ตามที่ผมได้เขียนบทความเรื่อง “จริงหรือเท็จไฟฟ้าใต้จะดับ?” เมื่อ 8 ตุลาคม 2560, https://mgronline.com/daily/detail/9600000102768) ต่อมาทางฝ่ายสื่อสารองค์กรของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้กรุณาชี้แจง “ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนบางประการ” ผมรู้สึกดีใจมาก ผมจึงขอนำมาลงไว้ในที่นี้โดยไม่มีการตัดต่อใดๆ พร้อมกันนี้ผมได้เสนอความเห็นของผมเพิ่มเติม อย่าเบื่อกันนะครับ เพราะมีประเด็นสำคัญที่ผมเห็นต่างบางประการ
บทความของ กฟผ.เริ่มตรงนี้ครับ
บทความเรื่อง “จริงหรือเท็จไฟฟ้าใต้จะดับ?” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560 โดย อ.ประสาท มีแต้ม มีประเด็นและข้อมูลคลาดเคลื่อนบางประการ ฝ่ายสื่อสารองค์การ ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
ไฟฟ้าดับภาคใต้ในปี 2556 เกิดจากอะไร
อ.ประสาท กล่าวถึงกรณีไฟฟ้าดับภาคใต้ 14 จังหวัด ว่า “เรื่องนี้ผมได้ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า อาจจะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จากภัยธรรมชาติ รวมทั้งความผิดพลาดในนโยบายและการบริหาร เอาอย่างนี้ เมื่อ 21 พฤษภาคม 56 ที่ไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัด ดับอยู่นานหลายชั่วโมง สังคมไทยเข้าใจความจริงแล้วหรือยังว่า ไฟฟ้าดับเพราะสาเหตุใด?”
กฟผ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ 14 จังหวัด ภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 56 ว่า เกิดจากข้อจำกัดของสายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปยังภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานเดิม ประกอบกับอุบัติเหตุซ้ำซ้อน เนื่องจากการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ ต้องผ่านสายส่งทั้งหมด 4 สาย หรือ 4 วงจร โดยเป็นสายส่ง 500 กิโลโวลต์ 2 วงจร และสายส่ง 230 กิโลโวลต์ 2 วงจร ในวันเกิดเหตุ มีการปลดสายส่ง 500 กิโลวัตต์ 1 วงจร เพื่อทำการบำรุงรักษา ขณะเดียวกันได้เกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าสายส่ง 500 กิโลวัตต์อีก 1 วงจรที่เหลือ ทำให้สายส่ง 230 กิโลวัตต์ อีก 2 วงจร ไม่สามารถรับภาระการส่งผ่านไฟฟ้าได้ ทำให้โรงไฟฟ้าทั้งหมดในภาคใต้จึงหยุดเดินเครื่องและปลดตัวเองออกจากระบบโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นเวลา 18.52 น. ซึ่งเป็นช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า นอกจากจะเป็นเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดจากอุบัติเหตุแล้ว ก็ยังมีปัญหาข้อจำกัดของการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ กระทรวงพลังงานและ กฟผ.ได้ทบทวนและกำหนดมาตรการระยะสั้นและมาตรการระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาเสริมความมั่นคงระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ไฟฟ้ายังมีเหลือ ทำไมไม่ส่งไปภาคใต้
บทความตอนหนึ่ง กล่าวว่า “สมมติว่า (สมมตินะครับสมมติ) โรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริง แล้วทำไมไม่เอาส่วนที่เหลือลงมาให้ภาคใต้ เราเป็นประเทศเดียวกันไม่ใช่หรือ”
กฟผ. ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันมีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ขนาดกำลังผลิต 200-600 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณหน่วยเฉลี่ยในปี 2559 วันละ 2 ล้านหน่วย แม้ว่า ณ วันนี้ระบบไฟฟ้ายังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าภาคอื่น เช่น หากเกิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในภาคใต้หยุดเดินเครื่องกะทันหัน กำลังผลิตจะหายจากระบบถึง 700 เมกะวัตต์ และเมื่อคำนึงถึงอนาคตในอีก 5-7 ปี ข้างหน้า ซึ่งทั้งภาคใต้ และภาคอื่น ก็จะมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลักเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลน ขณะที่ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
โรงไฟฟ้าเอกชนได้เดินเครื่องมากกว่าโรงไฟฟ้าของรัฐ?
