ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 23/2560 กำหนดให้มีการคัดเลือก หรือสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งแทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ที่พ้นตำแหน่งในวันก่อนวันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ หรือพ้นตำแหน่งตามวาระภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ ให้ดำเนินการคัดเลือก หรือสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งแทนให้แล้วเสร็จภายใน 60 วันนั้น
ล่าสุดได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนในกระบวนการสรรหาทั้งในเรื่องการปฏิบัติของฝ่ายธุรการ คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และปัญหาในข้อกฎหมายที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ชุดปัจจุบันเห็นว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากต้องรอให้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มีผลบังคับใช้ก่อน
โดย 4 กรรมการคตง. นำโดย นายชัยสิทธิ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ยกเว้น นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร เดินทางไปต่างประเทศ)ได้ทำหนังสือที่ ตผ 0001/1980 ลงวันที่ 8 พ.ค.60 ถึงเลขาธิการวุฒิสภา ท้วงติงการคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินใน 5 ประเด็นสำคัญคือ
1. การที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหนังสือถึง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)เสนอชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการกระทำที่น่าจะขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 23/2560 ลงวันที่ 5 เม.ย.60 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาความต่อเนื่องของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ข้อ 9(4) ประกอบข้อ 14 ให้คตง. เป็นผู้ตั้งกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงสมควรที่จะมีหนังสือถึงประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยตรง แทนที่จะทำหนังสือผ่านผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
2. การที่เลขาวุฒิสภาไม่ทำหนังสือถึงประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยตรง และมีการเลื่อนประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ให้เร็วขึ้นจากเดิม 18 พ.ค. เป็น 11 พ.ค.60 ในขณะที่ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวในวันที่ 2 พ.ค. และนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคตง.ในวันที่ 4 พ.ค.ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลที่จะร่วมเป็นกรรมการสรรหาฯได้ทัน เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป
3. ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 23/2560 ข้อ 12 กำหนดว่า เมื่อมีกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง หรือจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการคัดเลือก หรือสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนให้แล้วเสร็จภาย 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง หรือนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้แล้วแต่กรณี ซึ่งมีกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นตำแหน่งก่อนคำสั่งนี้ มีผลบังคับใช้มี 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ซึ่งพ้นตำแหน่งไปเป็นเวลาปีเศษแล้ว เลยกรอบเวลาที่คำสั่งฯระบุให้มีการสรรหาแทนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง ส่วนกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เหลืออยู่อีก 5 คน จะครบวาระในวันที่ 26 ก.ย.60 จึงไม่มีเหตุให้ต้องสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนี้ เพราะตำแหน่งยังมิได้ว่างลง
