วานนี้ (15พ.ค.) มีการประชุมสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) เพื่อพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ ของ กมธ.ขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ ด้านการสื่อสารมวลชน ที่มี พล.อ.อ.คณิต สุวรรณเนตร เป็นประธาน มีสาระสำคัญ คือ การวางมาตรการรับมือ และป้องกันระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต การสื่อสาร โทรคมนาคม และดาวเทียม หากเกิดสถานการณ์รุนแรงต่อระบบดังกล่าว
พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธาน กมธ. ชี้แจงต่อที่ประชุม สปท. ว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นภัยคุกคามใกล้ตัว กมธ.จึงศึกษา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว พร้อมนำร่างที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. มาพิจารณา และมีข้อสังเกต และข้อเสนอเพื่อให้รัฐบาลนำไปแก้ไข เช่น การแก้ไขคำจำกัดความของ ไซเบอร์ ให้กว้างขวาง ครอบคลุมความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ทั้งด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต โครงข่ายโทรคมนาคม การให้บริการดาวเทียม ระบบกิจการสาธารณูปโภค ระบบกิจการสาธารณะ เช่น ระบบขนส่ง ถือเป็นเครือข่ายระดับประเทศ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
ขณะเดียวกันยังเสนอแก้ไของค์ประกอบของ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) จากเดิมให้ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธาน มาเป็นนายกฯ หรือ รองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน และมี รมว.กลาโหม รมว.ดีอี เป็นรองประธาน
ทั้งนี้ เนื่องจาก นายกฯ หรือรองนายกฯ มีอำนาจกำกับดูแลทุกระทรวง ทบวง กรม ขณะที่สำนักงาน กปช. ที่ร่างเดิม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ก็แก้ไขเป็น ให้เป็นส่วนราชการ มีฐานะเทียบเท่า กรม ขึ้นตรงต่อนายกฯ โดย กปช. มีอำนาจ สั่งการหน่วยงานราชการ เอกชน ให้กระทำการ หรือยุติการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ รวมทั้งมีอำนาจการเข้าถึงข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ และเอกชนได้ เมื่อเกิดเหตุที่เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์
ส่วนข้อกังวลที่เกรงว่าการ เข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของ กปช. จะกระทบสิทธิ เสรีภาพประชาชนนั้น ได้มีการแก้ไขให้การดำเนินการดังกล่าว ต้องอยู่ภายในคำสั่งศาล ยกเว้น กรณีเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหาก ไม่ดำเนินการ อาจเกิดความเสียหายร้ายแรง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการอนุมัติของ กปช. ดำเนินการเข้าถึงข้อมูลได้ และรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว ส่วนบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แก้ไขให้มีโทษทางอาญาโดยเจตนาด้วย จากเดิมมีแค่โทษทางวินัยแก่หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตาม ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
"เพื่อให้ทันต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน และอนาคต ได้เสนอให้รัฐบาล เสนอร่างดังกล่าวต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ประกาศใช้โดยเร็ว แต่ในระหว่างนี้ กมธ. เสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจ ม.44 ของรธน.ชั่วคราว ปี 57 หรือ ม. 265 ของรธน.ปี 60 ตั้ง กปช.ขึ้นมาทำหน้าที่ก่อน และเมื่อ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ ให้โอนกิจการทั้งปวงของ กปช. ที่ตั้งขึ้นไปเป็นของ กปช.ชุดใหม่ เสมือนเป็นการทำงานของ กปช."
