วานนี้ (9 พ.ค.) ที่ ร.ร.รามาการ์เด้นส์ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) จัดสัมมนา เรื่อง การรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ... ถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นกฎหมายลูกครบทั้ง10 ฉบับแล้ว โดยนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ. กล่าวเปิดการการสัมมนาตอนหนึ่งว่า ถ้าสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ไม่เข้มงวดเงินหลวง เงินแผ่นดินก็จะถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ไม่เกิดประโยชน์กับประชาชน กรณีการใช้เงินโดยไม่สุจริตก็ต้องไปว่ากัน แต่กรณีใช้โดยสุจริต แล้วเกิดผิดพลาด จะวางกติกาให้ต้องทำอย่างไรไม่ให้ต้องรับผิดชอบภายหลัง ตรงนี้ทางกรธ. กำลังคิดหาวิธีกันอยู่ เพื่อไม่ให้คนเหล่านี้ได้รับความผิด หรือผลกระทบที่ไม่เหมาะสม
ขณะเดียวกัน กรธ. ยังคิดอีกว่าจะทำกฎหมายออกมาในลักษณะใด ที่ให้การตรวจสอบงบประมาณของภาครัฐ ไม่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะจะเป็นอันตรายกับระบบราชการได้ในอนาคต
นายมีชัย กล่าวว่า เบื้องต้นจะให้สตง. มีหน้าที่ในการตรวจสอบงบประมาณภาครัฐ ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ป.ป.ช.ยึดรายงานจากสตง. เป็นหลักเพื่อดำเนินการสอบสวนเชิงลึกต่อ และต้องมีการประสานงานทางข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ระหว่าง สตง.และ ป.ป.ช. ส่วนการตรวจสอบงบประมาณของหน่วยงาน อย่างป.ป.ช. จึงมีคำถามว่า สตง.จะสามารถทำได้หรือไม่ หากพบว่าป.ป.ช. มีการใช้งบประมาณโดยมิชอบ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาตรวจสอบการทุจริตของป.ป.ช.ก็คือ เจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช. เอง ซึ่งก็ได้ยินมาว่า เจ้าหน้าที่ป.ป.ช. มีอิทธิพลถึงขนาดป.ป.ช.กลัว ส่วนการตรวจสอบการใช้งบประมาณของ สตง. คือ กรมบัญชีกลาง แต่มักเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นแบบผ่านๆ ไม่เห็นมีการทักท้วงอะไร กรธ.จึงมองว่าถ้าให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่บนพื้นฐานที่สตง.เคยทำ จะเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ และใช้ระบบแบบเดียวกัน และเมื่อไรที่ สตง. พบการใช้จ่ายเงินของรัฐไม่ถูกต้องตามวินัยการเงิน การคลัง ก็สามารถประชุมร่วมกับองค์กรอิสระอื่น เพื่อท้วงติงรัฐบาลได้
ต่อมานายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด มีการเพิ่มบทบาทหน้าที่นอกเหนือจากตรวจสอบทางกฎหมาย และยังเพิ่มเติมสาระสำคัญจากเดิม เช่น ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อาจเสนอความเห็นต่อ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ที่อาจพบว่า จะมีการใช้จ่ายเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือ ประชานิยม ลดแลกแจกแถม หากเห็นว่าการใช้เงินนั้น มีลักษณะหาเสียง ก็ไม่ใช่เพียงแค่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. แต่ยังต้องส่งไปยังกกต.ด้วย เพื่อวินิจฉัยตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่เอาเงินแผ่นดินไปหาเสียง เมื่อ คตง.เห็นว่าเข้าข่าย ก็จะไปหารือร่วมกับป.ป.ช. และ กกต. หากเห็นพ้องกันว่า การใช้จ่ายเงินเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย ก็ต้องแจ้งไปยังรัฐสภา และครม. โดยไม่ชักช้า แต่ทั้งนี้ควรมีมาตรการกำหนดให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