อ.ประสาท ตั้งข้อสังเกตว่า “พบสิ่งที่น่าแปลกใจและน่าตกใจที่สำคัญ คือ ทำไมโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าของเอกชน (กฟผ.มีหุ้นเพียง 25%) จึงได้สิทธิ์ในการผลิตวันละ 19 ชั่วโมง ในขณะที่โรงไฟฟ้าจะนะ 1 (เป็นของรัฐหรือของ กฟผ. 100% สร้างเสร็จปี 2551) จึงได้ผลิตเพียง 16 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งๆ ที่โรงไฟฟ้าทั้งสองใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวกันและอยู่ในภาคเดียวกัน ผลต่าง 3 ชั่วโมงต่อวัน ต่อ 1 กิโลวัตต์ ถ้าเป็นเวลา 1 ปี ขนาด 7-8 แสนกิโลวัตต์ คิดเป็นเงินก้อนโตนะครับ”
เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการสั่งการเดินเครื่องของ กฟผ.ไม่สามารถเลือกปฏิบัติระหว่างโรงไฟฟ้าไฟฟ้าของ กฟผ.หรือเอกชนได้ การสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยหลักปฏิบัติในการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าจะพิจารณาตามลำดับ ดังนี้ 1. เดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีความจำเป็นเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า หรือเรียกว่า Must Run ก่อน 2. ลำดับต่อมาจึงสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติผูกพัน หรือเรียกว่า Must Take และ 3. สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเรียงลำดับจากที่มีต้นทุนต่ำสุด หรือเรียกว่า Merit Order
หลักการเดินเครื่องดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย มีความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และมีค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด
ทำไม โรงไฟฟ้าจะนะของ กฟผ.จึงได้เดินเครื่องน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นเอกชน เช่น ในปี 2552
อ.ประสาท กล่าวในบทความว่า “ข้อมูลในปี 2552 ซึ่งในวันนั้น โรงไฟฟ้าจะนะ 1 เพิ่งมีอายุประมาณ 1 ปี เป็นโรงไฟฟ้าใหม่เอี่ยม ใหม่กว่าโรงไฟฟ้าขนอมเสียอีก” ทำไมจึงมีการเดินเครื่องน้อยกว่า
ข้อเท็จจริงคือ ทั้ง รฟ.ขนอม และ รฟ.จะนะ เป็นโรงไฟฟ้าประเภท Must Run เช่นเดียวกัน ที่ต้องเดินเครื่องเพื่อความมั่นคงเหมือนกัน โรงไฟฟ้าจะนะ 1 สร้างเสร็จ และจ่ายไฟฟ้ากลางปี 2551 จึงเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ปีแรก ซึ่งส่วนใหญ่สภาพการเดินเครื่องจะยังไม่นิ่ง การเดินเครื่องในช่วงต้นปี 2552 จึงมีการหยุดเครื่องในช่วงสั้นๆ บ่อยครั้ง แต่ปีต่อมาหลังจากนั้น อัตราการเดินเครื่องก็สูงกว่าโรงไฟฟ้าขนอม ดังรูปกราฟ

กฟผ.ขอเรียนว่า ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบส่ง ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน มีค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมในระยะยาว ตลอดจนคำนึงถึงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามพันธสัญญาต่อนานาชาติ การพัฒนากำลังผลิตจึงประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลักและพลังงานหมุนเวียนควบคู่กันไป ทั้งนี้ การดำเนินงานจะประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ต้องรับความสนับสนุนจากชุมชน ประชาชนและสื่อมวลชน จึงมีแนวทางดำเนินงานด้วยความโปร่งใส พร้อมรับฟังความคิดเห็น และชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและความร่วมมือที่ดีต่อไป
