ผู้จัดการรายวัน360-"อภิรดี"สั่งปรับมาตรการดูแลราคาสินค้าใหม่ทั้งระบบ หลังเจอผู้ผลิตใช้แทคติกลดไซส์แล้วปรับขึ้นราคาสินค้าทางอ้อม จนกระทบต่อค่าครองชีพประชาชน ด้าน "สนธิรัตน์"นัดผู้ผู้ผลิตรายใหญ่ 5-6 ราย พร้อมห้าง หารือรายละเอียดและมาตรการดูแลวันนี้
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในไปตรวจสอบมาตรการดูแลราคาสินค้าในปัจจุบันว่ามีความรัดกุม สามารถควบคุมดูแลราคาสินค้าได้เป็นอย่างดีแล้วหรือไม่ และการติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าทุกรายการเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการที่อยู่ในบัญชีควบคุม 47 รายการ และสินค้าที่อยู่ในบัญชีติดตามดูแล 205 รายการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค จนกระทบทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในเรียกประชุมผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และห้างค้าส่งค้าปลีกสมัยใหม่ ในวันนี้ (9 พ.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาสินค้า ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากมีข่าวว่าผู้ผลิตได้มีการลดน้ำหนักสินค้า ลดขนาดบรรจุภัณฑ์แล้วจำหน่ายในราคาเดิม โดยให้ตรวจสอบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพิจารณาหามาตรการดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก เพราะถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมการค้าภายในได้เรียกประชุมผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 5-6 ราย เช่น ยูนิลีเวอร์ , พีแอนด์จี , คอลเกตปาล์มโอลีฟ , เครือสหพัฒน์ และผู้ผลิตรายใหญ่อื่นๆ รวมทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ บิ๊กซี , แมคโคร และเทสโก้ โลตัส เพื่อมาหารือถึงโครงสร้างราคาสินค้า และการปรับลดขนาดสินค้าลงมามีความเหมาะสมหรือไม่ หลังจากพบว่าผู้ผลิตได้ใช้วิธีการปรับราคาสินค้าทางอ้อม โดยลดปริมาณสินค้า และลดขนาดบรรจุภัณฑ์ แต่ยังคงตั้งราคาจำหน่ายเท่าเดิม
โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า สินค้าครีมอาบน้ำ และผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดน้ำ ที่มีการปรับลดขนาด และขายในราคาเดิมนั้น เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าติดตามดูแล 205 รายการ ไม่ได้อยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม ที่ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อนที่จะปรับขึ้นราคา และทางผู้ผลิตสินค้า ได้แจ้งมาเบื้องต้นว่า การตั้งราคาขายสินค้าในปัจจุบัน ไม่ได้เกินไปจากเพดานราคาที่แจ้งให้กรมการค้าภายในทราบ และในขนาดเดิม ก็ยังจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่แจ้งราคาไว้ด้วย
สำหรับสินค้ารายการอื่นๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แชมพูสระผม กระเบื้อง สังกะสี เหล็กเส้น น้ำมันพืช ไนมสด โดยปกติ จะใช้มาตรการบริหารจัดการ ในการดูแลราคาสินค้า คือ ให้ผู้ประกอบการแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบก่อนล่วงหน้า หากจะปรับขึ้นราคาสินค้า แต่ไม่ต้องขออนุญาต
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องเรียกห้างมาหารือในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นกลไกกำหนดราคาสินค้าส่วนหนึ่ง โดยมีผลมาจาก โครงสร้างการบริหารต้นทุนในห้างค้าปลีกด้วย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า มาตรการในส่วนของสินค้าควบคุม จะมีการกำหนดมาตรการดูแล เช่น การกำหนดราคาขายปลีกแนะนำ การให้แจ้งการปรับราคา ให้แจ้งการขนย้าย สถานที่เก็บ ส่วนสินค้าที่ติตดามดูแล 205 รายการ จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทุกวัน สัปดาห์และ 2 ครั้ง และทุก 15 วัน ส่วนการปรับราคา ผู้ผลิตก็ทำเพียงแค่แจ้งก่อนปรับราคาเข้ามายังกรมการค้าภายในเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่กระทรวงพาณิชย์จะนำมาใช้ในการดูแลราคาสินค้า นอกจากจะขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตสินค้าให้แจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งเป็นมาตรการเดิมที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะขอให้เพิ่มการแจ้งรายการปรับลดน้ำหนักสินค้า ปรับลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมด้วย หากเห็นว่าสมเหตุสมผล ก็จะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคา หากไม่สมเหตุสมผล ผู้ผลิตก็ต้องชี้แจงต้นทุนว่าการดำเนินการเช่นนี้ เพราะอะไร มีสาเหตุมาจากอะไร และหากไม่ดำเนินการ ก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดูแล เช่น การขึ้นบัญชีเป็นสินค้าควบคุม เพื่อที่จะมีมาตรการออกมาดูแลต่อไป
