ผู้จัดการรายวัน 360 - ปตท.สผ.กร้าวระงับการลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมในอินโดนีเซียจนกว่าคดีฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วของแหล่งมอนทาราได้ข้อยุติ ลั่นที่ปรึกษากฎหมายยันรัฐบาลอินโดนีเซียไม่สามารถยึดทรัพย์บริษัทฯและ PTTEP AA รวมทั้งการบังคับคดี เหตุอินโดฯกับไทยไม่ได้ทำสนธิสัญญาการยอมรับคำพิพากษาระหว่างประเทศ
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจระงับการตัดสินใจลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมในอินโดนีเซียจนกว่าคดีฟ้องร้องบริษัทฯ และบริษัท PTTEP Australasia (PTTEP AA) เรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลแหล่งมอนทาราจากรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อปี 2552 จะได้ข้อยุติ
ทั้งนี้ บริษัทฯได้ดำเนินการเจรจาซื้อกิจการ (M&A) แหล่งปิโตรเลียมหลายโครงการในอินโดนีเซีย แต่ต้องระงับการลงทุนไปก่อนจนกว่าคดีฟ้องร้องจะได้ข้อยุติ ดังนั้นบริษัทฯจะให้ความสำคัญในการเข้าซื้อกิจการแหล่งปิโตรเลียมในไทย เมียนมา และมาเลเซีย คาดว่าปีนี้จะมีความชัดเจนอย่างน้อย 1 โครงการ โดยบริษัทฯมีเงินพร้อมที่จะลงทุนซื้อกิจการถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนโครงการนาทูน่า ซี เอ ที่บริษัทย่อย คือ PTTEP Netherlands Holding Coöperatie U.A. ถือหุ้น 11.5% บริษัทฯยังคงลงทุนและผลิตปิโตรเลียมตามปกติ เนื่องจากเห็นว่าเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งปัจจุบันโครงการนาทูน่า ซี เอ มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติประมาณ 224 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบประมาณ 1,200 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 1%ของปริมาณการขายรวม
แม้ว่าจะมีการระงับการลงทุนโครงการใหม่ในอินโดนีเซีย แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่องบการลงทุน(Capital Expenditure) 5ปีของบริษัทที่ตั้งไว้ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากงบลงทุนดังกล่าวใช้ลงทุนในโครงการที่คณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติแล้ว ไม่ได้รวมงบลงทุนสำหรับการซื้อกิจการ M&Aเอาไว้
นายสมพร กล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นการยึดทรัพย์สินของปตท.สผ.และPTTEP AA รัฐบาลอินโดนีเซียจะยึดทรัพย์สินของปตท.สผ. และPTTEP AA นั้น ที่ปรึกษากฎหมายได้ให้ความเห็นเบื้องต้นว่า ไม่สามารถยึดทรัพย์ของบริษัทฯ PTTEP AA ได้ เนื่องจากอยู่นอกประเทศ ขณะที่โครงการนาทูน่า ซี เอ ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้เช่นกันเพราะคนละนิติบุคคลกัน
นอกจากนี้ คำพิพากษาศาลอินโดนีเซียไม่สามารถบังคับคดีใช้ในไทยและออสเตรเลียได้ เนื่องจากอินโดนีเซียไม่ได้ทำสินธิสัญญาการยอมรับคำพิพากษาระหว่างประเทศกับรัฐบาลไทยและออสเตรเลีย ดังนั้น ถ้าจะฟ้องร้องบังคับคดีต้องมาฟ้องที่ศาลไทย โดยนำคำพิพากษาศาลอินโดนีเซียมาเป็นหลักฐานใช้ในการฟ้องร้องแทน
ส่วนการตั้งสำรองเงินฯไว้สำหรับคดีดังกล่าวยังเร็วเกินไปที่จะตั้งสำรองฯไว้ เพราะบริษัทฯมั่นใจในข้อมูลหลักฐานว่าไม่ได้สร้างเสียหายต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในน่านน้ำออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียงน่านน้ำอินโดนีเซียตามที่ถูกฟ้องร้อง
นายสมพร กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการเตรียมพร้อมทั้งข้อมูล หลักฐานต่างๆในการต่อสู้คดี บริษัทฯเชื่อมั่นในผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะพิสูจน์ว่าไม่มีความเสียหายตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งที่ผ่านมา ปตท.สผ.ไม่เคยจ่ายเงินจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกรณีน้ำมันรั่วไหลของแหล่งมอนทาราให้กับอินโดนีเซียเลย โดยได้จ่ายค่าปรับให้รัฐบาลออสเตรเลีย 510,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินประมาณ 15.3 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลอินโดนีเซียฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลของแหล่งมอนทาราเป็นวงเงิน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเกือบ 7 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้บริษัท PTTEP AA ได้เจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู)หาข้อยุติและพิสูจน์ความเสียหายร่วมกัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ลงนามเอ็มโอยูกันเพราะไม่สามารถตกลงกันได้
นายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า บริษัทฯตัดสินใจระงับการตัดสินใจลงทุนโครงการใหม่เพิ่มเติมในอินโดนีเซียจนกว่าคดีฟ้องร้องบริษัทฯ และบริษัท PTTEP Australasia (PTTEP AA) เรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลแหล่งมอนทาราจากรัฐบาลอินโดนีเซียเมื่อปี 2552 จะได้ข้อยุติ
ทั้งนี้ บริษัทฯได้ดำเนินการเจรจาซื้อกิจการ (M&A) แหล่งปิโตรเลียมหลายโครงการในอินโดนีเซีย แต่ต้องระงับการลงทุนไปก่อนจนกว่าคดีฟ้องร้องจะได้ข้อยุติ ดังนั้นบริษัทฯจะให้ความสำคัญในการเข้าซื้อกิจการแหล่งปิโตรเลียมในไทย เมียนมา และมาเลเซีย คาดว่าปีนี้จะมีความชัดเจนอย่างน้อย 1 โครงการ โดยบริษัทฯมีเงินพร้อมที่จะลงทุนซื้อกิจการถึง 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนโครงการนาทูน่า ซี เอ ที่บริษัทย่อย คือ PTTEP Netherlands Holding Coöperatie U.A. ถือหุ้น 11.5% บริษัทฯยังคงลงทุนและผลิตปิโตรเลียมตามปกติ เนื่องจากเห็นว่าเป็นคนละส่วนกัน ซึ่งปัจจุบันโครงการนาทูน่า ซี เอ มีปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติประมาณ 224 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และน้ำมันดิบประมาณ 1,200 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นสัดส่วน 1%ของปริมาณการขายรวม
แม้ว่าจะมีการระงับการลงทุนโครงการใหม่ในอินโดนีเซีย แต่จะไม่ส่งผลกระทบต่องบการลงทุน(Capital Expenditure) 5ปีของบริษัทที่ตั้งไว้ 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากงบลงทุนดังกล่าวใช้ลงทุนในโครงการที่คณะกรรมการบริษัทฯอนุมัติแล้ว ไม่ได้รวมงบลงทุนสำหรับการซื้อกิจการ M&Aเอาไว้
นายสมพร กล่าวต่อไปว่า ส่วนประเด็นการยึดทรัพย์สินของปตท.สผ.และPTTEP AA รัฐบาลอินโดนีเซียจะยึดทรัพย์สินของปตท.สผ. และPTTEP AA นั้น ที่ปรึกษากฎหมายได้ให้ความเห็นเบื้องต้นว่า ไม่สามารถยึดทรัพย์ของบริษัทฯ PTTEP AA ได้ เนื่องจากอยู่นอกประเทศ ขณะที่โครงการนาทูน่า ซี เอ ก็ไม่สามารถยึดทรัพย์ได้เช่นกันเพราะคนละนิติบุคคลกัน
นอกจากนี้ คำพิพากษาศาลอินโดนีเซียไม่สามารถบังคับคดีใช้ในไทยและออสเตรเลียได้ เนื่องจากอินโดนีเซียไม่ได้ทำสินธิสัญญาการยอมรับคำพิพากษาระหว่างประเทศกับรัฐบาลไทยและออสเตรเลีย ดังนั้น ถ้าจะฟ้องร้องบังคับคดีต้องมาฟ้องที่ศาลไทย โดยนำคำพิพากษาศาลอินโดนีเซียมาเป็นหลักฐานใช้ในการฟ้องร้องแทน
ส่วนการตั้งสำรองเงินฯไว้สำหรับคดีดังกล่าวยังเร็วเกินไปที่จะตั้งสำรองฯไว้ เพราะบริษัทฯมั่นใจในข้อมูลหลักฐานว่าไม่ได้สร้างเสียหายต่อระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพทั้งในน่านน้ำออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียงน่านน้ำอินโดนีเซียตามที่ถูกฟ้องร้อง
นายสมพร กล่าวต่อไปว่า บริษัทฯยังไม่ได้รับเอกสารเกี่ยวกับการฟ้องร้องอย่างเป็นทางการ แต่ก็มีการเตรียมพร้อมทั้งข้อมูล หลักฐานต่างๆในการต่อสู้คดี บริษัทฯเชื่อมั่นในผลการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และพร้อมที่จะพิสูจน์ว่าไม่มีความเสียหายตามข้อเรียกร้องของรัฐบาลอินโดนีเซีย ซึ่งที่ผ่านมา ปตท.สผ.ไม่เคยจ่ายเงินจากผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมจากกรณีน้ำมันรั่วไหลของแหล่งมอนทาราให้กับอินโดนีเซียเลย โดยได้จ่ายค่าปรับให้รัฐบาลออสเตรเลีย 510,000 เหรียญออสเตรเลีย หรือคิดเป็นเงินประมาณ 15.3 ล้านบาท
ทั้งนี้ ทางรัฐบาลอินโดนีเซียฟ้องเรียกค่าเสียหายจากเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลของแหล่งมอนทาราเป็นวงเงิน 2 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือเกือบ 7 หมื่นล้านบาท โดยก่อนหน้านี้บริษัท PTTEP AA ได้เจรจากับรัฐบาลอินโดนีเซียเพื่อลงนามบันทึกข้อตกลง (เอ็มโอยู)หาข้อยุติและพิสูจน์ความเสียหายร่วมกัน แต่สุดท้ายก็ไม่ได้ลงนามเอ็มโอยูกันเพราะไม่สามารถตกลงกันได้