นิด้าโพลชี้ ประชาชนอยากเห็น 2 พรรคใหญ่ ประชาธิปัตย์-เพื่อไทย จับมือกันตั้งรัฐบาล แต่เชื่อว่าเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ขณะเดียวกัน อยากเห็นการตั้งพรรคการเมืองใหม่ มาสนับสนุนรัฐบาลทหาร
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "2 พรรคการเมืองใหญ่กับการจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล" สำรวจระหว่างวันที่ 21-23 มิ.ย.60 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,250 ตัวอย่าง
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ 2 พรรคใหญ่ ระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย จะจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งสมัยถัดไป พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.84 ระบุว่า ไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะต่างฝ่ายต่างมีแนวคิด จุดยืน นโยบายที่แตกต่างกันอยู่แล้ว และที่ผ่านมาก็มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลานาน อีกทั้งการร่วมมือกัน อาจทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของพรรค รวมถึงฐานเสียงของประชาชนในแต่ละพรรค อาจเกิดกระแสต่อต้าน จึงยากที่จะหันหน้าเข้าหากัน
รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุว่า มีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง เพราะ ทั้ง 2 พรรค ต่างเคยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล และบริหารประเทศมาก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละพรรคการเมืองต่างมีจุดยืน หรือแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่อาจมีบางอย่างที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน และอาจมีลูกพรรคที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย หากจะจับมือร่วมกัน
ขณะที่ ร้อยละ 6.32 ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูง เพราะทุกฝ่ายน่าจะมองเห็นผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ และทั้ง 2 พรรค เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ทั้งคู่ อีกทั้งประเทศถูกแช่แข็งทางการเมืองมาสักระยะหนึ่งแล้ว นักการเมืองน่าจะอ่อนข้อลง และเห็นแก่ประเทศชาติมากขึ้น และที่ผ่านมา คสช. ได้วางแนวทางในการปรองดอง และการปฏิรูปประเทศไว้แล้ว และ ร้อยละ 10.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความต้องการของประชาชนที่จะเห็น 2 พรรคใหญ่ จับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งสมัยถัดไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.60 ระบุว่า ต้องการ เพราะ ต้องการเห็นความสามัคคี ความปรองดอง ประเทศชาติพัฒนา และเดินหน้าต่อไป การร่วมมือกันทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย ได้แนวคิดใหม่ๆ และเพิ่มความเสถียรภาพของพรรคการเมืองให้มากขึ้นไม่ต้องการเห็นนักการเมืองทะเลาะหรือขัดแย้งกันจนเกิดความวุ่นวายเหมือนที่ผ่านมา
รองลงมา ร้อยละ 26.88 ระบุว่า ไม่ต้องการ เพราะอาจมีปัญหาความขัดแย้งกัน ทั้งในเรื่องของความคิดทางการเมือง หรือผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเอง ต้องมีอีกฝ่ายที่คอยคานอำนาจกัน ถึงเกิดความร่วมมือกันสุดท้ายก็น่าจะขัดแย้งกันเหมือนเดิม ควรให้เป็นไปตามแบบเดิม คือ มีพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน และร้อยละ 9.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อกรณีหากจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.52 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ต้องการเห็นทางออกใหม่ๆ ที่ช่วยลดความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางการเมือง และหากเข้ามาอย่างถูกต้อง ประชาชนก็ไม่ได้ติดขัดประการใด หากมีพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ และสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว และเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันได้บริหารประเทศต่อไป
รองลงมา ร้อยละ 31.28 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันการบริหารประเทศ มีหลายอย่างที่ยังแก้ไขได้ไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจของประเทศ ปากท้องของประชาชน หากยังได้รัฐบาลชุดเดิม ประเทศชาติอาจจะไม่ก้าวหน้า ประชาชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในบางเรื่อง ทำได้ไม่เต็มที่ ควรจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเลือกนักการเมืองที่เก่งและมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศเข้ามาแทนและ ร้อยละ15.20 ไม่ ระบุ/ไม่แน่ใจ
