ในอดีตคนไทยเรียกขานพฤติกรรมการแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบด้วยการฉ้อฉล เบียดบังทรัพย์สินเงินทองของคนอื่นมาเป็นของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การถือเอาทรัพย์สินของแผ่นดินของบรรดาข้าราชการว่าการโกงกิน
ถ้าพิจารณาจากความหมายตามตัวอักษรคำว่า โกงกิน น่าจะมีรากเหง้ามาจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ประกอบสัมมาชีพเป็นหลักแหล่ง แต่มีชีวิตอยู่ด้วยความเบียดบังทรัพย์สินของคนอื่น ก่อความเดือดร้อนให้ผู้คนในสังคม ดังนั้นคนประเภทนี้ในอดีตเป็นที่รังเกียจของสังคมซึ่งมีสุจริตชนอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ จึงอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ ด้วยเหตุนี้คนโกงกินในอดีตจึงแทบจะไม่มีที่ยืนในสังคม และที่สังคมไทยในอดีตเป็นเช่นนี้ ก็ด้วยองค์ประกอบของสังคมดังต่อไปนี้
1. ในอดีตคนไทยมีวิถีชีวิตผูกพันกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่การศึกษายังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นเอกเทศ เฉกเช่นในปัจจุบันการเรียน การสอนยังอยู่กับวัด โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอนในรูปแบบของเจ้าสำนัก และวิชาที่สอนก็มีแตกต่างกันไปตามความถนัดของเจ้าสำนักนั้นๆ
ดังนั้น พ่อแม่ที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเรียนหนังสือ และวิชาชีพบางแขนงก็จะนำเด็กชายไปฝากไว้กับพระภิกษุในวัดเพื่อรับใช้พระภิกษุ และในขณะเดียวกันก็ศึกษาเล่าเรียนควบคู่กันไป เมื่อเด็กโตขึ้นบางคนก็บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่ออายุครบ 20 ปี แล้วก็อยู่ในสมณเพศเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรม บางคนก็อยู่ในสมณเพศระยะหนึ่งก็สึกออกไปครองเรือนตามแบบอย่างของฆราวาสวิสัย แต่ก็เป็นคนดีของสังคม บางคนก็อยู่ในสมณเพศตลอดชีวิต เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นพุทธสาวก
ส่วนเด็กผู้หญิงก็มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเด็กผู้ชาย กล่าวคือ เด็กผู้หญิงจะติดตามผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นต้น ไปวัดในวันพระ และในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา เป็นต้น เพื่อฟังเทศน์ฟังธรรมและร่วมกันทำกิจกรรม เช่น จัดดอกไม้บูชาพระ และจัดทำอาหารถวายพระ เป็นต้น จึงทำให้เด็กผู้หญิงมีความคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนาไม่น้อยไปกว่าเด็กผู้ชาย
2. สังคมไทยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชนบทเป็นสังคมปฐมภูมิ จึงมีความผูกพันที่เหนียวแน่นภายในกลุ่ม ทุกคนมีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว รู้กันหมด จึงทำให้คนเลวอยู่ในสังคมได้ยาก เนื่องจากคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นคนดี และไม่ยอมรับคนเลว จึงทำให้ที่ยืนในสังคมสำหรับคนเลวมีอยู่จำกัด
