**"ยังไม่รู้เลย ไม่รู้ ไม่รู้" นี่คือคำตอบของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ตอบคำถามผู้สื่อข่าวว่าจะ "ลงเลือกตั้งหรือไม่"
สำหรับประเด็นนี้ มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเป็นครั้งแรกที่เขาพูดแบบนี้ เพราะเป็นคำตอบแบบก้ำกึ่ง แบ่งรับแบ่งสู้ ไม่ใช่แบบปฏิเสธทันควัน พูดง่ายๆ ก็คือ"กั๊ก" นั่นเอง
สำหรับประเด็นต่อมาที่เขาพูดถึงเรื่องสถานการณ์และเชื่อมโยงกับโรดแมปและการเลือกตั้งก็มีคำตอบน่าสนใจ
"สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนคำนึงถึง คือ ถ้าบ้านเมืองยังเป็นอยู่แบบนี้ ทั้งการวางระเบิด การใช้อาวุธสงคราม การทำให้เกิดความขัดแย้งในภาคประชาชน แล้วมีปัญหาเหมือนเดิมที่ผ่านมา แล้วจะเลือกตั้งกันได้หรือไม่ ผมกำหนดไปก็เท่านั้น อยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อเดินไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน อย่าให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดทั้งหมด ผมเคยบอกไว้แล้วว่า เร็วที่สุดจะได้อย่างไร แต่ถ้าไม่ได้ประชาชนก็ต้องว่ากันมา ผมบังคับใครไม่ได้ในการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ขอร้องว่าอย่ามาอ้างกลับไปกลับมา เสียเวลาเปล่า รัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าอย่างไร ก็ว่าตามนั้น ระยะเวลาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็ยังเป็นไปตามนั้นทุกอย่าง เว้นแต่บ้านเมืองไม่สงบสุข"
** คำพูดข้างต้นถือว่าเป็นการตอบคำถามสำคัญสองเรื่อง คือ ยืนยันเดินหน้าตามโรดแมปที่กำหนดเอาไว้ และการไม่ปฏิเสธว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะหมายรวมถึงเรื่องการ "รับตำแหน่งนายกฯ คนนอก" ด้วยหรือไม่
หากพิจารณากันที่ละเรื่องที่ต้องเชื่อมโยงถึงกันกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ หลังจากเกิดเหตุลอบวางระเบิดถึง 3 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกันไม่กี่วัน โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เกิดเหตุวางระเบิดที่หน้าห้อง"วงษ์สุวรรณ" ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่ายี่สิบคน ทั้งสามครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคงของทหารระบุตรงกันว่า มีความเชื่อมโยงกัน เป็นฝีมือของคนกลุ่มเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีการระบุออกมาแบบฟันธง แต่ก็เข้าใจกันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับ "กลุ่มการเมือง" ส่วนจะเป็นกลุ่มเดียวกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่าเป็น"กลุ่มคนเลว"หรือไม่นั้น หากพิจารณากันแบบติดตามอย่างใกล้ชิดก็น่าจะพอมองออกว่า มีความหมายไปทางไหน
สำหรับเรื่องการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีบางกลุ่มการเมืองออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ร่นการเลือกตั้งให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองจากพรรคเพื่อไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ที่มักจะออกมาเร่งรัดอยู่แทบจะเป็นรายวัน รวมทั้งดักคอ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าพยายามเตะถ่วง ยื้อเวลาเพื่อรักษาอำนาจเอาไว้ต่อไปเรื่อยๆ
แน่นอนว่า หากพิจารณากันด้วยเหตุผลแล้วมันก็เป็นเรื่องธรรมดาเข้าใจได้ เพราะกลุ่มนี้ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำหนดคุณสมบัติของนักการเมืองที่มีผลกระทบกับพวกเขาโดยเฉพาะในเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามที่คนพวกนี้ "โดนกันระนาว" ตั้งแต่หัวแถวยันท้ายแถว ที่เห็นชัดก็คือ ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากหมดอนาคตทางการเมืองแล้วยังเสี่ยงจะถูกจับเข้าคุก ถูกยึดทรัพย์อีกด้วย นี่ยังไม่นับคดีเงินกู้ธนาคารกรุงไทย ที่เสี่ยงจะลากเอา พานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของ ทักษิณ ให้เข้าปิ้งอีกราย
