สตง. ส่งหนังสือแจ้งบอร์ดปณท. ระงับการจัดซื้อจัดจ้างในโครงการเช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์มูลค่ากว่า 360 ล้าน พร้อมระบุให้บอร์ดพิจารณาใหม่ คนวงในเผยยังมีหลายโครงการน่าสงสัย ควรสั่งเบรกการใช้งบทั้งหมด ย้ำที่ผ่านมา ปณท. ไร้การตรวจสอบ รั่วไหล ไร้ประสิทธิภาพอย่างสิ้นเชิง
แหล่งข่าวจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ส่งหนังสือด่วน ถึงคณะกรรมการ (บอร์ด) ปณท สั่งให้ระงับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการเช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มูลค่า 360 ล้านบาท ที่มีการยื่นซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ออกไปก่อน พร้อมกับให้บอร์ด พิจารณาความเหมาะสมในการจัดซื้อจัดจ้างใหม่
“โครงการนี้มี 5 บริษัท ยื่นซองประกวดราคา โดยใช้อุปกรณ์ 3 ยี่ห้อ คือ ฮันนี่เวล ซีบร้า และ พานาโซนิค โดยมี 3 บริษัท ใช้อุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน คือพานาโซนิค ซึ่งน่าแปลกมาก เพราะปกติเวนเดอร์แต่ละรายจะให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประมูล เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งเสนอราคากัน”
การเสนอราคาดังกล่าว อาจสอดคล้องกับการเลือกใช้วิธีการเช่า ซึ่งข้อดีของการเช่าอยู่ที่สามารถซุกราคาได้ หมายถึง ไม่มีการกำหนดราคากลาง หรือไม่รู้ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร เพราะอุปกรณ์บางอย่างสามารถซื้อได้ในราคา เพียง 31,500 บาท แต่พอมาใช้วิธีเช่า ราคากลับโดดขึ้นไปถึง 60,000 บาท ซึ่งมีเวนเดอร์บางรายระบุว่า เหตุที่ ปณท เลือกวิธีเช่า เพราะเคยอิ่มหมีพีมันมาแล้ว กับโครงการลักษณะนี้ 400 กว่าล้านบาท แต่ที่น่าเศร้าใจ คือ อุปกรณ์พวกนี้ไม่ว่าจะซื้อ หรือเช่ามา ก็ต้องมาวางกองไว้ ไม่สามารถทำงานได้ เพราะหัวใจสำคัญคือ ระบบไม่รองรับ ไม่มีซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชัน มารองรับ
แหล่งข่าวระบุว่า การที่สตง.สั่งเบรกโครงการนี้ ทำให้พนักงานระดับปฏิบัติการ เริ่มมีความหวัง และเชื่อว่าขยะที่ซุกใต้พรมควรถึงเวลาปัดกวาดได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของปณท มักไม่เคยฟังความคิดเห็นของพนักงาน คิดโครงการกันเองในกลุ่มพวกพ้อง ซึ่งไม่สามารถทำงานจริงให้เกิดประสิทธิภาพได้ มุ่งแต่จะจัดซื้ออย่างเดียว ถึงขนาดมีการพูดในกลุ่มก๊วนผู้บริหารเหล่านี้ว่า บอร์ดยุคนี้ (พล.อ.สาธิต พิธรัตน์ เป็นประธานบอร์ด) “ใจดี จะซื้ออะไรให้รีบซื้อได้เลย” เรียกได้ว่า บริหารกันคล่องคอ เพราะมีบอร์ดเป็นแบ็กชั้นดี ไม่ต้องกลัวใครตรวจสอบ เพราะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ก็ลอยตัวเหนือปัญหา เพราะไม่อยากทะเลาะกับบอร์ดทหาร ง่วนแต่ไทยแลนด์ 4.0 โดยไม่สนใจว่าหน่วยงานใต้สังกัดจะเละเทะแค่ไหน
