ผู้จัดการรายวัน360-ดีเอสไอเผยรถ "โดม ปกรณ์" เป็นคนละคันกับที่ถูกโจรกรรมจากอังกฤษ ส่วนการดำเนินคดีกับรถหรูเลี่ยงภาษี จ่อเรียกผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย และผู้ครอบครองรถมาสอบสวน เผย สตง. จ่อเอาผิดเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร 9 คนที่มีส่วนเกี่ยวข้อง เผยมีระดับรองอธิบดีด้วย หลังมุบมิบคืนภาษีให้กับ "จูบิลี่ ไลน์และนิชคาร์" เกือบ 20 ล้าน ด้านโดมบอกซวย เตรียมหอบหลักฐานแจงดีเอสไอวันนี้
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบรถเลี่ยงภาษี 160 คัน ว่า เบื้องต้นรถยนต์ลัมบอร์กินี ฮูราแคน (Huracan) สีเขียว ที่ปรากฏชื่อนายปกรณ์ ลัม หรือโดม นักร้องและนักแสดง เป็นผู้ครอบครองนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรถที่ถูกโจรกรรมจากประเทศอังกฤษ และไม่ได้อยู่ในบัญชีที่ทางอังกฤษส่งมาให้ เป็นคนละคันและเลขตัวถังกับเครื่องยนต์ก็ไม่ตรงกัน ส่วนนายปกรณ์จะเดินทางมาดีเอสไอพร้อมหลักฐาน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ก็สามารถมาได้
ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินการ ดีเอสไอจะดำเนินคดีกับบริษัทนำเข้ารถเลี่ยงภาษีก่อน ส่วนผู้จำหน่ายต้องตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ สำหรับคนที่ซื้อรถอาจเป็นผู้เสียหายถ้าไม่ทราบข้อมูลแท้จริง โดยขอเวลาตรวจสอบเอกสาร จากนั้นเตรียมทยอยเรียกผู้ครอบครองรถมาพบพนักงานสอบสวนต่อไป
“สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเตรียมเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร 9 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับใบอินวอยซ์ปลอมแจ้งราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งมีระดับรองอธิบดีเกี่ยวพัน ตอนนี้อยู่ระหว่างประสานกับอธิบดีกรมศุลกากร และให้เจ้าหน้าที่ติดตามเรื่องดังกล่าว เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารและกระบวนการนำเข้า รวมถึงระเบียบราคาประเมินรถนำเข้าอย่างไร” พ.ต.ท.กรวัชร์กล่าว
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า รถของนายปกรณ์เป็นคนละคันกับที่อายัดไว้ในโชว์รูม ซึ่งยังอยู่ในการครอบครองของเจ้าตัว โดยการตรวจค้น พนักงานสอบสวนพบสัญญาฝากขายรถของนายปกรณ์ หากนายปกรณ์นำหลักฐานมาให้ตรวจสอบก็จะสามารถยุติเรื่องได้ แต่ถ้านายปกรณ์ซื้อรถจากโชว์รูมแห่งนี้ ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบว่ามีการสำแดงนำเข้าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง แต่นายปกรณ์มีฐานะเป็นผู้ซื้อ ก็จะจัดเป็นผู้เสียหาย
ทางด้านความเคลื่อนไหวของนายปกรณ์ ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว โดยระบุว่า การตรวจสอบรถของตน เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ เพราะรถแต่ละคันมีหมายเลขตัวถัง จะรู้ว่าผลิตที่ไหน ออกมาจากโรงงานใด รู้กระทั่งรถคันนี้ถูกขโมยมาหรือเปล่า เพราะตำรวจสากลไม่ได้ปิดเป็นข้อมูลลับ ตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่จะทำให้คลุมเครือทำไม และทำให้ตนซวยไปด้วย พร้อมยืนยันว่า จะนำหลักฐานไปพบดีเอสไอ โดยจะไปพบในเวลา 10.00 น. วันนี้ (30 พ.ค.