ผู้จัดการรายวัน360-ตำรวจยอมรับบางองค์กรถูกมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตี แนะอัปเดตวินโดวส์ป้องกัน นายกฯ ขอให้ทำตามที่กระทรวงดีอีแนะนำ ด้าน ผบ.ตร. สั่งเฝ้าระวัง ยัน สตช. ยังไม่ถูกโจมตี ขณะที่ ธปท.ยังไม่พบสถาบันการเงินไทยโดนมัลแวร์ ไทยเซิร์ตบอกมีคนโดนมัลแวร์แล้ว 200 เครื่อง แต่ไม่มีใครจ่ายค่าไถ่ และได้เข้าไปช่วยแก้ไขแล้ว กสทช. กำชับผู้ใหบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ อินเทอร์เน็ต ป้องกัน เพื่อไม่ให้กระทบการให้บริการประชาชน ไมโครซอฟต์เตือนรัฐบาลทั่วโลกถึงเวลาตระหนักถึงอันตรายที่เกิดขึ้น
พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (ผบก.สทส.) เปิดเผยถึงการป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หลังผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกมาเตือนถึงความเป็นไปได้อาจเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ว่า มัลแวร์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายผ่านเน็ตเวิร์ก คุณลักษณะที่สำคัญ ก็คือ เป็นไวรัสที่อยู่ในปฏิบัติการของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (windows) เท่านั้น โดยอาศัยช่องว่างของ Service หรือการให้บริการในการเชื่อมต่อในการแชร์ เช่น ไฟล์ แชร์ลิ่ง หรือทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่ายผ่านทาง Service ที่เรียกว่า Server Message Block หรือ SMB ซึ่งมีในปฏิบัติการ window ตั้งแต่รุ่น window xp ขึ้นมา window 7-10 ดังนั้น คนที่ติดไวรัสตัวนี้ จะมีตัวหนังสือปรากฏข้อความบนหน้าจอเป็นการเรียกค่าไถ่ หากจะกู้ข้อมูลต้องขอรหัสและต้องจ่ายเงินให้ภายในเวลา เช่น 3 วันจ่าย ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐ ถ้าจ่ายช้าเกิน 6 วัน ต้องจ่าย 600 เหรียญสหรัฐ โดยเงินที่จ่ายด้วย bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิตอล
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการเผยแพร่ไวรัสดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วโลก และในส่วนของไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และไทยเซิร์ท (www.thaicert.or.th) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้มีการแจ้งเตือนให้แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการป้องกันให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบต้องทำการอัปเดต windows ขึ้นไป อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย หรือจะเข้าไปปรึกษาได้ที่ www.thaicert.or.th ในส่วนของผู้ดูแลระบบให้พิจารณาให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์แรกขายถ้าติดไวรัสแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อลูกค้า ถ้าหากบริษัทใดหรือองค์กรใดถูกไวรัสจนได้รับความเสียหาย สามารถไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และที่ผ่านมา ในประเทศไทยทราบว่ามีองค์กรที่ถูกไวรัสตัวนี้โจมตีแล้วบางส่วน แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ล่าสุดยังไม่มีการไปแจ้งความต่อ ปอท.
ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวว่า หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่พบว่ามีการโจมตีของมัลแวร์ตัวนี้แต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้รับทราบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลได้มีการชี้แจง และมีมาตรการมาให้ทราบแล้ว ซึ่งตนเองและหน่วยงานความมั่นคงก็ได้รับมา เพื่อไปดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่ได้มีการแจ้งมา ส่วนที่หลายคนให้ความบิดเบือนว่ารัฐบาล เป็นคนแจ้งข่าวให้เกิดตกใจ เพื่อที่จะจ้างบริษัทมาทำระบบ ไปกันใหญ่ เลอะเทอะ ไอ้พวกนี้
นางสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการเงินไทยได้ทราบเรื่องตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2560 โดยกลุ่มความร่วมมือไซเบอร์ (ISG) ภายใต้สมาคมธนาคารไทย มีการแจ้งเตือนและติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จากการติดตามของ ธปท. ขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ องค์กรมหาชน (ETDA) ในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์ประสานการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ (ไทยเซิร์ต) ซึ่งเก็บรวบรวมและต่อต้านภัยคุกคามไซเบอร์ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของมัลแวร์ WannaCry ในประเทศไทย ว่า จนถึงขณะนี้ระบบมอนิเตอร์ตรวจสอบพบว่า มีหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน 200 เครื่องที่ได้รับการคุกคามโดยมัลแวร์ WannaCry โดยไทยเซิร์ตได้แนะนำการแก้ไขและดำเนินการแก้ไขไปหมดแล้ว เบื้องต้นยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ยอมเสียเงินค่าไถ่ตามที่มีการเรียกร้อง แต่ก็ยังไม่สามารถไว้วางใจได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ยังไม่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ (IIG) ในประเทศไทยรายใดที่ได้รับผลกระทบ แต่เพื่อเป็นการป้องกัน กสทช. ได้สั่งกำชับไปยังผู้ให้บริการทุกรายให้ตรวจสอบระบบเครือข่าย และเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ การคิดค่าโทรศัพท์ ค่าบริการ บริการคลาวด์ เซอร์วิสต่างๆ พร้อมทั้งขอให้ผู้ให้บริการทุกรายเตรียม Call Center เพื่อให้ข้อมูลการป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์ WannaCry ให้กับผู้ใช้บริการด้วย
ด้านแบรด สมิธ ประธานและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์ ได้โพสต์ข้อความเตือนในบล็อกส่วนตัวว่า ถือเป็นการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา และรัฐบาลทั่วโลกควรมองการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย
ขณะที่สำนักงานตำรวจยุโรป หรือยูโรโปล ได้ออกมาเตือนว่า ผลกระทบที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลกอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยมัลแวร์ที่เกิดขึ้น อาจเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อผู้คนเริ่มกลับไปทำงานในวันจันทร์ (15 พ.ค.) และเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ของพวกเขา
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ประเทศจีน โดนมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์หลายหมื่นเครื่อง ทั้งสำนักงานรัฐบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย ตู้เอทีเอ็ม และโรงพยาบาล รวมแล้วนับ 29,372 แห่งทั่วประเทศ
พล.ต.ต.ศิริพงษ์ ติมุลา ผู้บังคับการสนับสนุนทางเทคโนโลยี (ผบก.สทส.) เปิดเผยถึงการป้องกันการถูกโจมตีทางไซเบอร์ด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หลังผู้เชี่ยวชาญจากสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักร ออกมาเตือนถึงความเป็นไปได้อาจเกิดการโจมตีทางไซเบอร์ ว่า มัลแวร์ดังกล่าวสามารถแพร่กระจายผ่านเน็ตเวิร์ก คุณลักษณะที่สำคัญ ก็คือ เป็นไวรัสที่อยู่ในปฏิบัติการของระบบปฏิบัติการวินโดวส์ (windows) เท่านั้น โดยอาศัยช่องว่างของ Service หรือการให้บริการในการเชื่อมต่อในการแชร์ เช่น ไฟล์ แชร์ลิ่ง หรือทรัพยากรอื่นๆ ในเครือข่ายผ่านทาง Service ที่เรียกว่า Server Message Block หรือ SMB ซึ่งมีในปฏิบัติการ window ตั้งแต่รุ่น window xp ขึ้นมา window 7-10 ดังนั้น คนที่ติดไวรัสตัวนี้ จะมีตัวหนังสือปรากฏข้อความบนหน้าจอเป็นการเรียกค่าไถ่ หากจะกู้ข้อมูลต้องขอรหัสและต้องจ่ายเงินให้ภายในเวลา เช่น 3 วันจ่าย ประมาณ 300 เหรียญสหรัฐ ถ้าจ่ายช้าเกิน 6 วัน ต้องจ่าย 600 เหรียญสหรัฐ โดยเงินที่จ่ายด้วย bitcoin ซึ่งเป็นสกุลเงินดิจิตอล
ทั้งนี้ ในปัจจุบันการเผยแพร่ไวรัสดังกล่าวเกิดขึ้นทั่วโลก และในส่วนของไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม และไทยเซิร์ท (www.thaicert.or.th) ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบ ได้มีการแจ้งเตือนให้แนวทางการปฏิบัติ แนวทางการป้องกันให้ผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการหรือผู้ดูแลระบบต้องทำการอัปเดต windows ขึ้นไป อัปเดตซอฟต์แวร์ให้ทันสมัย หรือจะเข้าไปปรึกษาได้ที่ www.thaicert.or.th ในส่วนของผู้ดูแลระบบให้พิจารณาให้ถี่ถ้วน เนื่องจากเป็นคอมพิวเตอร์แรกขายถ้าติดไวรัสแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อลูกค้า ถ้าหากบริษัทใดหรือองค์กรใดถูกไวรัสจนได้รับความเสียหาย สามารถไปแจ้งความร้องทุกข์ดำเนินคดีได้ที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) และที่ผ่านมา ในประเทศไทยทราบว่ามีองค์กรที่ถูกไวรัสตัวนี้โจมตีแล้วบางส่วน แต่ไม่ขอเปิดเผยรายละเอียด ล่าสุดยังไม่มีการไปแจ้งความต่อ ปอท.