“ไม่ใช่แค่โครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 360 ล้านบาท ที่ควรถูกสั่งระงับ แต่อยากให้สตง.ช่วยเข้ามาดูแผนการจัดหาอุปกรณ์นำจ่ายแบบพกพา 16,926 เครื่อง วงเงิน 541.63 ล้านบาท ที่ปณท จะซื้ออีก เพราะแนวโน้มน่าจะเสียเงินเปล่า ซื้อของมากองไว้ทำงานไม่ได้”
ประเด็นที่น่าสนใจของโครงการจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพา สำหรับใช้นำจ่ายจำนวน 16,926 เครื่อง งบประมาณ 542 ล้านบาท คือ ปณท สามารถตอบได้ไหมว่า ตามสเปกที่กำหนดไว้ สามารถเข้าประมูลได้กี่ยี่ห้อ ได้มีการเปิดกว้างให้ทุกยี่ห้อเสนอได้หรือไม่ หรือจำกัดเพียงไม่กี่ยี่ห้อ นอกจากนี้ ระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (New CA POS) ที่พัฒนามา ก็ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำแต่ระบบของที่ทำการไปรษณีย์ แต่ไม่มีระบบประมวลผล และแสดงสถานะสิ่งของทุกชิ้น ผ่านเว็บ และ ปณท ไม่มีดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับการประมวลผล และแสดงสถานะการบันทึกนำจ่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ 16,926 เครื่องแต่อย่างใด
ดังนั้นข้อมูลที่ไปบันทึกมาขณะจ่าย จึงนำมาใช้แสดงสถานะไม่ได้ การจัดซื้ออุปกรณ์ล่วงหน้าถึง 16,926 เครื่อง จึงแทบจะสูญเปล่า และไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทันที จึงเท่ากับซื้อเครื่องด้วยงบ 542 ล้านบาท แล้วจะมากองอุปกรณ์ทิ้งไว้เฉยๆ โดยยังขาดซอฟต์แวร์ประมวลผล และจัดการแสดงสถานะการนำจ่ายสิ่งของ และมีแนวโน้มที่ปณท จะเร่งจัดซื้อ ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์ส่วนกลางยังไม่มี
“ถ้าไม่มีการตรวจสอบ ปล่อยให้ใช้เงินอีก 542 ล้านบาทไปซื้ออุปกรณ์มากองไว้เพราะขาดซอฟต์แวร์ มาจัดการ ถามว่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือ ประธานบอร์ด ปณท รับผิดชอบไหวหรือไม่ กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น”
*** ออกตัวกลบรอยความผิด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของผู้บริหารปณท หลังมีการเปิดโปงเรื่องความไม่ชอบมาพากลใน ปณท ผ่านรายงานข่าว เรื่อง “ฉีกหน้ากากบิ๊กไปรษณีย์” คือการตระเวนเดินสายกลบเกลื่อน ชี้แจงสิ่งที่อยากพูดกล่อมพนักงานว่า ทุกอย่างดำเนินไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะทำให้ ปณท มีอนาคตอันสดใส ในการให้บริการแก่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หยุดกระทำสิ่งที่ถูกกล่าวหา อย่างการเร่งติดตั้งอุปกรณ์ทั้งที่ใช้งานไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปัดฝุ่นติดตั้งชุดคอมพิวเตอร์ที่ถูกจัดซื้อมานานแล้วกองทิ้งไว้อย่างเร่งด่วน 50 แห่ง ในช่วงปลายเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา และมีกำหนดติดตั้งอีก 200 แห่ง ให้ครบภายในเดือนพ.ค.