xs
xsm
sm
md
lg

ศึกชิงเก้าอี้อธิการฯ มธ. วัดกันที่ "กึ๋น" หรือ"คอนเนกชั่น" ?

เผยแพร่:   โดย: ดร.วีรวิทย์ เศรษฐวงศ์


ดร.วีรวิทย์ เศรษฐวงศ์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


ศึกชิงเก้าอี้อธิการบดีธรรมศาสตร์ ได้ดำเนินตามกระบวนการมาถึงขั้นตอนกำลังจะเข้าสู่โค้งสุดท้ายในวันที่ 30 ตุลาคม 2560 นี้แล้ว แคนดิเดต 2 คนคือ ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ กับ รศ.เกศินี วิฑูรย์ชาติ จะแถลงนโยบายต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะลงมติว่าท่านใดจะได้เป็นอธิการบดี

ขั้นตอนกระบวนการแรก เริ่มจากการเสนอชื่อผู้สมควรดำรงตำแหน่งอธิการบดีซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 รศ. เกศินี วิฑูรย์ชาติ ได้ 49 หน่วยงาน ขณะที่ ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ ได้ 33 หน่วยงาน แต่เมื่อตรวจสอบถึงจำนวนบุคคลากรในธรรมศาสตร์ที่ได้มาลงคะแนนเสนอชื่อ ปรากฏว่าเป็นที่น่าแปลกใจเป็นอย่างมากที่มีบุคคลากรมใช้สิทธิ์ไม่ถึง 2,000 คนไม่ถึง 10 เปอร์เซ็นต์ของบุคคลากรทั้งหมด และเมื่อตรวจสอบลึกลงไปอีกปรากฏข้อมูลที่น่าตกใจมากที่บุคลากรที่เป็นสายอาจารย์มาใช้สิทธิ์น้อยนิดมาก ๆ เป็นเรื่องที่น่าแปลกใจมากว่าทำไมคนในรั้วมหาวิทยาลัยที่ได้ชื่อว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่เป็นต้นแบบของประชาธิปไตย จึงมาใช้สิทธิน้อยมากเมื่อเทียบกับการการเลือกตั้งสภาผู้แทนของประเทศไทย เมื่อสอบถามดูได้คำตอบมาหลากหลายมาก เช่น จากการสอบถามเหตุผลของอาจารย์และบุคลากรสายสนุบสนุนบางท่านทำให้ทราบว่า การที่ ไม่ได้มาลงคะแนน เป็นเพราะพวกเขารู้ดีว่าเสียงของตนนั้น “ไร้ความหมาย” เพราะกระบวนการสรรหาอธิการบดี กำลังจะเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำให้เสร็จ ๆ ไปตามขั้นตอนที่ข้อบังคับกำหนด ส่วนบุคลากรจะออกไปหย่อนบัตรเสนอชื่อใครก็ไม่มีความหมายอะไร เพราะท้ายที่สุดใครจะได้เป็นอธิการบดีมหวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ขึ้นอยู่กับสภามหาวิทยาลัยจะกำหนด บ้างก็ว่าไม่อยากขัดแย้งกับผู้บริหาร และมีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าอย่างไงเสียแนวโน้มก็เป็นการต่อสายทายาทรุ่นที่ 3 อยู่แล้ว นับจาก ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ ซึ่งอยู่ในอำนาจมาถึง 13 ปี

การที่ธรรมศาสตร์มีผู้บริหารระดับรองอธิการบดี ชุดเดิมเป็นเวลาติดต่อกันอย่างยาวนาน เพียงแต่สลับตำแหน่งกัน ทำให้ไม่มีการพัฒนาอาจารย์รุ่นใหม่ให้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารในอนาคตเหมือนกับในมหาวิทยาลัย 3-4 อันดับต้นของประเทศ ยิ่งกว่านั้นในการสรรหาคณบดีหลายคณะ มหาวิทยาลัยไม่เลือกคณบดีที่บุคลากรสายต่าง ๆ ของคณะ (โดยเฉพาะสายอาจารย์) เป็นผู้เสนอมาในอันดับแรก (ยกเว้นคณะเศรษฐศาสตร์ ที่อาจารย์ผู้ได้คะแนนหยั่งเสียอันดับ 2-3 จะถอนตัวตามสัญญาประชาคมของคณะ) เหตุการณ์เหล่านี้ทำให้อาจารย์ในธรรมศาสตร์คงมีความเชื่อว่าถ้าตนสมัครเข้าชิงตำแหน่งอธิการบดี ก็คงมีโอกาสริบหรี่มาก เพราะแม้ในทางหลักการกระบวนการสรรหาจะดูเหมือนเป็นระบบเปิดที่เป็นประชาธิปไตย แต่ในทางความเป็นจริง อาจารย์จำนวนมากรู้ว่าคนที่อยู่นอกกลุ่มผู้บริหารชุดปัจจุบันคงไม่มีโอกาส เมื่อไม่มีโอกาสก็ไม่ควรเปลืองตัวลงสมัคร จึงนับได้ว่า ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ เป็นผู้ที่กล้าหาญมากที่หาญกล้ามาท้าชิงทั้ง ๆ ที่รู้ว่าโอกาสชนะมีเพียงน้อยนิด