แต่นั่นเป็นการเรียกร้อง เร่งรัด ให้รีบเลือกตั้ง ที่หลายคนมองออกว่าเริ่มมีแรงกดดันแบบเข้มข้นทุกทางมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงการออกมาดิสเครดิตผลงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กันหนักมือมากขึ้น โดยเทน้ำหนักไปที่ เรื่องความล้มเหลวเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีเสียงสะท้อนจากผลสำรวจของชาวบ้านที่ออกมายังไว้ใจรัฐบาล และคสช.ในเรื่อง "การรักษาความสงบ" ในบ้านเมือง ความหมายก็คือ ก่อนหน้านี้เรื่อง"ความมั่นคง" ยังเป็นจุดขายของรัฐบาลนั่นแหละ อย่างน้อยก็ก่อนเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
แม้ว่าจนถึงตอนนี้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง จะยังไม่เปิดเผยออกมาเป็นฝีมือของคนกลุ่มไหน เพราะมีการสงสัยไป"หลายกลุ่ม" ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ได่ตัดประเด็นใดทิ้ง เพียงแต่ว่าต้องจับคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะเสียหาย เพราะคราวนี้เป็นการ "จงใจหยาม" กันแบบไม่ไว้หน้า ทำนองว่ารัฐบาล"ไม่อาจรักษาความปลอดภัย" ให้ชาวบ้านได้ "ต้องออกไป" อะไรประมาณนั้น ซึ่งก็เริ่มมีการส่งเสียงขับไล่แบบนี้ออกมาแล้วสมาชิกกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกมาประณาม "คนเลว" ที่ลงมือก่อเหตุ และตามมาด้วยคำพูดที่ยืนยันท่าทีเหมือนกับการ"ตอบโต้การข่มขู่" ว่า"หากไม่สงบก็ไม่มีเลือกตั้ง "มันก็เหมือนกับการคาดเดาไว้แล้วว่าเป็นฝีมือ"ใคร" ความหมายก็คือ จะยื้อเวลาออกไปอีกแม้ว่าจะกำหนดเวลาเป็นปี พ.ศ. เอาไว้แล้วก็ตาม
**ขณะเดียวกันออกมาตอบคำถามแบบ"ไม่ปฏิเสธ" ว่าจะลงเลือกตั้งหรือไม่ มันก็เป็นท่าทีใหม่ที่สำหรับความหมายไม่ปฏิเสธก็ คือ "อยู่ต่อ"ในเก้าอี้"นายกฯคนนอก"ที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดเปิดทางเอาไว้แล้ว ซึ่งโดยนัยแล้วมันก็เหมือนกับเป็นการ"ย้อนศร"เอาคืนฝ่ายตรงข้ามแบบชัดเจนกว่าเดิม !!
สำหรับประเด็นนี้ มีการตั้งข้อสังเกตกันว่าเป็นครั้งแรกที่เขาพูดแบบนี้ เพราะเป็นคำตอบแบบก้ำกึ่ง แบ่งรับแบ่งสู้ ไม่ใช่แบบปฏิเสธทันควัน พูดง่ายๆ ก็คือ"กั๊ก" นั่นเอง
สำหรับประเด็นต่อมาที่เขาพูดถึงเรื่องสถานการณ์และเชื่อมโยงกับโรดแมปและการเลือกตั้งก็มีคำตอบน่าสนใจ
"สิ่งสำคัญที่อยากให้ทุกคนคำนึงถึง คือ ถ้าบ้านเมืองยังเป็นอยู่แบบนี้ ทั้งการวางระเบิด การใช้อาวุธสงคราม การทำให้เกิดความขัดแย้งในภาคประชาชน แล้วมีปัญหาเหมือนเดิมที่ผ่านมา แล้วจะเลือกตั้งกันได้หรือไม่ ผมกำหนดไปก็เท่านั้น อยู่ที่ทุกคนจะต้องร่วมมือกันเพื่อเดินไปสู่จุดหมายปลายทางเดียวกัน อย่าให้รัฐบาลเป็นผู้กำหนดทั้งหมด ผมเคยบอกไว้แล้วว่า เร็วที่สุดจะได้อย่างไร แต่ถ้าไม่ได้ประชาชนก็ต้องว่ากันมา ผมบังคับใครไม่ได้ในการเดินหน้าสู่ประชาธิปไตย ขอร้องว่าอย่ามาอ้างกลับไปกลับมา เสียเวลาเปล่า รัฐธรรมนูญ กฎหมายว่าอย่างไร ก็ว่าตามนั้น ระยะเวลาตามกฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดไว้ ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ก็ยังเป็นไปตามนั้นทุกอย่าง เว้นแต่บ้านเมืองไม่สงบสุข"