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือ 2 ฉบับ ถึงนายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เพื่อให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรและมีการสำแดงราคาอันเป็นเท็จในคดีที่ดีเอสไอ เข้าไปตรวจค้นและอายัดรถไว้ 160 คันภายใน 15วัน และขอให้ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร 9 ราย ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคืนภาษีอากรให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นผู้นำเข้ารถยนต์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่บริษัท จูบิลี่ ไลน์ จำกัด และบริษัท นิชคาร์ จำกัด เป็นเงินภาษีคืนกว่า 19.88 ล้านบาท
ในหนังสือดังกล่าว ระบุว่า สำนักตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ได้พบว่ามีเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคืนเงินภาษีอากรให้กับบริษัท จูบิลี่ ไลน์ ที่ได้นำเข้ารถลัมโบร์กินี รุ่น Gallaredo จำนวน 16.8 ล้านบาท และคืนเงินบริษัท นิชคาร์ ที่นำเข้ารถโลตัส รุ่น Elise S จำนวน 3.4 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เจ้าพนักงานศุลกากรผู้ประเมินอากร ได้ประเมินราคาแล้ว ไม่อาจรับราคาที่ผู้นำเข้าสำแดงในใบขนสินค้าได้ เนื่องจากเป็นราคาต่ำกว่าราคาทดสอบตามแนวทางการพิจารณาราคารถยนต์นั่งสำเร็จรูป และเห็นว่าเอกสารของทั้ง 2 บริษัทไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ และหลักฐานการชำระเงินไม่ผ่านการรับรองจากธนาคาร จึงขอให้วางเงินประกันจนครบอากรสูงสุดที่อาจจะพึงต้องเสียตามมาตรา 112 ของพ.ร.บ. ศุลกากร และกำหนดให้บริษัททั้ง 2 รายยื่นเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายตัวจริงมาประกอบการพิจารณาภายใน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนดบริษัทเอกชนทั้ง 2 ราย ไม่สามารถยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาได้ ผู้ประเมินอากรจึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายศุลกากร ผลักเงินประกันดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบศุลกากร รวม 20.2 ล้านบาท ต่อมาบริษัทผู้นำเข้าทั้ง 2 รายอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ต่อสำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เสนอเรื่องตามขั้นตอนให้รองอธิบดี 2 คน คือ นายวิศาล วุฒิศักดิ์ศิลป์ และนางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเห็นชอบคืนอากรที่เคยประเมินให้เป็นรายได้แผ่นดินให้บริษัทเอกชนทั้ง 2 ราย จำนวน 19.88 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์
จากกรณีนี้ สตง. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า การคืนภาษีอากรที่เป็นรายได้แผ่นดินให้กับเอกชนผู้นำเข้าทั้ง 2 ราย เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศุลกากร มาตรา 10มาตรา 112 เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัททั้ง 2 จึงเห็นควรให้เรียกเงินคืนจากบริษัททั้ง 2 ราย และผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ดำเนินการทางอาญา ทางแพ่ง ทางละเมิดทางวินัยร้ายแรงกับบุคคล ดังนี้ นายวิศาล วุฒิกดิ์ศิลป์ และนางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล อดีตรองอธิบดีกรมศุลกากร , นายธีระ สุวรรณพงษ์ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ , นายประพันธ์ พิสมยรมย์ นิติกรชำนาญการ , นายบุญสืบ บุญญกนก