“ส.สร้างชาติ” พานักศึกษาดูงาน “ไบโอเทค” ชู “มันสำปะหลัง” เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ ศึกษากระบวนการผลิต “ฟลาวมันสำปะหลัง” ทดแทนแป้งสาลีในเบเกอรี่ ตอบโจทย์ผู้บริโภคที่แพ้แป้งสาลี
ที่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาสถาบันการสร้างชาติ นำโดย ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันสร้างชาติ ที่เดินทางเข้าศึกษาเยี่ยมชมที่ศูนย์ไบโอเทค โดย ดร.สมวงษ์ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพกับการสร้างชาติ และนำเยี่ยมชมตามห้องปฎิบัติการในการผลิตจากไบโอเทคโนโลยี
ดร.สมวงษ์ กล่าวบรรยายตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ศูนย์ไบโอเทค กำลังให้ความสนใจในการศึกษาในเรื่องของการเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลังให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ หรือที่เรียกว่า “ฟลาวมันสำปะหลัง” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้จากการแปรรูปมันสำปะหลัง แต่ฟลาวมันสำปะหลังสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภคควรใช้มันสำปะหลังชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณไซยาไนต์ต่ำ แต่เนื่องจากมันสำปะหลังชนิดหวานมีปริมาณการปลูกน้อยและมีราคาสูง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่มันสำปะหลังที่ปลูกมากและมีราคาถูกในประเทศไทยเป็นมันสำปะหลังชนิดขม ที่มีปริมาณไซยาไนต์อยู่สูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณไซยาไนต์ให้ปลอดภัยต่อการนำไปบริโภค ศูนย์ไบโอเทคจึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนากระบวนการผลิตฟลาวมันสำปะหลังในระดับอุตสาหกรรม เพื่อหากระบวนการแปรรูปจากมันสำปะหลังชนิดขมที่มีไซยาไนต์สูงจนได้เป็นฟลาวที่มีปริมาณไซยาไนต์ต่ำและปลอดภัยต่อการบริโภค หรือไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามที่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด
“สำหรับฟลาวมันสำปะหลังสามารถนำไปใช้ทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน สำหรับผู้บริโภคที่แพ้แป้งสาลี และผู้ป่วยที่เป็นโรคเซลิแอค ที่เกิดจากกลูเตนซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในข้าวสาลี ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากประเทศไนจีเนียและบราซิล นอกจากนั้นแล้วประเทศไทยยังสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเข้าประเทศมากกว่าปีละ 3 หมื่นกว่าล้านบาท” ดร.สมวงษ์ กล่าว.
ที่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ดร.สมวงษ์ ตระกูลรุ่ง ผู้อำนวยการไบโอเทค ให้การต้อนรับคณะนักศึกษาสถาบันการสร้างชาติ นำโดย ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบันสร้างชาติ ที่เดินทางเข้าศึกษาเยี่ยมชมที่ศูนย์ไบโอเทค โดย ดร.สมวงษ์ ได้ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับเรื่อง เทคโนโลยีชีวภาพกับการสร้างชาติ และนำเยี่ยมชมตามห้องปฎิบัติการในการผลิตจากไบโอเทคโนโลยี
ดร.สมวงษ์ กล่าวบรรยายตอนหนึ่งว่า ขณะนี้ศูนย์ไบโอเทค กำลังให้ความสนใจในการศึกษาในเรื่องของการเพิ่มมูลค่ามันสำปะหลังให้เป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศ หรือที่เรียกว่า “ฟลาวมันสำปะหลัง” ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์อีกชนิดหนึ่งที่ได้จากการแปรรูปมันสำปะหลัง แต่ฟลาวมันสำปะหลังสำหรับใช้ในผลิตภัณฑ์อาหารที่ปลอดภัยต่อการบริโภคควรใช้มันสำปะหลังชนิดหวาน เนื่องจากมีปริมาณไซยาไนต์ต่ำ แต่เนื่องจากมันสำปะหลังชนิดหวานมีปริมาณการปลูกน้อยและมีราคาสูง จึงทำให้ต้นทุนการผลิตสูง ในขณะที่มันสำปะหลังที่ปลูกมากและมีราคาถูกในประเทศไทยเป็นมันสำปะหลังชนิดขม ที่มีปริมาณไซยาไนต์อยู่สูง ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณไซยาไนต์ให้ปลอดภัยต่อการนำไปบริโภค ศูนย์ไบโอเทคจึงได้ร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนากระบวนการผลิตฟลาวมันสำปะหลังในระดับอุตสาหกรรม เพื่อหากระบวนการแปรรูปจากมันสำปะหลังชนิดขมที่มีไซยาไนต์สูงจนได้เป็นฟลาวที่มีปริมาณไซยาไนต์ต่ำและปลอดภัยต่อการบริโภค หรือไม่เกิน 10 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามที่ องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การอนามัยโลก (WHO) กำหนด
“สำหรับฟลาวมันสำปะหลังสามารถนำไปใช้ทดแทนแป้งสาลีในผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่างๆ เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน สำหรับผู้บริโภคที่แพ้แป้งสาลี และผู้ป่วยที่เป็นโรคเซลิแอค ที่เกิดจากกลูเตนซึ่งเป็นโปรตีนที่พบในข้าวสาลี ปัจจุบันประเทศไทยเป็นประเทศที่มีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังเป็นอันดับที่ 3 ของโลกรองจากประเทศไนจีเนียและบราซิล นอกจากนั้นแล้วประเทศไทยยังสร้างรายได้จากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเข้าประเทศมากกว่าปีละ 3 หมื่นกว่าล้านบาท” ดร.สมวงษ์ กล่าว.