"นิด้าโพล" เผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "2 พรรคการเมืองใหญ่กับการจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล" สำรวจระหว่างวันที่ 21-23 มิ.ย.60 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไปทั่วประเทศ กระจายทุกภูมิภาค จำนวน 1,250 ตัวอย่าง
ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ที่ 2 พรรคใหญ่ ระหว่าง พรรคประชาธิปัตย์ และพรรคเพื่อไทย จะจับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งสมัยถัดไป พบว่า
ส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.84 ระบุว่า ไม่มีความเป็นไปได้เลย เพราะต่างฝ่ายต่างมีแนวคิด จุดยืน นโยบายที่แตกต่างกันอยู่แล้ว และที่ผ่านมาก็มีความขัดแย้งกันอยู่ตลอด ซึ่งเป็นสิ่งที่ฝังรากลึกมาเป็นเวลานาน อีกทั้งการร่วมมือกัน อาจทำให้เกิดความขัดแย้งเรื่องผลประโยชน์ของพรรค รวมถึงฐานเสียงของประชาชนในแต่ละพรรค อาจเกิดกระแสต่อต้าน จึงยากที่จะหันหน้าเข้าหากัน
รองลงมา ร้อยละ 29.36 ระบุว่า มีความเป็นไปได้ในระดับหนึ่ง เพราะ ทั้ง 2 พรรค ต่างเคยได้เข้ามาเป็นรัฐบาล และบริหารประเทศมาก่อน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น แต่ละพรรคการเมืองต่างมีจุดยืน หรือแนวคิดทางการเมืองที่แตกต่างกัน แต่อาจมีบางอย่างที่มีความเห็นในทิศทางเดียวกัน และอาจมีลูกพรรคที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย หากจะจับมือร่วมกัน
ขณะที่ ร้อยละ 6.32 ระบุว่า มีความเป็นไปได้สูง เพราะทุกฝ่ายน่าจะมองเห็นผลดีมากกว่าผลเสีย ซึ่งเป็นประโยชน์ในการพัฒนาประเทศ และทั้ง 2 พรรค เป็นพรรคการเมืองเก่าแก่ทั้งคู่ อีกทั้งประเทศถูกแช่แข็งทางการเมืองมาสักระยะหนึ่งแล้ว นักการเมืองน่าจะอ่อนข้อลง และเห็นแก่ประเทศชาติมากขึ้น และที่ผ่านมา คสช. ได้วางแนวทางในการปรองดอง และการปฏิรูปประเทศไว้แล้ว และ ร้อยละ 10.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
สำหรับความต้องการของประชาชนที่จะเห็น 2 พรรคใหญ่ จับมือร่วมกันจัดตั้งรัฐบาลภายหลังการเลือกตั้งสมัยถัดไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 63.60 ระบุว่า ต้องการ เพราะ ต้องการเห็นความสามัคคี ความปรองดอง ประเทศชาติพัฒนา และเดินหน้าต่อไป การร่วมมือกันทำให้เกิดความคิดที่หลากหลาย ได้แนวคิดใหม่ๆ และเพิ่มความเสถียรภาพของพรรคการเมืองให้มากขึ้นไม่ต้องการเห็นนักการเมืองทะเลาะหรือขัดแย้งกันจนเกิดความวุ่นวายเหมือนที่ผ่านมา
รองลงมา ร้อยละ 26.88 ระบุว่า ไม่ต้องการ เพราะอาจมีปัญหาความขัดแย้งกัน ทั้งในเรื่องของความคิดทางการเมือง หรือผลประโยชน์ของพรรคการเมืองเอง ต้องมีอีกฝ่ายที่คอยคานอำนาจกัน ถึงเกิดความร่วมมือกันสุดท้ายก็น่าจะขัดแย้งกันเหมือนเดิม ควรให้เป็นไปตามแบบเดิม คือ มีพรรครัฐบาล และพรรคฝ่ายค้าน และร้อยละ 9.52 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ
เมื่อถามถึงความคิดเห็นของประชาชน ต่อกรณีหากจะมีการจัดตั้งพรรคการเมืองพรรคใหม่ขึ้นมา เพื่อสนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 53.52 ระบุว่า เห็นด้วย เพราะ ต้องการเห็นทางออกใหม่ๆ ที่ช่วยลดความขัดแย้ง และความวุ่นวายทางการเมือง และหากเข้ามาอย่างถูกต้อง ประชาชนก็ไม่ได้ติดขัดประการใด หากมีพรรคที่สนับสนุนรัฐบาลชุดปัจจุบัน ก็จะได้ช่วยกันแก้ไขปัญหาของประเทศ และสานต่อนโยบายต่างๆ ที่ได้ทำไว้แล้ว และเป็นการสนับสนุนให้รัฐบาลชุดปัจจุบันได้บริหารประเทศต่อไป
รองลงมา ร้อยละ 31.28 ระบุว่า ไม่เห็นด้วย เพราะ เป็นการสืบทอดอำนาจของรัฐบาลชุดปัจจุบัน ซึ่งในปัจจุบันการบริหารประเทศ มีหลายอย่างที่ยังแก้ไขได้ไม่ดี โดยเฉพาะเรื่องของเศรษฐกิจของประเทศ ปากท้องของประชาชน หากยังได้รัฐบาลชุดเดิม ประเทศชาติอาจจะไม่ก้าวหน้า ประชาชนถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพในบางเรื่อง ทำได้ไม่เต็มที่ ควรจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ และเลือกนักการเมืองที่เก่งและมีประสบการณ์ในการบริหารประเทศเข้ามาแทนและ ร้อยละ15.20 ไม่ ระบุ/ไม่แน่ใจ