4 .ตามรธน.ปี 60 มาตรา 216 บัญญัติว่า กรรมการตรวจเงินแผ่นดินนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปตาม มาตรา 216(1) (2) และ (3) ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินด้วย แต่ในขณะนี้ยังไม่กฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจมีการคัดเลือกหรือสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้
5. การที่เลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ดำเนินการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการกระทำที่ยังไม่เกิดหน้าที่และอำนาจตามรธน. และคำสั่งคสช. ฉบับที่ 23/2560 จึงถือว่าเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสององค์กรดังกล่าว ที่ต้องส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัย ตามรธน.มาตรา 210
ในหนังสือฉบับดังกล่าวยังอ้างถึงความเห็นของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินบางคน ในที่ประชุม คตง.วันที่ 4 พ.ค. ที่เห็นว่า การที่ประกาศ คสช. ฉบับที่ 31/2557 ลงวันที่ 27 มิ.ย.57 ข้อ 8 ให้กรรมการตรวจเงินแผ่นดินชุดนี้ สามารถเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง เป็นการเปิดการสรรหาคตง. ก่อนวันที่คตง.ชุดนี้ จะครบวาระในวันที่ 25 ก.ย. 60 อาจเป็นการบังคับให้กรรมการบางรายต้องลาออกมาเพื่อสมัครรับการสรรหา อันจะเป็นผลทำให้การทำงานของคตง.ชุดนี้ต้องหยุดลง เพราะมีจำนวนไม่ถึง 5 คน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตรวจเงินแผ่นดินโดยรวมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันคตง.มี 5 คน จากองค์ประกอบทั้งหมด 7 คน เนื่องจากลาออกไป 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ส่วนที่เหลืออยู่ 5 คน ประกอบด้วย นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานฯ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ นางอุไร ร่มโพธิหยก และนางจิรพร มีหลีสวัสดิ์ โดยทั้งหมดมาจากการสรรหาตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 71/2557 ลงวันที่ 27 มิ.ย.57 ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งได้ 3 ปี โดยจะพ้นวาระในวันที่ 26 ก.ย.60 และ สามารถสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้อีกครั้งหนึ่ง แต่หากได้รับการสรรหาจะดำรงตำแหน่งได้อีกไม่เกิน 3 ปี ตามข้อ 8 ของประกาศฉบับดังกล่าว
** เลื่อนประชุมกก.สรรหาไม่มีกำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งแทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามคำสั่งคสช.นั้น นอกจากจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนในกระบวนการสรรหา ทั้งในเรื่องการปฏิบัติของฝ่ายธุรการ คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และปัญหาในข้อกฎหมาย ที่คตง.ชุดปัจจุบัน เห็นว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากต้องรอให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินมีผลบังคับใช้ก่อนแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่องค์กรอิสระต้องเสนอชื่อมาเป็นกรรมการสรรหาด้วย
โดยขณะนี้มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียวจาก 5 องค์กร ตามรธน. คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ส่งรายชื่อ พล.อ.ปริญญา บูรณางกูร ข้าราชการเกียษณ ให้กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแล้ว ทำให้มีการเลื่อนการประชุมกรรมการสรรหา กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พ.ค. ออกไปโดยไม่มีกำหนด
นางวรารัตน์ อติแพทย์ เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึงการเลื่อนการประชุมกรรมการสรรหาฯออกไป โดยยังไม่มีการกำหนดวันประชุมใหม่ ว่า เนื่องจากคณะกรรมการสรรหาบางท่านติดภารกิจ และขณะนี้องค์กรอิสระที่ต้องเสนอชื่อ ก็ยังเสนอชื่อมาไม่ครบทุกองค์กร มีเพียงองค์กรเดียวที่เสนอชื่อมา โดยสำนักเลขาวุฒิฯได้แจ้งการเลื่อนประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ให้กับองค์กรอิสระทุกองค์กรรับทราบแล้ว
ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา คตง. เริ่มจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนังสือแจ้งมาให้ดำเนินการสรรหา ตามคำสังคสช.ที่ 23/2560 ส่วนที่คตง. มีหนังสือท้วงติงเรื่องการสรรหาว่าอาจเป็นการทำเกินอำนาจหน้าที่ และแนะนำให้ส่งศาลรธน.วินิจฉัย รวมทั้งท้วงติงว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ ต้องรอให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มีผลบังคับใช้ก่อนนั้น ทางสำนักงานเลขาวุฒิสภา จะเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการสรรหา เมื่อมีการประชุมนัดแรกเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นเพียงแค่หน่วยงานธุรการเท่านั้น
**องค์กรอิสระยังหากก.สรรหาไม่ได้
ด้านนางภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า กสม.ได้รับหนังสือจากสำนักงานเลขาวุฒิสภา ให้เสนอชื่อบุคคลไปเป็นกรรมการสรรหาฯ ครั้งแรก ในวันที่ 28 เม.ย. โดยให้เสนอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 13 พ.ค.นี้ โดยในหนังสือดังกล่าวระบุว่า จะมีการประชุมกรรมการสรรหาในวันที่ 18 พ.ค. แต่ต่อมา วันที่ 3 พ.ค. มีหนังสือแจ้งว่า คณะกรรมการสรรหาเลื่อนนัดประชุมจากวันที่ 18 พ.ค. เป็นวันที่ 11 พ.ค. ซึ่งในการประชุมกสม. เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ก็ได้มีการพิจารณารายชื่อบุคคลที่กรรมการกสม. เสนอ จำนวน 2 คน แต่ตามประกาศของ คสช.ที่23/2560 กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของบุคคลที่จะเป็นกรรมการสรรหาไว้ค่อนข้างสูง ทำให้รายชื่อที่เสนอมา มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่สามารถเสนอได้
"เพราะรายหนึ่งเคยเป็นรองเลขาธิการของกสม. แต่ในคุณสมบัติกำหนดห้ามไม่ให้เสนอชื่อบุคคลที่เคยปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ ส่วนอีกคนหนึ่ง มีอายุ 70 ปี ซึ่งก็ขาดคุณสมบัติ เพราะประกาศกำหนดว่าจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 45 ปี แต่ต้องไม่เกิน 68 ปี จึงทำให้ที่ประชุมยังไม่สามารถพิจารณาเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการสรรหาได้ แต่ในช่วงเย็น ก็ได้รับหนังสือจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แจ้งเลื่อนการประชุมคณะกรรมการสรรหา วันที่ 11 พ.ค.ออกไป อย่างไม่มีกำหนด ทำให้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลไปเป็นกรรมการสรรหาฯ"นางภิรมย์ กล่าว
ขณะที่ในส่วนของ กกต.นั้น มีรายงานว่า กกต.ก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยที่ประชุมกกต. มีมติให้สำนักงานกกต. มีหนังสือแจ้งกลับไปยังสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ว่า ไม่ขอเสนอชื่อบุคคลใดไปเป็นตัวแทนกรรมการสรรหา เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป กกต. จึงไม่สามารถหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคำสั่งคสช.ได้
สำหรับองค์ประกอบของกรรมการสรรหาฯตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 23/2560 จะประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลปกครองสูงสุด และ บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งองค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการ โดยองค์กรอิสระตามรธน. ประกอบด้วย 5 องค์กร คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ในขณะนี้ มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียวที่เสนอชื่อกรรมการสรรหาให้กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เท่ากับว่าจนถึงขณะนี้มีกรรมการสรรหาฯเพียง 4 คนเท่านั้น จากทั้งหมด 8 คน อย่างไรก็ตาม ในคำสั่งดังกล่าวกำหนดว่าในกรณีที่กรรมการสรรหาจากองค์กรอิสระมีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ดำเนินการคัดเลือกหรือสรรหาต่อไปได้จนแล้วเสร็จ
