ผู้ตรวจการแผ่นดิน มีมติการันตีรัฐซื้อเรือดำน้ำจากจีน โปร่งใส ไม่ขัดรธน. จำเป็นกับประเทศ ตีตกคำร้อง"เรืองไกร" ไม่ส่งศาลรธน.วินิจฉัย กฎหมายป.ป.ช.ปี 42 และ 50
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลการตรวจสอบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ S-26Tระหว่างกองทัพเรือ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา ว่า ไม่พบเหตุผิดปกติ หรือมีการกระทำที่ขัดรธน. จึงมีมติให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยจากการตรวจสอบพบว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำ ซึ่งมีการก่อหนี้ผูกพันวงเงิน 13,500 ล้านบาท ได้มีการขออนุมัติจากครม. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 60 ใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 59 แล้ว โดยเสนอครม.พิจารณา ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.59 จึงถือว่าชอบด้วยวิธีการงบประมาณ ส่วนมติ ครม.วันที่ 18 เม.ย. 60 เป็นการรับทราบและเห็นชอบตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ก่อนดำเนินการเท่านั้น
อีกทั้งพบว่ากองทัพเรือได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ บริหารโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ(กจด.) เพื่อศึกษาทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตั้งแต่ภาวะปกติจนถึงภาวะขัดแย้ง โดยที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำ ได้มีการริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 และมีการปรับปรุงโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพของงบประมาณ ที่คาดว่าจะได้รับมาเป็นลำดับ และสอดคล้องกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรือดำน้ำเป็นยุทโธปกรณ์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ ตามแนวความคิดการรักษาความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งมีขีดความสามารถสูง และสามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย ทั้งในภาวะปกติ และภาวะขัดแย้ง จึงเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับกองทัพเรือในการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
อีกทั้งการดำเนินการจัดซื้อ ได้ดำเนินการภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว จึงไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประเทศชาติ โดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
ดังนั้น การดำเนินการตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพเรือ และครม. จึงไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรธน. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ส่วนกรณีที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรธน. วินิจฉัยว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ถือเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่นั้น กฤษฎีกามีความเห็นว่า ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาตามรธน.ปี 60 มาตรา 178 เนื่องจากเป็นข้อตกลงจัดสร้างเรือดำน้ำ เป็นการทำสัญญาซื้อขายเชิงพาณิชย์ในทำนองเดียวกับการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชน จึงไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน อีกทั้งกรณีนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการฯ ที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของครม. ที่จะพิจารณาว่า จะเสนอเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยหรือไม่
นอกจากนี้ผู้ตรวจการฯ ยังมีมติไม่ส่งศาลรธน. วินิจฉัยกรณี พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ 2550 ขัดรธน. เพราะองค์ประชุมไม่ครบ ตามที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นคำร้อง เนื่องจากเป็นเรื่องของกระบวนการตรากฎหมาย ไม่เกี่ยวกับเนื้อหากฎหมายว่าชอบด้วยรธน. หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจที่ผู้ตรวจการฯ จะดำเนินการได้
นายรักษ์เกชา แฉ่ฉาย เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงผลการตรวจสอบโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ S-26Tระหว่างกองทัพเรือ กับสาธารณรัฐประชาชนจีน ตามคำร้องของ นายศรีสุวรรณ จรรยา ว่า ไม่พบเหตุผิดปกติ หรือมีการกระทำที่ขัดรธน. จึงมีมติให้ยุติเรื่องดังกล่าว โดยจากการตรวจสอบพบว่า การจัดซื้อเรือดำน้ำ ซึ่งมีการก่อหนี้ผูกพันวงเงิน 13,500 ล้านบาท ได้มีการขออนุมัติจากครม. ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 60 ใช้บังคับ เมื่อวันที่ 1 ต.ค. 59 แล้ว โดยเสนอครม.พิจารณา ตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค.59 จึงถือว่าชอบด้วยวิธีการงบประมาณ ส่วนมติ ครม.วันที่ 18 เม.ย. 60 เป็นการรับทราบและเห็นชอบตามความเห็นของสำนักงบประมาณ ก่อนดำเนินการเท่านั้น
อีกทั้งพบว่ากองทัพเรือได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการ บริหารโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ(กจด.) เพื่อศึกษาทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี เพื่อปกป้องรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล ตั้งแต่ภาวะปกติจนถึงภาวะขัดแย้ง โดยที่โครงการจัดหาเรือดำน้ำ ได้มีการริเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปีงบประมาณ 2537 และมีการปรับปรุงโครงการ เพื่อให้สอดคล้องกับสถานภาพของงบประมาณ ที่คาดว่าจะได้รับมาเป็นลำดับ และสอดคล้องกับนโยบายความมั่นคงแห่งชาติ เมื่อปรากฏข้อเท็จจริงว่า เรือดำน้ำเป็นยุทโธปกรณ์ที่เปี่ยมประสิทธิภาพ ตามแนวความคิดการรักษาความมั่นคงทางทะเล รวมทั้งมีขีดความสามารถสูง และสามารถปฏิบัติภารกิจได้หลากหลาย ทั้งในภาวะปกติ และภาวะขัดแย้ง จึงเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีความจำเป็นสำหรับกองทัพเรือในการปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของชาติทางทะเล
อีกทั้งการดำเนินการจัดซื้อ ได้ดำเนินการภายใต้กรอบแผนยุทธศาสตร์ของกองทัพเรือ ตามที่ได้กำหนดไว้แล้ว จึงไม่เป็นการสร้างภาระแก่ประเทศชาติ โดยไม่จำเป็นหรือเกินสมควรแก่เหตุ
ดังนั้น การดำเนินการตามโครงการจัดหาเรือดำน้ำของกระทรวงกลาโหม โดยกองทัพเรือ และครม. จึงไม่ได้มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรธน. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องแต่อย่างใด
ส่วนกรณีที่ขอให้ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งเรื่องให้ศาลรธน. วินิจฉัยว่า โครงการจัดซื้อเรือดำน้ำ ถือเป็นหนังสือสัญญาที่ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อนหรือไม่นั้น กฤษฎีกามีความเห็นว่า ไม่มีลักษณะเป็นสัญญาตามรธน.ปี 60 มาตรา 178 เนื่องจากเป็นข้อตกลงจัดสร้างเรือดำน้ำ เป็นการทำสัญญาซื้อขายเชิงพาณิชย์ในทำนองเดียวกับการทำสัญญาระหว่างเอกชนกับเอกชน จึงไม่จำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน อีกทั้งกรณีนี้ไม่ได้อยู่ในอำนาจของผู้ตรวจการฯ ที่จะดำเนินการได้ เนื่องจากเป็นอำนาจของครม. ที่จะพิจารณาว่า จะเสนอเรื่องให้ศาลรธน.วินิจฉัยหรือไม่
นอกจากนี้ผู้ตรวจการฯ ยังมีมติไม่ส่งศาลรธน. วินิจฉัยกรณี พ.ร.ป.ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ. 2542 และ 2550 ขัดรธน. เพราะองค์ประชุมไม่ครบ ตามที่ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ทีมกฎหมายพรรคเพื่อไทย ยื่นคำร้อง เนื่องจากเป็นเรื่องของกระบวนการตรากฎหมาย ไม่เกี่ยวกับเนื้อหากฎหมายว่าชอบด้วยรธน. หรือไม่ จึงไม่อยู่ในอำนาจที่ผู้ตรวจการฯ จะดำเนินการได้