“วัดครึ่ง กรรมการครึ่ง” นี่คือคำพูดซึ่งเป็นที่รู้กันว่าหมายถึงการแบ่งผลประโยช์ระหว่างวัดกับกรรมการจัดงาน เพื่อหาเงินเข้าวัดในรูปแบบต่างๆ เช่น วัดจัดงานฝังลูกนิมิต และกรรมการจัดงานได้จัดหาวัตถุมงคล เช่น พระเครื่องมาให้ทางวัดจัดจำหน่าย และนำเงินที่ได้บำรุงวัดแต่ต้องหักค่าใช้จ่ายในการจัดทำหรือจัดหาวัตถุมงคลเหล่านี้ นั่นหมายถึงว่าค่าใช้จ่ายส่วนหนึ่งก็คือรายได้ของกรรมการผู้จัดหารวมอยู่ด้วย
อีกรูปแบบหนึ่งของการแบ่งผลประโยชน์ในรูปแบบวัดครึ่ง กรรมการครึ่ง ก็คือ การจัดทอดผ้าป่าของบรรดาผู้ที่จากบ้านไปทำงานในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ เมื่อถึงวันเทศกาลขึ้นปีใหม่หรือสงกรานต์เขาเหล่านี้จะขึ้นไปเยี่ยมบ้าน แต่แทนที่ต่างคนต่างกลับโดยเสียค่ายานพาหนะเอง ก็จะรวมตัวกันจัดผ้าป่าแจกซองเรี่ยไร ทั้งจากคนที่ไปและไม่ไปเป็นการบอกบุญตามประเพณีไทย และเงินที่ได้นำไปเป็นค่าเช่ารถ และค่ากินระหว่างเดินทางที่เหลือทำบุญให้วัด ได้ทั้งบุญและได้กลับบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
นอกจากรูปแบบดังกล่าวแล้ว ยังมีการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบของวัดครึ่ง กรรมการครึ่งอีกมากมาย แต่ที่ผ่านมาเป็นการหาประโยชน์จากเงินชาวบ้านผู้ศรัทธา ปัญหาการฟ้องร้องในทางกระบวนการยุติธรรมจึงไม่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่การทำเช่นนี้ถ้ามองในแง่ของคำสอนเกี่ยวกับการทำทานแล้วก็ผิด เนื่องจากผู้รับมิได้เป็นผู้มีศีล และยังนำเงินบริจาคเพื่ออุทิศพระพุทธศาสนาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ให้ด้วย
แต่วันนี้และเวลานี้มีการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยวัดได้เกิดขึ้นกับเงินงบประมาณจึงเกิดเป็นข่าวใหญ่ และมีแนวโน้มว่าจะลุกลามไปจนถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ด้วย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อภายใต้หัวข้อเรื่องเงินทอนวัด และท่านผู้อ่านบางท่านคงได้ทราบรายละเอียดไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงใคร่นำเสนอเรื่องนี้อีกครั้ง โดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
1. หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 26 กันยายน 2560 ได้เสนอข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการทุจริตเงินทอนวัดว่า
เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ นำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านบุคคลผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเงินทอนวัดล็อกที่ 2 รวม 14 จุดใน 7 จังหวัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน และพบว่าเป็นการทุจริตงบประมาณอุดหนุน 3 ประเภทคือ
1.1 อุดหนุนปฏิสังขรณ์วัดและพัฒนาวัด
1.2 อุดหนุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
1.3 อุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา แผนกธรรมะ แผนกบาลีจำนวน 23 วัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2560 มีความเสียหายประมาณ 140 ล้านบาท มีหลักฐานสาวไปถึงผู้เกี่ยวข้อง 19 ราย และกำลังออกหมายเรียกและออกหมายจับไปแล้ว
2. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 พ.ต.อ.วรายุทธ สุขวัฒน์ธนกุล รอง ผบก.ปปป.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ป.ป.ป.ได้ออกหนังสือเชิญพระสงฆ์ 4 รูปเข้ามารับทราบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับประเด็นเงินทอนวัด ประกอบด้วย พระครูกิตติพัชรคุณ เจ้าอาวาสวัดลาดแค และเจ้าคณะอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พระราชรัตนมุนี เลขาฯ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะหนกลาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามฯ ย่านคลองสาน กทม. พระเทพเสนาบดี เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามฯ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และพระครูวิสุทธิวัฒนกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามฯ ย่านบางกอกใหญ่ กทม. ซึ่งถูกกล่าวหาตามมาตรา 147 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังทรัพย์เป็นของตนเอง มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และมาตรา 68 ฐานให้ความสะดวกสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ในส่วนของพระเทพเสนาบดีได้เพิ่มมาตรา 162 ปลอมแปลงเอกสารทางราชการอีก 1 ข้อหา
จากประเด็นข่าวดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวงการสงฆ์ในประเทศไทย ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นจากที่เคยเป็นคือ พระสงฆ์ประพฤติตนย่อหย่อนทางด้านพระวินัย เช่น ออกเรี่ยไร ทำวัตถุมงคล และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ไปจนถึงอวดอุตริมนุสธรรมมาถึงขั้นร่วมกับคฤหัสถ์ยักยอกงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจัดให้เพื่อช่วยเหลือพระศาสดาในด้านต่างๆ ถ้าการสอบสวนของเจ้าหน้าที่จบลงด้วยการฟ้องร้อง และผลปรากฏว่ามีพระภิกษุเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะร่วมกันกระทำผิดกฎหมายอาญาจริง ก็เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยในขณะนี้ ได้ถึงยุคที่จะต้องทำสังคายนาพระธรรมวินัย และจะต้องมีการปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าเปรียบเทียบพฤติกรรมของภิกษุที่เป็นเหตุให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 แล้วจะเห็นว่าในครั้งที่ 2 เพียงแค่ตีความผิดและปฏิบัติย่อหย่อน เช่น การเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์แล้วนำมาฉันได้ และรับเงิน รับทองได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาบัติเล็กน้อย และครั้งที่ 3 เพียงแค่พวกนอกศาสนาปลอมบวชและเผยแพร่คำสอนของลัทธิตน โดยอ้างเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นกล่าวตู่พระพุทธองค์ หรือแอบอ้าง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการสมคบกับคฤหัสถ์โกงกินเงินวัดแล้วร้ายแรงกว่า เพราะถึงขั้นต้องอาบัติปาราชิก
2. ถ้ามองในแง่ของการบริหาร พระภิกษุที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินทอนวัดซึ่งเป็นถึงระดับผู้บริหาร ถ้ามีความผิดจริงประชาชนคงเสื่อมศรัทธาไม่น้อย
