ผู้จัดการรายวัน360-"ปปท.-สตง."เร่งสรุปผลสอบ "กฤษดา" อดีต ผอ.ไทยพีบีเอส กับรองอีก 2 คน เซ็นซื้อหุ้นซีพีเอฟ ตั้ง "อังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์" สอบข้อเท็จจริง เผยหากผิดจริง "วิลาสินี" กับ "อนุพงษ์" ส่อขาดคุณสมบัติไม่เหมาะกลับมาสมัคร ผอ.ไทยพีบีเอส
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) เปิดเผยว่า ปปท. กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบการซื้อหุ้น ซีพีเอฟ ของไทยพีบีเอส ที่ได้ซื้อมาตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.2560 จำนวน 180,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 พันบาท มูลค่าตามใบหุ้นรวม 180 ล้านบาท แต่ซื้อมาในราคา 194 ล้านบาท โอนเงินผ่านธนาคารเกียรตินาคิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถขายหุ้นคืนเงินเข้าองค์กรได้ เนื่องจากขายแล้วจะประสบภาวะขาดทุน ก่อความเสียหายให้กับองค์กร
ทั้งนี้ การซื้อหุ้นในครั้งนี้ดำเนินการโดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีต ผอ.ไทยพีบีเอส พร้อมกับนางวิลาสินี อดุลยานนท์ และนายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ อดีต รองผอ.ไทยพีบีเอส ร่วมกันลงนามในหนังสือซื้อหุ้น และขณะนี้กรรมการนโยบายได้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนางอังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนการคัดเลือก ผอ.ไทยพีบีเอส คนใหม่ เนื่องจากกำหนดวันคัดเลือกรอบแรกก่อนสิ้นพ.ค.นี้ โดยคณะกรรมการสรรหา จะเลือกให้เหลือ 5 คน จากผู้สมัคร 8 คน ก่อนส่งให้คณะกรรมการนโยบาย (กนย.) พิจารณาเลือกภายใน 15 วันภายหลังได้รับรายชื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการเงินการบัญชีและงบประมาณ พ.ศ. 2558 ข้อ 9 (4) การลงทุนที่มีความเสี่ยง ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายก่อน แต่ทพ.กฤษดา ตัดสินใจลำพัง โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจาก กนย. เป็นการทำผิดระเบียบและขั้นตอน ดังนั้น เมื่อถูก กนย.ซักถาม และให้ชี้แจงในที่ประชุม ทพ.กฤษดา จึงแสดงสปิริตประกาศลาออกกลางที่ประชุม มีผลให้ รองผอ.อีก 2 คน ต้องพ้นตำแหน่งตาม ผอ.ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่า อดีตรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ที่สมัคร ผอ.ไทยพีบีเอสขณะนี้ มีความเหมาะสมด้านธรรมาภิบาลหรือไม่ หาก ปปท. กับ สตง. รวมถึงคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ระบุว่า มีความผิดจริง จะสามารถกลับมาสมัครได้หรือไม่ เพราะร่วมกระทำผิดกับทพ.กฤษดา และหากกรรมการ กนย. พิจารณาเลือกกลับมาเป็น ผอ. หรือ รอง ผอ.ไทยพีบีเอสอีก การตัดสินใจของ กนย. เสี่ยงที่จะเข้าข่ายผิดอาญา มาตรา 157ได้ เพราะไปขัดแย้งกับคำแถลงการณ์ของ กนย.เอง คือ "กรณีการซื้อตราสารหนี้ บริษัทซีพีเอฟ" ในข้อ 3 ที่ระบุว่า ผู้อำนวยการ สสท.ไม่ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนที่ต้องนำแผนบริหารการเงินมาขออนุมัติ จาก กนย. อีกครั้งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายบริหาร (ผอ.และ รอง ผอ.) บกพร่องในการทำหน้าที่ ไม่ระมัดระวังในการรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานเท่าที่ควร
