จากกรณีที่ คณะอนุกรรมการเฉพาะกิจเพื่อศึกษาแผนงานปฏิรูปกิจการตำรวจในคณะกรรมการประสานงานระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เสนอรูปแบบการปฏิรูปตำรวจ โดยให้โอนย้ายสำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) ไปสังกัดกระทรวงยุติธรรม ด้านพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. ก็ออกมาแสดงความเห็นในเชิงโยนหินถามทางว่า ตำรวจควรจะไปขึ้นอยู่กับทางจังหวัดหรือไม่ ขณะที่ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผบ.ตร. ก็ออกมาแสดงความเห็นเช่นกันว่า ทางสตช. ก็มีคณะทำงานในเรื่องนี้ โดยนำแนวคิดจากฝ่ายต่างๆ รวมทั้งนโยบายของรัฐบาลมาประมวลจนตกผลึก เป็นข้อสรุปและได้ส่งให้รัฐบาลแล้ว
ทั้งนี้แนวคิดที่ สตช.เสนอไปคือ ให้ตำรวจปรับโครงสร้างการทำงานใน 10 ด้าน บวกกับข้อเสนอของนายกฯอีก 6 ด้าน แต่ไม่ได้เสนอให้ตำรวจไปอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใด
อย่างไรก็ตาม เรื่องการปฏิรูปตำรวจนี้ สมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย โดย พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ นายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ก็ได้มีทีมงานศึกษาเรื่องนี้เช่นกัน และได้เสนอแนวทางปฏิรูปองค์กรตำรวจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการสร้างความสงบเรียบร้อย สังคมมีความสงบสุข และประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้
1. ปรับปรุงการบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลางให้เป็นการบริหารทั้งราชการบริหารส่วนกลาง และเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค สำหรับหน่วยงานตำรวจที่ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำตามพื้นที่ในเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ในส่วนภูมิภาค ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. กำหนดให้การบริหารราชการของตำรวจตั้งแต่ตำรวจภูธรจังหวัด ลงไปจนถึงอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด กำกับดูแลโดยคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัด (ก.ตร.จังหวัด) เพื่อให้การปฏิบัติงานที่จังหวัดและอำเภอ มีเจ้าภาพและความรับผิดชอบทำงานร่วมกันระหว่างข้าราชการส่วนภูมิภาค พนักงานฝ่ายปกครอง ข้าราชการตำรวจและประชาชน เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจ ให้ความร่วมมือและเชื่อมั่นในเกียรติศักดิ์ของข้าราชการตำรวจ ปัญหาอาชญากรรม และวิกฤติศรัทธาในองค์กรตำรวจจะลดลง และหมดไป และเป็นการสนับสนุนนโยบายประชารัฐของรัฐบาลอีกด้วย
3. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเช่นเดิม แทนการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้มีรัฐมนตรี คอยกำกับดูแลและรับผิดชอบโดยตรงอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับการจัดรูปแบบการบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม ที่มีกองทัพบก เรือ อากาศ อยู่ในสังกัดถึง 3 เหล่าทัพ และบูรณาการทำงานกับส่วนราชการ กระทรวง กรม อื่นโดยมีกระทรวงมหาดไทย เป็นแกนหลัก และกำกับดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับปรุงการบริหารงานบุคคล การบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ให้มีการบริหาร และปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่างมั่นคง ยึดประโยชน์ของบ้านเมือง และการคืนความสุขให้กับประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อทำให้ข้าราชการตำรวจทุกนายมีขวัญกำลังใจที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และมั่นใจว่าทำดีต้องได้ดี ทำให้คนดีได้ปกครอง ดูแลบ้านเมือง
5. ปรับปรุงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรจังหวัดให้เหมาะสมกับอัตรากำลัง และหน้าที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะบทบาทการบังคับใช้กฎหมายในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติโดย
5.1 ถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ซึ่งไม่ส่งผลต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม หรือเป็นอาชญากรรมที่ไม่ร้ายแรง หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและใช้อำนาจทางปกครอง แต่กฎหมายกำหนดให้มีโทษทางอาญา ที่ตำรวจรับผิดชอบปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ ไปให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับไปทำ เพื่อทำให้มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาปฏิบัติภารกิจหลัก ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด และตำรวจเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง ดังนี้
