ผู้จัดการรายวัน360- "รสนา"จี้"บิ๊กตู่" จัดการเรียกเก็บภาษีพร้อมเบี้ยปรับ จาก"เชฟรอน"กรณีส่งน้ำมันไปยังแท่นขุดเจาะปิโตรเลียม ที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีปหลัง สตง.และกฤษฎีกาชี้ว่าเป็นการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษี รวมทั้งกรณี เอกชนส่งน้ำมันจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วม (เจดีเอ) โดยไม่เสียภาษีขาออก ชี้หากเพิกเฉย ไม่ดำเนินการจะซ้ำรอย "ยิ่งลักษณ์"ที่ปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตในโครงการจำนำข้าว
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ถามถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. "เมื่อไหร่ท่านนายกฯ จะจัดการเรียกเก็บภาษี และเบี้ยปรับบริษัทน้ำมัน และดำเนินคดีกับข้าราชการที่ช่วยเอกชนหนีภาษี ? "
กรณีที่ผู้บริหารในกรมศุลกากรตอบข้อหารือถึงผู้บริหาร บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัด เรื่องการนำน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะเป็นการส่งออกตามหนังสือตอบข้อหารือวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 และ 9 เมษายน 2558 นั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พิจารณาเห็นว่า การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ ตามข้อเท็จจริง ไม่ถือเป็นการส่งออก แต่ถือเป็นการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีอากรตามปกติ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.59 ขอให้นายกฯ สั่งการให้มีการดำเนินการ 2 ประการ คือ
1. สั่งให้กรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต เรียกเก็บภาษีอากรพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย นอกจากนี้ให้เรียกเงินภาษีอากร ที่มีการคืนให้บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัดไปแล้วกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดิน
2. ให้ดำเนินการสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งทางอาญา แพ่ง และวินัยราชการด้วย
แต่นายกฯ ก็ยังไม่ได้สั่งการแต่ประการใด ต่อมาทางกระทรวงคลัง แทนที่จะรีบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กลับทู่ซี้ส่งเรื่องนี้ให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอีก ว่าการส่งน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะนั้น ถือเป็นการส่งออก หรือเป็นการค้าชายฝั่งกันแน่
ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)ได้วินิจฉัยข้อหารือนี้ ในเดือนม.ค.60 ความตอนหนึ่ง ระบุว่า
"หากเป็นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากในราชอาณาจักรไปยังแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีป เพื่อใช้ในการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมตามที่ขอหารือมา พ.ร.บ ปิโตรเลียมฯได้กำหนดนิยามของคำว่า "ราชอาณาจักร"ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากชายฝั่งในราชอาณาจักร ไปยังแท่นขุดปิโตรเลียมซึ่งตั้งอยู่ในเขตไหล่ทวีป นอกทะเลอาณาเขต12ไมล์ทะเล จึงต้องถือตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ กล่าวคือ ถือว่า การขนของไปใช้ในการสำรวจ และการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการประกอบกิจการปิโตรเลียมในราชอาณาจักร หากมีภาระภาษีใดๆ เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการดังกล่าว ก็ต้องมีการจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับการประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วย"
เมื่อมีการวินิจฉัยอย่างชัดเจนจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วว่า การส่งน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ เป็นการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีตามปกติ บริษัท เชฟรอนจึงต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับตามที่ สตง.ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่นับจากเดือนม.ค.60 จนถึงบัดนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องภาษี ก็ยังทอดหุ่ย ไม่ดำเดินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ส่วนนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่มีการสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน เร่งรีบดำเนินการแต่ประการใดเช่นกัน
การที่นายกฯเพิกเฉยเช่นนี้ จะเป็นการทำให้ข้าราชการ ที่กระทำการในทางมิชอบได้ใจ และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และคนกลุ่มเดียวกันนี้ ก็ยังมาวิ่งเต้นช่วยเหลือเอกชน ที่มีการส่งน้ำมันจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วม (เจดีเอ) ให้ไม่ต้องเสียภาษีขาออกอีกด้วย และเหิมเกริมถึงกับเสนอให้ท่านนายกฯ ใช้มาตรา 44 เพื่ออุ้มเอกชน ให้ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐอย่างผิดกฎหมาย และเพื่อให้เอกชนไม่ต้องรับโทษในการหลีกเลี่ยงภาษี อีกด้วย
หากนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการกับทั้ง 2 กรณีอย่างถูกต้อง ทั้งที่มีเสียงเตือนมาแล้วอย่างเป็นทางการจากสตง. อาจจะทำให้นายกฯประยุทธ์ ต้องตกที่นั่งเดียวกับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ กรณีจำนำข้าว ที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินกรณีปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตที่ทำให้รัฐเสียหาย
