“การที่เป็นทหารแล้วได้มีโอกาสถวายงานให้กับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ก็ยิ่งมีความภาคภูมิใจมากขึ้นเป็นที่สุด”
นั่นคือคำกล่าวของ พลโทอาวุธ เอมวงศ์ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กับ 3 ภารกิจหลัก ที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ของนายทหารทั้งกรม หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ไปสนทนากับหัวเรือใหญ่แห่งกรมสรรพาวุธทหารบก ถามที่มาแห่งภารกิจซึ่งเป็นเกียรติยศ ความภูมิใจในชีวิตครั้งหนึ่งนี้
- อยากทราบว่า ภารกิจในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของกรมสรรพาวุธทหารบกหรือไม่ และที่ผ่านมาได้เข้าร่วมภารกิจกี่พระราชพิธีฯ
รวมทั้งหมด 5 ครั้งครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1 เป็นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2528
ครั้งที่ 2 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2539
ครั้งที่ 3 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ครั้งที่ 4 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555
และครั้งที่ 5 พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558
-ทราบว่า ภารกิจในครั้งนี้มีทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน อยากให้ท่านให้ข้อมูลว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ภารกิจอันดับแรกคือการซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ และราชยานทั้งหมดที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทั้ง พระมหาพิชัยราชรถ พระเวชยันตราชรถ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน และราชรถน้อยอีก 3 องค์ เกรินบันไดนาค 2 เกริน นอกจากนั้นก็มีพระยานมาศสามลำคานอีก 2 องค์ ซึ่งเราซ่อมปรับปรุงบูรณะทั้งหมด และสุดท้ายก็คือ ถาดรองพระโกศทองใหญ่
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ อะไรที่ซ่อมได้เลย เราก็ซ่อมที่โรงราชรถ และผ่านการซ่อมมาหลายยุค ทุกครั้งที่มีงานก็จะต้องตรวจซ่อมทุกครั้ง ซึ่งหนึ่งในความพิเศษของงานครั้งนี้ก็คือ เราเลือกราชรถน้อยมาองค์หนึ่ง โดยทางกรมศิลปากรก็เลือกองค์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่มีอยู่สามองค์ และองค์นี้ปรากฏว่าชำรุดมากสุด ผ่านการบูรณะค่อนข้างน้อยในอดีต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องถอดองค์ประกอบออกบางส่วน ก็ต้องนำเข้ามายังโรงงานที่กรมสรรพาวุธ เราต้องขออนุญาตนำออกมาซ่อมที่นี่
ส่วนภารกิจที่ 2 คือ การสร้างขึ้นใหม่ นั่นก็คือราชรถปืนใหญ่ เราสร้างขึ้นใหม่ทั้งองค์เลย ราชรถปืนใหญ่จะใช้ในการอัญเชิญพระโกศทองใหญ่ จากริ้วขบวนที่ 2 มาสู่ราชรถปืนใหญ่ ซึ่งอยู่ในริ้วขบวนที่ 3 ซึ่งริ้วขบวนที่ 3 จะเวียนรอบพระเมรุมาศ 3 รอบ ก่อนจะมาเทียบกับเกรินบันไดนาค แล้วอัญเชิญขึ้นยังพระเมรุมาศสู่พระจิตกาธาน ราชรถปืนใหญ่ในพระราชพิธีที่เราได้เห็นกันในครั้งที่ผ่านๆมา ก็จะใช้เป็นพระยานมาศสามลำคาน แต่คราวนี้เนื่องจากเป็นพระราชพิธีพระมหากษัตริย์และทรงเป็นจอมทัพ จึงมีโปรดเกล้าฯให้ใช้ราชรถปืนใหญ่ เช่นเดียวกับสมัยล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 และล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 8 เราจึงต้องสร้างขึ้นมาใหม่ อันที่จริง ของเดิมก็มีอยู่ เพียงแต่ว่าไม่สมบูรณ์และไม่ครบองค์
