คดีฉ้อโกงยักยอกทรัพย์สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น โดยนายศุกชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานกรรมการสหกรณ์ฯ นับเป็นคดีอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรงที่สุดคดีหนึ่งในประวัติศาสตร์ เพราะมีมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกนายศุกชัย ยักยอกไปถึง 13,000 ล้านบาท มีผู้เสียหายหลายหมื่นคน ซึ่งเป็นสมาชิกที่ฝากเงินไว้กับสหกรณ์ฯ
นอกจากสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นแล้ว ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์อีกหลายสิบรายทั่วประเทศ ที่นำเงินมาฝากไว้กับสหกรณ์ฯ เพราะหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติรายละหลายสิบล้านบาทไปจนถึงพันล้านบาท อย่างเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินสดและทรัพย์สินของสหกรณ์ฯ จำนวนหนึ่งถูกนายศุภชัยยักยอกผ่องถ่ายไปให้กับธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งที่โอนไปให้โดยตรง และโอนผ่านบุคคลที่ 3 เพื่ออำพรางที่มาที่แท้จริงของทรัพย์สิน
นายอนันต์ อัศวโภคิน มหาเศรษฐี นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเจ้าของธนาคาร ถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในเครือข่ายการยักยอกทรัพย์สินเหล่านั้น
พยานหลักฐานจากการสืบสวนเส้นทางการเงินที่นายศุภชัย ยักยอกออกไปจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น สรุปได้ว่า นายอนันต์เป็นคนกลางรับซื้อที่ดินที่นายศุภชัย เอาเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นมาซื้อ แต่ดีเอสไอมีหลักฐานที่เชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายที่ดินจริง จนนำมาสู่การตั้งข้อหานายอนันต์ว่า สมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน
ข้อมูลตามเอกสารดีเอสไอฉายภาพการทำงานของขบวนการฟอกเงินว่า นายศุภชัย ได้สั่งจ่ายเช็คหลายฉบับจำนวนรวมประมาณ 275 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด และซื้อที่ดินของบริษัท 3 แปลงตามโฉนดเลขที่ 31344 เนื้อที่ 46 ไร่ 3 งาน 56.2 ตารางวา ตั้งอยู่ที่อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บริเวณใกล้เคียงวัดพระธรรมกาย โดยซื้อในนามสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และนายศุภชัย ได้ส่งคนของตนเองไปเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว
ต่อมาวันที่ 21 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้นำที่ดิน 3 แปลงนี้ขายให้นายอนันต์ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขาย ณ สำนักงานที่ดินอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ภายหลังจากที่คณะกรรมการมีมติเพียง 2 วัน ในราคาไร่ละ 2 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 93,781,000 บาท ซึ่งราคาประเมินที่ดินขณะนั้นราคาตารางวาละ 15,000 บาทคิดเป็นราคาที่ดินประมาณ 281 ล้านบาท มีความแตกต่างและต่ำกว่าราคาประเมินถึง 3 เท่า และไม่ปรากฏหลักฐานการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้บริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด แต่อย่างใด
ต่อมานายอนันต์ได้ขายที่ดินแปลงนี้ต่อให้บุคคลอื่นในราคา 492 ล้านบาทเศษ โดยนายอนันต์ได้นำเงินที่ได้จากการขายจำนวนประมาณ 303 ล้านบาท บริจาคให้กับมูลนิธิคุณยายจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งมีพระธัมมชโย เป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งมูลนิธิดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในบริเวณมูลนิธิวัดพระธรรมกาย รวมถึงอาคารบุญรักษาด้วย