แต่ในปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนไปจากที่เคยยึดมั่นในจิตตนิยมคือ เน้นความดีงาม และคุณธรรมซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นวัตถุนิยม เน้นการถือครองทรัพย์สิน ที่ดิน บ้านช่อง เงินทองมาเป็นเครื่องวัดสถานะของสังคมแทนการเป็นคนดี มีคุณธรรม จึงเป็นเหตุให้ผู้คนมุ่งเน้นการแสวงหาวัตถุมาเพื่อสนองความต้องการทางสังคม และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการโกงเก็บคือโกงเผื่อลูกเผื่อหลาน เก็บไว้ในชื่อของตนเองไม่พอจึงเก็บไว้ในชื่อของคนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งในชื่อของคนใช้ก็มีให้เห็นแล้ว ทั้งนี้จะเห็นได้ในคดีฉ้อโกงต่างๆ ที่มีการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเก็บไว้ในชื่อของคนอื่น และการโกงในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้น เนื่องจากเหตุปัจจัยทางสังคมดังต่อไปนี้
1. ในปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปมากทางด้านวิชาการแขนงต่างๆ แต่ศีลธรรมและจริยธรรมด้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1.1 ผู้คนในปัจจุบันมีความผูกพันกับพุทธศาสนาน้อยลง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา และวิถีชีวิตประจำวัน เนื่องจากระบบการศึกษาในปัจจุบันได้มีการจัดการเป็นเอกเทศแยกเด็ดขาดจากวัด ถึงแม้จะมีโรงเรียนหลายแห่งยังอยู่ในเขตวัด แต่แยกเด็ดขาดจากวัด และการเข้าวัดของคนไทยในยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนไปคือ จะเข้าวัดก็ต่อเมื่อมีธุรกิจเช่น ไปทำบุญวันเกิด และไปงานศพ เป็นต้น รวมไปถึงการเข้าวัดตามเทศกาลต่างๆ จึงเป็นการเข้าวัดตามประเพณีไม่ได้เข้าวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม และรักษาศีลเช่นในอดีต
1.2 สังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมเมืองเป็นสังคมทุติยภูมิสมาชิกของสังคมจากหลายที่มาอยู่รวมกัน จึงไม่คุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่จะต่างคนต่างอยู่ จึงเปิดโอกาสให้คนโกง คนเลวอยู่ได้โดยไม่มีใครรู้เห็น และไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม
1.3 การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการให้ความรู้ทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแสวงหาวัตถุ แต่มิได้มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจให้มีคุณธรรม จึงขาดคุณธรรมในการกำกับการใช้ความรู้กลายเป็นช่วยให้ความโลภ และความเห็นแก่ตัวเข้าครอบงำทุกอย่างเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความผิดหรือถูก ใครจะเดือดร้อนจากการกระทำของตนเองหรือไม่
1.4 อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนโกงอยู่ได้ในสังคม และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการบูชาเงินเป็นพระเจ้าของคนที่มีการศึกษาดี แต่คุณธรรมด้อย และการที่สังคมยอมรับคนโกงจนร่ำรวยว่าเป็นคนเก่ง และมีหน้ามีตาเป็นที่ยกย่องนับถือในสังคมถึงขนาดลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.และได้รับเลือกตั้ง จึงเท่ากับยอมรับว่าคนโกงเป็นคนเก่ง และเป็นคนควรแก่การยกย่องไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของตน
2. เมื่อคนประเภทนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนเก่ง และเป็นคนดีจะมีแนวทางใดบ้างป้องกันคนประเภทนี้มิให้เป็นผู้นำทางสังคม และรังแกประเทศแล้วดูดทรัพยากรของแผ่นดินเข้ามาเป็นของตนเองและพวกพ้อง ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต และอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