โดยในการสร้างใหม่ เราก็ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทั้งจากหอสมุดแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ รวมถึงหอภาพยนตร์ เพื่อนำมาศึกษา แล้วลอกแบบออกมา ถอดแบบออกมา ก่อนจะนำมาเขียนแบบขึ้นใหม่ จากนั้นจึงค่อยสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดนี้ก็ผ่านการปรู๊ฟโดยวิศวกร และมีกรมศิลปากรเป็นผู้รับรองในการสร้าง อันนี้คือภารกิจที่ 2
ส่วนภารกิจที่ 3 เป็นการจัดกำลังพลฉุดชักราชรถ โดยกำลังพลทั้งสองส่วนรวมกันแล้วมากกว่า 300 นาย โดยในส่วนนี้ได้ให้โรงเรียนทหารสรรพาวุธเป็นผู้ดูแล เพราะโรงเรียนนั้นเป็นเหมือนเจ้าตำรา เขามีการบันทึก และมีครูฝึกทางทหารอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เราไม่ได้จัดแค่กำลังพลฉุดชักราชรถอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังจัดเจ้าหน้าประจำเกรินบันไดนาคด้วย นอกจากนั้น ก็มีการจัดเตรียมช่างซ่อมฉุกเฉินขึ้นมาอีก 3 ชุด โดยทั้ง 3 ชุดนี้ จะดูแลตลอด ตั้งแต่เริ่มงานไปจนถึงวันจบพระราชพิธีฯ ช่างซ่อมทั้ง 3 ชุด จะกระจายกันอยู่ 3 จุด เพื่อที่ว่า หากเกิดเหตุต้องซ่อมด่วน ช่างเหล่านั้นก็จะเข้ามาดำเนินการได้ทันท่วงที
ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 ภารกิจหลักที่กรมสรรพาวุธทหารบกได้รับมอบหมายมาให้ปฏิบัติ
--ภารกิจที่ท่านเล่ามา มีหลักอย่างไรในการดำเนินการ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักโบราณราชประเพณี
อย่างที่เรียนแจ้งไปแล้วครับว่า กรมสรรพาวุธทหารบกได้ปฏิบัติภารกิจนี้มาหลายครั้งแล้ว ครั้งแรกๆ เราขอให้สำนักพระราชวังสอนเรา เมื่อสมัยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สำนักพระราชวังมาสอนเรา ขณะที่เราก็มีการบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุ เป็นบทเรียน หลังจากนั้นเราก็ฝึกเอง เราทำของเราเอง ตั้งแต่สมัยสมเด็จย่า เป็นต้นมา
--กำลังพลที่ใช้ทั้งหมดเพื่อการนี้ มีจำนวนมากน้อยเท่าไร ครับ
สำหรับเรื่องกำลังพล เรามีการร่วมมือประสานงานกันทั้งกรม ในเรื่องของการซ่อมและสร้าง เราก็ใช้วิธีแบ่งเป็นหน่วย ถ้าเรื่องการซ่อมราชรถเดิม เราใช้ศูนย์อุตสาหกรรมกรมสรรพาวุธ ซึ่งเป็นหน่วยที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาวุธ และมีโรงงาน มีเครื่องมือเครื่องจักร มีช่างซ่อม หรืออย่างในส่วนของการสร้างราชรถปืนใหญ่ แล้วมาให้ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ ซึ่งมีหน่วยงานแม่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี แล้วเขาก็มีหน่วยงานลูกอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นโรงงานซ่อมรถถังซ่อมปืนใหญ่ เราก็ให้หน่วยนี้รับผิดชอบในการสร้างราชรถปืนใหญ่ขึ้นมา
--สุดท้าย อยากให้ท่านกล่าวในฐานะตัวแทนกำลังพลของกรมสรรพาวุธทหารบก ที่ได้มีโอกาสรับใช้ภารกิจครั้งนี้
จริงๆ แล้ว ผมและทุกคนที่อยู่ในกรมสรรพาวุธทหารบก ก็มีความภาคภูมิใจเป็นที่สุดเลย จากการที่ผู้บัญชาการทหารบกได้มอบหมายให้กรมสรรพาวุธทหารบกรับผิดชอบภารกิจเหล่านี้ และได้มีโอกาสถวายงานให้กับพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวไทยทุกคน ตรงนี้เป็นเกียรติยศยิ่งกว่าการเป็นทหาร คือเราเป็นทหาร เราก็มีความภาคภูมิใจอยู่แล้วกับการได้ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ รักษาความมั่นคงให้กับประเทศ และการที่เป็นทหารแล้วได้มีโอกาสถวายงานให้กับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ก็ยิ่งมีความภาคภูมิใจมากขึ้นเป็นที่สุดเลยครับ