นอกจากนั้น คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษยังพบหลักฐานสำคัญว่า ในวันเดียวกับที่นายอนันต์ไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอคลองหลวง นายศุภชัยได้ทำหนังสือแสดงเจตนาถวายที่ดินทั้ง 3 แปลงเดียวกันนี้ให้กับพระธัมมชโย โดยนายศุภชัยจะเป็นผู้จัดซื้อที่ดินทั้ง 3 แปลงเอง และถวายให้พระธัมมชโย โดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามนายอนันต์ อัศวโภคิน ซึ่งพระธัมมชโยมอบหมายให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน แต่ในหนังสือถวายที่ดินนั้น นายศุภชัยไม่ได้ลงชื่อ และไม่มีการดำเนินการใดๆ ตามหนังสือฉบับดังกล่าว มีแต่การขายที่ดินให้กับนายอนันต์
ดีเอสไอ จึงเห็นว่า ตามพยานหลักฐานดังกล่าว อาจเข้าข่ายสมคบร่วมกันฟอกเงิน
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมนี้เอง ลูกสาวนายอนันต์ นางสาวอลิสา อัศวโภคิน ถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อายัดที่ดิน 8 แปลงที่รับซื้อมาจากนายศุภชัย และมอบที่ดินให้มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งอาคารบุญรักษา โดยให้เวลา 90 วันชี้แจงที่มาที่ไปของที่ดินทั้ง 8 แปลง
หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าซื้อที่ดินจากนายศุภชัย โดยสุจริต นางสาวอลิสาก็จะถูกตั้งข้อหาสมคบกันและร่วมกันฟอกเงินเหมือนพ่อ
ปัจจุบัน นายอนันต์เป็นประธานกรรมการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮม โปรดักส์ฯ ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังเป็นสถาบันการเงินในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
หลังจากดีเอสไอส่งหมายเรียกให้นายอนันต์ มารับทราบข้อกล่าวหาสมคบกัน ร่วมกันฟอกเงิน หุ้นแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โฮม โปรดักส์ฯ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัทอื่นๆ ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถูกเทขายทิ้งจนราคาปรับตัวลดลงอย่างหนัก
เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความไม่มั่นใจในอนาคตของอาณาจักรธุรกิจแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ผู้นำองค์กรถูกกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง
นอกจากสมาชิกสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นแล้ว ยังมีสหกรณ์ออมทรัพย์อีกหลายสิบรายทั่วประเทศ ที่นำเงินมาฝากไว้กับสหกรณ์ฯ เพราะหวังผลตอบแทนที่สูงกว่าปกติรายละหลายสิบล้านบาทไปจนถึงพันล้านบาท อย่างเช่น สหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เงินสดและทรัพย์สินของสหกรณ์ฯ จำนวนหนึ่งถูกนายศุภชัยยักยอกผ่องถ่ายไปให้กับธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ทั้งที่โอนไปให้โดยตรง และโอนผ่านบุคคลที่ 3 เพื่ออำพรางที่มาที่แท้จริงของทรัพย์สิน
นายอนันต์ อัศวโภคิน มหาเศรษฐี นักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และเจ้าของธนาคาร ถูกกล่าวหาว่าเป็นหนึ่งในเครือข่ายการยักยอกทรัพย์สินเหล่านั้น
พยานหลักฐานจากการสืบสวนเส้นทางการเงินที่นายศุภชัย ยักยอกออกไปจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น สรุปได้ว่า นายอนันต์เป็นคนกลางรับซื้อที่ดินที่นายศุภชัย เอาเงินสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นมาซื้อ แต่ดีเอสไอมีหลักฐานที่เชื่อว่า ไม่มีการซื้อขายที่ดินจริง จนนำมาสู่การตั้งข้อหานายอนันต์ว่า สมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน
ข้อมูลตามเอกสารดีเอสไอฉายภาพการทำงานของขบวนการฟอกเงินว่า นายศุภชัย ได้สั่งจ่ายเช็คหลายฉบับจำนวนรวมประมาณ 275 ล้านบาท เพื่อซื้อหุ้นของบริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด และซื้อที่ดินของบริษัท 3 แปลงตามโฉนดเลขที่ 31344 เนื้อที่ 46 ไร่ 3 งาน 56.2 ตารางวา ตั้งอยู่ที่อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บริเวณใกล้เคียงวัดพระธรรมกาย โดยซื้อในนามสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด และนายศุภชัย ได้ส่งคนของตนเองไปเป็นกรรมการบริษัทดังกล่าว
ต่อมาวันที่ 21 ธันวาคม 2554 คณะกรรมการบริษัทได้มีมติให้นำที่ดิน 3 แปลงนี้ขายให้นายอนันต์ เพื่อนำเงินมาชำระหนี้ ซึ่งได้ทำสัญญาซื้อขาย ณ สำนักงานที่ดินอำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2554 ภายหลังจากที่คณะกรรมการมีมติเพียง 2 วัน ในราคาไร่ละ 2 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 93,781,000 บาท ซึ่งราคาประเมินที่ดินขณะนั้นราคาตารางวาละ 15,000 บาทคิดเป็นราคาที่ดินประมาณ 281 ล้านบาท มีความแตกต่างและต่ำกว่าราคาประเมินถึง 3 เท่า และไม่ปรากฏหลักฐานการจ่ายเงินจำนวนดังกล่าวให้บริษัท เอ็ม-โฮม เอสพีวี 2 จำกัด แต่อย่างใด
ต่อมานายอนันต์ได้ขายที่ดินแปลงนี้ต่อให้บุคคลอื่นในราคา 492 ล้านบาทเศษ โดยนายอนันต์ได้นำเงินที่ได้จากการขายจำนวนประมาณ 303 ล้านบาท บริจาคให้กับมูลนิธิคุณยายจันทร์ ขนนกยูง ซึ่งมีพระธัมมชโย เป็นองค์อุปถัมภ์ ซึ่งมูลนิธิดังกล่าวเป็นผู้รับผิดชอบในการก่อสร้างถาวรวัตถุต่างๆ ในบริเวณมูลนิธิวัดพระธรรมกาย รวมถึงอาคารบุญรักษาด้วย
นอกจากนั้น คณะพนักงานสอบสวนคดีพิเศษยังพบหลักฐานสำคัญว่า ในวันเดียวกับที่นายอนันต์ไปทำสัญญาซื้อขายที่ดินที่สำนักงานที่ดินอำเภอคลองหลวง นายศุภชัยได้ทำหนังสือแสดงเจตนาถวายที่ดินทั้ง 3 แปลงเดียวกันนี้ให้กับพระธัมมชโย โดยนายศุภชัยจะเป็นผู้จัดซื้อที่ดินทั้ง 3 แปลงเอง และถวายให้พระธัมมชโย โดยจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินในนามนายอนันต์ อัศวโภคิน ซึ่งพระธัมมชโยมอบหมายให้เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน แต่ในหนังสือถวายที่ดินนั้น นายศุภชัยไม่ได้ลงชื่อ และไม่มีการดำเนินการใดๆ ตามหนังสือฉบับดังกล่าว มีแต่การขายที่ดินให้กับนายอนันต์
ดีเอสไอ จึงเห็นว่า ตามพยานหลักฐานดังกล่าว อาจเข้าข่ายสมคบร่วมกันฟอกเงิน
ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคมนี้เอง ลูกสาวนายอนันต์ นางสาวอลิสา อัศวโภคิน ถูกสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน อายัดที่ดิน 8 แปลงที่รับซื้อมาจากนายศุภชัย และมอบที่ดินให้มูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งอาคารบุญรักษา โดยให้เวลา 90 วันชี้แจงที่มาที่ไปของที่ดินทั้ง 8 แปลง
หากไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าซื้อที่ดินจากนายศุภชัย โดยสุจริต นางสาวอลิสาก็จะถูกตั้งข้อหาสมคบกันและร่วมกันฟอกเงินเหมือนพ่อ
ปัจจุบัน นายอนันต์เป็นประธานกรรมการ บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท โฮม โปรดักส์ฯ ธนาคาร แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ซึ่งล้วนเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ยังเป็นสถาบันการเงินในกำกับดูแลของธนาคารแห่งประเทศไทย
หลังจากดีเอสไอส่งหมายเรียกให้นายอนันต์ มารับทราบข้อกล่าวหาสมคบกัน ร่วมกันฟอกเงิน หุ้นแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ โฮม โปรดักส์ฯ ธนาคารแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ และบริษัทอื่นๆ ในเครือแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯ ถูกเทขายทิ้งจนราคาปรับตัวลดลงอย่างหนัก
เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงความไม่มั่นใจในอนาคตของอาณาจักรธุรกิจแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ที่ผู้นำองค์กรถูกกล่าวหาว่า มีส่วนพัวพันกับอาชญากรรมทางเศรษฐกิจที่ร้ายแรง