ผู้จัดการรายวัน360 - ครม.รับทราบผลการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศ 11 ด้าน 120 คนจาก 165 คน ครอบคลุมคนดังทุกมิติ ด้านป้องกันทุจริตดึงอดีต ป.ป.ช. “กล้าณรงค์-วิชา” ร่วมคณะ ชุดปฏิรูปยุติธรรมดึง “หมอพรทิพย์-ทนายสงกานต์” ประธาน ด้านสาธารณสุขตั้ง “หมอเสรี ตู้จินดา” เป็นประธาน ส่วนกลุ่มพลังงานได้คนหน้าเดิม “พรชัย-มนูญ-ปิยสวัสดิ์” ขณะที่ด้านสื่อมวลชนดึง “ปลัดจิรชัย” นั่งประธาน ฟาก “วิษณุ” ย้ำไม่มีเงินเดือน ได้ค่าเบี้ยประชุมรวมเดือนละ 4.8 หมื่นบาท
วานนี้ (15ส.ค.) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. มีมติรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 คณะซึ่งแต่ละคณะมีกรรมการไม่เกิน 15 คน รวม 11 คณะมีกรรมการ 165 คน ซึ่งแต่ละคณะยังตั้งไม่ครบจำนวน โดย ครม. เห็นชอบ 120 คน จึงยังค้างอยู่ 45 คน โดยจะแต่งตั้งโอกาสต่อไป มีสัดส่วนผู้หญิง 20 คน และให้มีข้าราชการประจำน้อยที่สุด หลังจากแต่งตั้งจะแยกย้ายไปยกร่างการปฏิรูป คาดว่าน่าจะเสร็จภายในเดือน เม.ย.61 ส่วน คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ จะมีคณะกรรมการย่อยๆ อีก 6-7 คณะ โดยจะต้องแต่งตั้งอีก 90-100 คน คาดว่าจะเสนอ ครม. ได้ในช่วงปลายเดือนส.ค.ศกนี้
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการแต่ละชุด ประกอบด้วย 1.ด้านการเมือง มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ และนายวันชัย สอนศิริ 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มี นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน นายบัณฑูร ล่ำซำ พล.อ.อภิชาติ เพ็ญกิตติ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และนายถวิล เปลี่ยนศรี 3.ด้านกฎหมาย มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ และพล.อ.จิระ โกมุทพงศ์
4..ด้านกระบวนการยุติธรรม มี นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการกฤษฎีกา เป็นประธาน คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ และนายตระกูล วินิจฉัยภาค 5.ด้านเศรษฐกิจ มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธาน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สส.นก) เป็นประธาน นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ และนายธีรพัฒน์ ประยูรสิทธิ
7.ด้านสาธารณสุข มี นพ.เสรี ตู้จินดา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย นายสมชัย จิตสุชย นายพาณิชย์ เจริญเผ่า นพ.พลเดช ปิ่นประทีป นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นพ.โสภณ เมฆธน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และนพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล 8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มี นายจิรชัย มูลทองโร่ย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด นายธงชัย ณ นคร นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ รอ.ประยุทธ์ เสาวคนธ์ นายเสรี วงษ์มณฑา นางกนกทิพย์ รชตะนันท์ นายสุทธิชัย หยุ่น นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ และ ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์
9.ด้านสังคม มี นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายอำพน จินดาวัฒนะ มรว.จักรรถ จิตพงศ์ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายวิเชียร ชวลิต นายวินัย ดะห์ลัน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ นายสมเดช นิลพันธุ์ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายไมตรี อินทุสุต และนางชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ
