มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล ประธานกรรมการรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น และนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ ในฐานะอธิการบดี สถาบันวิทยสิริเมธี หรือ VISTEC เปิดเผยว่า ในปีนี้ คณะกรรมการมีมติเป็นเอกฉันท์ให้ ศ.พิเศษ ดร.เดวิด รูฟโฟโล อาจารย์ประจำภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล เป็นผู้ได้รับรางวัลนักวิทยาศาสตร์ดีเด่น ประจำปี 2560 เนื่องจากเป็นผู้ริเริ่มงานวิจัยทางด้านฟิสิกส์อวกาศในประเทศไทยมากว่า 25 ปี มีความเชี่ยวชาญด้านกัมมันตรังสีรอบโลก และเป็นผู้พัฒนาเกี่ยวกับรังสีคอสมิก ซึ่งเป็นอานุภาคพลังงานสูง ที่เกิดจากพายุสุริยะในอวกาศที่มีผลต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจในอวกาศ และในบรรยากาศโลก นอกจากนี้ยังเป็นแกนนำในการสร้างทีมนักวิจัยเพื่อจัดตั้งสถานีตรวจวัดนิวตรอนสิรินธร ณ ยอดดอยอินทนนท์ ในปี 50
สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 60 ได้แก่ 1. ผศ.ดร.บูรภัทร์ อินทรีย์สังวร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ผลงาน “ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง...สู่สังคมปลอดมลพิษ”
2. รศ.ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงาน“การเปลี่ยนพฤติกรรมของแข็งให้กลายเป็นของไหล…จากทฤษฎีสู่การประยุกต์ใช้งาน”
3. ผศ.ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผลงาน “บูรณาการศาสตร์หลากสาขา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาด้านพันธุศาสตร์อย่างยั่งยืน”
4. ผศ.ดร.วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน “การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการตัดด้วยเลเซอร์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่”
ศ.ดร.จำรัส กล่าวว่า ประเทศไทยตั้งเป้าใช้เวลา3-5 ปี ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 แต่ในขณะเดียวกัน เรากำลังประสบปัญหาขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ และผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากการขาดแคลนเงินลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้งบเพียง 0.22% ของ GDPเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย อย่างเกาหลีใต้ ที่ใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยมากถึง 4.25% ของ GDP ดังนั้นทางมูลนิธิฯจึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะการก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0 จำเป็นต้องอาศัย คน 4.0 เช่นกัน
สำหรับรางวัลนักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ประจำปี 60 ได้แก่ 1. ผศ.ดร.บูรภัทร์ อินทรีย์สังวร ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.เชียงใหม่ ผลงาน “ตัวเร่งปฏิกิริยาด้วยแสง...สู่สังคมปลอดมลพิษ”
2. รศ.ดร.เบญจพล เฉลิมสินสุวรรณ ภาควิชาเคมีเทคนิค คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ ผลงาน“การเปลี่ยนพฤติกรรมของแข็งให้กลายเป็นของไหล…จากทฤษฎีสู่การประยุกต์ใช้งาน”
3. ผศ.ดร.วโรดม เจริญสวรรค์ ภาควิชาชีวเคมี คณะวิทยาศาสตร์ ม.มหิดล ผลงาน “บูรณาการศาสตร์หลากสาขา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาด้านพันธุศาสตร์อย่างยั่งยืน”
4. ผศ.ดร.วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ผลงาน “การพัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมด้านการตัดด้วยเลเซอร์ สำหรับอุตสาหกรรมการผลิตสมัยใหม่”
ศ.ดร.จำรัส กล่าวว่า ประเทศไทยตั้งเป้าใช้เวลา3-5 ปี ในการเปลี่ยนผ่านสู่ยุค 4.0 แต่ในขณะเดียวกัน เรากำลังประสบปัญหาขาดแคลนนักวิทยาศาสตร์ และผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทั้งนี้สาเหตุเกิดจากการขาดแคลนเงินลงทุนด้านการวิจัย ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้งบเพียง 0.22% ของ GDPเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชีย อย่างเกาหลีใต้ ที่ใช้เงินลงทุนด้านการวิจัยมากถึง 4.25% ของ GDP ดังนั้นทางมูลนิธิฯจึงอยากให้รัฐบาลให้ความสำคัญกับการพัฒนานักวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีส่วนสำคัญยิ่งในการคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ เพราะการก้าวสู่ ไทยแลนด์ 4.0 จำเป็นต้องอาศัย คน 4.0 เช่นกัน