จบแค่นี้ครับ ต่อไปนี้เป็นความเห็นเพิ่มเติมของผมรวม 4 ข้อ ดังนี้
1. กฟผ.ไม่ได้ตอบคำถามใหญ่ของผม คือ ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าล้นเกิน ผมได้ตั้งคำถามเอง ตอบเองว่า “ประเทศไทยทำไมโรงไฟฟ้าจึงทำงานลดลงจาก 18 ชั่วโมงในปี 2545 ลงมาเหลือ 12 ชั่วโมงในปี 2559 เรื่องนี้ไม่สามารถตอบเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเรามีโรงไฟฟ้ามากเกินไปเท่านั้นเอง”
เรื่องโรงไฟฟ้าล้นเกินในปัจจุบันนี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไป แม้แต่รัฐมนตรีพลังงานก็เคยพูดถึง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติบางคนเคยเสนอให้นำไฟฟ้าไทยไปขายประเทศพม่านี่สะท้อนว่าโรงไฟฟ้าล้นเกินจริง แต่ไม่มีใครระบุตัวเลขว่าล้นเกินเท่าใด
2. เรื่องสายส่งจากภาคกลาง-ภาคใต้
ในคำชี้แจงของ กฟผ.บอกว่า “ปัจจุบันมีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ขนาดกำลังผลิต 200 – 600 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณหน่วยเฉลี่ยในปี 2559 วันละ 2 ล้านหน่วย แม้ว่า ณ วันนี้ระบบไฟฟ้ายังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าภาคอื่น”
ถ้าเทียบกับปี 2552 พบว่าสายส่งภาคกลาง-ภาคใต้ ทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าได้ 1,928 ล้านหน่วยต่อปี ในขณะที่ปี 2559 ส่งไฟฟ้าได้เพียง 730 ล้านหน่วยเท่านั้นคือไม่ถึงครึ่งของปี 2552
ข้อมูลในข้อ 1 และ 2 ต่างเสริมกันและกันว่าระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยล้นมากเกิน ถ้าคิดเฉพาะเดือนสิงหาคมปีนี้ เรามีกำลังการผลิต 41,923 เมกะวัตต์ แต่ผลิตไฟฟ้าเพียง 16,625 ล้านหน่วย หรือทำงานเฉลี่ยวันละ 12.8 ชั่วโมง หรือมี plant factor เพียง 53% เท่านั้น (หมายเหตุ ผมคิดแบบอย่างง่าย แต่ในทางปฏิบัติจริงต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆ ที่ซับซ้อนด้วย)
สำหรับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้ากระบี่ (ซึ่งทาง กฟผ.อธิบายว่ามีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยแพงกว่า) มีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยเพียงวันละ 3 และ 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น (ดูภาพประกอบ)

3. ทาง กฟผ.ได้อธิบายว่า การที่โรงไฟฟ้าจะนะ 1 (ซึ่งในปี 2552 ได้ทำงานเฉลี่ยคิดเป็นชั่วโมงน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นของเอกชน) เป็นเพราะว่าโรงไฟฟ้าจะนะเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยัง “ไม่นิ่ง”ต้องหยุดเดินเครื่องบ่อย (ดูภาพแรกประกอบ)
น่าเสียดายที่ทาง กฟผ.ไม่ได้เปิดเผยการผลิตของโรงไฟฟ้าจะนะ (ไว้ในเว็บไซต์) แต่ได้เปิดเผยการผลิตของโรงไฟฟ้าเอกชนอื่นๆ ทุกโรง ผมจึงตามไปตรวจสอบโรงไฟฟ้าขนอม (ตามรูปและเว็บไซต์อ้างอิง)

พบว่าในปี 2553 โรงไฟฟ้าขนอมได้ผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 2% แต่คำชี้แจงครั้งนี้ทาง กฟผ.บอกว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ดูรูป) กรุณาอย่าหาว่าผมนำเรื่องตัวเลขเล็กๆ น้อยๆ มาเป็นประเด็น แต่ข้อมูลก็คือข้อมูลจะต้องเปิดเผย โปร่งใสและตรวจสอบได้ซึ่ง กฟผ.เองก็บอกว่ามีแนวทางนี้เช่นกัน
4. ระบบการผลิตไฟฟ้ามีทั้งตัว “โรง” ไฟฟ้า กับระบบ “สายส่ง” ไฟฟ้าแรงสูงที่เชื่อมโยงถึงกันภาพข้างล่างนี้เป็นการกระจายตัวของ “โรง” ไฟฟ้าทั่วทุกภาคของประเทศ