10.ด้านพลังงาน มี นายพรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ นายมนูญ ศิริวรรณ นายดุสิต เครืองาม นายบัณทิต เอื้ออาภรณ์ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ นายดนุชา พิชยนันท์ และนายกวิน ทังสุพานิช 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตประธานป.ป.ช. เป็นประธาน นายกล้าณรงค์ จันทิก พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป นายเจษฎ์ โทณะวณิก นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต นายมานะ นิมิตรมงคล นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย อัศรัสกร นายอนุสิษฐ คุณากร นายอุทิศ ขาวเธียร และนายประยงค์ ปรียาจิตต์
** “วิษณุ” เผย คกก.ปฏิรูป ไม่มีเงินเดือน - ได้แค่เบี้ยประชุม
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป 11 ด้าน ตามที่ ครม. เห็นชอบวานนี้ (15 ส.ค.) มาจากภาคส่วนต่างๆ ที่เสนอเข้ามา และยังสามารถแต่งตั้งเพิ่มได้ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดต่อไป โดย คณะกรรมการปฏิรูป ต้องอยู่ได้ไม่เกินคนละ 1 ชุด ส่วนผู้ที่มีชื่อซ้ำนั้นจะต้องเลือกเอาคณะใดคณะหนึ่ง ส่วนรายชื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาตินั้นต้องดำเนินการแต่งตั้งภายในสิ้นเดือนส.ค.ศกนี้ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีรายชื่อเข้ามาบ้างแล้ว
“คณะกรรมการฯ แต่ละรายจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเพียงเบี้ยประชุมรายครั้งๆ ละ 6,000 บาท โดยไม่มีเงินเดือน เนื่องจากเป็นเพียงคณะกรรมการ โดยคาดว่าจะมีการประชุมสัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้ง รวมหนึ่งเดือนหนึ่งเดือนจะได้รับเบี้ยประชุม 48,000 บาท ถือว่าน้อยกว่าค่าตอบแทนของ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ถึงครึ่งหนึ่ง” นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วงเย็นวันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ แล้ว โดยให้คณะกรรมการตามประกาศนี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 60 เป็นต้นไป
วานนี้ (15ส.ค.) พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. มีมติรับทราบการแต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศทั้ง 11 คณะซึ่งแต่ละคณะมีกรรมการไม่เกิน 15 คน รวม 11 คณะมีกรรมการ 165 คน ซึ่งแต่ละคณะยังตั้งไม่ครบจำนวน โดย ครม. เห็นชอบ 120 คน จึงยังค้างอยู่ 45 คน โดยจะแต่งตั้งโอกาสต่อไป มีสัดส่วนผู้หญิง 20 คน และให้มีข้าราชการประจำน้อยที่สุด หลังจากแต่งตั้งจะแยกย้ายไปยกร่างการปฏิรูป คาดว่าน่าจะเสร็จภายในเดือน เม.ย.61 ส่วน คณะกรรมการจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ จะมีคณะกรรมการย่อยๆ อีก 6-7 คณะ โดยจะต้องแต่งตั้งอีก 90-100 คน คาดว่าจะเสนอ ครม. ได้ในช่วงปลายเดือนส.ค.ศกนี้
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการแต่ละชุด ประกอบด้วย 1.ด้านการเมือง มี นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ เป็นประธาน นายธีรภัทร์ เสรีรังสรรค์ และนายวันชัย สอนศิริ 2.ด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มี นายกฤษฎา บุญราช ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธาน นายบัณฑูร ล่ำซำ พล.อ.อภิชาติ เพ็ญกิตติ คุณหญิงทิพาวดี เมฆสวรรค์ และนายถวิล เปลี่ยนศรี 3.ด้านกฎหมาย มี นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ เป็นประธาน นายคำนูณ สิทธิสมาน นายสุขุมพงศ์ โง่นคำ และพล.อ.จิระ โกมุทพงศ์
4..ด้านกระบวนการยุติธรรม มี นายอัชพร จารุจินดา อดีตเลขาธิการกฤษฎีกา เป็นประธาน คุณหญิงแพทย์หญิงพรทิพย์ โรจนสุนันท์ พล.ต.ท.อำนวย นิ่มมะโน นายสงกานต์ อัจฉริยะทรัพย์ และนายตระกูล วินิจฉัยภาค 5.ด้านเศรษฐกิจ มี นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล อดีตผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เป็นประธาน นายชัยวัฒน์ วิบูลย์สวัสดิ์ นายอิสระ ว่องกุศลกิจ นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ และนายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ 6.ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มี นายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สส.นก) เป็นประธาน นายธรณ์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ นพ.ชูชัย ศุภวงศ์ และนายธีรพัฒน์ ประยูรสิทธิ
