เปิดตัว”คลินิกแก้หนี้”ช่วยเหลือภาคครัวเรือน ที่อยู่ในระดับสูงเฉียด 80%ของจีดีพี เฟสแรกจากลูกหนี้ของธนาคารพาณิชย์ก่อนที่มีอยู่ประมาณ 5 แสนรายหรือมูลหนี้ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท เล็งเฟส 2 ดึงหนี้จากนอนแบงก์มาบริหารต่อ ระบุห่วงคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น เป็นหนี้นาน และมูลค่าหนี้มาก
วานนี้ (17 พ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมลงนามกับธนาคารพาณิชย์ไทย-ต่างประเทศ 16 แห่ง และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM)เปิดตัว โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้)โดยมีนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท. นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย นายดาเรน บัคลีย์ ประธานสมาคมธนาคารนานาชาติ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ประธาน SAM และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เข้าร่วม
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศ แม้ในปี 2559 จะอยู่ที่ร้อยละ 79.9ของจีดีพี จากร้อยละ 81.2ของจีดีพีในปี 2558 และประเด็นที่น่ากังวลใจคือ จากการศึกษาพบว่า คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้นมาก เป็นหนี้นาน และมีหนี้มูลค่ามาก กล่าวคือ 50%ของคนอายุระมาณ 30 ปี มีหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคหรือบัตรเครดิต และในจำนวนลูกหนี้ที่มีอายุในช่วง 29 ปี 1ใน5 อยู่ในกลุ่มที่ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน หรือเอ็นพีแอล
นอกจากนี้ ยังพบว่าคนไทยมีมูลหนี้มากขึ้น ค่ากลางของหนี้ต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท ณ สิ้นปี 2559 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 70,000 บาทในปี 2553 โดยปริมาณหนี้ต่อหัวเร่งขึ้นเร็วสำหรับคนในช่วงอายุประมาณ 30 ปี และคงอยู่ระดับใกล้เคียงสูงสุดแม้จะเข้าสู่วัยเกีษยณ
"สิ่งน่าเป็นห่วงคือนอกจากคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น และเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้นับรวมหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาซึ่งมีอัตราผิดนัดชำระหนี้มากเช่นกัน ถ้ารวมตัวเลขเหล่านั้นเข้ามา จะยิ่งน่าตกใจ"
ทั้งนี้ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงจัดให้มีโครงการคลินิกแก้หนี้ที่ให้ SAM บริหาร เป็นแนวทางแก้ปัญหาหนี้ได้ระดับหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระให้กับทั้งลูกหนี้และสถาบันการเงิน โดยลูกหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ที่ไม่มีหลักประกันที่จะเข้าโครงการนั้น เป็นลูกหนี้มีเงินเดือนประจำ เป็นหนี้เสียก่อนเดือนพฤษภาคม 2560 วงเงินรวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท และมีเจ้าหนี้สถาบนการเงิน 2 รายได้ขึ้นไป สามารถเข้ามาโครงการคลีนิกแก้หนี้ เพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 7 % ภายในระยะเวลา 5 ปีห้ามก่อนหนี้ใหม่ ซึ่งจะช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ มีวินัยทางการเงิน รวมทั้งดูแลไม่ให้สถาบันการเงินนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกหนี้ โดยลูกหนี้ที่มีอยู่ในเงื่อนไขประมาณ 5 แสนรายหรือมูลหนี้มากกว่า 1 แสนล้านบาท หวังว่าลูกหนี้ดังกล่าวจะเข้ามาอยู่ในคลินิกนี้ทั้งหมด
ผู้ว่าการธปท.กล่าวอีกว่า การเซ็นสัญญาครั้งนี้เป็นเพียงเบื้องต้นของการแก้ไขหนี้ที่อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ก่อน ต่อไปจะนำหนี้ที่เป็นส่วนของนอนแบงก์เข้ามาอยู่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ล้านราย นับว่าเป็นจำนวนลูกหนี้ที่มากกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการแก้กฎหมายอยู่ คาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้แน่นอน หลังจากนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนน่าจะเห็นผล
**กสิกรฯเผยลูกค้าเข้าข่าย6หมื่นราย**
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า โครงการแก้หนี้ฯดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ของลูกหนี้แบบองค์รวมของลูกค้า ที่นำเอาหนี้เสียของลูกค้าจากหลายสถาบันการเงินมาแก้ไขปัญหาพร้อมกันในคราวเดียว โดยมีหน่วยงานกลางคือ SAM เป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งลูกค้าที่เข้าโครงการจะได้รับการผ่อนปรนระยะเวลาชำระหนี้ในระยะยาว ตามวงเงินที่เหมาะสม ในอัตราดอกเบั้ยไม่เกินร้อยละ7ต่อปี