จึงใคร่ขอให้นายกฯโปรดพิจารณาดำเนินการให้มีการเรียกเก็บภาษีให้ถูกต้อง และดำเนินการสอบสวนเอาผิดข้าราชการ ที่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติเพื่อให้รัฐเสียหายตามที่ สตง.ได้รายงานมาถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยเร่งด่วนด้วย
น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ถามถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. "เมื่อไหร่ท่านนายกฯ จะจัดการเรียกเก็บภาษี และเบี้ยปรับบริษัทน้ำมัน และดำเนินคดีกับข้าราชการที่ช่วยเอกชนหนีภาษี ? "
กรณีที่ผู้บริหารในกรมศุลกากรตอบข้อหารือถึงผู้บริหาร บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัด เรื่องการนำน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะเป็นการส่งออกตามหนังสือตอบข้อหารือวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 และ 9 เมษายน 2558 นั้น สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) พิจารณาเห็นว่า การส่งน้ำมันเชื้อเพลิงไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ ตามข้อเท็จจริง ไม่ถือเป็นการส่งออก แต่ถือเป็นการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีอากรตามปกติ
สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน จึงได้มีหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ตั้งแต่วันที่ 30 ก.ย.59 ขอให้นายกฯ สั่งการให้มีการดำเนินการ 2 ประการ คือ
1. สั่งให้กรมสรรพากรและกรมสรรพสามิต เรียกเก็บภาษีอากรพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มตามกฎหมาย นอกจากนี้ให้เรียกเงินภาษีอากร ที่มีการคืนให้บริษัทเชฟรอน (ไทย) จำกัดไปแล้วกลับคืนเป็นรายได้แผ่นดิน
2. ให้ดำเนินการสอบสวนเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ทั้งทางอาญา แพ่ง และวินัยราชการด้วย
แต่นายกฯ ก็ยังไม่ได้สั่งการแต่ประการใด ต่อมาทางกระทรวงคลัง แทนที่จะรีบดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย กลับทู่ซี้ส่งเรื่องนี้ให้ทางคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอีก ว่าการส่งน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะนั้น ถือเป็นการส่งออก หรือเป็นการค้าชายฝั่งกันแน่
ทางคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ)ได้วินิจฉัยข้อหารือนี้ ในเดือนม.ค.60 ความตอนหนึ่ง ระบุว่า
"หากเป็นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากในราชอาณาจักรไปยังแท่นขุดเจาะปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนไหล่ทวีป เพื่อใช้ในการสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมตามที่ขอหารือมา พ.ร.บ ปิโตรเลียมฯได้กำหนดนิยามของคำว่า "ราชอาณาจักร"ไว้เป็นการเฉพาะ ดังนั้นการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงและผลิตภัณฑ์น้ำมันจากชายฝั่งในราชอาณาจักร ไปยังแท่นขุดปิโตรเลียมซึ่งตั้งอยู่ในเขตไหล่ทวีป นอกทะเลอาณาเขต12ไมล์ทะเล จึงต้องถือตามกฎหมายว่าด้วยปิโตรเลียม ซึ่งเป็นกฎหมายเฉพาะ กล่าวคือ ถือว่า การขนของไปใช้ในการสำรวจ และการผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว เป็นการประกอบกิจการปิโตรเลียมในราชอาณาจักร หากมีภาระภาษีใดๆ เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการดังกล่าว ก็ต้องมีการจัดเก็บภาษีเช่นเดียวกับการประกอบกิจการในราชอาณาจักรด้วย"
เมื่อมีการวินิจฉัยอย่างชัดเจนจากคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วว่า การส่งน้ำมันไปใช้ที่แท่นขุดเจาะ เป็นการค้าชายฝั่งที่ต้องเสียภาษีตามปกติ บริษัท เชฟรอนจึงต้องเสียภาษีและเบี้ยปรับตามที่ สตง.ได้รายงานต่อนายกรัฐมนตรีแล้ว แต่นับจากเดือนม.ค.60 จนถึงบัดนี้ หน่วยงานที่มีหน้าที่ต้องจัดการเรื่องภาษี ก็ยังทอดหุ่ย ไม่ดำเดินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
ส่วนนายกรัฐมนตรี ก็ยังไม่มีการสั่งการให้ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่าน เร่งรีบดำเนินการแต่ประการใดเช่นกัน
การที่นายกฯเพิกเฉยเช่นนี้ จะเป็นการทำให้ข้าราชการ ที่กระทำการในทางมิชอบได้ใจ และไม่เกรงกลัวต่อกฎหมาย และคนกลุ่มเดียวกันนี้ ก็ยังมาวิ่งเต้นช่วยเหลือเอกชน ที่มีการส่งน้ำมันจากแหล่งพื้นที่พัฒนาร่วม (เจดีเอ) ให้ไม่ต้องเสียภาษีขาออกอีกด้วย และเหิมเกริมถึงกับเสนอให้ท่านนายกฯ ใช้มาตรา 44 เพื่ออุ้มเอกชน ให้ไม่ต้องเสียภาษีให้รัฐอย่างผิดกฎหมาย และเพื่อให้เอกชนไม่ต้องรับโทษในการหลีกเลี่ยงภาษี อีกด้วย
หากนายกรัฐมนตรีไม่ดำเนินการกับทั้ง 2 กรณีอย่างถูกต้อง ทั้งที่มีเสียงเตือนมาแล้วอย่างเป็นทางการจากสตง. อาจจะทำให้นายกฯประยุทธ์ ต้องตกที่นั่งเดียวกับอดีตนายกฯยิ่งลักษณ์ กรณีจำนำข้าว ที่ถูกศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ตัดสินกรณีปล่อยปละละเลยให้มีการทุจริตที่ทำให้รัฐเสียหาย
จึงใคร่ขอให้นายกฯโปรดพิจารณาดำเนินการให้มีการเรียกเก็บภาษีให้ถูกต้อง และดำเนินการสอบสวนเอาผิดข้าราชการ ที่ปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติเพื่อให้รัฐเสียหายตามที่ สตง.ได้รายงานมาถึงท่านนายกรัฐมนตรีโดยเร่งด่วนด้วย