นิติกรชำนาญการ , นายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , นายรำพินธ์ กำแพงทิพย์ , นายบัญชา กอ-สนาน , นางดาริศรา บุญยะนันท์ ทั้งหมดเป็นนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ บริษัท จูบิลี่ ไลน์ และบริษัท นิชคาร์ กรณีมีพฤติกรรมสนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงานและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ หนังสือ สตง. ระบุให้อธิบดีกรมศุลกากรดำเนินการและให้แจ้งผลการดำเนินงานกลับมายัง สตง. ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สตง. ภายใน 90 วัน หากละเลยไม่ดำเนินการถือว่ามีความผิดตามมาตรา 63 ของพ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน และยังระบุอีกว่า สตง. จะประสานให้ทาง ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไปด้วย
พ.ต.ท.กรวัชร์ ปานประภากร รองอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการตรวจสอบรถเลี่ยงภาษี 160 คัน ว่า เบื้องต้นรถยนต์ลัมบอร์กินี ฮูราแคน (Huracan) สีเขียว ที่ปรากฏชื่อนายปกรณ์ ลัม หรือโดม นักร้องและนักแสดง เป็นผู้ครอบครองนั้น ไม่เกี่ยวข้องกับรถที่ถูกโจรกรรมจากประเทศอังกฤษ และไม่ได้อยู่ในบัญชีที่ทางอังกฤษส่งมาให้ เป็นคนละคันและเลขตัวถังกับเครื่องยนต์ก็ไม่ตรงกัน ส่วนนายปกรณ์จะเดินทางมาดีเอสไอพร้อมหลักฐาน เพื่อแสดงความบริสุทธิ์ใจ ก็สามารถมาได้
ทั้งนี้ แนวทางการดำเนินการ ดีเอสไอจะดำเนินคดีกับบริษัทนำเข้ารถเลี่ยงภาษีก่อน ส่วนผู้จำหน่ายต้องตรวจสอบว่าเกี่ยวข้องด้วยหรือไม่ สำหรับคนที่ซื้อรถอาจเป็นผู้เสียหายถ้าไม่ทราบข้อมูลแท้จริง โดยขอเวลาตรวจสอบเอกสาร จากนั้นเตรียมทยอยเรียกผู้ครอบครองรถมาพบพนักงานสอบสวนต่อไป
“สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินเตรียมเอาผิดต่อเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร 9 คน ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับใบอินวอยซ์ปลอมแจ้งราคาสินค้าต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งมีระดับรองอธิบดีเกี่ยวพัน ตอนนี้อยู่ระหว่างประสานกับอธิบดีกรมศุลกากร และให้เจ้าหน้าที่ติดตามเรื่องดังกล่าว เนื่องจากต้องตรวจสอบเอกสารและกระบวนการนำเข้า รวมถึงระเบียบราคาประเมินรถนำเข้าอย่างไร” พ.ต.ท.กรวัชร์กล่าว
พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ กล่าวว่า รถของนายปกรณ์เป็นคนละคันกับที่อายัดไว้ในโชว์รูม ซึ่งยังอยู่ในการครอบครองของเจ้าตัว โดยการตรวจค้น พนักงานสอบสวนพบสัญญาฝากขายรถของนายปกรณ์ หากนายปกรณ์นำหลักฐานมาให้ตรวจสอบก็จะสามารถยุติเรื่องได้ แต่ถ้านายปกรณ์ซื้อรถจากโชว์รูมแห่งนี้ ก็อาจจะต้องถูกตรวจสอบว่ามีการสำแดงนำเข้าถูกต้องหรือไม่ หากไม่ถูกต้อง แต่นายปกรณ์มีฐานะเป็นผู้ซื้อ ก็จะจัดเป็นผู้เสียหาย
ทางด้านความเคลื่อนไหวของนายปกรณ์ ได้มีการโพสต์ข้อความผ่านอินสตาแกรมส่วนตัว โดยระบุว่า การตรวจสอบรถของตน เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ เพราะรถแต่ละคันมีหมายเลขตัวถัง จะรู้ว่าผลิตที่ไหน ออกมาจากโรงงานใด รู้กระทั่งรถคันนี้ถูกขโมยมาหรือเปล่า เพราะตำรวจสากลไม่ได้ปิดเป็นข้อมูลลับ ตนไม่ทราบว่าเจ้าหน้าที่จะทำให้คลุมเครือทำไม และทำให้ตนซวยไปด้วย พร้อมยืนยันว่า จะนำหลักฐานไปพบดีเอสไอ โดยจะไปพบในเวลา 10.00 น. วันนี้ (30 พ.ค.)