นี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนของผู้พัฒนาให้ติดตั้งระบบก่อน 250 แห่ง เพื่อเซ็นรับมอบจบโครงการพัฒนานิวซีเอโพสต์ โดยที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ แม้กระทั่งการขออนุญาตจากกรมสรรพากร เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวใช้รับชำระค่าบริการจากประชาชนด้วย
นอกจากนี้ผู้บริหารปณท ยังออกแถลงการณ์ ที่ตามมาด้วยคำถามอีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็นคนนอก อาจไม่รู้ข้อเท็จจริง เห็นว่างามไปตามนั้น แต่สำหรับคนในแวดวง ปณท ไม่คิดเช่นนั้น พร้อมชี้ให้เห็น 5 ประเด็นหลักที่ ปณท ควรออกมาชี้แจงอย่างเช่น
1.ไม่มีการชี้แจงในประเด็นรีบอนุมัติให้ นายสมประสงค์ เนตรสว่าง รองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดชิงลาออก ทั้งๆที่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบการขาดทุน และการทุจริต
2.ทำไมจึงวางโครงสร้างการบริหารที่เน้นเอาแต่พวกของตนเองในสำนักงานใหญ่ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่าย และรองกรรมการผู้จัดการ ทั้งๆที่มีอัตรากำลังไม่เท่าไร โดยละเลยไม่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างของด้านปฏิบัติการที่มีนับหมื่นคน ทำให้การลงมติในเรื่องสำคัญๆ ด้านปฏิบัติการไม่ได้รับการดูแล หรือมีการตัดสินใจไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการจริงในการให้บริการของ ปณท
3. ปณท ชี้แจงเรื่อง การจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ส่งต่อและนำจ่ายรองรับระบบนิวซีเอโพสต์ ว่าทำตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่อธิบายให้กระจ่างว่า สเปกอุปกรณ์ที่จัดซื้อมีการล็อกสเปกหรือไม่ และตามสเปกที่กำหนดจะสามารถเสนออุปกรณ์ได้หลากหลายยี่ห้อหรือไม่ หรือจำกัดเฉพาะบางยี่ห้อ ซึ่งเข้าข่ายล็อกสเปก ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็น ซึ่งจะมีความผิดทางอาญาตามมา
4.ปณท ชี้แจงเรื่อง การแก้ไขปัญหาบริษัทลูกของปณท ว่าได้เข้ามาแก้ไขเพื่อฟื้นฟู กิจการ ว่าจะสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนภายในปี 60 แต่ไม่มีคำอธิบายทำอย่างไรจะมีกำไร ขาดแผนงานชัดเจนในการฟื้นฟู แต่ลึกๆ ปณท กำลังจะให้บริษัทลูกกินหัวคิวในการรับจ้างขนส่งไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่ใช่การเข้ามาจัดระบบการให้บริการโลจิสติกส์ ตามที่ควรจะทำ
5. งบประมาณเกือบ 1,500 ล้านบาท ที่ ปณท อ้างว่าจะนำมาใช้เพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 แต่ถ้าดูเนื้องานสิ่งที่จะทำ แม้จะยังไม่จำเป็นต้องซื้อตอนนี้ แต่ก็ได้เร่งกระบวนการจัดซื้อกันแล้วภายใน ซึ่งจะพบว่ามีแต่ความสูญเปล่าและสิ้นเปลืองเช่น การตั้งงบประมาณจัดหาตู้รับฝากไปรษณีย์อัตโนมัติ 250 ตู้ วงเงิน 200 ล้านบาท ซึ่งปณท เคยสั่งทำตู้แบบนี้มาแล้ว และไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ และจะมาสั่งทำอีกทำไม การสั่งทำถ้าเพื่อสร้างภาพลักษณ์ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งงบถึง 200 ล้านบาท