จากภาพเราจะเห็นว่าทั้งภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้จำนวนโรงไฟฟ้ากับความต้องการไฟฟ้ามีเกือบเท่ากันทั้ง 3 ภาค แต่ทำไมทางรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจึงเล็งแต่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น โดยอ้างว่าภาคใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าภาคอื่นซึ่งก็เป็นความจริงบางส่วน
แต่ผมมั่นใจว่า ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเรามีทางออกอื่นๆ ที่ทางกระทรวงพลังงานไม่ได้คิดเช่น
(1) เรามีโรงไฟฟ้าชีวมวลและไบโอก๊าซในภาคใต้อีก 176 เมกะวัตต์ (ซึ่ง กฟผ.ไม่เอ่ยถึง) กระจายตัวอยู่ในจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง ติดต่อกันตลอด 300 วัน (มี plant factor สูงกว่าโรงไฟฟ้าจะนะและขนอม) สามารถนำมาลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดซึ่งเกิดขึ้นรวมกันปีละไม่กี่ชั่วโมงได้สบายๆ
(2) สายส่งไฟฟ้าแรงสูงภาคกลาง-ใต้ ซึ่งส่งไฟฟ้าได้เฉลี่ยวันละ 2 ล้านหน่วย เมื่อคิดเป็นชั่วโมงทำงานแล้วได้เฉลี่ยเพียงวันละ 3 ชั่วโมงเท่านั้น (plant factor เพียง 14%) ทำไมไม่ใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นถึง 70-75%
(3) เพิ่มชั่วโมงทำงานของโรงไฟฟ้ากระบี่และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
ผมเองได้ติดตามศึกษาและเขียนบทความนี้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ และไม่ได้รับทุนสนับสนุนจากใครทั้งสิ้น ผมไม่ได้มีอคติกับองค์กรใดทั้งนั้น สิ่งที่ผมกำลังกระทำก็แค่ทำตามหน้าที่พลเมือง (หรือทำตามคำสอนของพ่อ) สิ่งที่ผมหวังก็คืออยากเห็นบ้านเมืองพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง ทั้งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ โดยให้เจ้าของบ้านสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายซึ่งต่างประเทศเขาก็ทำกันทั่วไปและยั่งยืน (แต่ประเทศไทยกลับกีดกันและขัดขวาง) ผมอยากให้ประเทศไทยเราร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโลกที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเราทุกคนต่างก็ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้วในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้อย่างละเอียดยิบตั้งแต่ปี 2543
แต่ผมกลับถูกด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบช้าจากพวกก่อกวนบางกลุ่ม เมื่อทาง กฟผ.ชี้แจงด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ผมจึงรู้สึกดีใจและขอบคุณครับ
บทความของ กฟผ.เริ่มตรงนี้ครับ
บทความเรื่อง “จริงหรือเท็จไฟฟ้าใต้จะดับ?” เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2560 โดย อ.ประสาท มีแต้ม มีประเด็นและข้อมูลคลาดเคลื่อนบางประการ ฝ่ายสื่อสารองค์การ ขอชี้แจงข้อเท็จจริง ดังนี้
ไฟฟ้าดับภาคใต้ในปี 2556 เกิดจากอะไร
อ.ประสาท กล่าวถึงกรณีไฟฟ้าดับภาคใต้ 14 จังหวัด ว่า “เรื่องนี้ผมได้ตอบอย่างตรงไปตรงมาว่า อาจจะเกิดขึ้นได้ ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น จากภัยธรรมชาติ รวมทั้งความผิดพลาดในนโยบายและการบริหาร เอาอย่างนี้ เมื่อ 21 พฤษภาคม 56 ที่ไฟฟ้าดับทั้ง 14 จังหวัด ดับอยู่นานหลายชั่วโมง สังคมไทยเข้าใจความจริงแล้วหรือยังว่า ไฟฟ้าดับเพราะสาเหตุใด?”