ล่าสุดได้เกิดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนในกระบวนการสรรหาทั้งในเรื่องการปฏิบัติของฝ่ายธุรการ คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และปัญหาในข้อกฎหมายที่คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ชุดปัจจุบันเห็นว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากต้องรอให้พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มีผลบังคับใช้ก่อน
โดย 4 กรรมการคตง. นำโดย นายชัยสิทธิ ตราชูธรรม ประธานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน (ยกเว้น นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร เดินทางไปต่างประเทศ)ได้ทำหนังสือที่ ตผ 0001/1980 ลงวันที่ 8 พ.ค.60 ถึงเลขาธิการวุฒิสภา ท้วงติงการคัดเลือกหรือสรรหาบุคคลให้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดินใน 5 ประเด็นสำคัญคือ
1. การที่สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาทำหนังสือถึง ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน ขอให้คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.)เสนอชื่อบุคคลเพื่อแต่งตั้งเป็นกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการกระทำที่น่าจะขัดต่อคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 23/2560 ลงวันที่ 5 เม.ย.60 เรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาความต่อเนื่องของผู้ดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ข้อ 9(4) ประกอบข้อ 14 ให้คตง. เป็นผู้ตั้งกรรมการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จึงสมควรที่จะมีหนังสือถึงประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยตรง แทนที่จะทำหนังสือผ่านผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน
2. การที่เลขาวุฒิสภาไม่ทำหนังสือถึงประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินโดยตรง และมีการเลื่อนประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ให้เร็วขึ้นจากเดิม 18 พ.ค. เป็น 11 พ.ค.60 ในขณะที่ประธานกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้รับรายงานเรื่องดังกล่าวในวันที่ 2 พ.ค. และนำเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุมคตง.ในวันที่ 4 พ.ค.ทำให้ไม่สามารถเสนอชื่อบุคคลที่จะร่วมเป็นกรรมการสรรหาฯได้ทัน เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป
3. ตามคำสั่งหัวหน้าคสช.ที่ 23/2560 ข้อ 12 กำหนดว่า เมื่อมีกรณีที่ผู้ดำรงตำแหน่งกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ซึ่งดำรงตำแหน่งอยู่ในวันก่อนวันที่คำสั่งมีผลใช้บังคับพ้นจากตำแหน่ง หรือจะพ้นจากตำแหน่งตามวาระภายใน 180 วัน นับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลใช้บังคับ ให้ดำเนินการคัดเลือก หรือสรรหาบุคคลเพื่อดำรงตำแหน่งดังกล่าวแทนให้แล้วเสร็จภาย 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง หรือนับแต่วันที่คำสั่งนี้มีผลบังคับใช้แล้วแต่กรณี ซึ่งมีกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่พ้นตำแหน่งก่อนคำสั่งนี้ มีผลบังคับใช้มี 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ซึ่งพ้นตำแหน่งไปเป็นเวลาปีเศษแล้ว เลยกรอบเวลาที่คำสั่งฯระบุให้มีการสรรหาแทนภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ตำแหน่งดังกล่าวว่างลง ส่วนกรรมการตรวจเงินแผ่นดินที่เหลืออยู่อีก 5 คน จะครบวาระในวันที่ 26 ก.ย.60 จึงไม่มีเหตุให้ต้องสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินในขณะนี้ เพราะตำแหน่งยังมิได้ว่างลง