5.1.1 ภารกิจและหน้าที่หลักที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 6 และมาตรา 7 และมาตราอื่นๆ แห่งพ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการต่อไป ได้แก่
5.1.1.1 รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
5.1.1.2 ดูแลควบคุม และกำกับการปฏิบัติงานเฉพาะของข้าราชการตำรวจ ซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 5.1.1.3 ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญาหรือการป้องกันอาชญากรรม การสืบสวน การจับกุม การปราบปราม และการสอบสวนผู้กระทำความผิดกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา
5.1.1.4 การรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงของราชอาณาจักร
5.1.1.5 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5.1.2 ภารกิจหน้าที่ใดที่ไม่ใช่ภารกิจหลักตาม พ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือภารกิจหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง หรือภารหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวง หรือส่วนราชการอื่น และสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังปฏิบัติอยู่ ให้โอนภารกิจดังกล่าวไปยังหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่รับผิดชอบ หรือเหมาะสมดำเนินการ เช่น
5.1.2.1 งานรับผิดชอบดูแลการจราจรในพื้นที่เขตเมือง มอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่รับไปปฏิบัติรับผิดชอบโดยตรง ได้แก่กรุงเทพมหานคร หรือเทศบาล เมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
5.1.2.2 งานจราจรในระหว่างเมือง ให้กรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม รับมอบไปรับผิดชอบปฏิบัติดูแล
5.1.2.3 งานตรวจคนเข้าเมือง งานทะเบียนคนต่างด้าว มอบกลับคืนไปให้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบงานนี้โดยตรงแต่ได้มอบให้ กรมตำรวจขณะที่ยังสังกัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติก่อนโอนมาจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รับกลับไปปฏิบัติและกำกับดูแล
5.1.2.4 งานตำรวจรถไฟ มอบให้การรถไฟจัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
5.1.2.5 งานตำรวจป่าไม้ มอบให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
5.1.2.6 งานตำรวจน้ำมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมเจ้าท่า
5.1.2.7 งานการทะเบียน การอนุมัติและการอนุญาตให้ประกอบกิจการต่างๆ เช่น งานต่ออายุใบอนุญาตคนต่างด้าว โอนภารกิจนี้กลับไปให้ กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ
5.1.2.8 โอนภารกิจการจับ และการสอบสวนในลักษณะคู่ขนาน โดยกรณีหน่วยงานใดรับคำร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ หรือจับ ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการสอบสวนตามกลุ่มภารกิจจัดระเบียบสังคม เช่น
5.1.2.8.1 โอนภารกิจให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่น พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ร.บ. สถานบริการ ฯลฯ
5.1.2.8.2 โอนภารกิจการจับและการสอบสวนตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เป็นต้น
เหตุผลที่สำคัญในการประกอบการพิจารณาโอนภารกิจของตำรวจให้หน่วยงานอื่นก็คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2549 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 โดยมี พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ได้เสนอรายงานการศึกษาวิจัย ซึ่งทำการวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะ เรื่องความเป็นไปได้ในการโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของสำนัก
งานตำรวจแห่งชาติ ให้หน่วยงานอื่น ของรัฐรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5.2 ปรับปรุงภารกิจด้านการสืบสวนและสอบสวนความผิดอาญาระหว่างพนักงานฝ่ายปกครองกับข้าราชการตำรวจเสียใหม่ให้เหมาะสม เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามกฎหมาย หรือกฎกระทรวงได้อย่างครบถ้วน และเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมายและบริการประชาชน
ทั้งนี้แนวคิดที่ สตช.เสนอไปคือ ให้ตำรวจปรับโครงสร้างการทำงานใน 10 ด้าน บวกกับข้อเสนอของนายกฯอีก 6 ด้าน แต่ไม่ได้เสนอให้ตำรวจไปอยู่ภายใต้สังกัดกระทรวงใด
อย่างไรก็ตาม เรื่องการปฏิรูปตำรวจนี้ สมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย โดย พ.ท.กมล ประจวบเหมาะ นายกสมาคมนักปกครองแห่งประเทศไทย ก็ได้มีทีมงานศึกษาเรื่องนี้เช่นกัน และได้เสนอแนวทางปฏิรูปองค์กรตำรวจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย ในการสร้างความสงบเรียบร้อย สังคมมีความสงบสุข และประชาชนมีความสุข มีคุณภาพชีวิตที่ดี ดังนี้
1. ปรับปรุงการบริหารสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งเป็นราชการบริหารส่วนกลางให้เป็นการบริหารทั้งราชการบริหารส่วนกลาง และเป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค สำหรับหน่วยงานตำรวจที่ไปปฏิบัติหน้าที่ประจำตามพื้นที่ในเขตจังหวัด อำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน ในส่วนภูมิภาค ตาม พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 และที่แก้ไขเพิ่มเติม
2. กำหนดให้การบริหารราชการของตำรวจตั้งแต่ตำรวจภูธรจังหวัด ลงไปจนถึงอำเภอ ตำบล หมู่บ้าน เป็นราชการบริหารส่วนภูมิภาค ผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัด มีฐานะเป็นหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัด กำกับดูแลโดยคณะกรรมการตำรวจภูธรจังหวัด (ก.ตร.จังหวัด) เพื่อให้การปฏิบัติงานที่จังหวัดและอำเภอ มีเจ้าภาพและความรับผิดชอบทำงานร่วมกันระหว่างข้าราชการส่วนภูมิภาค พนักงานฝ่ายปกครอง ข้าราชการตำรวจและประชาชน เชื่อว่าจะทำให้ประชาชนเกิดความอุ่นใจ ให้ความร่วมมือและเชื่อมั่นในเกียรติศักดิ์ของข้าราชการตำรวจ ปัญหาอาชญากรรม และวิกฤติศรัทธาในองค์กรตำรวจจะลดลง และหมดไป และเป็นการสนับสนุนนโยบายประชารัฐของรัฐบาลอีกด้วย
3. ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กลับมาอยู่ในสังกัดกระทรวงมหาดไทยเช่นเดิม แทนการขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี เพื่อจะได้มีรัฐมนตรี คอยกำกับดูแลและรับผิดชอบโดยตรงอย่างใกล้ชิด เช่นเดียวกับการจัดรูปแบบการบริหารราชการของกระทรวงกลาโหม ที่มีกองทัพบก เรือ อากาศ อยู่ในสังกัดถึง 3 เหล่าทัพ และบูรณาการทำงานกับส่วนราชการ กระทรวง กรม อื่นโดยมีกระทรวงมหาดไทย เป็นแกนหลัก และกำกับดูแล อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ปรับปรุงการบริหารงานบุคคล การบรรจุแต่งตั้งโยกย้าย และการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนาย ให้มีการบริหาร และปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี เป็นธรรม โปร่งใส ตรวจสอบได้ อย่างมั่นคง ยึดประโยชน์ของบ้านเมือง และการคืนความสุขให้กับประชาชนเป็นที่ตั้ง เพื่อทำให้ข้าราชการตำรวจทุกนายมีขวัญกำลังใจที่ดี ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ และมั่นใจว่าทำดีต้องได้ดี ทำให้คนดีได้ปกครอง ดูแลบ้านเมือง
5. ปรับปรุงบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และตำรวจภูธรจังหวัดให้เหมาะสมกับอัตรากำลัง และหน้าที่รับผิดชอบ โดยเฉพาะบทบาทการบังคับใช้กฎหมายในฐานะผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ ให้บริสุทธิ์ยุติธรรม ไม่เลือกปฏิบัติโดย
5.1 ถ่ายโอนภารกิจหน้าที่ซึ่งไม่ส่งผลต่อการป้องกันปราบปรามอาชญากรรม หรือเป็นอาชญากรรมที่ไม่ร้ายแรง หรือเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมและใช้อำนาจทางปกครอง แต่กฎหมายกำหนดให้มีโทษทางอาญา ที่ตำรวจรับผิดชอบปฏิบัติอยู่ในขณะนี้ ไปให้หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องรับไปทำ เพื่อทำให้มีอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจกลับมาปฏิบัติภารกิจหลัก ในการรักษาความสงบเรียบร้อย ป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิด และตำรวจเป็นผู้พิทักษ์สันติราษฎร์อย่างแท้จริง ดังนี้
5.1.1 ภารกิจและหน้าที่หลักที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 6 และมาตรา 7 และมาตราอื่นๆ แห่งพ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ พ.ศ.2547 ให้สำนักงานตำรวจแห่งชาติดำเนินการต่อไป ได้แก่
5.1.1.1 รักษาความปลอดภัยสำหรับองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระรัชทายาท ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ และพระราชอาคันตุกะ