7.ด้านสาธารณสุข มี นพ.เสรี ตู้จินดา อดีตอธิบดีกรมการแพทย์ เป็นประธาน นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ นพ.ปิยะ หาญวรวงศ์ชัย นายสมชัย จิตสุชย นายพาณิชย์ เจริญเผ่า นพ.พลเดช ปิ่นประทีป นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล นพ.โสภณ เมฆธน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา และนพ.ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล 8.ด้านสื่อสารมวลชน เทคโนโลยีสารสนเทศ มี นายจิรชัย มูลทองโร่ย อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร นางประภา เหตระกูล ศรีนวลนัด นายธงชัย ณ นคร นายประดิษฐ์ เรืองดิษฐ์ รอ.ประยุทธ์ เสาวคนธ์ นายเสรี วงษ์มณฑา นางกนกทิพย์ รชตะนันท์ นายสุทธิชัย หยุ่น นายสมหมาย ปาริจฉัตต์ และ ดร.ปาริชาติ สถาปิตานนท์
9.ด้านสังคม มี นายปิติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน นายอำพน จินดาวัฒนะ มรว.จักรรถ จิตพงศ์ นายต่อพงศ์ เสลานนท์ นายวิเชียร ชวลิต นายวินัย ดะห์ลัน นายอโณทัย ฤทธิปัญญาวงศ์ นายสมเดช นิลพันธุ์ นายสุรินทร์ จิรวิศิษฏ์ พล.อ.รณชัย มัญชุสุนทรกุล นายเอ็นนู ซื่อสุวรรณ นายไมตรี อินทุสุต และนางชุตินาฎ วงศ์สุบรรณ
10.ด้านพลังงาน มี นายพรชัย รุจิประภา อดีตปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ นายมนูญ ศิริวรรณ นายดุสิต เครืองาม นายบัณทิต เอื้ออาภรณ์ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ นายดนุชา พิชยนันท์ และนายกวิน ทังสุพานิช 11.ด้านการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ มี นายปานเทพ กล้าณรงค์ราญ อดีตประธานป.ป.ช. เป็นประธาน นายกล้าณรงค์ จันทิก พล.ร.อ.พะจุณณ์ ตามประทีป นายเจษฎ์ โทณะวณิก นายเพิ่มพงษ์ เชาวลิต นายมานะ นิมิตรมงคล นายวิชา มหาคุณ นายวิชัย อัศรัสกร นายอนุสิษฐ คุณากร นายอุทิศ ขาวเธียร และนายประยงค์ ปรียาจิตต์
** “วิษณุ” เผย คกก.ปฏิรูป ไม่มีเงินเดือน - ได้แค่เบี้ยประชุม
ด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี กล่าวเสริมว่า รายชื่อคณะกรรมการปฏิรูป 11 ด้าน ตามที่ ครม. เห็นชอบวานนี้ (15 ส.ค.) มาจากภาคส่วนต่างๆ ที่เสนอเข้ามา และยังสามารถแต่งตั้งเพิ่มได้ให้ครบตามจำนวนที่กำหนดต่อไป โดย คณะกรรมการปฏิรูป ต้องอยู่ได้ไม่เกินคนละ 1 ชุด ส่วนผู้ที่มีชื่อซ้ำนั้นจะต้องเลือกเอาคณะใดคณะหนึ่ง ส่วนรายชื่อคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาตินั้นต้องดำเนินการแต่งตั้งภายในสิ้นเดือนส.ค.ศกนี้ ซึ่งขณะนี้เริ่มมีรายชื่อเข้ามาบ้างแล้ว
“คณะกรรมการฯ แต่ละรายจะได้รับค่าตอบแทนเป็นเพียงเบี้ยประชุมรายครั้งๆ ละ 6,000 บาท โดยไม่มีเงินเดือน เนื่องจากเป็นเพียงคณะกรรมการ โดยคาดว่าจะมีการประชุมสัปดาห์ละไม่เกิน 2 ครั้ง รวมหนึ่งเดือนหนึ่งเดือนจะได้รับเบี้ยประชุม 48,000 บาท ถือว่าน้อยกว่าค่าตอบแทนของ สมาชิกสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ถึงครึ่งหนึ่ง” นายวิษณุ กล่าว
ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ช่วงเย็นวันเดียวกัน เว็บไซต์ราชกิจนุเบกษา เผยแพร่ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านต่างๆ แล้ว โดยให้คณะกรรมการตามประกาศนี้มีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยให้ได้รับค่าตอบแทน ค่าใช้จ่าย และประโยชน์ตอบแทนอื่นตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 15 ส.ค. 60 เป็นต้นไป