40 ของสหรัฐฯ โดยระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งผู้นำสูงสุดของสหรัฐฯ ถือว่ามีบทบาททางการเมืองโลกอย่างยิ่ง โดยเป็นยุคสิ้นสุดของสงครามเย็น และสหภาพโซเวียต พี่ใหญ่ของโลกคอมมิวนิสต์ ถึงวาระล่มสลาย นายเรแกน เสียชีวิตเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2547 ที่นครลอสแองเจลิส ด้วยวัย 93 ปี
**ทูตต่างชาติยก"พระราชพิธีฯ" ยิ่งใหญ่-สมพระเกียรติที่สุด
เฟซบุ๊ก Nick de Marzo ซึ่งจากข้อมูลระบุว่า ดำรงตำแหน่ง เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงบัวโนสไอเรส ประเทศอาร์เจนตินา ได้โพสต์ข้อความเกี่ยวกับพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช โดยกล่าวถึงความเห็นของเพื่อนทูตจากชาติต่างๆ รวม 9 ประเทศ (อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ญี่ปุ่น แคนาดา เดนมาร์ก นิการากัว ออสเตรเลีย) ซึ่งได้รับชมพระราชพิธีฯ ผ่านสื่อต่างๆโดยต่างยกย่องว่า เป็นพิธีที่ยิ่งใหญ่ และสมพระเกียรติที่สุดแห่งปี เท่าที่เคยเห็นมา
นอกจากนี้ เหล่าทูตประเทศต่างๆ ยังให้ความเห็นถึงข้อมูลจากสื่อต่างชาติที่อ้างว่า พระราชพิธีฯ ดังกล่าวใช้งบประมาณสูงราว 90 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ว่า หากพิจารณาจากปัจจัยต่างๆแล้ว ถือว่าคุ้มค่า นอกจากนี้หากมองในเชิงวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ และการท่องเที่ยวแล้ว ถือว่าพระราชพิธีฯ ส่งผลเชิงบวกอย่างยิ่ง ให้กับประเทศไทยในสายตาต่างชาติ
"มีคนถามเรื่องค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ตามที่สำนักข่าวบางแห่งนำเสนอว่าเป็นเงิน 90 ล้าน US$ แต่โดยที่ผมแทบไม่ต้องอธิบายอะไรเลยว่า คุ้มหรือไม่คุ้ม เพื่อนๆต่างชาติของผมต่างบอกเป็นเสียงเดียวกัน ว่าคุ้มยิ่งกว่าคุ้ม พวกเขาให้เหตุผลว่า แค่สำนักข่าวต่างประเทศออกข่าวงานพระราชพิธีฯไปทั่วโลก แค่นี้ก็คุ้มแล้ว ยังไม่นับว่าหลังจากนี้จะมีคนมาเที่ยว เพราะได้แรงบันดาลใจจากที่เห็นข่าวงานพระราชพิธีฯ อีกมหาศาล รายได้จะเข้าประเทศไทยอีกมาก" เฟซบุ๊ก Nick de Marzo ระบุ