จากนั้น สมาชิกสปท.ได้อภิปรายแสดงความเห็น โดย นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปท. กล่าวว่า การเขียนกฎหมายเพื่ออนาคต ต้องคำนึงว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ตลอดไปอีก 10 -20 ปีข้างหน้า หากเราได้รัฐบาล ที่ไม่มีคุณธรรมเข้ามา เครื่องมือที่เราเขียนไว้ ก็จะกลับมาเป็นเครื่องมือในการทิ่มแทง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน เช่น ม. 44 อนุ 3 ที่บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ ให้เจ้าพนักงานรับหนังสือมอบหมาย จากเลขาธิการ ในการมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ฯลฯ หรือดำเนินมาตรฐานต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ สามารถระงับยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อศาล ในการปฏิบัติหน้าที่
"การที่ กปช. มีอำนาจตรวจเอกชน หรือ นอกเครือข่ายรัฐ อาจหมิ่นเหม่เข้าไปเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพประชาชน การระบุในกรณีเร่งด่วน ให้พนักงานขออนุมัติ ป.ป.ช.ดำเนินการไปก่อน แล้วขออนุมัติศาลทราบโดยเร็ว ศาลจะว่าอย่างไร ก็ทำไปแล้ว ปกติตัวแทนศาลมาชี้แจงข้อกฎหมาย ก็ยืนยันว่า สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผมขอเสนอให้เป็นเรื่องของศาล 100 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าทาง สนช. สามารถจัดหาองค์กรศาล พร้อมไต่สวนได้ทุกเรื่องตลอดเวลา เพื่อเป็นหลักประกันความสบายใจให้เอกชน และประชาชนโดยทั่วไป อย่างน้อยมีศาลยุติธรรมกลั่นกรองสุดท้าย จึงขอให้ตัดประเด็นนี้ออกไป จะเกิดประโยชน์ในภาพรวม " นายคำนูณ กล่าว
หลังจากสมาชิกสปท. อภิปรายครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานฉบับดังกล่าว จากนั้นจะส่งรายงานให้ ครม. และคณะกรรมการกฤษฏีกาประกอบการพิจารณาต่อไป
พล.ต.ต.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองประธาน กมธ. ชี้แจงต่อที่ประชุม สปท. ว่า ปัจจุบันภัยคุกคามทางไซเบอร์ มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้น ถือเป็นภัยคุกคามใกล้ตัว กมธ.จึงศึกษา ร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว พร้อมนำร่างที่ผ่านความเห็นชอบจาก ครม. มาพิจารณา และมีข้อสังเกต และข้อเสนอเพื่อให้รัฐบาลนำไปแก้ไข เช่น การแก้ไขคำจำกัดความของ ไซเบอร์ ให้กว้างขวาง ครอบคลุมความมั่นคงของชาติในทุกมิติ ทั้งด้านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ อินเทอร์เนต โครงข่ายโทรคมนาคม การให้บริการดาวเทียม ระบบกิจการสาธารณูปโภค ระบบกิจการสาธารณะ เช่น ระบบขนส่ง ถือเป็นเครือข่ายระดับประเทศ ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของชาติ
ขณะเดียวกันยังเสนอแก้ไของค์ประกอบของ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (กปช.) จากเดิมให้ รมว.ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธาน มาเป็นนายกฯ หรือ รองนายกฯ ที่ได้รับมอบหมาย เป็นประธาน และมี รมว.กลาโหม รมว.ดีอี เป็นรองประธาน
