ดีเอสไอ จ่อเรียก "อนันต์ อัศวโภคิน" เข้ารับทราบข้อกล่าวหาคดีสมคบร่วมกันฟอกเงินสหกรณ์เครดิตคลองจั่น หลัง ปปง.สั่งอายัดที่ดิน 8 แปลง ขณะที่ ปปง.สั่งอายัดเพิ่มแก๊ง "เสี่ยเปี๋ยง" ทุจริตจีทูจีข้าวอีก 687 ล้านบาท ทั้งโฉนด 300 ฉบับ-ทรัพย์สิน-ห้องชุด "สววิศ จันทร์สกุลพร" ลูกชายรอด โดนคนเดียวกว่า 30 ล้านบาท
จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ดำเนินคดีฟอกเงินจากการยักยอกทรัพย์ และฉ้อโกงประชาชนจากสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่งมีการดำเนินคดี นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียน จำกัด ไปก่อนหน้าแล้ว และต่อมากรมสอบสวนคดดีพิเศษได้รวบรวมพยานหลักฐาน กระทั่งออกหมายเรียกพร้อมกับแจ้งข้อหา น.ส.อลิสา อัศวโภคิน บุตรสาวของนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ไปแล้วนั้น
วานนี้ (17 พ.ค.) แหล่งข่าวระดับสูงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (18 พ.ค. ) ดีเอสไอจะมีการแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีนายอนันต์ อัศวโภคิน ในความผิดฐานสมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน ตามมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟ้องเงิน พ.ศ. 2542 และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานอัยการได้มีมติร่วมกันให้เรียกนายอนันต์ อัศวโภคิน มารับทราบข้อกล่าวหาภายในสัปดาห์นี้
ก่อนหน้านั้นการสอบสวนของ ดีเอสไอ.ได้สืบรายละเอียดเส้นทางการเงินของสหกรณ์ฯโดยนายศุภชัย นำไปซื้อที่ดินในพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แล้วใส่ชื่อตัวเอง และถูกดำเนินคดีในปี 2556 จึงขายที่ดิน 8 แปลงให้ น.ส.อลิสา อัศวโภคิน และขายให้ นางวรรณา จิรกิติ อีก 1 แปลง จำนวน 298 ล้านบาท แต่กลับไม่นำเงินส่งคืนให้สหกรณ์ฯ ในเบื้องต้น น.ส.อลิสา ชี้แจงว่า มีการซื้อขายและชำระเงินกันจริง โดยพนักงานสอบสวนจึงทำความเห็นสั่งฟ้องเฉพาะนายศุภชัยกับพวก โดยเชื่อหลักฐานของ น.ส.อลิสา นำมาแสดงว่าเป็นการซื้อโดยสุจริต แต่ต่อมาสำนักคดีการเงินการธนาคาร ซึ่งรับผิดชอบเฉพาะคดีฟอกเงินของ พระธัมมชโย มูลนิธิวัดพระธรรมกาย และมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ หางนกยูง และพระลูกวัดอื่นๆที่มีชื่อรับเช็ค พบหลักฐานสำคัญเป็นร่องรอยธุรกรรมการเงินจากวัดพระธรรมกายโอนให้ น.ส.อลิสา เพื่อนำไปซื้อที่ดินทั้ง 8 แปลงดังกล่าว และถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งอาคารบุญรักษา สอดคล้องกับความเห็นในชั้นอัยการสั่งให้ดีเอสไอสอบสวนเพิ่มไปถึงผู้บริจาคเงินให้กับวัดพระธรรมกาย เพื่อนำมาซื้อที่ดินแปลงและนำมาสร้างโรงพยาบาลสำหรับพระสงฆ์
ต่อมา พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้โอนสำนวนจากสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักคดีการเงินการธนาคาร เนื่องจากเป็นคดีฟอกเงินเกี่ยวพันกับกลุ่มพระสงฆ์ของวัดพระธรรมกาย นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ตรวจสอบการเข้าไปรับซื้อที่ดินของ นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จากลูกข่ายรับฟอกเงินจาก นายศุภชัย ซึ่งที่ดินทั้งหมดมีสถานที่ตั้งรายล้อมวัดพระธรรมกาย จนยาวไปถึงที่ตั้งบริเวณตลาดไท รังสิต จ.ปทุมธานี สำหรับน.ส.อลิสา นอกจากจะต้องถูกเรียกเข้าให้ปากคำในคดีฟอกเงินแล้ว ยังต้องถูกออกหนังสือเรียกเข้ารายงานตัวตามมาตรา 44 กรณีให้พระสงฆ์และประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่อาคารบุญรักษาต่อต้านการตรวจค้น ทั้งนี้ ที่ดินจำนวน 8 แปลงดังกล่าว คณะกรรมการธุรกรรม สำนักงานป้องกันปละปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้มีมติให้อายัดเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งกระทบต่อภาพพจน์และธุรกิจในเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นอย่างมากนับเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญที่ผุ้เชี่ยวชาญการซื้อ-ขายที่ดินจะมาพบจุดจบจากการซื้อของร้อนโอนใส่ชื่อบุตรสาวของตัวเอง