** คำพูดข้างต้นถือว่าเป็นการตอบคำถามสำคัญสองเรื่อง คือ ยืนยันเดินหน้าตามโรดแมปที่กำหนดเอาไว้ และการไม่ปฏิเสธว่าจะไม่ลงเลือกตั้ง ซึ่งน่าจะหมายรวมถึงเรื่องการ "รับตำแหน่งนายกฯ คนนอก" ด้วยหรือไม่
หากพิจารณากันที่ละเรื่องที่ต้องเชื่อมโยงถึงกันกับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ในตอนนี้ หลังจากเกิดเหตุลอบวางระเบิดถึง 3 ครั้ง ในระยะเวลาห่างกันไม่กี่วัน โดยครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม เกิดเหตุวางระเบิดที่หน้าห้อง"วงษ์สุวรรณ" ภายในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บกว่ายี่สิบคน ทั้งสามครั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคงของทหารระบุตรงกันว่า มีความเชื่อมโยงกัน เป็นฝีมือของคนกลุ่มเดียวกัน แม้ว่าจะไม่มีการระบุออกมาแบบฟันธง แต่ก็เข้าใจกันว่าเป็นฝีมือของกลุ่มที่เชื่อมโยงกับ "กลุ่มการเมือง" ส่วนจะเป็นกลุ่มเดียวกับที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุว่าเป็น"กลุ่มคนเลว"หรือไม่นั้น หากพิจารณากันแบบติดตามอย่างใกล้ชิดก็น่าจะพอมองออกว่า มีความหมายไปทางไหน
สำหรับเรื่องการเลือกตั้งที่ผ่านมา มีบางกลุ่มการเมืองออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ร่นการเลือกตั้งให้เร็วขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มการเมืองจากพรรคเพื่อไทยของ ทักษิณ ชินวัตร ที่มักจะออกมาเร่งรัดอยู่แทบจะเป็นรายวัน รวมทั้งดักคอ พล.อ.ประยุทธ์ ว่าพยายามเตะถ่วง ยื้อเวลาเพื่อรักษาอำนาจเอาไว้ต่อไปเรื่อยๆ
แน่นอนว่า หากพิจารณากันด้วยเหตุผลแล้วมันก็เป็นเรื่องธรรมดาเข้าใจได้ เพราะกลุ่มนี้ต่อต้านรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ที่กำหนดคุณสมบัติของนักการเมืองที่มีผลกระทบกับพวกเขาโดยเฉพาะในเรื่องคุณสมบัติต้องห้ามที่คนพวกนี้ "โดนกันระนาว" ตั้งแต่หัวแถวยันท้ายแถว ที่เห็นชัดก็คือ ทักษิณ ชินวัตร และ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นอกจากหมดอนาคตทางการเมืองแล้วยังเสี่ยงจะถูกจับเข้าคุก ถูกยึดทรัพย์อีกด้วย นี่ยังไม่นับคดีเงินกู้ธนาคารกรุงไทย ที่เสี่ยงจะลากเอา พานทองแท้ ชินวัตร ลูกชายของ ทักษิณ ให้เข้าปิ้งอีกราย
แต่นั่นเป็นการเรียกร้อง เร่งรัด ให้รีบเลือกตั้ง ที่หลายคนมองออกว่าเริ่มมีแรงกดดันแบบเข้มข้นทุกทางมากขึ้นหรือไม่ รวมถึงการออกมาดิสเครดิตผลงานของรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ กันหนักมือมากขึ้น โดยเทน้ำหนักไปที่ เรื่องความล้มเหลวเรื่องเศรษฐกิจปากท้อง แต่ถึงอย่างไรก็ยังมีเสียงสะท้อนจากผลสำรวจของชาวบ้านที่ออกมายังไว้ใจรัฐบาล และคสช.ในเรื่อง "การรักษาความสงบ" ในบ้านเมือง ความหมายก็คือ ก่อนหน้านี้เรื่อง"ความมั่นคง" ยังเป็นจุดขายของรัฐบาลนั่นแหละ อย่างน้อยก็ก่อนเกิดเหตุการณ์ลอบวางระเบิดที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า
แม้ว่าจนถึงตอนนี้ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ตำรวจ และฝ่ายความมั่นคง จะยังไม่เปิดเผยออกมาเป็นฝีมือของคนกลุ่มไหน เพราะมีการสงสัยไป"หลายกลุ่ม" ทั้งในและต่างประเทศ ไม่ได่ตัดประเด็นใดทิ้ง เพียงแต่ว่าต้องจับคนร้ายมาดำเนินคดีให้ได้โดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะเสียหาย เพราะคราวนี้เป็นการ "จงใจหยาม" กันแบบไม่ไว้หน้า ทำนองว่ารัฐบาล"ไม่อาจรักษาความปลอดภัย" ให้ชาวบ้านได้ "ต้องออกไป" อะไรประมาณนั้น ซึ่งก็เริ่มมีการส่งเสียงขับไล่แบบนี้ออกมาแล้วสมาชิกกลุ่มการเมืองบางกลุ่ม
แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ หลังจากนั้นไม่นาน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก็ออกมาประณาม "คนเลว" ที่ลงมือก่อเหตุ และตามมาด้วยคำพูดที่ยืนยันท่าทีเหมือนกับการ"ตอบโต้การข่มขู่" ว่า"หากไม่สงบก็ไม่มีเลือกตั้ง "มันก็เหมือนกับการคาดเดาไว้แล้วว่าเป็นฝีมือ"ใคร" ความหมายก็คือ จะยื้อเวลาออกไปอีกแม้ว่าจะกำหนดเวลาเป็นปี พ.ศ. เอาไว้แล้วก็ตาม
**ขณะเดียวกันออกมาตอบคำถามแบบ"ไม่ปฏิเสธ" ว่าจะลงเลือกตั้งหรือไม่ มันก็เป็นท่าทีใหม่ที่สำหรับความหมายไม่ปฏิเสธก็ คือ "อยู่ต่อ"ในเก้าอี้"นายกฯคนนอก"ที่รัฐธรรมนูญฉบับใหม่กำหนดเปิดทางเอาไว้แล้ว ซึ่งโดยนัยแล้วมันก็เหมือนกับเป็นการ"ย้อนศร"เอาคืนฝ่ายตรงข้ามแบบชัดเจนกว่าเดิม !!