เกี่ยวกับเรื่องนี้จะต้องย้อนไปดูสังคมไทยในอดีตว่าทำไมเขาจึงไม่ยกย่องคนโกง ก็จะพบว่าในยุคนั้น การศึกษาและการอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมได้ควบคู่กันไป ตั้งแต่วัยเด็กมิใช่มุ่งแต่ยัดเยียดความรู้ให้แก่เด็ก และมองข้ามความสำคัญของการปลูกฝังคุณธรรม ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้น การป้องกันการโกงจะต้องเริ่มจากการศึกษาในวัยเด็ก ส่วนการเข้มงวดกวดขันในการปราบปรามคนโกงด้วยการใช้กฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ จะได้ผลก็เพียงแค่การปรามให้คนกลัว และไม่กล้าทำผิด แต่เมื่อใดคนโกงมีอำนาจและเห็นช่องทางว่าโกงแล้วกฎหมายตามไม่ถึง การโกงก็เกิดขึ้นอีก
ถ้าพิจารณาจากความหมายตามตัวอักษรคำว่า โกงกิน น่าจะมีรากเหง้ามาจากพฤติกรรมของคนที่ไม่ประกอบสัมมาชีพเป็นหลักแหล่ง แต่มีชีวิตอยู่ด้วยความเบียดบังทรัพย์สินของคนอื่น ก่อความเดือดร้อนให้ผู้คนในสังคม ดังนั้นคนประเภทนี้ในอดีตเป็นที่รังเกียจของสังคมซึ่งมีสุจริตชนอาศัยอยู่เป็นส่วนใหญ่ จึงอยู่แบบหลบๆ ซ่อนๆ ด้วยเหตุนี้คนโกงกินในอดีตจึงแทบจะไม่มีที่ยืนในสังคม และที่สังคมไทยในอดีตเป็นเช่นนี้ ก็ด้วยองค์ประกอบของสังคมดังต่อไปนี้
1. ในอดีตคนไทยมีวิถีชีวิตผูกพันกับพระพุทธศาสนาตั้งแต่วัยเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในยุคที่การศึกษายังไม่มีการจัดการอย่างเป็นระบบ และเป็นเอกเทศ เฉกเช่นในปัจจุบันการเรียน การสอนยังอยู่กับวัด โดยมีพระภิกษุสงฆ์เป็นครูสอนในรูปแบบของเจ้าสำนัก และวิชาที่สอนก็มีแตกต่างกันไปตามความถนัดของเจ้าสำนักนั้นๆ
ดังนั้น พ่อแม่ที่ต้องการให้บุตรหลานของตนเรียนหนังสือ และวิชาชีพบางแขนงก็จะนำเด็กชายไปฝากไว้กับพระภิกษุในวัดเพื่อรับใช้พระภิกษุ และในขณะเดียวกันก็ศึกษาเล่าเรียนควบคู่กันไป เมื่อเด็กโตขึ้นบางคนก็บรรพชาเป็นสามเณร และอุปสมบทเป็นภิกษุเมื่ออายุครบ 20 ปี แล้วก็อยู่ในสมณเพศเพื่อศึกษาพระธรรมวินัยและปฏิบัติธรรม บางคนก็อยู่ในสมณเพศระยะหนึ่งก็สึกออกไปครองเรือนตามแบบอย่างของฆราวาสวิสัย แต่ก็เป็นคนดีของสังคม บางคนก็อยู่ในสมณเพศตลอดชีวิต เป็นการสืบทอดพระพุทธศาสนาในฐานะเป็นพุทธสาวก
ส่วนเด็กผู้หญิงก็มีความใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนาในรูปแบบที่แตกต่างไปจากเด็กผู้ชาย กล่าวคือ เด็กผู้หญิงจะติดตามผู้ใหญ่ เช่น พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย เป็นต้น ไปวัดในวันพระ และในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา เป็นต้น เพื่อฟังเทศน์ฟังธรรมและร่วมกันทำกิจกรรม เช่น จัดดอกไม้บูชาพระ และจัดทำอาหารถวายพระ เป็นต้น จึงทำให้เด็กผู้หญิงมีความคุ้นเคยกับพระพุทธศาสนาไม่น้อยไปกว่าเด็กผู้ชาย
2. สังคมไทยในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในชนบทเป็นสังคมปฐมภูมิ จึงมีความผูกพันที่เหนียวแน่นภายในกลุ่ม ทุกคนมีความคุ้นเคยกันเป็นอย่างดี ใครเป็นคนดี ใครเป็นคนเลว รู้กันหมด จึงทำให้คนเลวอยู่ในสังคมได้ยาก เนื่องจากคนในสังคมส่วนใหญ่เป็นคนดี และไม่ยอมรับคนเลว จึงทำให้ที่ยืนในสังคมสำหรับคนเลวมีอยู่จำกัด