รายงานแจ้งเพิ่มเติมว่า ยังพบที่ดินอีกหลายแปลงที่เข้าข่ายลักษณะฟอกเงินระหว่างบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กับวัดธรรมกายเช่นขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ลงไปพิสูจน์ที่ดินในเขตพื้นทื่ จ.พิจิตร และมหาสารคราม ส่วนพฤติการณ์ฟอกเงินนั้นทางวัดธรรมกาย จะมอบเงินสดให้กับชาวบ้านที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้เนื้อเชื่อใจได้ไปตระเวนซื้อที่ดินแปลงสวยๆก่อนทำเรื่องยกให้กับทางวัดพร้อมมอบโฉนดไว้เฉยๆโดยไม่โอนให้กับวัดเฉกเช่นที่กระทำโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากหากทำเช่นนั้นที่ดินจะตกเป็นของสำนักพุทธศาสนา ทันที
*** อายัดเพิ่มแก๊งโกงจีทูจี-พ่วงลูกเสี่ยงเปี๋ยง
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ว่า ปปง. เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย.52/2560 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) รายบุคคลที่เกี่ยวกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ และนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง" อดีตนักธุรกิจค้าข้าวชื่อดัง ผู้ก่อตั้งบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด
ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ ปปง. ระบุว่า ได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของกลุ่มเอกชน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อม.25/25458 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยได้ตรวจสอบทรัพย์สิน และขออำนาจศาลในการสั่งยึดทรัพย์สิน รวมทั้ง ปปง.อายัดไว้ก่อนส่งศาลฯ ซึ่งมีทั้งที่ดิน ห้องชุด และเงินฝากธนาคาร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,806 รายการ มูลค่าประมาณ 12,929.3 ล้านบาท
ล่าสุด ปปง. สั่งอายัดทรัพย์ 4 เอกชนที่เกี่ยวข้อง และ 1 บุคคล วงเงิน 687,835,323.37 บาท พร้อมดอกผล โดยส่วนใหญ่เป็นโฉนดที่ดิน ใน อ.บางบาล อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง มากกว่า 300 ฉบับ บัญชีเงินฝาก หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ เป็นต้น
สำหรับบริษัทเอกชนทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย บริษัท ทีซี.แลนด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 320 ล้านบาท บริษัท เมอร์รี่ไรซ์แลนด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 176 ล้านบาท บริษัทสยาม อินดิก้า จำกัด และบริษัท คิงดอม ไรซ์ ไซโล จำกัด ซึ่งบริษัทสุดท้ายนี้มีนายสรวิศ จันทร์สกุลพร ลูกชายนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ในส่วนทรัพย์สินของ นายสรวิศ จันทร์สกุลพร ที่ถูกอายัดนอกจากเงินงบบัญชีและหน่วยลงทุนกว่า 30 ล้านบาท ยังรวมถึงห้องชุด 2 แห่ง เ"มโทร จอมเทียน คอนโดเทล” อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่า 16 ล้านบาท
