วานนี้ (8พ.ค.) ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพิจารณาการจัดทำงบประมาณในลักษณะบูรณาการเชิงยุทธศาสตร์แผนงานบูรณาการเสริมสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนให้กับเศรษฐกิจภายในประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ครั้งที่ 1/2560
นายกฯกล่าวหลังการประชุมว่า เป็นการประชุมระดับนโยบาย เรื่องการเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ที่จัดเพิ่มเติมขึ้นมาซึ่งเป็นกลุ่มงานยุทธศาสตร์ งานสร้างความเข้มแข็ง ที่ผ่านมาไม่เคยมี แต่รัฐบาลนี้มุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว จึงพยายามที่จะจัดหา และรวบรวมงบฯ ที่เรามีอยู่มาเพิ่มเติมลงไป ข้อสำคัญคือ การเสนอความต้องการที่มีเป็นจำนวนมาก ถือเป็นการจัดทำงบฯ ลักษณะนี้เป็นครั้งแรก และรับฟังความคิดเห็น การกำหนดความต้องการมาจากประชาชน แล้วนำมาเชื่อมโยงกันให้ได้ ก็จะเกิดงบฯส่วนหนึ่งมาบูรณาการ รับทั้งส่วนของความต้องการของคณะกรรมการงบฯ ของกลุ่มจังหวัดที่อยู่เดิมมาผสมผสานด้วย
ทั้งนี้ ตนได้ให้นโยบายไปว่า เห็นชอบในหลักการในวงเงินที่เสนอขึ้นมา แต่จะต้องนำไปกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ที่ตนเห็นชอบเพราะผ่านระดับท้องถิ่น รองนายกฯ รัฐมนตรี ขึ้นมาแล้ว และตนก็ได้อนุมัติเห็นชอบไป
จากนี้ไป คณะกรรมการทั้ง 6 ภาค ก็จะไปหารือร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจำต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการกำหนดกรอบความเร่งด่วน โดยมี 3 ระยะ คือ ระยะสั้น คือภายใน 1 ปีที่จะต้องเกิดผลสัมฤทธิ์ ระยะกลางคือ 2 ปี และระยะยาว 3 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ตนพยายามที่จะทำให้เร็วที่สุด
สำหรับกรอบงบประมาณทั้งหมดที่ตั้งเอาไว้เดิม 1.9 หมื่นล้านบาท วันนี้เขาเสนอมาเกินอยู่แล้ว เราก็ต้องตัดทอนออก อันไหนที่ทำไม่ได้ตามระยะเวลา ก็แก้เป็นอย่างอื่นไป เพื่อให้นำไปทำประโยชน์เร็วขึ้น
เมื่อถามว่าจะจัดการกับหน่วยงานที่ยังมีงบค้างท่ออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า อะไรที่ค้างท่ออยู่ และไม่จำเป็น อะไรที่ต้องจัดซื้อจากต่างประเทศ ก็ค่อยว่ากันอีกที ส่วนงบค้างท่อที่ไม่ได้ใช้งาน ก็นำกลับมาสู่การใช้จ่ายตรงนี้ และจะไปเติมในเรื่องการแก้ไขปัญหาประชาชน ซึ่งคาดการณ์ไม่ได้ จึงต้องเก็บเงินส่วนนี้เอาไว้ดูแลประชาชนเพราะคาดการณ์ไม่ได้
นายกฯกล่าวหลังการประชุมว่า เป็นการประชุมระดับนโยบาย เรื่องการเห็นชอบกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2561 ที่จัดเพิ่มเติมขึ้นมาซึ่งเป็นกลุ่มงานยุทธศาสตร์ งานสร้างความเข้มแข็ง ที่ผ่านมาไม่เคยมี แต่รัฐบาลนี้มุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดผลสัมฤทธิ์โดยเร็ว จึงพยายามที่จะจัดหา และรวบรวมงบฯ ที่เรามีอยู่มาเพิ่มเติมลงไป ข้อสำคัญคือ การเสนอความต้องการที่มีเป็นจำนวนมาก ถือเป็นการจัดทำงบฯ ลักษณะนี้เป็นครั้งแรก และรับฟังความคิดเห็น การกำหนดความต้องการมาจากประชาชน แล้วนำมาเชื่อมโยงกันให้ได้ ก็จะเกิดงบฯส่วนหนึ่งมาบูรณาการ รับทั้งส่วนของความต้องการของคณะกรรมการงบฯ ของกลุ่มจังหวัดที่อยู่เดิมมาผสมผสานด้วย
ทั้งนี้ ตนได้ให้นโยบายไปว่า เห็นชอบในหลักการในวงเงินที่เสนอขึ้นมา แต่จะต้องนำไปกลั่นกรองอีกครั้งหนึ่ง ทั้งนี้ที่ตนเห็นชอบเพราะผ่านระดับท้องถิ่น รองนายกฯ รัฐมนตรี ขึ้นมาแล้ว และตนก็ได้อนุมัติเห็นชอบไป
จากนี้ไป คณะกรรมการทั้ง 6 ภาค ก็จะไปหารือร่วมกันกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และจำต้องสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 และสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ในการกำหนดกรอบความเร่งด่วน โดยมี 3 ระยะ คือ ระยะสั้น คือภายใน 1 ปีที่จะต้องเกิดผลสัมฤทธิ์ ระยะกลางคือ 2 ปี และระยะยาว 3 ปีขึ้นไป ทั้งนี้ตนพยายามที่จะทำให้เร็วที่สุด
สำหรับกรอบงบประมาณทั้งหมดที่ตั้งเอาไว้เดิม 1.9 หมื่นล้านบาท วันนี้เขาเสนอมาเกินอยู่แล้ว เราก็ต้องตัดทอนออก อันไหนที่ทำไม่ได้ตามระยะเวลา ก็แก้เป็นอย่างอื่นไป เพื่อให้นำไปทำประโยชน์เร็วขึ้น
เมื่อถามว่าจะจัดการกับหน่วยงานที่ยังมีงบค้างท่ออย่างไร นายกฯ กล่าวว่า อะไรที่ค้างท่ออยู่ และไม่จำเป็น อะไรที่ต้องจัดซื้อจากต่างประเทศ ก็ค่อยว่ากันอีกที ส่วนงบค้างท่อที่ไม่ได้ใช้งาน ก็นำกลับมาสู่การใช้จ่ายตรงนี้ และจะไปเติมในเรื่องการแก้ไขปัญหาประชาชน ซึ่งคาดการณ์ไม่ได้ จึงต้องเก็บเงินส่วนนี้เอาไว้ดูแลประชาชนเพราะคาดการณ์ไม่ได้