5.1.1.2 ดูแลควบคุม และกำกับการปฏิบัติงานเฉพาะของข้าราชการตำรวจ ซึ่งปฏิบัติการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา 5.1.1.3 ป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดทางอาญาหรือการป้องกันอาชญากรรม การสืบสวน การจับกุม การปราบปราม และการสอบสวนผู้กระทำความผิดกฎหมาย ที่มีโทษทางอาญา
5.1.1.4 การรักษาความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัยของประชาชน และความมั่นคงของราชอาณาจักร
5.1.1.5 ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของข้าราชการตำรวจหรือสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5.1.2 ภารกิจหน้าที่ใดที่ไม่ใช่ภารกิจหลักตาม พ.ร.บ.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือภารกิจหน้าที่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมร้ายแรง หรือภารหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากกระทรวง หรือส่วนราชการอื่น และสำนักงานตำรวจแห่งชาติยังปฏิบัติอยู่ ให้โอนภารกิจดังกล่าวไปยังหน่วยงาน หรือส่วนราชการที่รับผิดชอบ หรือเหมาะสมดำเนินการ เช่น
5.1.2.1 งานรับผิดชอบดูแลการจราจรในพื้นที่เขตเมือง มอบให้องค์กรปกครองท้องถิ่นในแต่ละพื้นที่รับไปปฏิบัติรับผิดชอบโดยตรง ได้แก่กรุงเทพมหานคร หรือเทศบาล เมืองพัทยา หรือองค์การบริหารส่วนตำบล
5.1.2.2 งานจราจรในระหว่างเมือง ให้กรมการขนส่งทางบก และกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม รับมอบไปรับผิดชอบปฏิบัติดูแล
5.1.2.3 งานตรวจคนเข้าเมือง งานทะเบียนคนต่างด้าว มอบกลับคืนไปให้กระทรวงมหาดไทย ซึ่งเป็นกระทรวงที่รับผิดชอบงานนี้โดยตรงแต่ได้มอบให้ กรมตำรวจขณะที่ยังสังกัดกระทรวงมหาดไทยปฏิบัติก่อนโอนมาจัดตั้งเป็นสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี รับกลับไปปฏิบัติและกำกับดูแล
5.1.2.4 งานตำรวจรถไฟ มอบให้การรถไฟจัดหาเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย
5.1.2.5 งานตำรวจป่าไม้ มอบให้เป็นหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ
5.1.2.6 งานตำรวจน้ำมอบให้เป็นหน้าที่ของกรมเจ้าท่า
5.1.2.7 งานการทะเบียน การอนุมัติและการอนุญาตให้ประกอบกิจการต่างๆ เช่น งานต่ออายุใบอนุญาตคนต่างด้าว โอนภารกิจนี้กลับไปให้ กระทรวงมหาดไทยรับผิดชอบ
5.1.2.8 โอนภารกิจการจับ และการสอบสวนในลักษณะคู่ขนาน โดยกรณีหน่วยงานใดรับคำร้องทุกข์ หรือกล่าวโทษ หรือจับ ให้หน่วยงานนั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ดำเนินการสอบสวนตามกลุ่มภารกิจจัดระเบียบสังคม เช่น
5.1.2.8.1 โอนภารกิจให้กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ตามกฎหมายเกี่ยวกับการปกครอง การจัดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองเช่น พ.ร.บ.การพนัน พ.ร.บ.อาวุธปืนฯ พ.ร.บ. สถานบริการ ฯลฯ
5.1.2.8.2 โอนภารกิจการจับและการสอบสวนตามประมวลกฎหมายรัษฎากร ให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง เป็นต้น
เหตุผลที่สำคัญในการประกอบการพิจารณาโอนภารกิจของตำรวจให้หน่วยงานอื่นก็คือ คณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ซึ่งแต่งตั้งตามคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 230/2549 ลงวันที่ 13 พฤศจิกายน 2549 โดยมี พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เป็นประธานคณะกรรมการพัฒนาระบบงานตำรวจ ได้เสนอรายงานการศึกษาวิจัย ซึ่งทำการวิจัยโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จุฑารัตน์ เอื้ออำนวยและคณะ เรื่องความเป็นไปได้ในการโอนภารกิจที่ไม่ใช่ภารกิจหลักของสำนัก
งานตำรวจแห่งชาติ ให้หน่วยงานอื่น ของรัฐรับผิดชอบ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาประสิทธิภาพ และความคุ้มค่าต่อการปฏิบัติงานของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
5.2 ปรับปรุงภารกิจด้านการสืบสวนและสอบสวนความผิดอาญาระหว่างพนักงานฝ่ายปกครองกับข้าราชการตำรวจเสียใหม่ให้เหมาะสม เพื่อให้ทั้งสองฝ่าย ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนและสอบสวนความผิดอาญาตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 และมาตรา 18 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ปฏิบัติหน้าที่ในความรับผิดชอบตามกฎหมาย หรือกฎกระทรวงได้อย่างครบถ้วน และเป็นธรรมและเป็นประโยชน์ต่อการอำนวยความเป็นธรรม การบังคับใช้กฎหมายและบริการประชาชน