ส่วนรายชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ที่ถูก ปปง.ออกคำสั่งอายัดไว้ล่าสุด ประกอบด้วย นายอภิชาต จันทร์สกุลพร, นางกิ่งแก้ว ลิมปิสุข , น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร, นางสาวสุนีย์ จันทร์สกุลพร, นายธนทัต จันทร์สกุลพร, บริษัทสยามอินดิก้า, บริษัท สิราลัย (ชื่อใหม่ ว่า บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด), นางสาวศิริกันยา จันทร์สกุลพร และล่าสุดอีก 4 บริษัท รวมถึงนายสรวิศ ด้วย
จากกรณีที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ดำเนินคดีฟอกเงินจากการยักยอกทรัพย์ และฉ้อโกงประชาชนจากสหกรณ์เครดิตยูเนียนคลองจั่น ซึ่งมีการดำเนินคดี นายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์เครดิตยูเนียน จำกัด ไปก่อนหน้าแล้ว และต่อมากรมสอบสวนคดดีพิเศษได้รวบรวมพยานหลักฐาน กระทั่งออกหมายเรียกพร้อมกับแจ้งข้อหา น.ส.อลิสา อัศวโภคิน บุตรสาวของนายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ ไปแล้วนั้น
วานนี้ (17 พ.ค.) แหล่งข่าวระดับสูงของกรมสอบสวนคดีพิเศษ เปิดเผยว่า ในวันนี้ (18 พ.ค. ) ดีเอสไอจะมีการแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการดำเนินคดีนายอนันต์ อัศวโภคิน ในความผิดฐานสมคบกันและร่วมกันฟอกเงิน ตามมาตรา 5 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟ้องเงิน พ.ศ. 2542 และพนักงานสอบสวนคดีพิเศษและพนักงานอัยการได้มีมติร่วมกันให้เรียกนายอนันต์ อัศวโภคิน มารับทราบข้อกล่าวหาภายในสัปดาห์นี้
ก่อนหน้านั้นการสอบสวนของ ดีเอสไอ.ได้สืบรายละเอียดเส้นทางการเงินของสหกรณ์ฯโดยนายศุภชัย นำไปซื้อที่ดินในพื้นที่ อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี แล้วใส่ชื่อตัวเอง และถูกดำเนินคดีในปี 2556 จึงขายที่ดิน 8 แปลงให้ น.ส.อลิสา อัศวโภคิน และขายให้ นางวรรณา จิรกิติ อีก 1 แปลง จำนวน 298 ล้านบาท แต่กลับไม่นำเงินส่งคืนให้สหกรณ์ฯ ในเบื้องต้น น.ส.อลิสา ชี้แจงว่า มีการซื้อขายและชำระเงินกันจริง โดยพนักงานสอบสวนจึงทำความเห็นสั่งฟ้องเฉพาะนายศุภชัยกับพวก โดยเชื่อหลักฐานของ น.ส.อลิสา นำมาแสดงว่าเป็นการซื้อโดยสุจริต แต่ต่อมาสำนักคดีการเงินการธนาคาร ซึ่งรับผิดชอบเฉพาะคดีฟอกเงินของ พระธัมมชโย มูลนิธิวัดพระธรรมกาย และมูลนิธิอุบาสิกาจันทร์ หางนกยูง และพระลูกวัดอื่นๆที่มีชื่อรับเช็ค พบหลักฐานสำคัญเป็นร่องรอยธุรกรรมการเงินจากวัดพระธรรมกายโอนให้ น.ส.อลิสา เพื่อนำไปซื้อที่ดินทั้ง 8 แปลงดังกล่าว และถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนวัดพระธรรมกาย ทั้งนี้ ปัจจุบันที่ดินดังกล่าวเป็นสถานที่ตั้งอาคารบุญรักษา สอดคล้องกับความเห็นในชั้นอัยการสั่งให้ดีเอสไอสอบสวนเพิ่มไปถึงผู้บริจาคเงินให้กับวัดพระธรรมกาย เพื่อนำมาซื้อที่ดินแปลงและนำมาสร้างโรงพยาบาลสำหรับพระสงฆ์
ต่อมา พ.ต.อ.ไพสิฐ วงศ์เมือง อธิบดีดีเอสไอ ให้โอนสำนวนจากสำนักคดีอาญาพิเศษ 3 ไปอยู่ในความรับผิดชอบของสำนักคดีการเงินการธนาคาร เนื่องจากเป็นคดีฟอกเงินเกี่ยวพันกับกลุ่มพระสงฆ์ของวัดพระธรรมกาย นอกจากนี้ ยังสั่งการให้ตรวจสอบการเข้าไปรับซื้อที่ดินของ นายอนันต์ อัศวโภคิน เจ้าของธุรกิจแลนด์แอนด์เฮ้าส์ จากลูกข่ายรับฟอกเงินจาก นายศุภชัย ซึ่งที่ดินทั้งหมดมีสถานที่ตั้งรายล้อมวัดพระธรรมกาย จนยาวไปถึงที่ตั้งบริเวณตลาดไท รังสิต จ.ปทุมธานี สำหรับน.ส.อลิสา นอกจากจะต้องถูกเรียกเข้าให้ปากคำในคดีฟอกเงินแล้ว ยังต้องถูกออกหนังสือเรียกเข้ารายงานตัวตามมาตรา 44 กรณีให้พระสงฆ์และประชาชนเข้าไปใช้พื้นที่อาคารบุญรักษาต่อต้านการตรวจค้น ทั้งนี้ ที่ดินจำนวน 8 แปลงดังกล่าว คณะกรรมการธุรกรรม สำนักงานป้องกันปละปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ได้มีมติให้อายัดเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ที่ผ่านมาซึ่งกระทบต่อภาพพจน์และธุรกิจในเครือแลนด์แอนด์เฮ้าส์ เป็นอย่างมากนับเป็นความผิดพลาดครั้งสำคัญที่ผุ้เชี่ยวชาญการซื้อ-ขายที่ดินจะมาพบจุดจบจากการซื้อของร้อนโอนใส่ชื่อบุตรสาวของตัวเอง