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ทำหนังสือ 2 ฉบับ ถึงนายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรมศุลกากร เพื่อให้ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการนำเข้ารถยนต์เข้ามาในราชอาณาจักรและมีการสำแดงราคาอันเป็นเท็จในคดีที่ดีเอสไอ เข้าไปตรวจค้นและอายัดรถไว้ 160 คันภายใน 15วัน และขอให้ดำเนินการเอาผิดกับเจ้าหน้าที่กรมศุลกากร 9 ราย ที่เข้าไปมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคืนภาษีอากรให้กับบริษัทเอกชนที่เป็นผู้นำเข้ารถยนต์โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้แก่บริษัท จูบิลี่ ไลน์ จำกัด และบริษัท นิชคาร์ จำกัด เป็นเงินภาษีคืนกว่า 19.88 ล้านบาท
ในหนังสือดังกล่าว ระบุว่า สำนักตรวจสอบการจัดเก็บรายได้ได้พบว่ามีเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจคืนเงินภาษีอากรให้กับบริษัท จูบิลี่ ไลน์ ที่ได้นำเข้ารถลัมโบร์กินี รุ่น Gallaredo จำนวน 16.8 ล้านบาท และคืนเงินบริษัท นิชคาร์ ที่นำเข้ารถโลตัส รุ่น Elise S จำนวน 3.4 ล้านบาท ทั้งๆ ที่เจ้าพนักงานศุลกากรผู้ประเมินอากร ได้ประเมินราคาแล้ว ไม่อาจรับราคาที่ผู้นำเข้าสำแดงในใบขนสินค้าได้ เนื่องจากเป็นราคาต่ำกว่าราคาทดสอบตามแนวทางการพิจารณาราคารถยนต์นั่งสำเร็จรูป และเห็นว่าเอกสารของทั้ง 2 บริษัทไม่น่าเชื่อถือ เพราะไม่ใช่เอกสารต้นฉบับ และหลักฐานการชำระเงินไม่ผ่านการรับรองจากธนาคาร จึงขอให้วางเงินประกันจนครบอากรสูงสุดที่อาจจะพึงต้องเสียตามมาตรา 112 ของพ.ร.บ. ศุลกากร และกำหนดให้บริษัททั้ง 2 รายยื่นเอกสารเกี่ยวกับการซื้อขายตัวจริงมาประกอบการพิจารณาภายใน 7 วัน
อย่างไรก็ตาม เมื่อครบกำหนดบริษัทเอกชนทั้ง 2 ราย ไม่สามารถยื่นเอกสารประกอบการพิจารณาได้ ผู้ประเมินอากรจึงอาศัยอำนาจตามกฎหมายศุลกากร ผลักเงินประกันดังกล่าวเป็นรายได้แผ่นดินตามระเบียบศุลกากร รวม 20.2 ล้านบาท ต่อมาบริษัทผู้นำเข้าทั้ง 2 รายอุทธรณ์การประเมินภาษีอากร ต่อสำนักมาตรฐานพิธีการและราคาศุลกากร ซึ่งต่อมาเจ้าหน้าที่ได้เสนอเรื่องตามขั้นตอนให้รองอธิบดี 2 คน คือ นายวิศาล วุฒิศักดิ์ศิลป์ และนางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะเห็นชอบคืนอากรที่เคยประเมินให้เป็นรายได้แผ่นดินให้บริษัทเอกชนทั้ง 2 ราย จำนวน 19.88 ล้านบาท โดยไม่ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการอุทธรณ์
จากกรณีนี้ สตง. ตรวจสอบแล้วเห็นว่า การคืนภาษีอากรที่เป็นรายได้แผ่นดินให้กับเอกชนผู้นำเข้าทั้ง 2 ราย เป็นการกระทำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศุลกากร มาตรา 10มาตรา 112 เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับบริษัททั้ง 2 จึงเห็นควรให้เรียกเงินคืนจากบริษัททั้ง 2 ราย และผู้ที่เกี่ยวข้อง และให้ดำเนินการทางอาญา ทางแพ่ง ทางละเมิดทางวินัยร้ายแรงกับบุคคล ดังนี้ นายวิศาล วุฒิกดิ์ศิลป์ และนางฉวีวรรณ คงเจริญกิจกุล อดีตรองอธิบดีกรมศุลกากร , นายธีระ สุวรรณพงษ์ นักวิชาการศุลกากรชำนาญการ , นายประพันธ์ พิสมยรมย์ นิติกรชำนาญการ , นายบุญสืบ บุญญกนก นิติกรชำนาญการ , นายพร้อมชาย สนิทวงศ์ ณ อยุธยา , นายรำพินธ์ กำแพงทิพย์ , นายบัญชา กอ-สนาน , นางดาริศรา บุญยะนันท์ ทั้งหมดเป็นนักวิชาการศุลกากรชำนาญการ บริษัท จูบิลี่ ไลน์ และบริษัท นิชคาร์ กรณีมีพฤติกรรมสนับสนุนการกระทำความผิดของเจ้าพนักงานและบุคคลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
ทั้งนี้ หนังสือ สตง. ระบุให้อธิบดีกรมศุลกากรดำเนินการและให้แจ้งผลการดำเนินงานกลับมายัง สตง. ตามมาตรา 46 แห่ง พ.ร.บ.สตง. ภายใน 90 วัน หากละเลยไม่ดำเนินการถือว่ามีความผิดตามมาตรา 63 ของพ.ร.บ.ตรวจเงินแผ่นดิน และยังระบุอีกว่า สตง. จะประสานให้ทาง ป.ป.ช. และ ป.ป.ท. ดำเนินการตามกฎหมายต่อไปด้วย