กฟผ. ขอชี้แจงข้อเท็จจริงเหตุการณ์ไฟฟ้าดับ 14 จังหวัด ภาคใต้ เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 56 ว่า เกิดจากข้อจำกัดของสายส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปยังภาคใต้ ซึ่งเป็นปัญหาพื้นฐานเดิม ประกอบกับอุบัติเหตุซ้ำซ้อน เนื่องจากการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ ต้องผ่านสายส่งทั้งหมด 4 สาย หรือ 4 วงจร โดยเป็นสายส่ง 500 กิโลโวลต์ 2 วงจร และสายส่ง 230 กิโลโวลต์ 2 วงจร ในวันเกิดเหตุ มีการปลดสายส่ง 500 กิโลวัตต์ 1 วงจร เพื่อทำการบำรุงรักษา ขณะเดียวกันได้เกิดอุบัติเหตุฟ้าผ่าสายส่ง 500 กิโลวัตต์อีก 1 วงจรที่เหลือ ทำให้สายส่ง 230 กิโลวัตต์ อีก 2 วงจร ไม่สามารถรับภาระการส่งผ่านไฟฟ้าได้ ทำให้โรงไฟฟ้าทั้งหมดในภาคใต้จึงหยุดเดินเครื่องและปลดตัวเองออกจากระบบโดยอัตโนมัติ เกิดขึ้นเวลา 18.52 น. ซึ่งเป็นช่วงความต้องการไฟฟ้าสูงสุดของภาคใต้
จากที่กล่าวมา จะเห็นได้ว่า นอกจากจะเป็นเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดจากอุบัติเหตุแล้ว ก็ยังมีปัญหาข้อจำกัดของการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ ซึ่งภายหลังเหตุการณ์ กระทรวงพลังงานและ กฟผ.ได้ทบทวนและกำหนดมาตรการระยะสั้นและมาตรการระยะยาว ครอบคลุมถึงการพัฒนาเสริมความมั่นคงระบบผลิตและระบบส่งไฟฟ้าภาคใต้ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศให้ดียิ่งขึ้น
ไฟฟ้ายังมีเหลือ ทำไมไม่ส่งไปภาคใต้
บทความตอนหนึ่ง กล่าวว่า “สมมติว่า (สมมตินะครับสมมติ) โรงไฟฟ้าในภาคใต้ไม่พอจริง แล้วทำไมไม่เอาส่วนที่เหลือลงมาให้ภาคใต้ เราเป็นประเทศเดียวกันไม่ใช่หรือ”
กฟผ. ขอชี้แจงว่า ปัจจุบันมีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ขนาดกำลังผลิต 200-600 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณหน่วยเฉลี่ยในปี 2559 วันละ 2 ล้านหน่วย แม้ว่า ณ วันนี้ระบบไฟฟ้ายังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าภาคอื่น เช่น หากเกิดโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในภาคใต้หยุดเดินเครื่องกะทันหัน กำลังผลิตจะหายจากระบบถึง 700 เมกะวัตต์ และเมื่อคำนึงถึงอนาคตในอีก 5-7 ปี ข้างหน้า ซึ่งทั้งภาคใต้ และภาคอื่น ก็จะมีความต้องการไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากไม่มีการก่อสร้างโรงไฟฟ้าหลักเพิ่มเติม ก็จะทำให้เกิดปัญหาขาดแคลน ขณะที่ความเสี่ยงก็จะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ
โรงไฟฟ้าเอกชนได้เดินเครื่องมากกว่าโรงไฟฟ้าของรัฐ?
