นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) เปิดเผยว่า ได้รับ ร่าง พ.ร.บ. คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ.ศ. … จาก กรธ. ที่ส่งมาให้ กสม.เสนอความเห็นแล้ว โดยพบว่า มาตรา 60 ของร่างนี้ ได้ระบุถึงการเซตซีโร กสม.ไว้ ซึ่งขณะนี้ทางสำนักงานกสม. ดูในรายละเอียดร่างกฎหมายดังกล่าว ก่อนที่ กสม.จะส่งความเห็นกลับไปยังกรธ. ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องเซตซีโร แต่เป็นความเห็นเกี่ยวกับร่างกฎหมายทั้งหมด ส่วนเรื่องการเซตซีโร ก็ยังคงต้องรอดูในร่างสุดท้ายที่ กรธ.ส่งให้สนช.ว่าจะมีการเขียนเรื่องนี้ไว้หรือไม่
ทั้งนี้ การอ้างเหตุผล เซตซีโร กสม. เพราะปัจจุบันการทำงานของกสม. มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง และขาดความหลากหลายนั้น ไม่ถูกต้องทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เพราะองค์ประกอบของกสม.ชุดปัจจุบัน ก็นับว่ามีความหลากหลาย มีทั้งอดีตขรก. ในงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน นักจิตอาสา และภาคประชาสังคม ซึ่งข้อตำหนิของ ICC หรือ GANHRI ในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่ความหลากหลาย
หากมีการเซตซีโร น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี อาจจะทำให้ต่างชาติเกิดข้อสงสัย ว่าเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อ กสม.ชุดนี้ก็ทำงานมีผลงาน แต่การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้งานของกสม.จะถูกกระทบกระเทือน เพราะนโยบายทุกอย่างจะหยุดหมด กลายเป็นช่วงสูญญากาศ โครงการต่างๆ ที่กำลังเดินไปได้ด้วยดี จะหยุดชะงักทันที ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่องค์กรและประเทศชาติ บางครั้งอาจจะไม่เป็นผลดีแก่ฝ่ายที่มีอำนาจด้วย อาจจะถูกมองว่ามีการแกล้งกัน หรือมองว่ามีใครต้องการเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้แทน กสม.ชุดปัจจุบัน หรือไม่
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึง การเซตซีโร กกต.ว่า หากเกิดขึ้นจริง กกต.ก็จะเหลือเวลาอีกประมาณ 4 เดือน จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่จำกัด เพื่อส่งมอบงานให้แก่กกต.ชุดใหม่ ยืนยันจะใช้เวลาที่เหลือทำงานอย่างเต็มที่ ไม่มีอู้ ไม่มีการวางยา
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกกต.ทั้ง 7 คนที่จะมีการสรรหาใหม่ว่า ต้องมีความเป็นกลาง ไม่ได้มาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือถูกใครกินรวบ เพราะจะมีความหวาดระแวงในทุกเรื่อง จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับได้ เพราะเคยมีบทเรียนจากการลงโทษ กกต. ที่ทำหน้าที่ไม่เป็นกลางมาแล้ว
"ผมไม่ค่อยสบายใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น มีการวิจารณ์ว่า กกต.ยื้อ หรือ เอาคืน จากกรณีที่มีการตรวจสอบ 9 รมต. ซึ่งคำว่า ยื้อ ไม่อยู่ในทัศนคติของผม แต่เรื่องที่เกิดขึ้น ต้องพิจารณาบนหลักการที่ถูกต้อง คือหลักนิติธรรมต่อคนที่มีคุณสมบัติครบ แล้วถูกให้ออกไป หลักของความเป็นมาตรฐาน ถ้าใช้กับองค์กรนี้ ต้องใช้กับองค์กรอื่นหรือไม่ หลักเรื่องปลาสองน้ำ ถูกต้องหรือไม่ เพราะปลาสองน้ำเกิดขึ้นในทุกองค์กร ผมไม่ได้ยื้อ แต่เล่าสิ่งที่เป็นเหตุผลให้สังคมตระหนักว่า เหตุผลที่ถูกต้องคืออะไร ส่วนที่บอกว่า การตรวจสอบคุณสมบัติ 9 รัฐมนตรี เป็นการเอาคืนของ กกต. เป็นการให้ความเห็นที่ไม่เข้าใจกฎหมาย และบทบาทหน้าที่ของกกต. ถ้ากกต.ไม่ทำ ก็จะถูกดำเนินคดีได้ เรื่องนี้ กกต.ดำเนินการตามขั้นตอน และจังหวะเวลาที่เหมาะสม จะบอกว่าเอาคืนไม่ได้ สมมติว่าถ้ากกต. มีมติให้มีกรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. ก่อนที่จะมีการเซตซีโร ก็จะกลายเป็นว่าอีกฝ่ายเอาคืน ยืนยันว่าไม่มีอคติในการดำเนินการเรื่องนี้ แต่พิจารณาภายใต้เหตุผล และข้อมูล" นายสมชัยกล่าว