“ถ้าปณทอยากทำ ก็ทดลองแค่ 4-5 ตู้ก็พอ เมื่อได้ต้นแบบที่ดีแล้ว จะสั่งเป็นพันตู้ก็ไม่เสียหายต่องบประมาณของ ปณท แต่กรณีนี้ ตั้งงบครั้งเดียวถึง 250 ตู้ วงเงิน 200 ล้านบาทจึงเป็นการตั้งงบประมาณที่ขาดการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าที่จะนำมาใช้ได้จริงและคุ้มการลงทุนหรือไม่ หรือจะเอางบ 200 ล้านบาทมาใช้โชว์ว่าได้ทำเพื่อรองรับ 4.0”
ส่วนงบในการจัดสร้างตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ (iBox) 550 ตู้ วงเงิน 330 ล้านบาท ระบุว่าเป็นตู้อัจฉริยะสำหรับใช้นำจ่ายที่ตู้ และให้ลูกค้ามารับของ โดยไม่ทำต้นแบบที่สมบูรณ์ และใช้งานได้ดีจริงออกมาให้เรียบร้อยก่อน เป็นการใช้งบที่สิ้นเปลืองไม่คุ้มค่าการลงทุน และพฤติกรรมลูกค้าในประเทศไทย นิยมให้เอาพัสดุหรือสิ่งของไปส่งถึงมือ ไม่ใช่ไปไขเอาเองจากตู้ที่วางไว้ตามจุดต่างๆ เหมือนในต่างประเทศ ดังนั้นถ้าปณท จะทำ ก็ทำเพื่อทดลอง 4-5 ตู้ ก็ดูจะเหมาะสมกว่า
*** ท้าทายอำนาจตรวจสอบรัฐ
ที่ผ่านมา ปณท มีการใช้งบประมาณอย่างมันปาก หลายโครงการที่ไม่เคยมีใครเข้าไปตรวจสอบว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างโครงการปรับปรุงอาคาร และที่ทำการไปรษณีย์ ที่จะใช้วิธีจัดซื้อพิเศษ 6,000 กว่าล้านบาท ในการเข้าไปปรับปรุงที่ทำการไปรษณีย์ ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยมีข้อสังเกตว่า ใช้งบเกินจริง อย่างที่ทำการไปรษณีย์ ขนาด 6 x 8 ตารางเมตร ใช้งบประมาณถึง 2-3 ล้านบาท ในการปรับปรุง หรือที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ภาคอีสานบางแห่ง 1 ห้องทำงานใช้แอร์แขวนเกือบ 30 ตัว แขวนห่างกันสักฟุตเดียว
นอกจากนี้ ยังมีงานเรื่องจ้างผู้พัฒนาแอปพลิเคชันรายย่อย วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจไม่ต้องเสนอใคร อนุมัติได้เอง อย่างบริการ Prompt Post ที่หวังว่าจะมาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งไปรษณีย์ให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่กลายเป็นว่า ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริง รวมถึงแอปแยกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากอยากรู้ว่าดาวน์โหลดไปสักกี่ร้อยราย ก็สามารถเช็กดูได้ ทั้งนี้การจะทำแอปพลิเคชันที่เป็นของ ปณท จริงๆ ควรจะทำแบบรวมศูนย์อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ไม่ใช่แยกย่อยๆ ออกมา ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน เพราะปัจจุบันทั้งการเช็กสถานะ เช็กสถานที่ส่งไปรษณีย์ บริการฝากขายสินค้าที่ส่งผ่านไปรษณีย์ บริการฝากส่งออนไลน์ ทุกอย่างแยกแอปออกจากกันหมดทั้งสิ้น
“หากไม่ทำอะไร ก็ฟันธงได้ว่า งานนี้บอร์ดรู้เห็นเป็นใจกับผู้บริหาร” แหล่งข่าว กล่าว