อ.ประสาท ตั้งข้อสังเกตว่า “พบสิ่งที่น่าแปลกใจและน่าตกใจที่สำคัญ คือ ทำไมโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นโรงไฟฟ้าของเอกชน (กฟผ.มีหุ้นเพียง 25%) จึงได้สิทธิ์ในการผลิตวันละ 19 ชั่วโมง ในขณะที่โรงไฟฟ้าจะนะ 1 (เป็นของรัฐหรือของ กฟผ. 100% สร้างเสร็จปี 2551) จึงได้ผลิตเพียง 16 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งๆ ที่โรงไฟฟ้าทั้งสองใช้เชื้อเพลิงชนิดเดียวกันและอยู่ในภาคเดียวกัน ผลต่าง 3 ชั่วโมงต่อวัน ต่อ 1 กิโลวัตต์ ถ้าเป็นเวลา 1 ปี ขนาด 7-8 แสนกิโลวัตต์ คิดเป็นเงินก้อนโตนะครับ”
เป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน เนื่องจากการสั่งการเดินเครื่องของ กฟผ.ไม่สามารถเลือกปฏิบัติระหว่างโรงไฟฟ้าไฟฟ้าของ กฟผ.หรือเอกชนได้ การสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ และ พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน ซึ่งควบคุมดูแลโดยคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยหลักปฏิบัติในการสั่งการเดินเครื่องโรงไฟฟ้าจะพิจารณาตามลำดับ ดังนี้ 1. เดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีความจำเป็นเพื่อความมั่นคงของระบบไฟฟ้า หรือเรียกว่า Must Run ก่อน 2. ลำดับต่อมาจึงสั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าที่มีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าและก๊าซธรรมชาติผูกพัน หรือเรียกว่า Must Take และ 3. สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าเรียงลำดับจากที่มีต้นทุนต่ำสุด หรือเรียกว่า Merit Order
หลักการเดินเครื่องดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย มีความมั่นคงในระบบไฟฟ้า และมีค่าไฟฟ้าต่ำที่สุด
ทำไม โรงไฟฟ้าจะนะของ กฟผ.จึงได้เดินเครื่องน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นเอกชน เช่น ในปี 2552
อ.ประสาท กล่าวในบทความว่า “ข้อมูลในปี 2552 ซึ่งในวันนั้น โรงไฟฟ้าจะนะ 1 เพิ่งมีอายุประมาณ 1 ปี เป็นโรงไฟฟ้าใหม่เอี่ยม ใหม่กว่าโรงไฟฟ้าขนอมเสียอีก” ทำไมจึงมีการเดินเครื่องน้อยกว่า
ข้อเท็จจริงคือ ทั้ง รฟ.ขนอม และ รฟ.จะนะ เป็นโรงไฟฟ้าประเภท Must Run เช่นเดียวกัน ที่ต้องเดินเครื่องเพื่อความมั่นคงเหมือนกัน โรงไฟฟ้าจะนะ 1 สร้างเสร็จ และจ่ายไฟฟ้ากลางปี 2551 จึงเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ปีแรก ซึ่งส่วนใหญ่สภาพการเดินเครื่องจะยังไม่นิ่ง การเดินเครื่องในช่วงต้นปี 2552 จึงมีการหยุดเครื่องในช่วงสั้นๆ บ่อยครั้ง แต่ปีต่อมาหลังจากนั้น อัตราการเดินเครื่องก็สูงกว่าโรงไฟฟ้าขนอม ดังรูปกราฟ