4 .ตามรธน.ปี 60 มาตรา 216 บัญญัติว่า กรรมการตรวจเงินแผ่นดินนอกจากจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามทั่วไปตาม มาตรา 216(1) (2) และ (3) ยังต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่บัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในพ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินด้วย แต่ในขณะนี้ยังไม่กฎหมายดังกล่าว จึงไม่อาจมีการคัดเลือกหรือสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้
5. การที่เลขาธิการวุฒิสภา และสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ดำเนินการสรรหากรรมการตรวจเงินแผ่นดิน เป็นการกระทำที่ยังไม่เกิดหน้าที่และอำนาจตามรธน. และคำสั่งคสช. ฉบับที่ 23/2560 จึงถือว่าเป็นกรณีที่มีปัญหาเกี่ยวกับหน้าที่และอำนาจของสององค์กรดังกล่าว ที่ต้องส่งให้ศาลรธน.วินิจฉัย ตามรธน.มาตรา 210
ในหนังสือฉบับดังกล่าวยังอ้างถึงความเห็นของกรรมการตรวจเงินแผ่นดินบางคน ในที่ประชุม คตง.วันที่ 4 พ.ค. ที่เห็นว่า การที่ประกาศ คสช. ฉบับที่ 31/2557 ลงวันที่ 27 มิ.ย.57 ข้อ 8 ให้กรรมการตรวจเงินแผ่นดินชุดนี้ สามารถเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินอีกวาระหนึ่ง เป็นการเปิดการสรรหาคตง. ก่อนวันที่คตง.ชุดนี้ จะครบวาระในวันที่ 25 ก.ย. 60 อาจเป็นการบังคับให้กรรมการบางรายต้องลาออกมาเพื่อสมัครรับการสรรหา อันจะเป็นผลทำให้การทำงานของคตง.ชุดนี้ต้องหยุดลง เพราะมีจำนวนไม่ถึง 5 คน ส่งผลกระทบโดยตรงต่อการตรวจเงินแผ่นดินโดยรวมด้วย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันคตง.มี 5 คน จากองค์ประกอบทั้งหมด 7 คน เนื่องจากลาออกไป 2 คน คือ นายสุทธิพล ทวีชัยการ และ นายวิทยา อาคมพิทักษ์ ส่วนที่เหลืออยู่ 5 คน ประกอบด้วย นายชัยสิทธิ์ ตราชูธรรม ประธานฯ นายกรพจน์ อัศวินวิจิตร นายปิยพันธุ์ นิมมานเหมินทร์ นางอุไร ร่มโพธิหยก และนางจิรพร มีหลีสวัสดิ์ โดยทั้งหมดมาจากการสรรหาตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 71/2557 ลงวันที่ 27 มิ.ย.57 ซึ่งมีวาระดำรงตำแหน่งได้ 3 ปี โดยจะพ้นวาระในวันที่ 26 ก.ย.60 และ สามารถสมัครเข้ารับการสรรหาเป็นกรรมการตรวจเงินแผ่นดินได้อีกครั้งหนึ่ง แต่หากได้รับการสรรหาจะดำรงตำแหน่งได้อีกไม่เกิน 3 ปี ตามข้อ 8 ของประกาศฉบับดังกล่าว
** เลื่อนประชุมกก.สรรหาไม่มีกำหนด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การสรรหาบุคคลเพื่อมาดำรงตำแหน่งแทนกรรมการตรวจเงินแผ่นดินตามคำสั่งคสช.นั้น นอกจากจะเกิดปัญหาเกี่ยวกับขั้นตอนในกระบวนการสรรหา ทั้งในเรื่องการปฏิบัติของฝ่ายธุรการ คือ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และปัญหาในข้อกฎหมาย ที่คตง.ชุดปัจจุบัน เห็นว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากต้องรอให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดินมีผลบังคับใช้ก่อนแล้ว ยังมีปัญหาเกี่ยวกับบุคคลที่องค์กรอิสระต้องเสนอชื่อมาเป็นกรรมการสรรหาด้วย
โดยขณะนี้มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียวจาก 5 องค์กร ตามรธน. คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน ที่ส่งรายชื่อ พล.อ.ปริญญา บูรณางกูร ข้าราชการเกียษณ ให้กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาแล้ว ทำให้มีการเลื่อนการประชุมกรรมการสรรหา กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 11 พ.ค. ออกไปโดยไม่มีกำหนด
นางวรารัตน์ อติแพทย์ เลขาธิการวุฒิสภา กล่าวถึงการเลื่อนการประชุมกรรมการสรรหาฯออกไป โดยยังไม่มีการกำหนดวันประชุมใหม่ ว่า เนื่องจากคณะกรรมการสรรหาบางท่านติดภารกิจ และขณะนี้องค์กรอิสระที่ต้องเสนอชื่อ ก็ยังเสนอชื่อมาไม่ครบทุกองค์กร มีเพียงองค์กรเดียวที่เสนอชื่อมา โดยสำนักเลขาวุฒิฯได้แจ้งการเลื่อนประชุมคณะกรรมการสรรหาฯ ให้กับองค์กรอิสระทุกองค์กรรับทราบแล้ว