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยนั้น มีส่วนของลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวประมาณ 60,000 ราย วงเงินรวม 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเองด้วย หากลูกค้าไม่ต้องการเข้าโครงการ ธนาคารก็ไม่บังคับ แต่จากเงื่อนไขต่างๆและอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนก็น่าจะมีผู้ให้ความสนใจไม่น้อย
วานนี้ (17 พ.ค.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ร่วมลงนามกับธนาคารพาณิชย์ไทย-ต่างประเทศ 16 แห่ง และบริษัทบริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด (SAM)เปิดตัว โครงการแก้ไขปัญหาหนี้ส่วนบุคคลที่ไม่มีหลักประกัน (คลินิกแก้หนี้)โดยมีนายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธปท. นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทย นายดาเรน บัคลีย์ ประธานสมาคมธนาคารนานาชาติ นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ประธาน SAM และผู้บริหารธนาคารพาณิชย์เข้าร่วม
นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัญหาหนี้ครัวเรือนยังคงเป็นปัญหาใหญ่สำหรับประเทศ แม้ในปี 2559 จะอยู่ที่ร้อยละ 79.9ของจีดีพี จากร้อยละ 81.2ของจีดีพีในปี 2558 และประเด็นที่น่ากังวลใจคือ จากการศึกษาพบว่า คนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้นมาก เป็นหนี้นาน และมีหนี้มูลค่ามาก กล่าวคือ 50%ของคนอายุระมาณ 30 ปี มีหนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นหนี้สินเชื่ออุปโภคบริโภคหรือบัตรเครดิต และในจำนวนลูกหนี้ที่มีอายุในช่วง 29 ปี 1ใน5 อยู่ในกลุ่มที่ค้างชำระหนี้เกิน 90 วัน หรือเอ็นพีแอล
นอกจากนี้ ยังพบว่าคนไทยมีมูลหนี้มากขึ้น ค่ากลางของหนี้ต่อหัวอยู่ที่ประมาณ 150,000 บาท ณ สิ้นปี 2559 เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจาก 70,000 บาทในปี 2553 โดยปริมาณหนี้ต่อหัวเร่งขึ้นเร็วสำหรับคนในช่วงอายุประมาณ 30 ปี และคงอยู่ระดับใกล้เคียงสูงสุดแม้จะเข้าสู่วัยเกีษยณ
"สิ่งน่าเป็นห่วงคือนอกจากคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น และเป็นหนี้เสียตั้งแต่อายุยังน้อย ซึ่งส่วนนี้ยังไม่ได้นับรวมหนี้นอกระบบ หนี้สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษาซึ่งมีอัตราผิดนัดชำระหนี้มากเช่นกัน ถ้ารวมตัวเลขเหล่านั้นเข้ามา จะยิ่งน่าตกใจ"
ทั้งนี้ ด้วยตระหนักถึงความสำคัญของปัญหา จึงจัดให้มีโครงการคลินิกแก้หนี้ที่ให้ SAM บริหาร เป็นแนวทางแก้ปัญหาหนี้ได้ระดับหนึ่ง ที่จะช่วยลดภาระให้กับทั้งลูกหนี้และสถาบันการเงิน โดยลูกหนี้เอ็นพีแอลของธนาคารพาณิชย์ที่ไม่มีหลักประกันที่จะเข้าโครงการนั้น เป็นลูกหนี้มีเงินเดือนประจำ เป็นหนี้เสียก่อนเดือนพฤษภาคม 2560 วงเงินรวมกันไม่เกิน 2 ล้านบาท และมีเจ้าหนี้สถาบนการเงิน 2 รายได้ขึ้นไป สามารถเข้ามาโครงการคลีนิกแก้หนี้ เพื่อเจรจาปรับโครงสร้างหนี้คิดอัตราดอกเบี้ยไม่เกิน 7 % ภายในระยะเวลา 5 ปีห้ามก่อนหนี้ใหม่ ซึ่งจะช่วยลดภาระให้กับลูกหนี้ มีวินัยทางการเงิน รวมทั้งดูแลไม่ให้สถาบันการเงินนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่ไม่ตรงกับความต้องการของลูกหนี้ โดยลูกหนี้ที่มีอยู่ในเงื่อนไขประมาณ 5 แสนรายหรือมูลหนี้มากกว่า 1 แสนล้านบาท หวังว่าลูกหนี้ดังกล่าวจะเข้ามาอยู่ในคลินิกนี้ทั้งหมด
ผู้ว่าการธปท.กล่าวอีกว่า การเซ็นสัญญาครั้งนี้เป็นเพียงเบื้องต้นของการแก้ไขหนี้ที่อยู่ในระบบธนาคารพาณิชย์ก่อน ต่อไปจะนำหนี้ที่เป็นส่วนของนอนแบงก์เข้ามาอยู่ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 5 ล้านราย นับว่าเป็นจำนวนลูกหนี้ที่มากกว่าระบบธนาคารพาณิชย์ ขณะนี้กำลังอยู่ในขั้นตอนของการแก้กฎหมายอยู่ คาดว่าจะเสร็จภายในสิ้นปีนี้แน่นอน หลังจากนั้นการแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนน่าจะเห็นผล
**กสิกรฯเผยลูกค้าเข้าข่าย6หมื่นราย**
นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย ในฐานะประธานสมาคมธนาคารไทย กล่าวว่า โครงการแก้หนี้ฯดังกล่าวจะเป็นการแก้ไขปัญหาหนี้ของลูกหนี้แบบองค์รวมของลูกค้า ที่นำเอาหนี้เสียของลูกค้าจากหลายสถาบันการเงินมาแก้ไขปัญหาพร้อมกันในคราวเดียว โดยมีหน่วยงานกลางคือ SAM เป็นผู้บริหารจัดการ ซึ่งลูกค้าที่เข้าโครงการจะได้รับการผ่อนปรนระยะเวลาชำระหนี้ในระยะยาว ตามวงเงินที่เหมาะสม ในอัตราดอกเบั้ยไม่เกินร้อยละ7ต่อปี
ทั้งนี้ ในส่วนของธนาคารกสิกรไทยนั้น มีส่วนของลูกหนี้ที่เข้าเกณฑ์ดังกล่าวประมาณ 60,000 ราย วงเงินรวม 3,000-4,000 ล้านบาท ซึ่งก็ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าเองด้วย หากลูกค้าไม่ต้องการเข้าโครงการ ธนาคารก็ไม่บังคับ แต่จากเงื่อนไขต่างๆและอัตราดอกเบี้ยที่ผ่อนปรนก็น่าจะมีผู้ให้ความสนใจไม่น้อย