รายงานแจ้งเพิ่มเติมว่า ยังพบที่ดินอีกหลายแปลงที่เข้าข่ายลักษณะฟอกเงินระหว่างบริษัทแลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ กับวัดธรรมกายเช่นขณะนี้เจ้าหน้าที่ได้ลงไปพิสูจน์ที่ดินในเขตพื้นทื่ จ.พิจิตร และมหาสารคราม ส่วนพฤติการณ์ฟอกเงินนั้นทางวัดธรรมกาย จะมอบเงินสดให้กับชาวบ้านที่เป็นลูกศิษย์ใกล้ชิดไว้เนื้อเชื่อใจได้ไปตระเวนซื้อที่ดินแปลงสวยๆก่อนทำเรื่องยกให้กับทางวัดพร้อมมอบโฉนดไว้เฉยๆโดยไม่โอนให้กับวัดเฉกเช่นที่กระทำโดยทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจากหากทำเช่นนั้นที่ดินจะตกเป็นของสำนักพุทธศาสนา ทันที
*** อายัดเพิ่มแก๊งโกงจีทูจี-พ่วงลูกเสี่ยงเปี๋ยง
รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ว่า ปปง. เผยแพร่คำสั่งคณะกรรมการธุรกรรมที่ ย.52/2560 เรื่องอายัดทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดไว้ชั่วคราว (เพิ่มเติม) รายบุคคลที่เกี่ยวกับการทุจริตโครงการรับจำนำข้าวและการระบายข้าวแบบรัฐต่อรัฐ และนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร หรือ "เสี่ยเปี๋ยง" อดีตนักธุรกิจค้าข้าวชื่อดัง ผู้ก่อตั้งบริษัทสยามอินดิก้า จำกัด
ทั้งนี้ เมื่อต้นสัปดาห์ ปปง. ระบุว่า ได้ดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินของกลุ่มเอกชน ซึ่งเป็นจำเลยในคดีหมายเลขดำที่ อม.25/25458 ของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยได้ตรวจสอบทรัพย์สิน และขออำนาจศาลในการสั่งยึดทรัพย์สิน รวมทั้ง ปปง.อายัดไว้ก่อนส่งศาลฯ ซึ่งมีทั้งที่ดิน ห้องชุด และเงินฝากธนาคาร รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,806 รายการ มูลค่าประมาณ 12,929.3 ล้านบาท
ล่าสุด ปปง. สั่งอายัดทรัพย์ 4 เอกชนที่เกี่ยวข้อง และ 1 บุคคล วงเงิน 687,835,323.37 บาท พร้อมดอกผล โดยส่วนใหญ่เป็นโฉนดที่ดิน ใน อ.บางบาล อ.บางประหัน จ.พระนครศรีอยุธยา อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง มากกว่า 300 ฉบับ บัญชีเงินฝาก หน่วยลงทุนในกองทุนต่างๆ เป็นต้น
สำหรับบริษัทเอกชนทั้ง 4 ราย ประกอบด้วย บริษัท ทีซี.แลนด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 320 ล้านบาท บริษัท เมอร์รี่ไรซ์แลนด์ จำกัด ทุนจดทะเบียน 176 ล้านบาท บริษัทสยาม อินดิก้า จำกัด และบริษัท คิงดอม ไรซ์ ไซโล จำกัด ซึ่งบริษัทสุดท้ายนี้มีนายสรวิศ จันทร์สกุลพร ลูกชายนายอภิชาติ จันทร์สกุลพร เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ
นอกจากนี้ในส่วนทรัพย์สินของ นายสรวิศ จันทร์สกุลพร ที่ถูกอายัดนอกจากเงินงบบัญชีและหน่วยลงทุนกว่า 30 ล้านบาท ยังรวมถึงห้องชุด 2 แห่ง เ"มโทร จอมเทียน คอนโดเทล” อ.บางละมุง จ.ชลบุรี มูลค่า 16 ล้านบาท
ส่วนรายชื่อเจ้าของทรัพย์สิน ที่ถูก ปปง.ออกคำสั่งอายัดไว้ล่าสุด ประกอบด้วย นายอภิชาต จันทร์สกุลพร, นางกิ่งแก้ว ลิมปิสุข , น.ส.ธันยพร จันทร์สกุลพร, นางสาวสุนีย์ จันทร์สกุลพร, นายธนทัต จันทร์สกุลพร, บริษัทสยามอินดิก้า, บริษัท สิราลัย (ชื่อใหม่ ว่า บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด), นางสาวศิริกันยา จันทร์สกุลพร และล่าสุดอีก 4 บริษัท รวมถึงนายสรวิศ ด้วย