ทั้งนี้ การอ้างเหตุผล เซตซีโร กสม. เพราะปัจจุบันการทำงานของกสม. มีปัญหาอย่างต่อเนื่อง และขาดความหลากหลายนั้น ไม่ถูกต้องทั้งในข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง เพราะองค์ประกอบของกสม.ชุดปัจจุบัน ก็นับว่ามีความหลากหลาย มีทั้งอดีตขรก. ในงานที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน นักจิตอาสา และภาคประชาสังคม ซึ่งข้อตำหนิของ ICC หรือ GANHRI ในปัจจุบันนั้น ไม่ใช่ความหลากหลาย
หากมีการเซตซีโร น่าจะมีผลเสียมากกว่าผลดี อาจจะทำให้ต่างชาติเกิดข้อสงสัย ว่าเกิดอะไรขึ้น ในเมื่อ กสม.ชุดนี้ก็ทำงานมีผลงาน แต่การเปลี่ยนแปลงในช่วงนี้งานของกสม.จะถูกกระทบกระเทือน เพราะนโยบายทุกอย่างจะหยุดหมด กลายเป็นช่วงสูญญากาศ โครงการต่างๆ ที่กำลังเดินไปได้ด้วยดี จะหยุดชะงักทันที ซึ่งจะเป็นผลเสียแก่องค์กรและประเทศชาติ บางครั้งอาจจะไม่เป็นผลดีแก่ฝ่ายที่มีอำนาจด้วย อาจจะถูกมองว่ามีการแกล้งกัน หรือมองว่ามีใครต้องการเข้ามาอยู่ในตำแหน่งนี้แทน กสม.ชุดปัจจุบัน หรือไม่
ด้านนายสมชัย ศรีสุทธิยากร กรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) กล่าวถึง การเซตซีโร กกต.ว่า หากเกิดขึ้นจริง กกต.ก็จะเหลือเวลาอีกประมาณ 4 เดือน จึงต้องมีการจัดลำดับความสำคัญของงานที่ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่จำกัด เพื่อส่งมอบงานให้แก่กกต.ชุดใหม่ ยืนยันจะใช้เวลาที่เหลือทำงานอย่างเต็มที่ ไม่มีอู้ ไม่มีการวางยา
นายสมชัย ยังกล่าวถึงกกต.ทั้ง 7 คนที่จะมีการสรรหาใหม่ว่า ต้องมีความเป็นกลาง ไม่ได้มาจากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง หรือถูกใครกินรวบ เพราะจะมีความหวาดระแวงในทุกเรื่อง จนไม่สามารถจัดการเลือกตั้งที่ได้รับการยอมรับได้ เพราะเคยมีบทเรียนจากการลงโทษ กกต. ที่ทำหน้าที่ไม่เป็นกลางมาแล้ว
"ผมไม่ค่อยสบายใจต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เช่น มีการวิจารณ์ว่า กกต.ยื้อ หรือ เอาคืน จากกรณีที่มีการตรวจสอบ 9 รมต. ซึ่งคำว่า ยื้อ ไม่อยู่ในทัศนคติของผม แต่เรื่องที่เกิดขึ้น ต้องพิจารณาบนหลักการที่ถูกต้อง คือหลักนิติธรรมต่อคนที่มีคุณสมบัติครบ แล้วถูกให้ออกไป หลักของความเป็นมาตรฐาน ถ้าใช้กับองค์กรนี้ ต้องใช้กับองค์กรอื่นหรือไม่ หลักเรื่องปลาสองน้ำ ถูกต้องหรือไม่ เพราะปลาสองน้ำเกิดขึ้นในทุกองค์กร ผมไม่ได้ยื้อ แต่เล่าสิ่งที่เป็นเหตุผลให้สังคมตระหนักว่า เหตุผลที่ถูกต้องคืออะไร ส่วนที่บอกว่า การตรวจสอบคุณสมบัติ 9 รัฐมนตรี เป็นการเอาคืนของ กกต. เป็นการให้ความเห็นที่ไม่เข้าใจกฎหมาย และบทบาทหน้าที่ของกกต. ถ้ากกต.ไม่ทำ ก็จะถูกดำเนินคดีได้ เรื่องนี้ กกต.ดำเนินการตามขั้นตอน และจังหวะเวลาที่เหมาะสม จะบอกว่าเอาคืนไม่ได้ สมมติว่าถ้ากกต. มีมติให้มีกรรมการสอบสวนตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค. ก่อนที่จะมีการเซตซีโร ก็จะกลายเป็นว่าอีกฝ่ายเอาคืน ยืนยันว่าไม่มีอคติในการดำเนินการเรื่องนี้ แต่พิจารณาภายใต้เหตุผล และข้อมูล" นายสมชัยกล่าว