นั่นคือคำกล่าวของ พลโทอาวุธ เอมวงศ์ เจ้ากรมสรรพาวุธทหารบก ซึ่งได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติภารกิจสำคัญในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 กับ 3 ภารกิจหลัก ที่เป็นความภาคภูมิใจอย่างหาที่เปรียบมิได้ของนายทหารทั้งกรม หนังสือพิมพ์ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ไปสนทนากับหัวเรือใหญ่แห่งกรมสรรพาวุธทหารบก ถามที่มาแห่งภารกิจซึ่งเป็นเกียรติยศ ความภูมิใจในชีวิตครั้งหนึ่งนี้
- อยากทราบว่า ภารกิจในพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพฯ ครั้งนี้ เป็นครั้งแรกของกรมสรรพาวุธทหารบกหรือไม่ และที่ผ่านมาได้เข้าร่วมภารกิจกี่พระราชพิธีฯ
รวมทั้งหมด 5 ครั้งครับ โดยมีรายละเอียดดังนี้
ครั้งที่ 1 เป็นพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2528
ครั้งที่ 2 พระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2539
ครั้งที่ 3 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2551
ครั้งที่ 4 พระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี เมื่อวันที่ 9 เมษายน 2555
และครั้งที่ 5 พิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2558
-ทราบว่า ภารกิจในครั้งนี้มีทั้งหมด 3 ส่วนด้วยกัน อยากให้ท่านให้ข้อมูลว่าประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
ภารกิจอันดับแรกคือการซ่อมแซมบูรณปฏิสังขรณ์ราชรถ และราชยานทั้งหมดที่มีอยู่ในพิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ ทั้ง พระมหาพิชัยราชรถ พระเวชยันตราชรถ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน และราชรถน้อยอีก 3 องค์ เกรินบันไดนาค 2 เกริน นอกจากนั้นก็มีพระยานมาศสามลำคานอีก 2 องค์ ซึ่งเราซ่อมปรับปรุงบูรณะทั้งหมด และสุดท้ายก็คือ ถาดรองพระโกศทองใหญ่
ทั้งหมดทั้งปวงนี้ อะไรที่ซ่อมได้เลย เราก็ซ่อมที่โรงราชรถ และผ่านการซ่อมมาหลายยุค ทุกครั้งที่มีงานก็จะต้องตรวจซ่อมทุกครั้ง ซึ่งหนึ่งในความพิเศษของงานครั้งนี้ก็คือ เราเลือกราชรถน้อยมาองค์หนึ่ง โดยทางกรมศิลปากรก็เลือกองค์ที่ใหญ่ที่สุดในบรรดาที่มีอยู่สามองค์ และองค์นี้ปรากฏว่าชำรุดมากสุด ผ่านการบูรณะค่อนข้างน้อยในอดีต จึงมีความจำเป็นที่จะต้องถอดองค์ประกอบออกบางส่วน ก็ต้องนำเข้ามายังโรงงานที่กรมสรรพาวุธ เราต้องขออนุญาตนำออกมาซ่อมที่นี่
ส่วนภารกิจที่ 2 คือ การสร้างขึ้นใหม่ นั่นก็คือราชรถปืนใหญ่ เราสร้างขึ้นใหม่ทั้งองค์เลย ราชรถปืนใหญ่จะใช้ในการอัญเชิญพระโกศทองใหญ่ จากริ้วขบวนที่ 2 มาสู่ราชรถปืนใหญ่ ซึ่งอยู่ในริ้วขบวนที่ 3 ซึ่งริ้วขบวนที่ 3 จะเวียนรอบพระเมรุมาศ 3 รอบ ก่อนจะมาเทียบกับเกรินบันไดนาค แล้วอัญเชิญขึ้นยังพระเมรุมาศสู่พระจิตกาธาน ราชรถปืนใหญ่ในพระราชพิธีที่เราได้เห็นกันในครั้งที่ผ่านๆมา ก็จะใช้เป็นพระยานมาศสามลำคาน แต่คราวนี้เนื่องจากเป็นพระราชพิธีพระมหากษัตริย์และทรงเป็นจอมทัพ จึงมีโปรดเกล้าฯให้ใช้ราชรถปืนใหญ่ เช่นเดียวกับสมัยล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 6 และล้นเกล้าฯรัชกาลที่ 8 เราจึงต้องสร้างขึ้นมาใหม่ อันที่จริง ของเดิมก็มีอยู่ เพียงแต่ว่าไม่สมบูรณ์และไม่ครบองค์