ทั้งนี้ กระบวนการสรรหา คตง. เริ่มจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน ทำหนังสือแจ้งมาให้ดำเนินการสรรหา ตามคำสังคสช.ที่ 23/2560 ส่วนที่คตง. มีหนังสือท้วงติงเรื่องการสรรหาว่าอาจเป็นการทำเกินอำนาจหน้าที่ และแนะนำให้ส่งศาลรธน.วินิจฉัย รวมทั้งท้วงติงว่า การสรรหาไม่สามารถกระทำได้ ต้องรอให้พ.ร.ป.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน มีผลบังคับใช้ก่อนนั้น ทางสำนักงานเลขาวุฒิสภา จะเสนอข้อมูลให้คณะกรรมการสรรหา เมื่อมีการประชุมนัดแรกเป็นผู้วินิจฉัยว่าจะดำเนินการอย่างไร เพราะสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ไม่มีอำนาจในการตัดสินใจ เป็นเพียงแค่หน่วยงานธุรการเท่านั้น
**องค์กรอิสระยังหากก.สรรหาไม่ได้
ด้านนางภิรมย์ ศรีประเสริฐ เลขาธิการคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) กล่าวว่า กสม.ได้รับหนังสือจากสำนักงานเลขาวุฒิสภา ให้เสนอชื่อบุคคลไปเป็นกรรมการสรรหาฯ ครั้งแรก ในวันที่ 28 เม.ย. โดยให้เสนอภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 13 พ.ค.นี้ โดยในหนังสือดังกล่าวระบุว่า จะมีการประชุมกรรมการสรรหาในวันที่ 18 พ.ค. แต่ต่อมา วันที่ 3 พ.ค. มีหนังสือแจ้งว่า คณะกรรมการสรรหาเลื่อนนัดประชุมจากวันที่ 18 พ.ค. เป็นวันที่ 11 พ.ค. ซึ่งในการประชุมกสม. เมื่อวันที่ 9 พ.ค. ก็ได้มีการพิจารณารายชื่อบุคคลที่กรรมการกสม. เสนอ จำนวน 2 คน แต่ตามประกาศของ คสช.ที่23/2560 กำหนดคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม ของบุคคลที่จะเป็นกรรมการสรรหาไว้ค่อนข้างสูง ทำให้รายชื่อที่เสนอมา มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วน ไม่สามารถเสนอได้
"เพราะรายหนึ่งเคยเป็นรองเลขาธิการของกสม. แต่ในคุณสมบัติกำหนดห้ามไม่ให้เสนอชื่อบุคคลที่เคยปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้นๆ ส่วนอีกคนหนึ่ง มีอายุ 70 ปี ซึ่งก็ขาดคุณสมบัติ เพราะประกาศกำหนดว่าจะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 45 ปี แต่ต้องไม่เกิน 68 ปี จึงทำให้ที่ประชุมยังไม่สามารถพิจารณาเสนอชื่อบุคคลเป็นกรรมการสรรหาได้ แต่ในช่วงเย็น ก็ได้รับหนังสือจากสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา แจ้งเลื่อนการประชุมคณะกรรมการสรรหา วันที่ 11 พ.ค.ออกไป อย่างไม่มีกำหนด ทำให้ที่ประชุมยังไม่ได้ข้อสรุปเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลไปเป็นกรรมการสรรหาฯ"นางภิรมย์ กล่าว
ขณะที่ในส่วนของ กกต.นั้น มีรายงานว่า กกต.ก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน โดยที่ประชุมกกต. มีมติให้สำนักงานกกต. มีหนังสือแจ้งกลับไปยังสำนักเลขาธิการวุฒิสภา ว่า ไม่ขอเสนอชื่อบุคคลใดไปเป็นตัวแทนกรรมการสรรหา เนื่องจากระยะเวลากระชั้นชิดเกินไป กกต. จึงไม่สามารถหาบุคคลที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามคำสั่งคสช.ได้
สำหรับองค์ประกอบของกรรมการสรรหาฯตามคำสั่งหัวหน้าคสช. ที่ 23/2560 จะประกอบด้วย ประธานศาลฎีกา ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ประธานศาลปกครองสูงสุด และ บุคคลซึ่งองค์กรอิสระแต่งตั้งองค์กรละหนึ่งคน เป็นกรรมการ โดยองค์กรอิสระตามรธน. ประกอบด้วย 5 องค์กร คือ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ คณะกรรมการการเลือกตั้ง คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน คณะกรรมการสิทธิมนุษยชน และ ผู้ตรวจการแผ่นดิน แต่ในขณะนี้ มีองค์กรอิสระเพียงองค์กรเดียวที่เสนอชื่อกรรมการสรรหาให้กับสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา คือ ผู้ตรวจการแผ่นดิน เท่ากับว่าจนถึงขณะนี้มีกรรมการสรรหาฯเพียง 4 คนเท่านั้น จากทั้งหมด 8 คน อย่างไรก็ตาม ในคำสั่งดังกล่าวกำหนดว่าในกรณีที่กรรมการสรรหาจากองค์กรอิสระมีไม่ครบ ไม่ว่าด้วยเหตุใด ให้คณะกรรมการสรรหาเท่าที่มีอยู่ ดำเนินการคัดเลือกหรือสรรหาต่อไปได้จนแล้วเสร็จ