แต่ในปัจจุบัน สังคมไทยได้เปลี่ยนไปจากที่เคยยึดมั่นในจิตตนิยมคือ เน้นความดีงาม และคุณธรรมซึ่งเป็นเรื่องของจิตใจมาเป็นวัตถุนิยม เน้นการถือครองทรัพย์สิน ที่ดิน บ้านช่อง เงินทองมาเป็นเครื่องวัดสถานะของสังคมแทนการเป็นคนดี มีคุณธรรม จึงเป็นเหตุให้ผู้คนมุ่งเน้นการแสวงหาวัตถุมาเพื่อสนองความต้องการทางสังคม และนี่เองคือจุดเริ่มต้นของการโกงเก็บคือโกงเผื่อลูกเผื่อหลาน เก็บไว้ในชื่อของตนเองไม่พอจึงเก็บไว้ในชื่อของคนในครอบครัว หรือแม้กระทั่งในชื่อของคนใช้ก็มีให้เห็นแล้ว ทั้งนี้จะเห็นได้ในคดีฉ้อโกงต่างๆ ที่มีการโยกย้ายถ่ายเททรัพย์สินไปเก็บไว้ในชื่อของคนอื่น และการโกงในลักษณะนี้ได้เกิดขึ้น เนื่องจากเหตุปัจจัยทางสังคมดังต่อไปนี้
1. ในปัจจุบันการศึกษาของประเทศไทยได้ก้าวหน้าไปมากทางด้านวิชาการแขนงต่างๆ แต่ศีลธรรมและจริยธรรมด้อยลง ทั้งนี้เนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1.1 ผู้คนในปัจจุบันมีความผูกพันกับพุทธศาสนาน้อยลง ทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษา และวิถีชีวิตประจำวัน เนื่องจากระบบการศึกษาในปัจจุบันได้มีการจัดการเป็นเอกเทศแยกเด็ดขาดจากวัด ถึงแม้จะมีโรงเรียนหลายแห่งยังอยู่ในเขตวัด แต่แยกเด็ดขาดจากวัด และการเข้าวัดของคนไทยในยุคปัจจุบันก็เปลี่ยนไปคือ จะเข้าวัดก็ต่อเมื่อมีธุรกิจเช่น ไปทำบุญวันเกิด และไปงานศพ เป็นต้น รวมไปถึงการเข้าวัดตามเทศกาลต่างๆ จึงเป็นการเข้าวัดตามประเพณีไม่ได้เข้าวัดเพื่อฟังเทศน์ฟังธรรม และรักษาศีลเช่นในอดีต
1.2 สังคมไทยในปัจจุบัน โดยเฉพาะสังคมเมืองเป็นสังคมทุติยภูมิสมาชิกของสังคมจากหลายที่มาอยู่รวมกัน จึงไม่คุ้นเคยกัน ส่วนใหญ่จะต่างคนต่างอยู่ จึงเปิดโอกาสให้คนโกง คนเลวอยู่ได้โดยไม่มีใครรู้เห็น และไม่เป็นที่รังเกียจของสังคม
1.3 การศึกษาในปัจจุบันมุ่งเน้นการให้ความรู้ทางวิชาการ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการแสวงหาวัตถุ แต่มิได้มุ่งเน้นการพัฒนาทางด้านจิตใจให้มีคุณธรรม จึงขาดคุณธรรมในการกำกับการใช้ความรู้กลายเป็นช่วยให้ความโลภ และความเห็นแก่ตัวเข้าครอบงำทุกอย่างเพื่อตนเองและพวกพ้อง โดยไม่คำนึงถึงความผิดหรือถูก ใครจะเดือดร้อนจากการกระทำของตนเองหรือไม่
1.4 อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนโกงอยู่ได้ในสังคม และเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ก็คือการบูชาเงินเป็นพระเจ้าของคนที่มีการศึกษาดี แต่คุณธรรมด้อย และการที่สังคมยอมรับคนโกงจนร่ำรวยว่าเป็นคนเก่ง และมีหน้ามีตาเป็นที่ยกย่องนับถือในสังคมถึงขนาดลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส.และได้รับเลือกตั้ง จึงเท่ากับยอมรับว่าคนโกงเป็นคนเก่ง และเป็นคนควรแก่การยกย่องไว้วางใจให้เป็นตัวแทนของตน
2. เมื่อคนประเภทนี้ได้รับการยอมรับว่าเป็นคนเก่ง และเป็นคนดีจะมีแนวทางใดบ้างป้องกันคนประเภทนี้มิให้เป็นผู้นำทางสังคม และรังแกประเทศแล้วดูดทรัพยากรของแผ่นดินเข้ามาเป็นของตนเองและพวกพ้อง ดังที่เคยเกิดขึ้นแล้วในอดีต และอาจเกิดขึ้นอีกในอนาคต
เกี่ยวกับเรื่องนี้จะต้องย้อนไปดูสังคมไทยในอดีตว่าทำไมเขาจึงไม่ยกย่องคนโกง ก็จะพบว่าในยุคนั้น การศึกษาและการอบรมเพื่อปลูกฝังคุณธรรมได้ควบคู่กันไป ตั้งแต่วัยเด็กมิใช่มุ่งแต่ยัดเยียดความรู้ให้แก่เด็ก และมองข้ามความสำคัญของการปลูกฝังคุณธรรม ดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ดังนั้น การป้องกันการโกงจะต้องเริ่มจากการศึกษาในวัยเด็ก ส่วนการเข้มงวดกวดขันในการปราบปรามคนโกงด้วยการใช้กฎหมายเป็นเพียงการแก้ไขที่ปลายเหตุ จะได้ผลก็เพียงแค่การปรามให้คนกลัว และไม่กล้าทำผิด แต่เมื่อใดคนโกงมีอำนาจและเห็นช่องทางว่าโกงแล้วกฎหมายตามไม่ถึง การโกงก็เกิดขึ้นอีก