ผู้จัดการรายวัน360-"ชาญชัย" ยันรัฐเลิกสัญญาคิงเพาเวอร์ได้ เหตุผิดกฎหมายชัด แนะเรียกเงินคืน 2.7 หมื่นล้าน คาดอนุกมธ.ปราบโกงฯ จะสรุปความผิดวันนี้ พร้อม เสนอนายกฯ หวัง"บิ๊กตู่" จัดการเบ็ดเสร็จ เอาผิดจนท.รัฐ สอบเส้นทางการเงิน กราวรูด และส่งเรื่องต่อ ศอตช.
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ รองประธานอนุกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึง กรณีสปท.เสนอให้รัฐบาลยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่การบริการสินค้าปลอดอากร ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัทคิงดเพาเวอร์ ว่า รายงานที่ สปท.เสนอให้นายกฯ มีความชัดเจนถึงการทำผิดกฎหมายตั้งแต่ก่อนเป็นสัญญา เพราะมีการหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ร่วมทุนกับเอกชนมาตั้งแต่แรก ด้วยการทำรายงานเท็จ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ร่วมกันกระทำความผิด เช่น การคำนวณราคามูลค่าทรัพย์สินของรัฐ และเอกชนและสต๊อกสินค้าคงคลัง ที่ ทอท.จะได้รับผลประโยชน์ 15 % จากยอดการขายสินค้า แต่มีการหลีกเลี่ยงไม่ดำเนินการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ ทอท. ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา โดยใน 5 ปีแรกจ่ายให้แค่ 0.45 % เท่านั้น และใน 5 ปีหลัง จ่ายให้แค่ 3 % จาก 15 % โดยในประเด็นนี้ ทอท. มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกฤษฎีกา ทำให้รัฐเสียหาย
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ ยังลงทุนเกินวงเงิน 1 พันล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2535กำหนด โดย คิงเพาเวอร์ ได้ยอมรับในการบรรยายฟ้องต่อศาลแพ่ง ที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังจากที่ถูกบอกเลิกสัญญาในสมัยที่ พล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานบอร์ด ทอท. เกี่ยวกับเงินลงทุนทั้งสองสัญญาเกิน 1 พันล้านบาท คือสัญญาแรก บริษัทคิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี บนเนื้อที่ 5 พันตารางเมตร ลงทุน 1,091 ล้านบาท และสัญญาที่สอง ลงทุนเชิงพาณิชย์ในการตกแต่งร้านค้า พื้นที่ 2 หมื่นตารางเมตร รวม 1,700 ล้านบาท เท่ากับยอมรับผิด และปกปิดข้อมูลการลงทุนฝ่ายเดียวของตัวเองมาตลอด และยังมีความผิดในกรณีลักลอบขายสินค้าปลอดอากร โดยมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา ตัดสินแล้วว่า มีการลักลอบขายสินค่าปลอดอากรจริง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายต้องยกเลิกใบอนุญาตขายสินค้าปลอดอากรในทันที
"จากการทำผิดกฎหมายหลายฉบับ หลายเหตุการณ์ เป็นเหตุผลที่รัฐบาลสามารถบอกเลิกสัญญาที่ทำผิดกฎหมายได้ทันที โดยแจ้งเป็นโมฆะกรรม รัฐบาลไม่ต้องเสียค่าโง่ใดๆ และยังสามารถเรียกเก็บเงินค่าเสียหายจากกลุ่มบริษัทเอกชนได้อีกไม่น้อยกว่า 27,000 ล้านบาท จากการร่วมกันทุจริต และหลีกเลี่ยงไม่จ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ ทอท. 15 % ซึ่งอนุกรรมาธิการฯ ที่จะประชุมสรุปข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีการทำผิดกฎหมายอะไร เมื่อใด ใครเป็นผู้กระทำผิด ที่แยกชัด ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชน พร้อมหลักฐานเพื่อเสนอต่อนายกฯ ได้ภายในเดือนนี้ เรื่องนี้มีการกระทำผิดกฎหมายชัดเจน แต่จัดการยาก เพราะมีการอุปถัมภ์ซ้ำซ้อน แต่เชื่อว่าท่านนายกฯ จะจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่งมีบางคนถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว เพื่อสกัดคนโกงชาติไม่ให้ขนเงินหนี และถ้าเอกชนไปมีส่วนร่วมในการฟอกเงิน ปปง. ก็เข้าไปดำเนินการได้ ผมเชื่อว่าน่าจะมีการนำเรื่องนี้เข้าศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อดำเนินการต่อไป" นายชาญชัย กล่าว
นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ รองประธานอนุกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในคณะกรรมาธิการป้องกันและปราบปรามการทุจริตฯ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) กล่าวถึง กรณีสปท.เสนอให้รัฐบาลยกเลิกสัญญาเช่าพื้นที่การบริการสินค้าปลอดอากร ในท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัทคิงดเพาเวอร์ ว่า รายงานที่ สปท.เสนอให้นายกฯ มีความชัดเจนถึงการทำผิดกฎหมายตั้งแต่ก่อนเป็นสัญญา เพราะมีการหลีกเลี่ยง พ.ร.บ.ร่วมทุนกับเอกชนมาตั้งแต่แรก ด้วยการทำรายงานเท็จ โดยเจ้าหน้าที่รัฐ และกลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ร่วมกันกระทำความผิด เช่น การคำนวณราคามูลค่าทรัพย์สินของรัฐ และเอกชนและสต๊อกสินค้าคงคลัง ที่ ทอท.จะได้รับผลประโยชน์ 15 % จากยอดการขายสินค้า แต่มีการหลีกเลี่ยงไม่ดำเนินการจ่ายสิทธิประโยชน์ให้ ทอท. ตลอด 9 ปีที่ผ่านมา โดยใน 5 ปีแรกจ่ายให้แค่ 0.45 % เท่านั้น และใน 5 ปีหลัง จ่ายให้แค่ 3 % จาก 15 % โดยในประเด็นนี้ ทอท. มิได้ปฏิบัติตามคำแนะนำของกฤษฎีกา ทำให้รัฐเสียหาย
นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทคิงเพาเวอร์ ยังลงทุนเกินวงเงิน 1 พันล้านบาท ซึ่งตามกฎหมายต้องทำตาม พ.ร.บ.ร่วมทุน พ.ศ. 2535กำหนด โดย คิงเพาเวอร์ ได้ยอมรับในการบรรยายฟ้องต่อศาลแพ่ง ที่ฟ้องเรียกค่าเสียหายหลังจากที่ถูกบอกเลิกสัญญาในสมัยที่ พล.อ.สะพรั่ง กัลยาณมิตร เป็นประธานบอร์ด ทอท. เกี่ยวกับเงินลงทุนทั้งสองสัญญาเกิน 1 พันล้านบาท คือสัญญาแรก บริษัทคิงเพาเวอร์ ดิวตี้ฟรี บนเนื้อที่ 5 พันตารางเมตร ลงทุน 1,091 ล้านบาท และสัญญาที่สอง ลงทุนเชิงพาณิชย์ในการตกแต่งร้านค้า พื้นที่ 2 หมื่นตารางเมตร รวม 1,700 ล้านบาท เท่ากับยอมรับผิด และปกปิดข้อมูลการลงทุนฝ่ายเดียวของตัวเองมาตลอด และยังมีความผิดในกรณีลักลอบขายสินค้าปลอดอากร โดยมีคำพิพากษาของศาลชั้นต้น อุทธรณ์ และฎีกา ตัดสินแล้วว่า มีการลักลอบขายสินค่าปลอดอากรจริง ซึ่งเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายต้องยกเลิกใบอนุญาตขายสินค้าปลอดอากรในทันที
"จากการทำผิดกฎหมายหลายฉบับ หลายเหตุการณ์ เป็นเหตุผลที่รัฐบาลสามารถบอกเลิกสัญญาที่ทำผิดกฎหมายได้ทันที โดยแจ้งเป็นโมฆะกรรม รัฐบาลไม่ต้องเสียค่าโง่ใดๆ และยังสามารถเรียกเก็บเงินค่าเสียหายจากกลุ่มบริษัทเอกชนได้อีกไม่น้อยกว่า 27,000 ล้านบาท จากการร่วมกันทุจริต และหลีกเลี่ยงไม่จ่ายสิทธิประโยชน์ให้แก่ ทอท. 15 % ซึ่งอนุกรรมาธิการฯ ที่จะประชุมสรุปข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีการทำผิดกฎหมายอะไร เมื่อใด ใครเป็นผู้กระทำผิด ที่แยกชัด ทั้งในส่วนของเจ้าหน้าที่รัฐ และเอกชน พร้อมหลักฐานเพื่อเสนอต่อนายกฯ ได้ภายในเดือนนี้ เรื่องนี้มีการกระทำผิดกฎหมายชัดเจน แต่จัดการยาก เพราะมีการอุปถัมภ์ซ้ำซ้อน แต่เชื่อว่าท่านนายกฯ จะจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง โดยเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการตรวจสอบเส้นทางการเงิน ซึ่งมีบางคนถูก ป.ป.ช.ชี้มูลความผิดแล้ว เพื่อสกัดคนโกงชาติไม่ให้ขนเงินหนี และถ้าเอกชนไปมีส่วนร่วมในการฟอกเงิน ปปง. ก็เข้าไปดำเนินการได้ ผมเชื่อว่าน่าจะมีการนำเรื่องนี้เข้าศูนย์อำนวยการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (ศอตช.) เพื่อดำเนินการต่อไป" นายชาญชัย กล่าว