โดยในการสร้างใหม่ เราก็ต้องมีการสืบค้นข้อมูลทั้งจากหอสมุดแห่งชาติ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หอจดหมายเหตุ รวมถึงหอภาพยนตร์ เพื่อนำมาศึกษา แล้วลอกแบบออกมา ถอดแบบออกมา ก่อนจะนำมาเขียนแบบขึ้นใหม่ จากนั้นจึงค่อยสร้างขึ้นมาใหม่ ทั้งหมดนี้ก็ผ่านการปรู๊ฟโดยวิศวกร และมีกรมศิลปากรเป็นผู้รับรองในการสร้าง อันนี้คือภารกิจที่ 2
ส่วนภารกิจที่ 3 เป็นการจัดกำลังพลฉุดชักราชรถ โดยกำลังพลทั้งสองส่วนรวมกันแล้วมากกว่า 300 นาย โดยในส่วนนี้ได้ให้โรงเรียนทหารสรรพาวุธเป็นผู้ดูแล เพราะโรงเรียนนั้นเป็นเหมือนเจ้าตำรา เขามีการบันทึก และมีครูฝึกทางทหารอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน เราไม่ได้จัดแค่กำลังพลฉุดชักราชรถอย่างเดียวเท่านั้น แต่ยังจัดเจ้าหน้าประจำเกรินบันไดนาคด้วย นอกจากนั้น ก็มีการจัดเตรียมช่างซ่อมฉุกเฉินขึ้นมาอีก 3 ชุด โดยทั้ง 3 ชุดนี้ จะดูแลตลอด ตั้งแต่เริ่มงานไปจนถึงวันจบพระราชพิธีฯ ช่างซ่อมทั้ง 3 ชุด จะกระจายกันอยู่ 3 จุด เพื่อที่ว่า หากเกิดเหตุต้องซ่อมด่วน ช่างเหล่านั้นก็จะเข้ามาดำเนินการได้ทันท่วงที
ทั้งหมดนี้ก็คือ 3 ภารกิจหลักที่กรมสรรพาวุธทหารบกได้รับมอบหมายมาให้ปฏิบัติ
--ภารกิจที่ท่านเล่ามา มีหลักอย่างไรในการดำเนินการ เพื่อให้ถูกต้องตามหลักโบราณราชประเพณี
อย่างที่เรียนแจ้งไปแล้วครับว่า กรมสรรพาวุธทหารบกได้ปฏิบัติภารกิจนี้มาหลายครั้งแล้ว ครั้งแรกๆ เราขอให้สำนักพระราชวังสอนเรา เมื่อสมัยสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี สำนักพระราชวังมาสอนเรา ขณะที่เราก็มีการบันทึกไว้เป็นจดหมายเหตุ เป็นบทเรียน หลังจากนั้นเราก็ฝึกเอง เราทำของเราเอง ตั้งแต่สมัยสมเด็จย่า เป็นต้นมา
--กำลังพลที่ใช้ทั้งหมดเพื่อการนี้ มีจำนวนมากน้อยเท่าไร ครับ
สำหรับเรื่องกำลังพล เรามีการร่วมมือประสานงานกันทั้งกรม ในเรื่องของการซ่อมและสร้าง เราก็ใช้วิธีแบ่งเป็นหน่วย ถ้าเรื่องการซ่อมราชรถเดิม เราใช้ศูนย์อุตสาหกรรมกรมสรรพาวุธ ซึ่งเป็นหน่วยที่รับผิดชอบเกี่ยวกับอาวุธ และมีโรงงาน มีเครื่องมือเครื่องจักร มีช่างซ่อม หรืออย่างในส่วนของการสร้างราชรถปืนใหญ่ แล้วมาให้ศูนย์ซ่อมสร้างสิ่งอุปกรณ์สายสรรพาวุธ ซึ่งมีหน่วยงานแม่อยู่ที่จังหวัดปทุมธานี แล้วเขาก็มีหน่วยงานลูกอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นโรงงานซ่อมรถถังซ่อมปืนใหญ่ เราก็ให้หน่วยนี้รับผิดชอบในการสร้างราชรถปืนใหญ่ขึ้นมา
--สุดท้าย อยากให้ท่านกล่าวในฐานะตัวแทนกำลังพลของกรมสรรพาวุธทหารบก ที่ได้มีโอกาสรับใช้ภารกิจครั้งนี้
จริงๆ แล้ว ผมและทุกคนที่อยู่ในกรมสรรพาวุธทหารบก ก็มีความภาคภูมิใจเป็นที่สุดเลย จากการที่ผู้บัญชาการทหารบกได้มอบหมายให้กรมสรรพาวุธทหารบกรับผิดชอบภารกิจเหล่านี้ และได้มีโอกาสถวายงานให้กับพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ซึ่งเป็นที่เคารพรักของประชาชนชาวไทยทุกคน ตรงนี้เป็นเกียรติยศยิ่งกว่าการเป็นทหาร คือเราเป็นทหาร เราก็มีความภาคภูมิใจอยู่แล้วกับการได้ทำหน้าที่ปกป้องอธิปไตยของชาติ รักษาความมั่นคงให้กับประเทศ และการที่เป็นทหารแล้วได้มีโอกาสถวายงานให้กับล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ 9 ก็ยิ่งมีความภาคภูมิใจมากขึ้นเป็นที่สุดเลยครับ