ผู้จัดการรายวัน360-"อุตตม"ยอมรับร่างพ.ร.บ.อีอีซีที่คาดว่าจะประกาศได้กลางปีนี้ต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนต.ค.แทน เหตุต้องใช้เวลาในการพิจารณาให้รอบคอบ แต่เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น ชง ป.ย.ป. สนับสนุนแนวทางการขับเคลื่อนอีอีซีก่อนมีกฎหมาย เล็งอนุมัติให้ต่างชาติถือหุ้นเกิน 50% ในอุตสาหกรรมอากาศยานและชิ้นส่วน เร่งรัดอีไอเอ และการทำพีพีพี เตรียมชง ครม. เคาะวันนี้
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะต้องกลับมาสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และยังต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดต้องใช้เวลาอีกพอสมควร โดยคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนต.ค.2560
"เดิมเราคาดการณ์ไว้ว่าพ.ร.บ.อีอีซี จะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี หรือเดือนมิ.ย. แต่ด้วยการที่ขั้นตอนต่างๆ ต้องทำให้รัดกุมมากขึ้น เลยต้องล่าช้าออกไปบ้าง แต่เพื่อให้การปฏิบัติงานทำได้เร็วระหว่างที่รอกฏหมายรองรับ ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในกรรมการบริหารราชแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยได้รายงานความคืบหน้า และขอให้มีมาตรการสนับสนุนแนวทางทำงานแล้ว"นายอุตตมกล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีการนำเสนอป.ย.ป.พิจารณาดำเนินการใน 3 เรื่อง ได้แก่ การสนับสนุนอุตสาหกรรมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน โดยเสนอให้มีการพิจารณาให้ต่างชาติถือหุ้นได้มากกว่า 50% ภายใต้เงื่อนไขการดึงดูดการลงทุนที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง , การจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ในเขตส่งเสริมการลงทุนพิเศษในอีอีซี จะต้องมีความรวดเร็วขึ้น แต่ไม่ได้ลดขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งทางสำนักงานเลขาอีอีซีได้เสนอเพิ่มอัตรากำลังคนเข้ามาดูแล และการเร่งรัดกระบวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ในพื้นที่เฉพาะอีอีซีให้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดนี้ จะมีการนำเสนอให้ ครม. พิจารณาในวันนี้ (23 พ.ค.)
นายอุตตมกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย.2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีจะนำคณะผู้บริหารระดับสูงของไทยเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อชี้แจงให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอีอีซีของไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และยังมีแผนที่จะไปเยือนสปป.ลาว ในวันที่ 23 -25 พ.ค.2560 เพื่อหารือกับสปป.ลาว และลงนามในบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) จำนวน 4 ฉบับ เพื่อยกระดับการพัฒนาเอสเอ็มอีไทยร่วมกัน ได้แก่ 1.การลงนามของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมของไทยกับสปป.ลาว และ 2.การลงนามของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) กับเอกชนของสปป.ลาวอีก 3 ฉบับ
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ร่างพ.ร.บ.เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และจะต้องกลับมาสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี(ครม.) และยังต้องเปิดรับฟังความคิดเห็นภายใต้รัฐธรรมนูญใหม่เมื่อเสร็จเรียบร้อย จึงจะเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดต้องใช้เวลาอีกพอสมควร โดยคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จได้ภายในเดือนต.ค.2560
"เดิมเราคาดการณ์ไว้ว่าพ.ร.บ.อีอีซี จะแล้วเสร็จในช่วงกลางปี หรือเดือนมิ.ย. แต่ด้วยการที่ขั้นตอนต่างๆ ต้องทำให้รัดกุมมากขึ้น เลยต้องล่าช้าออกไปบ้าง แต่เพื่อให้การปฏิบัติงานทำได้เร็วระหว่างที่รอกฏหมายรองรับ ได้นำเรื่องนี้เข้าหารือในกรรมการบริหารราชแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติ และการสร้างความสามัคคีปรองดอง หรือ ป.ย.ป. ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน โดยได้รายงานความคืบหน้า และขอให้มีมาตรการสนับสนุนแนวทางทำงานแล้ว"นายอุตตมกล่าว
ทั้งนี้ ล่าสุดได้มีการนำเสนอป.ย.ป.พิจารณาดำเนินการใน 3 เรื่อง ได้แก่ การสนับสนุนอุตสาหกรรมอากาศยานและชิ้นส่วนอากาศยาน โดยเสนอให้มีการพิจารณาให้ต่างชาติถือหุ้นได้มากกว่า 50% ภายใต้เงื่อนไขการดึงดูดการลงทุนที่มีเทคโนโลยีขั้นสูง , การจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ในเขตส่งเสริมการลงทุนพิเศษในอีอีซี จะต้องมีความรวดเร็วขึ้น แต่ไม่ได้ลดขั้นตอนในการดำเนินการ ซึ่งทางสำนักงานเลขาอีอีซีได้เสนอเพิ่มอัตรากำลังคนเข้ามาดูแล และการเร่งรัดกระบวนการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ในพื้นที่เฉพาะอีอีซีให้เร็วยิ่งขึ้น ซึ่งข้อเสนอทั้งหมดนี้ จะมีการนำเสนอให้ ครม. พิจารณาในวันนี้ (23 พ.ค.)
นายอุตตมกล่าวว่า ระหว่างวันที่ 4-8 มิ.ย.2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีจะนำคณะผู้บริหารระดับสูงของไทยเดินทางไปยังประเทศญี่ปุ่น เพื่อชี้แจงให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาอีอีซีของไทย เพื่อดึงดูดการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และยังมีแผนที่จะไปเยือนสปป.ลาว ในวันที่ 23 -25 พ.ค.2560 เพื่อหารือกับสปป.ลาว และลงนามในบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู) จำนวน 4 ฉบับ เพื่อยกระดับการพัฒนาเอสเอ็มอีไทยร่วมกัน ได้แก่ 1.การลงนามของกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมของไทยกับสปป.ลาว และ 2.การลงนามของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม (สสว.) กับเอกชนของสปป.ลาวอีก 3 ฉบับ