ทั้งนี้ เนื่องจาก นายกฯ หรือรองนายกฯ มีอำนาจกำกับดูแลทุกระทรวง ทบวง กรม ขณะที่สำนักงาน กปช. ที่ร่างเดิม มีฐานะเป็นนิติบุคคล ก็แก้ไขเป็น ให้เป็นส่วนราชการ มีฐานะเทียบเท่า กรม ขึ้นตรงต่อนายกฯ โดย กปช. มีอำนาจ สั่งการหน่วยงานราชการ เอกชน ให้กระทำการ หรือยุติการกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้ รวมทั้งมีอำนาจการเข้าถึงข้อมูล ระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐ และเอกชนได้ เมื่อเกิดเหตุที่เป็นภัยคุกคามทางไซเบอร์
ส่วนข้อกังวลที่เกรงว่าการ เข้าถึงข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ของ กปช. จะกระทบสิทธิ เสรีภาพประชาชนนั้น ได้มีการแก้ไขให้การดำเนินการดังกล่าว ต้องอยู่ภายในคำสั่งศาล ยกเว้น กรณีเหตุฉุกเฉินจำเป็นเร่งด่วนหาก ไม่ดำเนินการ อาจเกิดความเสียหายร้ายแรง ให้พนักงานเจ้าหน้าที่โดยการอนุมัติของ กปช. ดำเนินการเข้าถึงข้อมูลได้ และรายงานให้ศาลทราบโดยเร็ว ส่วนบทกำหนดโทษผู้ฝ่าฝืน ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ได้แก้ไขให้มีโทษทางอาญาโดยเจตนาด้วย จากเดิมมีแค่โทษทางวินัยแก่หัวหน้าส่วนราชการ ที่ไม่ปฏิบัติตาม ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว
"เพื่อให้ทันต่อภัยคุกคามในปัจจุบัน และอนาคต ได้เสนอให้รัฐบาล เสนอร่างดังกล่าวต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อให้ประกาศใช้โดยเร็ว แต่ในระหว่างนี้ กมธ. เสนอให้นายกฯ ใช้อำนาจ ม.44 ของรธน.ชั่วคราว ปี 57 หรือ ม. 265 ของรธน.ปี 60 ตั้ง กปช.ขึ้นมาทำหน้าที่ก่อน และเมื่อ ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ประกาศใช้ ให้โอนกิจการทั้งปวงของ กปช. ที่ตั้งขึ้นไปเป็นของ กปช.ชุดใหม่ เสมือนเป็นการทำงานของ กปช."
จากนั้น สมาชิกสปท.ได้อภิปรายแสดงความเห็น โดย นายคำนูณ สิทธิสมาน สมาชิก สปท. กล่าวว่า การเขียนกฎหมายเพื่ออนาคต ต้องคำนึงว่ารัฐบาลนี้ไม่ได้อยู่ตลอดไปอีก 10 -20 ปีข้างหน้า หากเราได้รัฐบาล ที่ไม่มีคุณธรรมเข้ามา เครื่องมือที่เราเขียนไว้ ก็จะกลับมาเป็นเครื่องมือในการทิ่มแทง สิทธิ เสรีภาพของประชาชน เช่น ม. 44 อนุ 3 ที่บัญญัติว่า เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติ ให้เจ้าพนักงานรับหนังสือมอบหมาย จากเลขาธิการ ในการมีอำนาจเข้าถึงข้อมูลการติดต่อสื่อสาร ทั้งไปรษณีย์ โทรศัพท์ โทรสาร คอมพิวเตอร์ ฯลฯ หรือดำเนินมาตรฐานต่างๆ ที่เหมาะสม เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติการรักษาความมั่นคงไซเบอร์ สามารถระงับยับยั้งความเสียหายที่จะเกิดขึ้น โดยยื่นคำร้องต่อศาล ในการปฏิบัติหน้าที่
"การที่ กปช. มีอำนาจตรวจเอกชน หรือ นอกเครือข่ายรัฐ อาจหมิ่นเหม่เข้าไปเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพประชาชน การระบุในกรณีเร่งด่วน ให้พนักงานขออนุมัติ ป.ป.ช.ดำเนินการไปก่อน แล้วขออนุมัติศาลทราบโดยเร็ว ศาลจะว่าอย่างไร ก็ทำไปแล้ว ปกติตัวแทนศาลมาชี้แจงข้อกฎหมาย ก็ยืนยันว่า สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผมขอเสนอให้เป็นเรื่องของศาล 100 เปอร์เซ็นต์ เชื่อว่าทาง สนช. สามารถจัดหาองค์กรศาล พร้อมไต่สวนได้ทุกเรื่องตลอดเวลา เพื่อเป็นหลักประกันความสบายใจให้เอกชน และประชาชนโดยทั่วไป อย่างน้อยมีศาลยุติธรรมกลั่นกรองสุดท้าย จึงขอให้ตัดประเด็นนี้ออกไป จะเกิดประโยชน์ในภาพรวม " นายคำนูณ กล่าว
หลังจากสมาชิกสปท. อภิปรายครบถ้วนแล้ว ที่ประชุมได้รับทราบรายงานฉบับดังกล่าว จากนั้นจะส่งรายงานให้ ครม. และคณะกรรมการกฤษฏีกาประกอบการพิจารณาต่อไป