ด้าน พ.ต.อ.กฤษณะ พัฒนเจริญ รองโฆษก ตร. กล่าวว่า หน่วยงานในสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ยังไม่พบว่ามีการโจมตีของมัลแวร์ตัวนี้แต่อย่างใด ซึ่งเรื่องนี้ พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ได้สั่งให้ทุกหน่วยงานเฝ้าระวัง พร้อมทั้งประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนได้รับทราบ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า กระทรวงดิจิทัลได้มีการชี้แจง และมีมาตรการมาให้ทราบแล้ว ซึ่งตนเองและหน่วยงานความมั่นคงก็ได้รับมา เพื่อไปดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ที่ได้มีการแจ้งมา ส่วนที่หลายคนให้ความบิดเบือนว่ารัฐบาล เป็นคนแจ้งข่าวให้เกิดตกใจ เพื่อที่จะจ้างบริษัทมาทำระบบ ไปกันใหญ่ เลอะเทอะ ไอ้พวกนี้
นางสิริธิดา พนมวัน ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายระบบการชำระเงินและเทคโนโลยีทางการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในส่วนของสถาบันการเงินไทยได้ทราบเรื่องตั้งแต่เริ่มมีการระบาดเมื่อวันที่ 12 พ.ค.2560 โดยกลุ่มความร่วมมือไซเบอร์ (ISG) ภายใต้สมาคมธนาคารไทย มีการแจ้งเตือนและติดตามเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จากการติดตามของ ธปท. ขณะนี้ธนาคารยังไม่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าว
นางสุรางคณา วายุภาพ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ องค์กรมหาชน (ETDA) ในฐานะผู้รับผิดชอบศูนย์ประสานการรักษาความปลอดภัยระบบคอมพิวเตอร์ (ไทยเซิร์ต) ซึ่งเก็บรวบรวมและต่อต้านภัยคุกคามไซเบอร์ กล่าวถึงสถานการณ์แพร่ระบาดของมัลแวร์ WannaCry ในประเทศไทย ว่า จนถึงขณะนี้ระบบมอนิเตอร์ตรวจสอบพบว่า มีหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน 200 เครื่องที่ได้รับการคุกคามโดยมัลแวร์ WannaCry โดยไทยเซิร์ตได้แนะนำการแก้ไขและดำเนินการแก้ไขไปหมดแล้ว เบื้องต้นยังไม่มีหน่วยงานไหนที่ยอมเสียเงินค่าไถ่ตามที่มีการเรียกร้อง แต่ก็ยังไม่สามารถไว้วางใจได้
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า ยังไม่มีผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) และผู้ให้บริการวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ (IIG) ในประเทศไทยรายใดที่ได้รับผลกระทบ แต่เพื่อเป็นการป้องกัน กสทช. ได้สั่งกำชับไปยังผู้ให้บริการทุกรายให้ตรวจสอบระบบเครือข่าย และเตรียมการป้องกันไม่ให้เกิดผลกระทบต่อระบบการให้บริการ ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการ การคิดค่าโทรศัพท์ ค่าบริการ บริการคลาวด์ เซอร์วิสต่างๆ พร้อมทั้งขอให้ผู้ให้บริการทุกรายเตรียม Call Center เพื่อให้ข้อมูลการป้องกันการโจมตีจากมัลแวร์ WannaCry ให้กับผู้ใช้บริการด้วย
ด้านแบรด สมิธ ประธานและหัวหน้าฝ่ายกฎหมายของไมโครซอฟท์ ได้โพสต์ข้อความเตือนในบล็อกส่วนตัวว่า ถือเป็นการโจมตีด้วยมัลแวร์เรียกค่าไถ่ครั้งเลวร้ายที่สุดเท่าที่เคยมีมา และรัฐบาลทั่วโลกควรมองการโจมตีครั้งนี้ว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย
ขณะที่สำนักงานตำรวจยุโรป หรือยูโรโปล ได้ออกมาเตือนว่า ผลกระทบที่เกิดจากการโจมตีทางไซเบอร์ครั้งใหญ่ทั่วโลกอย่างไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนด้วยมัลแวร์ที่เกิดขึ้น อาจเลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อผู้คนเริ่มกลับไปทำงานในวันจันทร์ (15 พ.ค.) และเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์ของพวกเขา
สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานว่า ประเทศจีน โดนมัลแวร์เรียกค่าไถ่ โจมตีระบบคอมพิวเตอร์หลายหมื่นเครื่อง ทั้งสำนักงานรัฐบาลไปจนถึงมหาวิทยาลัย ตู้เอทีเอ็ม และโรงพยาบาล รวมแล้วนับ 29,372 แห่งทั่วประเทศ