สำหรับการใช้เงินในทางราชการไม่เหมาะสม ไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็จะส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้พิจารณา ส่วนการติดตามทวงคืนความเสียหายของรัฐที่เกิดขึ้นแล้ว หากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ดำเนินการ สตง. มีอำนาจติดตามการทวงคืนเหล่านี้ แม้ไม่มีตัวแทนความเสียหายแทนประชาชน ก็อาจกำหนดให้ สตง. เป็นผู้เสียหายแทนประชาชน สามารถฟ้องร้องได้
ทั้งนี้ อยากให้มีการกำหนดเพิ่มเติมว่า สำหรับการกระทำที่ฝ่าฝืนหลีกเลี่ยง จนก่อให้เกิดความเสียหาย นอกจากผิดวินัย อาญา และแพ่งแล้ว ควรต้องมีโทษปรับทางปกครอง เพิ่มเติมด้วย
ขณะเดียวกัน กรธ. ยังคิดอีกว่าจะทำกฎหมายออกมาในลักษณะใด ที่ให้การตรวจสอบงบประมาณของภาครัฐ ไม่ซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เพราะจะเป็นอันตรายกับระบบราชการได้ในอนาคต
นายมีชัย กล่าวว่า เบื้องต้นจะให้สตง. มีหน้าที่ในการตรวจสอบงบประมาณภาครัฐ ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ เพื่อให้ป.ป.ช.ยึดรายงานจากสตง. เป็นหลักเพื่อดำเนินการสอบสวนเชิงลึกต่อ และต้องมีการประสานงานทางข้อมูลต่างๆ ร่วมกัน ระหว่าง สตง.และ ป.ป.ช. ส่วนการตรวจสอบงบประมาณของหน่วยงาน อย่างป.ป.ช. จึงมีคำถามว่า สตง.จะสามารถทำได้หรือไม่ หากพบว่าป.ป.ช. มีการใช้งบประมาณโดยมิชอบ เนื่องจากผู้ที่เข้ามาตรวจสอบการทุจริตของป.ป.ช.ก็คือ เจ้าหน้าที่ของ ป.ป.ช. เอง ซึ่งก็ได้ยินมาว่า เจ้าหน้าที่ป.ป.ช. มีอิทธิพลถึงขนาดป.ป.ช.กลัว ส่วนการตรวจสอบการใช้งบประมาณของ สตง. คือ กรมบัญชีกลาง แต่มักเป็นการตรวจสอบเบื้องต้นแบบผ่านๆ ไม่เห็นมีการทักท้วงอะไร กรธ.จึงมองว่าถ้าให้กรมบัญชีกลางทำหน้าที่บนพื้นฐานที่สตง.เคยทำ จะเหมาะสมหรือไม่ เพื่อให้เกิดเป็นมาตรฐานในการตรวจสอบ และใช้ระบบแบบเดียวกัน และเมื่อไรที่ สตง. พบการใช้จ่ายเงินของรัฐไม่ถูกต้องตามวินัยการเงิน การคลัง ก็สามารถประชุมร่วมกับองค์กรอิสระอื่น เพื่อท้วงติงรัฐบาลได้
ต่อมานายพิศิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส ผู้ว่าการตรวจเงินแผ่นดิน กล่าวว่า รัฐธรรมนูญฉบับล่าสุด มีการเพิ่มบทบาทหน้าที่นอกเหนือจากตรวจสอบทางกฎหมาย และยังเพิ่มเติมสาระสำคัญจากเดิม เช่น ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) อาจเสนอความเห็นต่อ คณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน(คตง.) ที่อาจพบว่า จะมีการใช้จ่ายเงินที่อาจก่อให้เกิดความเสียหาย หรือ ประชานิยม ลดแลกแจกแถม หากเห็นว่าการใช้เงินนั้น มีลักษณะหาเสียง ก็ไม่ใช่เพียงแค่ส่งเรื่องไปยังป.ป.ช. แต่ยังต้องส่งไปยังกกต.ด้วย เพื่อวินิจฉัยตามกฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้ง โดยเฉพาะในกรณีที่เอาเงินแผ่นดินไปหาเสียง เมื่อ คตง.เห็นว่าเข้าข่าย ก็จะไปหารือร่วมกับป.ป.ช. และ กกต. หากเห็นพ้องกันว่า การใช้จ่ายเงินเหล่านั้นจะก่อให้เกิดความเสียหาย ก็ต้องแจ้งไปยังรัฐสภา และครม. โดยไม่ชักช้า แต่ทั้งนี้ควรมีมาตรการกำหนดให้เกิดผลในทางปฏิบัติอย่างจริงจัง
สำหรับการใช้เงินในทางราชการไม่เหมาะสม ไม่เกิดประโยชน์แก่ประชาชน มีผลประโยชน์ทับซ้อน ก็จะส่งให้ผู้ตรวจการแผ่นดินเป็นผู้พิจารณา ส่วนการติดตามทวงคืนความเสียหายของรัฐที่เกิดขึ้นแล้ว หากหน่วยงานที่รับผิดชอบไม่ดำเนินการ สตง. มีอำนาจติดตามการทวงคืนเหล่านี้ แม้ไม่มีตัวแทนความเสียหายแทนประชาชน ก็อาจกำหนดให้ สตง. เป็นผู้เสียหายแทนประชาชน สามารถฟ้องร้องได้
ทั้งนี้ อยากให้มีการกำหนดเพิ่มเติมว่า สำหรับการกระทำที่ฝ่าฝืนหลีกเลี่ยง จนก่อให้เกิดความเสียหาย นอกจากผิดวินัย อาญา และแพ่งแล้ว ควรต้องมีโทษปรับทางปกครอง เพิ่มเติมด้วย