กฟผ.ขอเรียนว่า ในการพัฒนาโรงไฟฟ้าและระบบส่ง ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ มีจุดมุ่งหมายให้เกิดความมั่นคงและยั่งยืนทางพลังงาน มีค่าไฟฟ้าที่เหมาะสมในระยะยาว ตลอดจนคำนึงถึงเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามพันธสัญญาต่อนานาชาติ การพัฒนากำลังผลิตจึงประกอบด้วยโรงไฟฟ้าหลักและพลังงานหมุนเวียนควบคู่กันไป ทั้งนี้ การดำเนินงานจะประสบความสำเร็จได้ด้วยดี ต้องรับความสนับสนุนจากชุมชน ประชาชนและสื่อมวลชน จึงมีแนวทางดำเนินงานด้วยความโปร่งใส พร้อมรับฟังความคิดเห็น และชี้แจงข้อเท็จจริงในประเด็นต่างๆ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องและความร่วมมือที่ดีต่อไป
จบแค่นี้ครับ ต่อไปนี้เป็นความเห็นเพิ่มเติมของผมรวม 4 ข้อ ดังนี้
1. กฟผ.ไม่ได้ตอบคำถามใหญ่ของผม คือ ปัจจุบันกำลังการผลิตไฟฟ้าล้นเกิน ผมได้ตั้งคำถามเอง ตอบเองว่า “ประเทศไทยทำไมโรงไฟฟ้าจึงทำงานลดลงจาก 18 ชั่วโมงในปี 2545 ลงมาเหลือ 12 ชั่วโมงในปี 2559 เรื่องนี้ไม่สามารถตอบเป็นอย่างอื่นได้ นอกจากเรามีโรงไฟฟ้ามากเกินไปเท่านั้นเอง”
เรื่องโรงไฟฟ้าล้นเกินในปัจจุบันนี้เป็นที่รับรู้กันทั่วไป แม้แต่รัฐมนตรีพลังงานก็เคยพูดถึง สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติบางคนเคยเสนอให้นำไฟฟ้าไทยไปขายประเทศพม่านี่สะท้อนว่าโรงไฟฟ้าล้นเกินจริง แต่ไม่มีใครระบุตัวเลขว่าล้นเกินเท่าใด
2. เรื่องสายส่งจากภาคกลาง-ภาคใต้
ในคำชี้แจงของ กฟผ.บอกว่า “ปัจจุบันมีการส่งไฟฟ้าจากภาคกลางไปภาคใต้ขนาดกำลังผลิต 200 – 600 เมกะวัตต์ โดยมีปริมาณหน่วยเฉลี่ยในปี 2559 วันละ 2 ล้านหน่วย แม้ว่า ณ วันนี้ระบบไฟฟ้ายังสามารถจ่ายไฟฟ้าได้อย่างเพียงพอ แต่ก็มีความเสี่ยงมากกว่าภาคอื่น”
ถ้าเทียบกับปี 2552 พบว่าสายส่งภาคกลาง-ภาคใต้ ทำหน้าที่ส่งไฟฟ้าได้ 1,928 ล้านหน่วยต่อปี ในขณะที่ปี 2559 ส่งไฟฟ้าได้เพียง 730 ล้านหน่วยเท่านั้นคือไม่ถึงครึ่งของปี 2552
ข้อมูลในข้อ 1 และ 2 ต่างเสริมกันและกันว่าระบบการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยล้นมากเกิน ถ้าคิดเฉพาะเดือนสิงหาคมปีนี้ เรามีกำลังการผลิต 41,923 เมกะวัตต์ แต่ผลิตไฟฟ้าเพียง 16,625 ล้านหน่วย หรือทำงานเฉลี่ยวันละ 12.8 ชั่วโมง หรือมี plant factor เพียง 53% เท่านั้น (หมายเหตุ ผมคิดแบบอย่างง่าย แต่ในทางปฏิบัติจริงต้องคำนึงปัจจัยอื่นๆ ที่ซับซ้อนด้วย)
สำหรับโรงไฟฟ้ากังหันก๊าซสุราษฎร์ธานี และโรงไฟฟ้ากระบี่ (ซึ่งทาง กฟผ.อธิบายว่ามีต้นทุนการผลิตไฟฟ้าต่อหน่วยแพงกว่า) มีชั่วโมงทำงานเฉลี่ยเพียงวันละ 3 และ 1 ชั่วโมงต่อวันเท่านั้น (ดูภาพประกอบ)
3. ทาง กฟผ.ได้อธิบายว่า การที่โรงไฟฟ้าจะนะ 1 (ซึ่งในปี 2552 ได้ทำงานเฉลี่ยคิดเป็นชั่วโมงน้อยกว่าโรงไฟฟ้าขนอมซึ่งเป็นของเอกชน) เป็นเพราะว่าโรงไฟฟ้าจะนะเป็นโรงไฟฟ้าใหม่ที่ยัง “ไม่นิ่ง”ต้องหยุดเดินเครื่องบ่อย (ดูภาพแรกประกอบ)