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตภาครัฐ (ปปท.) เปิดเผยว่า ปปท. กับสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ได้ตรวจสอบการซื้อหุ้น ซีพีเอฟ ของไทยพีบีเอส ที่ได้ซื้อมาตั้งแต่วันที่ 20 ม.ค.2560 จำนวน 180,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 1 พันบาท มูลค่าตามใบหุ้นรวม 180 ล้านบาท แต่ซื้อมาในราคา 194 ล้านบาท โอนเงินผ่านธนาคารเกียรตินาคิน ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถขายหุ้นคืนเงินเข้าองค์กรได้ เนื่องจากขายแล้วจะประสบภาวะขาดทุน ก่อความเสียหายให้กับองค์กร
ทั้งนี้ การซื้อหุ้นในครั้งนี้ดำเนินการโดย ทพ.กฤษดา เรืองอารีย์รัชต์ อดีต ผอ.ไทยพีบีเอส พร้อมกับนางวิลาสินี อดุลยานนท์ และนายอนุพงษ์ ไชยฤทธิ์ อดีต รองผอ.ไทยพีบีเอส ร่วมกันลงนามในหนังสือซื้อหุ้น และขณะนี้กรรมการนโยบายได้ตั้งกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง โดยมีนางอังครัตน์ เพรียบจริยวัฒน์ เป็นประธานคณะกรรมการตรวจสอบ คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อนการคัดเลือก ผอ.ไทยพีบีเอส คนใหม่ เนื่องจากกำหนดวันคัดเลือกรอบแรกก่อนสิ้นพ.ค.นี้ โดยคณะกรรมการสรรหา จะเลือกให้เหลือ 5 คน จากผู้สมัคร 8 คน ก่อนส่งให้คณะกรรมการนโยบาย (กนย.) พิจารณาเลือกภายใน 15 วันภายหลังได้รับรายชื่อดังกล่าว
ทั้งนี้ ตามระเบียบว่าด้วยการเงินการบัญชีและงบประมาณ พ.ศ. 2558 ข้อ 9 (4) การลงทุนที่มีความเสี่ยง ต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายก่อน แต่ทพ.กฤษดา ตัดสินใจลำพัง โดยไม่ได้ขอความเห็นชอบจาก กนย. เป็นการทำผิดระเบียบและขั้นตอน ดังนั้น เมื่อถูก กนย.ซักถาม และให้ชี้แจงในที่ประชุม ทพ.กฤษดา จึงแสดงสปิริตประกาศลาออกกลางที่ประชุม มีผลให้ รองผอ.อีก 2 คน ต้องพ้นตำแหน่งตาม ผอ.ไปด้วย
อย่างไรก็ตาม มีการตั้งข้อสังเกตว่า อดีตรอง ผอ.ไทยพีบีเอส ที่สมัคร ผอ.ไทยพีบีเอสขณะนี้ มีความเหมาะสมด้านธรรมาภิบาลหรือไม่ หาก ปปท. กับ สตง. รวมถึงคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริง ระบุว่า มีความผิดจริง จะสามารถกลับมาสมัครได้หรือไม่ เพราะร่วมกระทำผิดกับทพ.กฤษดา และหากกรรมการ กนย. พิจารณาเลือกกลับมาเป็น ผอ. หรือ รอง ผอ.ไทยพีบีเอสอีก การตัดสินใจของ กนย. เสี่ยงที่จะเข้าข่ายผิดอาญา มาตรา 157ได้ เพราะไปขัดแย้งกับคำแถลงการณ์ของ กนย.เอง คือ "กรณีการซื้อตราสารหนี้ บริษัทซีพีเอฟ" ในข้อ 3 ที่ระบุว่า ผู้อำนวยการ สสท.ไม่ดำเนินการตามระเบียบขั้นตอนที่ต้องนำแผนบริหารการเงินมาขออนุมัติ จาก กนย. อีกครั้งหนึ่ง กรณีเช่นนี้ ถือได้ว่าฝ่ายบริหาร (ผอ.และ รอง ผอ.) บกพร่องในการทำหน้าที่ ไม่ระมัดระวังในการรักษาผลประโยชน์ของหน่วยงานเท่าที่ควร