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในไปตรวจสอบมาตรการดูแลราคาสินค้าในปัจจุบันว่ามีความรัดกุม สามารถควบคุมดูแลราคาสินค้าได้เป็นอย่างดีแล้วหรือไม่ และการติดตามสถานการณ์ราคาสินค้าทุกรายการเป็นอย่างไร ทั้งในส่วนของสินค้าและบริการที่อยู่ในบัญชีควบคุม 47 รายการ และสินค้าที่อยู่ในบัญชีติดตามดูแล 205 รายการ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค จนกระทบทำให้ค่าครองชีพปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้ ยังได้มอบหมายให้กรมการค้าภายในเรียกประชุมผู้ผลิต ผู้ประกอบการ และห้างค้าส่งค้าปลีกสมัยใหม่ ในวันนี้ (9 พ.ค.) เพื่อหารือเกี่ยวกับสถานการณ์ราคาสินค้า ปัญหาที่เกิดขึ้น หลังจากมีข่าวว่าผู้ผลิตได้มีการลดน้ำหนักสินค้า ลดขนาดบรรจุภัณฑ์แล้วจำหน่ายในราคาเดิม โดยให้ตรวจสอบถึงปัญหาที่เกิดขึ้น และพิจารณาหามาตรการดูแล เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก เพราะถือเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค
นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า กรมการค้าภายในได้เรียกประชุมผู้ผลิตสินค้าอุปโภคบริโภค จำนวน 5-6 ราย เช่น ยูนิลีเวอร์ , พีแอนด์จี , คอลเกตปาล์มโอลีฟ , เครือสหพัฒน์ และผู้ผลิตรายใหญ่อื่นๆ รวมทั้งห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ อาทิ บิ๊กซี , แมคโคร และเทสโก้ โลตัส เพื่อมาหารือถึงโครงสร้างราคาสินค้า และการปรับลดขนาดสินค้าลงมามีความเหมาะสมหรือไม่ หลังจากพบว่าผู้ผลิตได้ใช้วิธีการปรับราคาสินค้าทางอ้อม โดยลดปริมาณสินค้า และลดขนาดบรรจุภัณฑ์ แต่ยังคงตั้งราคาจำหน่ายเท่าเดิม
โดยจากการตรวจสอบเบื้องต้น พบว่า สินค้าครีมอาบน้ำ และผลิตภัณฑ์ซักผ้าชนิดน้ำ ที่มีการปรับลดขนาด และขายในราคาเดิมนั้น เป็นสินค้าที่อยู่ในบัญชีสินค้าติดตามดูแล 205 รายการ ไม่ได้อยู่ในบัญชีสินค้าควบคุม ที่ผู้ประกอบการต้องขออนุญาตจากกรมการค้าภายในก่อนที่จะปรับขึ้นราคา และทางผู้ผลิตสินค้า ได้แจ้งมาเบื้องต้นว่า การตั้งราคาขายสินค้าในปัจจุบัน ไม่ได้เกินไปจากเพดานราคาที่แจ้งให้กรมการค้าภายในทราบ และในขนาดเดิม ก็ยังจำหน่ายในราคาที่ต่ำกว่าที่แจ้งราคาไว้ด้วย
สำหรับสินค้ารายการอื่นๆ เช่น สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน แชมพูสระผม กระเบื้อง สังกะสี เหล็กเส้น น้ำมันพืช ไนมสด โดยปกติ จะใช้มาตรการบริหารจัดการ ในการดูแลราคาสินค้า คือ ให้ผู้ประกอบการแจ้งให้กรมการค้าภายในทราบก่อนล่วงหน้า หากจะปรับขึ้นราคาสินค้า แต่ไม่ต้องขออนุญาต
อย่างไรก็ตาม ที่ต้องเรียกห้างมาหารือในครั้งนี้ เนื่องจากเป็นกลไกกำหนดราคาสินค้าส่วนหนึ่ง โดยมีผลมาจาก โครงสร้างการบริหารต้นทุนในห้างค้าปลีกด้วย
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า มาตรการในส่วนของสินค้าควบคุม จะมีการกำหนดมาตรการดูแล เช่น การกำหนดราคาขายปลีกแนะนำ การให้แจ้งการปรับราคา ให้แจ้งการขนย้าย สถานที่เก็บ ส่วนสินค้าที่ติตดามดูแล 205 รายการ จะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดทุกวัน สัปดาห์และ 2 ครั้ง และทุก 15 วัน ส่วนการปรับราคา ผู้ผลิตก็ทำเพียงแค่แจ้งก่อนปรับราคาเข้ามายังกรมการค้าภายในเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม แนวทางที่กระทรวงพาณิชย์จะนำมาใช้ในการดูแลราคาสินค้า นอกจากจะขอความร่วมมือไปยังผู้ผลิตสินค้าให้แจ้งการปรับขึ้นราคาสินค้า ซึ่งเป็นมาตรการเดิมที่ดำเนินการอยู่แล้ว จะขอให้เพิ่มการแจ้งรายการปรับลดน้ำหนักสินค้า ปรับลดขนาดบรรจุภัณฑ์เพิ่มเติมด้วย หากเห็นว่าสมเหตุสมผล ก็จะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคา หากไม่สมเหตุสมผล ผู้ผลิตก็ต้องชี้แจงต้นทุนว่าการดำเนินการเช่นนี้ เพราะอะไร มีสาเหตุมาจากอะไร และหากไม่ดำเนินการ ก็จะใช้มาตรการทางกฎหมายเข้าไปดูแล เช่น การขึ้นบัญชีเป็นสินค้าควบคุม เพื่อที่จะมีมาตรการออกมาดูแลต่อไป