แหล่งข่าวจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด (ปณท) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.)ได้ส่งหนังสือด่วน ถึงคณะกรรมการ (บอร์ด) ปณท สั่งให้ระงับการจัดซื้อจัดจ้างโครงการเช่าอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ มูลค่า 360 ล้านบาท ที่มีการยื่นซองประกวดราคา เมื่อวันที่ 21 เม.ย. ออกไปก่อน พร้อมกับให้บอร์ด พิจารณาความเหมาะสมในการจัดซื้อจัดจ้างใหม่
“โครงการนี้มี 5 บริษัท ยื่นซองประกวดราคา โดยใช้อุปกรณ์ 3 ยี่ห้อ คือ ฮันนี่เวล ซีบร้า และ พานาโซนิค โดยมี 3 บริษัท ใช้อุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกัน คือพานาโซนิค ซึ่งน่าแปลกมาก เพราะปกติเวนเดอร์แต่ละรายจะให้บริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นตัวแทนในการเข้าร่วมประมูล เพื่อไม่ให้เกิดการแย่งเสนอราคากัน”
การเสนอราคาดังกล่าว อาจสอดคล้องกับการเลือกใช้วิธีการเช่า ซึ่งข้อดีของการเช่าอยู่ที่สามารถซุกราคาได้ หมายถึง ไม่มีการกำหนดราคากลาง หรือไม่รู้ว่าราคามาตรฐานควรเป็นเท่าไร เพราะอุปกรณ์บางอย่างสามารถซื้อได้ในราคา เพียง 31,500 บาท แต่พอมาใช้วิธีเช่า ราคากลับโดดขึ้นไปถึง 60,000 บาท ซึ่งมีเวนเดอร์บางรายระบุว่า เหตุที่ ปณท เลือกวิธีเช่า เพราะเคยอิ่มหมีพีมันมาแล้ว กับโครงการลักษณะนี้ 400 กว่าล้านบาท แต่ที่น่าเศร้าใจ คือ อุปกรณ์พวกนี้ไม่ว่าจะซื้อ หรือเช่ามา ก็ต้องมาวางกองไว้ ไม่สามารถทำงานได้ เพราะหัวใจสำคัญคือ ระบบไม่รองรับ ไม่มีซอฟต์แวร์ หรือแอปพลิเคชัน มารองรับ
แหล่งข่าวระบุว่า การที่สตง.สั่งเบรกโครงการนี้ ทำให้พนักงานระดับปฏิบัติการ เริ่มมีความหวัง และเชื่อว่าขยะที่ซุกใต้พรมควรถึงเวลาปัดกวาดได้แล้ว เพราะที่ผ่านมาผู้บริหารระดับสูงของปณท มักไม่เคยฟังความคิดเห็นของพนักงาน คิดโครงการกันเองในกลุ่มพวกพ้อง ซึ่งไม่สามารถทำงานจริงให้เกิดประสิทธิภาพได้ มุ่งแต่จะจัดซื้ออย่างเดียว ถึงขนาดมีการพูดในกลุ่มก๊วนผู้บริหารเหล่านี้ว่า บอร์ดยุคนี้ (พล.อ.สาธิต พิธรัตน์ เป็นประธานบอร์ด) “ใจดี จะซื้ออะไรให้รีบซื้อได้เลย” เรียกได้ว่า บริหารกันคล่องคอ เพราะมีบอร์ดเป็นแบ็กชั้นดี ไม่ต้องกลัวใครตรวจสอบ เพราะกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ก็ลอยตัวเหนือปัญหา เพราะไม่อยากทะเลาะกับบอร์ดทหาร ง่วนแต่ไทยแลนด์ 4.0 โดยไม่สนใจว่าหน่วยงานใต้สังกัดจะเละเทะแค่ไหน
“ไม่ใช่แค่โครงการเช่าคอมพิวเตอร์ 360 ล้านบาท ที่ควรถูกสั่งระงับ แต่อยากให้สตง.ช่วยเข้ามาดูแผนการจัดหาอุปกรณ์นำจ่ายแบบพกพา 16,926 เครื่อง วงเงิน 541.63 ล้านบาท ที่ปณท จะซื้ออีก เพราะแนวโน้มน่าจะเสียเงินเปล่า ซื้อของมากองไว้ทำงานไม่ได้”