3. ถ้าภิกษุซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรงกระทำผิดเสียเอง และพุทธบริษัท 3 ประเภทที่เหลือจะแบกรับภาระในการปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปกป้องให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีจากผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ ผู้เขียนในฐานะเป็นชาวพุทธ และไม่ต้องการเห็นพระพุทธศาสนาถูกทำลายด้วยน้ำมือของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกัน ในทำนองเดียวกันกับต้นไผ่ที่ถูกนำไปทำด้ามมีด และนำมาตัดต้นไผ่ซึ่งร้ายแรงกว่าศัตรูภายนอกเป็นหลายเท่า
อีกรูปแบบหนึ่งของการแบ่งผลประโยชน์ในรูปแบบวัดครึ่ง กรรมการครึ่ง ก็คือ การจัดทอดผ้าป่าของบรรดาผู้ที่จากบ้านไปทำงานในเมือง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรุงเทพฯ เมื่อถึงวันเทศกาลขึ้นปีใหม่หรือสงกรานต์เขาเหล่านี้จะขึ้นไปเยี่ยมบ้าน แต่แทนที่ต่างคนต่างกลับโดยเสียค่ายานพาหนะเอง ก็จะรวมตัวกันจัดผ้าป่าแจกซองเรี่ยไร ทั้งจากคนที่ไปและไม่ไปเป็นการบอกบุญตามประเพณีไทย และเงินที่ได้นำไปเป็นค่าเช่ารถ และค่ากินระหว่างเดินทางที่เหลือทำบุญให้วัด ได้ทั้งบุญและได้กลับบ้านโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
นอกจากรูปแบบดังกล่าวแล้ว ยังมีการแสวงหาประโยชน์ในรูปแบบของวัดครึ่ง กรรมการครึ่งอีกมากมาย แต่ที่ผ่านมาเป็นการหาประโยชน์จากเงินชาวบ้านผู้ศรัทธา ปัญหาการฟ้องร้องในทางกระบวนการยุติธรรมจึงไม่เกิดขึ้น ทั้งๆ ที่การทำเช่นนี้ถ้ามองในแง่ของคำสอนเกี่ยวกับการทำทานแล้วก็ผิด เนื่องจากผู้รับมิได้เป็นผู้มีศีล และยังนำเงินบริจาคเพื่ออุทิศพระพุทธศาสนาไปใช้ผิดวัตถุประสงค์ของผู้ให้ด้วย
แต่วันนี้และเวลานี้มีการแสวงหาประโยชน์โดยอาศัยวัดได้เกิดขึ้นกับเงินงบประมาณจึงเกิดเป็นข่าวใหญ่ และมีแนวโน้มว่าจะลุกลามไปจนถึงพระสงฆ์ชั้นผู้ใหญ่ด้วย ดังที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่ทางสื่อภายใต้หัวข้อเรื่องเงินทอนวัด และท่านผู้อ่านบางท่านคงได้ทราบรายละเอียดไปแล้ว
แต่เพื่อให้ท่านผู้อ่านที่ยังไม่รู้และไม่เข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผู้เขียนจึงใคร่นำเสนอเรื่องนี้อีกครั้ง โดยสรุปเป็นประเด็นสำคัญดังนี้
1. หนังสือพิมพ์แนวหน้าฉบับวันที่ 26 กันยายน 2560 ได้เสนอข่าวความคืบหน้าเกี่ยวกับการทุจริตเงินทอนวัดว่า
เจ้าหน้าที่กองบังคับการป้องกันปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ นำกำลังเข้าตรวจค้นบ้านบุคคลผู้ต้องสงสัยที่เกี่ยวข้องกับเงินทอนวัดล็อกที่ 2 รวม 14 จุดใน 7 จังหวัด เมื่อวันที่ 21 กันยายน และพบว่าเป็นการทุจริตงบประมาณอุดหนุน 3 ประเภทคือ
1.1 อุดหนุนปฏิสังขรณ์วัดและพัฒนาวัด
1.2 อุดหนุนส่งเสริมการเผยแผ่พระพุทธศาสนา
1.3 อุดหนุนการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา แผนกธรรมะ แผนกบาลีจำนวน 23 วัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535-2560 มีความเสียหายประมาณ 140 ล้านบาท มีหลักฐานสาวไปถึงผู้เกี่ยวข้อง 19 ราย และกำลังออกหมายเรียกและออกหมายจับไปแล้ว
2. เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2560 พ.ต.อ.วรายุทธ สุขวัฒน์ธนกุล รอง ผบก.ปปป.เปิดเผยว่า ขณะนี้ ป.ป.ป.ได้ออกหนังสือเชิญพระสงฆ์ 4 รูปเข้ามารับทราบข้อกล่าวหาเกี่ยวกับประเด็นเงินทอนวัด ประกอบด้วย พระครูกิตติพัชรคุณ เจ้าอาวาสวัดลาดแค และเจ้าคณะอำเภอชนแดน จังหวัดเพชรบูรณ์ พระราชรัตนมุนี เลขาฯ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เจ้าคณะหนกลาง ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดพิชยญาติการามฯ ย่านคลองสาน กทม. พระเทพเสนาบดี เจ้าอาวาสวัดกวิศรารามฯ ต.ท่าหิน อ.เมือง จ.ลพบุรี ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเจ้าคณะจังหวัดลพบุรี และพระครูวิสุทธิวัฒนกิจ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชสิทธารามฯ ย่านบางกอกใหญ่ กทม. ซึ่งถูกกล่าวหาตามมาตรา 147 ฐานเป็นเจ้าหน้าที่ใช้อำนาจหน้าที่เบียดบังทรัพย์เป็นของตนเอง มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ และมาตรา 68 ฐานให้ความสะดวกสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำความผิด
ในส่วนของพระเทพเสนาบดีได้เพิ่มมาตรา 162 ปลอมแปลงเอกสารทางราชการอีก 1 ข้อหา
จากประเด็นข่าวดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าวงการสงฆ์ในประเทศไทย ได้เผชิญกับปัญหาวิกฤตศรัทธาเพิ่มขึ้นจากที่เคยเป็นคือ พระสงฆ์ประพฤติตนย่อหย่อนทางด้านพระวินัย เช่น ออกเรี่ยไร ทำวัตถุมงคล และจำหน่ายในเชิงพาณิชย์ไปจนถึงอวดอุตริมนุสธรรมมาถึงขั้นร่วมกับคฤหัสถ์ยักยอกงบประมาณแผ่นดิน ซึ่งจัดให้เพื่อช่วยเหลือพระศาสดาในด้านต่างๆ ถ้าการสอบสวนของเจ้าหน้าที่จบลงด้วยการฟ้องร้อง และผลปรากฏว่ามีพระภิกษุเข้าไปเกี่ยวข้องในฐานะร่วมกันกระทำผิดกฎหมายอาญาจริง ก็เป็นการบ่งบอกอย่างชัดเจนว่า พระพุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยในขณะนี้ ได้ถึงยุคที่จะต้องทำสังคายนาพระธรรมวินัย และจะต้องมีการปฏิรูปองค์กรปกครองสงฆ์ได้แล้ว ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ถ้าเปรียบเทียบพฤติกรรมของภิกษุที่เป็นเหตุให้มีการทำสังคายนาครั้งที่ 2 และ 3 แล้วจะเห็นว่าในครั้งที่ 2 เพียงแค่ตีความผิดและปฏิบัติย่อหย่อน เช่น การเก็บเกลือไว้ในเขาสัตว์แล้วนำมาฉันได้ และรับเงิน รับทองได้ เป็นต้น ซึ่งเป็นอาบัติเล็กน้อย และครั้งที่ 3 เพียงแค่พวกนอกศาสนาปลอมบวชและเผยแพร่คำสอนของลัทธิตน โดยอ้างเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งอาจเป็นความผิดร้ายแรงถึงขั้นกล่าวตู่พระพุทธองค์ หรือแอบอ้าง แต่ถ้าเปรียบเทียบกับการสมคบกับคฤหัสถ์โกงกินเงินวัดแล้วร้ายแรงกว่า เพราะถึงขั้นต้องอาบัติปาราชิก
2. ถ้ามองในแง่ของการบริหาร พระภิกษุที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับเงินทอนวัดซึ่งเป็นถึงระดับผู้บริหาร ถ้ามีความผิดจริงประชาชนคงเสื่อมศรัทธาไม่น้อย
3. ถ้าภิกษุซึ่งเป็นหนึ่งในพุทธบริษัท 4 และเป็นผู้สืบทอดพระพุทธศาสนาโดยตรงกระทำผิดเสียเอง และพุทธบริษัท 3 ประเภทที่เหลือจะแบกรับภาระในการปกป้องพระพุทธศาสนาไว้ได้อย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปกป้องให้รอดพ้นจากการถูกโจมตีจากผู้ที่ไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ก่อนแล้ว
ด้วยเหตุปัจจัย 3 ประการนี้ ผู้เขียนในฐานะเป็นชาวพุทธ และไม่ต้องการเห็นพระพุทธศาสนาถูกทำลายด้วยน้ำมือของผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาด้วยกัน ในทำนองเดียวกันกับต้นไผ่ที่ถูกนำไปทำด้ามมีด และนำมาตัดต้นไผ่ซึ่งร้ายแรงกว่าศัตรูภายนอกเป็นหลายเท่า