ราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์ประกาศเลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน หลังสภามหาวิทยาลัยแจ้งความประสงค์ขอเลิกดําเนินกิจการต่อ สกอ. หลังเปิดมานานกว่า 19 ปี ก่อนจะมีผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามาเมื่อปี 2558
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2560 ราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สกอ 1433/2560 เรื่อง ให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน ด้วยผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเอเชียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 3/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเอเชียน ได้แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอเลิกดําเนินกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน และคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 8/2560 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 พิจารณาแล้วเห็นชอบให้คําแนะนํารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีคําสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงมีคําสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ลงชื่อ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับมหาวิทยาลัยเอเชียน เดิมคือ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ บริเวณถนนสาย 331 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มี ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา อดีตนักเรียนเก่าอังกฤษ เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 และเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพการสอนเทียบเท่ากับในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องพูดภาษาอังกฤษเก่งเหมือนเรียนจบจากต่างประเทศ โดยร่วมกับ นายลอร์ด โรนัล ออกซ์เบิร์ก อธิการบดีวิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน โดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งประธานสภามหาวิทยาลัย เริ่มเปิดดำเนินการสอนครั้งแรกด้วยหลักสูตรนานาชาติในปี 2541 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต ทุกหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ต่อมาในปี 2558 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด เข้ามาถือหุ้นใหญ่ และมีการเพิ่มทุนฟื้นฟูมูลค่า 400 ล้านบาท โดยมีบริษัทไอทีเอ็มเอส ซึ่งเป็นบริษัทลูก เป็นเจ้าของผู้ถือใบอนุญาตจัดตั้ง โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และมี ศ.ดร.วิลาศ วูวงศ์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย พร้อมกับมีการปรับหลักสูตร และรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ โดยข้อมูลจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยระบุว่า คิดค่าหน่วยกิต 200,000 บาทต่อปี (หลักสูตร 4 ปี 800,000 บาท) ค่าหอพักและค่าครองชีพ 100,000 บาทต่อปี หรือตลอดหลักสูตร 4 ปี 400,000 บาท โดยในปีการศึกษา 2558 ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตั้งเป้าไว้ 150 คน อย่างไรก็ตาม พบว่า เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยเพิ่งจะจัดพิธีมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา
เมื่อวันที่ 24 ต.ค. 2560 ราชกิจจานุเบกษา ตีพิมพ์คำสั่งกระทรวงศึกษาธิการ ที่ สกอ 1433/2560 เรื่อง ให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน ด้วยผู้รับใบอนุญาตให้จัดตั้งมหาวิทยาลัยเอเชียน ตามใบอนุญาตเลขที่ 3/2540 ลงวันที่ 18 มิถุนายน 2540 โดยความเห็นชอบของสภามหาวิทยาลัยเอเชียน ได้แจ้งความประสงค์ต่อคณะกรรมการการอุดมศึกษา ขอเลิกดําเนินกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน และคณะกรรมการการอุดมศึกษา ในการประชุมครั้งที่ 8/2560 เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2560 พิจารณาแล้วเห็นชอบให้คําแนะนํารัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการมีคําสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน
โดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โดยคําแนะนําของคณะกรรมการการอุดมศึกษา จึงมีคําสั่งให้เลิกกิจการมหาวิทยาลัยเอเชียน ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2560 สั่ง ณ วันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2560 ลงชื่อ ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
สำหรับมหาวิทยาลัยเอเชียน เดิมคือ มหาวิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ตั้งอยู่บนพื้นที่กว่า 500 ไร่ บริเวณถนนสาย 331 ต.ห้วยใหญ่ อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มี ดร.วิพรรธ์ เริงพิทยา อดีตนักเรียนเก่าอังกฤษ เป็นผู้ก่อตั้งเมื่อปี 2536 และเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยคนแรก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างมหาวิทยาลัยให้มีคุณภาพการสอนเทียบเท่ากับในอังกฤษและสหรัฐอเมริกา ที่สำคัญต้องพูดภาษาอังกฤษเก่งเหมือนเรียนจบจากต่างประเทศ โดยร่วมกับ นายลอร์ด โรนัล ออกซ์เบิร์ก อธิการบดีวิทยาลัยอิมพีเรียล ลอนดอน โดยมี นายอานันท์ ปันยารชุน ดำรงตำแหน่งประธานสภามหาวิทยาลัย เริ่มเปิดดำเนินการสอนครั้งแรกด้วยหลักสูตรนานาชาติในปี 2541 เปิดสอนหลักสูตรระดับปริญญาตรี บริหารธุรกิจบัณฑิต วิทยาศาสตรบัณฑิต และศิลปศาสตรบัณฑิต ทุกหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ มีนักศึกษาทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ
ต่อมาในปี 2558 บริษัท ทุนลดาวัลย์ จำกัด เข้ามาถือหุ้นใหญ่ และมีการเพิ่มทุนฟื้นฟูมูลค่า 400 ล้านบาท โดยมีบริษัทไอทีเอ็มเอส ซึ่งเป็นบริษัทลูก เป็นเจ้าของผู้ถือใบอนุญาตจัดตั้ง โดยมี ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ดำรงตำแหน่งนายกสภามหาวิทยาลัย และมี ศ.ดร.วิลาศ วูวงศ์ เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัย พร้อมกับมีการปรับหลักสูตร และรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ โดยข้อมูลจากเว็บไซต์มหาวิทยาลัยระบุว่า คิดค่าหน่วยกิต 200,000 บาทต่อปี (หลักสูตร 4 ปี 800,000 บาท) ค่าหอพักและค่าครองชีพ 100,000 บาทต่อปี หรือตลอดหลักสูตร 4 ปี 400,000 บาท โดยในปีการศึกษา 2558 ได้เปิดรับสมัครนักศึกษาใหม่ ตั้งเป้าไว้ 150 คน อย่างไรก็ตาม พบว่า เมื่อไม่นานมานี้ มหาวิทยาลัยเพิ่งจะจัดพิธีมอบปริญญาบัตรแก่ผู้สำเร็จการศึกษา