ขั้นตอนที่ 2 เมื่อถึงวันที่ 19 ตุลาคม 2560 แคนดิเดตอธิการบดีต้องแถลงนโยบายต่อกรรมการสรรหาและให้คนในประชาคมธรรมศาสตร์รับฟัง ภายหลังการแถลงนโยบายแสดงวิสัยทัศน์ คณะกรรมการสรรหาได้พิจารณาลงคะแนนเลือกผู้สมัคร ปรากฏว่า คณะกรรมการที่มีผู้มาประชุม 11 คน ลงมติให้เสนอชื่อ รศ.เกศินี วิฑูรย์ชาติ 8 เสียง ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ 1 เสียง งดออกเสียง 1 เสียง บัตรเสีย 1 เสียง ซึ่งสะท้อนอะไรบางอย่างตามที่บุคลากรในธรรมศาสตร์ได้เคยตั้งข้อสังเกตดังที่กล่าวก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นแล้วเมื่อพิจารณาแล้วในกรรมการสรรหาทั้ง 11 คนนี้เป็นกรรมการที่อยู่ในสภามหายวิทยาลัย 5 คน จึงยังสรุปไม่ได้หมายความว่า ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ แพ้ขาดลอยตามที่สื่อมวลชนนำเสนอก่อนหน้า

นอกจากนั้นในประเด็นนี้มีคำถามจากบุคลากรในธรรมศาสตร์ได้ตั้งคำถามความรับผิดชอบต่อกรรมการสรรหาว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องลับ เพราะตามระเบียบนั้นการเสนอชื่อต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัย ให้เสนอชื่อเรียงตามลำดับตัวอักษร ไม่ต้องเสนอคะแนน คะแนนเหล่านี้หลุดออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณะชนทางสื่อมวลชนได้อย่างไร

ขั้นตอนที่ 3 ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้าย วันที่ 30 ตุลาคม 2560 นี้ แคนดิเดต 2 คนคือ ศ.ดร.กำชัย จงจักรพันธ์ กับ รศ. เกศินี วิฑูรย์ชาติ จะแถลงนโยบายต่อกรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แล้วสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จะลงมติว่าท่านใดจะได้เป็นอธิการบดี อีกไม่กี่วันจะได้รู้กันว่าอธิการรั้วเหลืองแดงคนใหม่เป็นใคร จะเป็นไปตามที่คนในประชาคมธรรมศาสตร์ปักธงเชื่อหรือไม่ กรรมการสภามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นำปัญหาข้อกฏหมายที่ศาลปกครองนครราชสีมา พิพากษาว่าอธิการมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ที่อายุเกิน 60 ปีไม่ได้มากประกอบการตัดสินใจหรือไม่อย่างไร ทั้งนี้เมื่อไปสืบค้นใน Google เกี่ยวกับกฏหมายมหาชนพบว่า ในทางกฎหมายมหาชนนั้น กฎหมายจะต้องเขียนไว้ถึงจะมีอำนาจทำได้ แต่กฎหมายเอกชนถ้ากฎหมายไม่ห้ามไว้ อาจทำได้ แต่ก็มี “กรอบ” ไม่ใช่มีอิสระที่จะทำทุกเรื่อง คำว่า “กรอบ” หมายถึง กฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน นั่นเอง ฉะนั้นในแง่มุมกฏหมายเกี่ยวการสรรหาอธิการมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ครั้งนี้จึงอาจจะเป็นวิวาทะที่ถกเถียงกันหรืออาจจะเกิดเป็นคดีความได้ ชาวธรรมศาสตร์ก็ต้องจับตาดูกันต่อไป
กำลังโหลดความคิดเห็น