น่าเสียดายที่ทาง กฟผ.ไม่ได้เปิดเผยการผลิตของโรงไฟฟ้าจะนะ (ไว้ในเว็บไซต์) แต่ได้เปิดเผยการผลิตของโรงไฟฟ้าเอกชนอื่นๆ ทุกโรง ผมจึงตามไปตรวจสอบโรงไฟฟ้าขนอม (ตามรูปและเว็บไซต์อ้างอิง)
พบว่าในปี 2553 โรงไฟฟ้าขนอมได้ผลิตน้อยกว่าปีที่ผ่านมาประมาณ 2% แต่คำชี้แจงครั้งนี้ทาง กฟผ.บอกว่าเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ดูรูป) กรุณาอย่าหาว่าผมนำเรื่องตัวเลขเล็กๆ น้อยๆ มาเป็นประเด็น แต่ข้อมูลก็คือข้อมูลจะต้องเปิดเผย โปร่งใสและตรวจสอบได้ซึ่ง กฟผ.เองก็บอกว่ามีแนวทางนี้เช่นกัน
4. ระบบการผลิตไฟฟ้ามีทั้งตัว “โรง” ไฟฟ้า กับระบบ “สายส่ง” ไฟฟ้าแรงสูงที่เชื่อมโยงถึงกันภาพข้างล่างนี้เป็นการกระจายตัวของ “โรง” ไฟฟ้าทั่วทุกภาคของประเทศ
จากภาพเราจะเห็นว่าทั้งภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคใต้จำนวนโรงไฟฟ้ากับความต้องการไฟฟ้ามีเกือบเท่ากันทั้ง 3 ภาค แต่ทำไมทางรัฐบาลโดยกระทรวงพลังงานจึงเล็งแต่จะสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มเฉพาะในภาคใต้เท่านั้น โดยอ้างว่าภาคใต้มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงกว่าภาคอื่นซึ่งก็เป็นความจริงบางส่วน
แต่ผมมั่นใจว่า ไม่ใช่ความจริงทั้งหมดเรามีทางออกอื่นๆ ที่ทางกระทรวงพลังงานไม่ได้คิดเช่น
(1) เรามีโรงไฟฟ้าชีวมวลและไบโอก๊าซในภาคใต้อีก 176 เมกะวัตต์ (ซึ่ง กฟผ.ไม่เอ่ยถึง) กระจายตัวอยู่ในจังหวัดของภาคใต้ ซึ่งสามารถผลิตไฟฟ้าได้ 24 ชั่วโมง ติดต่อกันตลอด 300 วัน (มี plant factor สูงกว่าโรงไฟฟ้าจะนะและขนอม) สามารถนำมาลดความต้องการไฟฟ้าสูงสุดซึ่งเกิดขึ้นรวมกันปีละไม่กี่ชั่วโมงได้สบายๆ
(2) สายส่งไฟฟ้าแรงสูงภาคกลาง-ใต้ ซึ่งส่งไฟฟ้าได้เฉลี่ยวันละ 2 ล้านหน่วย เมื่อคิดเป็นชั่วโมงทำงานแล้วได้เฉลี่ยเพียงวันละ 3 ชั่วโมงเท่านั้น (plant factor เพียง 14%) ทำไมไม่ใช้ประโยชน์ให้มากขึ้นถึง 70-75%
(3) เพิ่มชั่วโมงทำงานของโรงไฟฟ้ากระบี่และสุราษฎร์ธานี เป็นต้น
ผมเองได้ติดตามศึกษาและเขียนบทความนี้โดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ และไม่ได้รับทุนสนับสนุนจากใครทั้งสิ้น ผมไม่ได้มีอคติกับองค์กรใดทั้งนั้น สิ่งที่ผมกำลังกระทำก็แค่ทำตามหน้าที่พลเมือง (หรือทำตามคำสอนของพ่อ) สิ่งที่ผมหวังก็คืออยากเห็นบ้านเมืองพัฒนาไปในแนวทางที่ถูกต้อง ทั้งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำของประเทศ โดยให้เจ้าของบ้านสามารถผลิตไฟฟ้าเพื่อขายซึ่งต่างประเทศเขาก็ทำกันทั่วไปและยั่งยืน (แต่ประเทศไทยกลับกีดกันและขัดขวาง) ผมอยากให้ประเทศไทยเราร่วมแก้ปัญหาวิกฤตโลกที่รุนแรงมากขึ้น ซึ่งเราทุกคนต่างก็ประจักษ์ชัดเจนอยู่แล้วในหลวงรัชกาลที่ ๙ ก็ได้ทรงตรัสเรื่องนี้อย่างละเอียดยิบตั้งแต่ปี 2543
แต่ผมกลับถูกด่าด้วยถ้อยคำที่หยาบช้าจากพวกก่อกวนบางกลุ่ม เมื่อทาง กฟผ.ชี้แจงด้วยท่าทีที่เป็นมิตร ผมจึงรู้สึกดีใจและขอบคุณครับ