ประเด็นที่น่าสนใจของโครงการจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์มือถือแบบพกพา สำหรับใช้นำจ่ายจำนวน 16,926 เครื่อง งบประมาณ 542 ล้านบาท คือ ปณท สามารถตอบได้ไหมว่า ตามสเปกที่กำหนดไว้ สามารถเข้าประมูลได้กี่ยี่ห้อ ได้มีการเปิดกว้างให้ทุกยี่ห้อเสนอได้หรือไม่ หรือจำกัดเพียงไม่กี่ยี่ห้อ นอกจากนี้ ระบบเคาน์เตอร์ไปรษณีย์อัตโนมัติ (New CA POS) ที่พัฒนามา ก็ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำแต่ระบบของที่ทำการไปรษณีย์ แต่ไม่มีระบบประมวลผล และแสดงสถานะสิ่งของทุกชิ้น ผ่านเว็บ และ ปณท ไม่มีดาต้าเซ็นเตอร์ที่รองรับการประมวลผล และแสดงสถานะการบันทึกนำจ่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์มือถือ 16,926 เครื่องแต่อย่างใด
ดังนั้นข้อมูลที่ไปบันทึกมาขณะจ่าย จึงนำมาใช้แสดงสถานะไม่ได้ การจัดซื้ออุปกรณ์ล่วงหน้าถึง 16,926 เครื่อง จึงแทบจะสูญเปล่า และไม่ได้ใช้ประโยชน์ในทันที จึงเท่ากับซื้อเครื่องด้วยงบ 542 ล้านบาท แล้วจะมากองอุปกรณ์ทิ้งไว้เฉยๆ โดยยังขาดซอฟต์แวร์ประมวลผล และจัดการแสดงสถานะการนำจ่ายสิ่งของ และมีแนวโน้มที่ปณท จะเร่งจัดซื้อ ทั้งๆ ที่ซอฟต์แวร์ส่วนกลางยังไม่มี
“ถ้าไม่มีการตรวจสอบ ปล่อยให้ใช้เงินอีก 542 ล้านบาทไปซื้ออุปกรณ์มากองไว้เพราะขาดซอฟต์แวร์ มาจัดการ ถามว่า กรรมการผู้จัดการใหญ่ หรือ ประธานบอร์ด ปณท รับผิดชอบไหวหรือไม่ กับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น”
*** ออกตัวกลบรอยความผิด
แหล่งข่าวกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวของผู้บริหารปณท หลังมีการเปิดโปงเรื่องความไม่ชอบมาพากลใน ปณท ผ่านรายงานข่าว เรื่อง “ฉีกหน้ากากบิ๊กไปรษณีย์” คือการตระเวนเดินสายกลบเกลื่อน ชี้แจงสิ่งที่อยากพูดกล่อมพนักงานว่า ทุกอย่างดำเนินไปตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะทำให้ ปณท มีอนาคตอันสดใส ในการให้บริการแก่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ
แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้หยุดกระทำสิ่งที่ถูกกล่าวหา อย่างการเร่งติดตั้งอุปกรณ์ทั้งที่ใช้งานไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปัดฝุ่นติดตั้งชุดคอมพิวเตอร์ที่ถูกจัดซื้อมานานแล้วกองทิ้งไว้อย่างเร่งด่วน 50 แห่ง ในช่วงปลายเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา และมีกำหนดติดตั้งอีก 200 แห่ง ให้ครบภายในเดือนพ.ค.นี้ เพื่อให้เป็นไปตามแผนของผู้พัฒนาให้ติดตั้งระบบก่อน 250 แห่ง เพื่อเซ็นรับมอบจบโครงการพัฒนานิวซีเอโพสต์ โดยที่ยังไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบต่างๆ แม้กระทั่งการขออนุญาตจากกรมสรรพากร เนื่องจากอุปกรณ์ดังกล่าวใช้รับชำระค่าบริการจากประชาชนด้วย
นอกจากนี้ผู้บริหารปณท ยังออกแถลงการณ์ ที่ตามมาด้วยคำถามอีกมากมาย ซึ่งถ้าเป็นคนนอก อาจไม่รู้ข้อเท็จจริง เห็นว่างามไปตามนั้น แต่สำหรับคนในแวดวง ปณท ไม่คิดเช่นนั้น พร้อมชี้ให้เห็น 5 ประเด็นหลักที่ ปณท ควรออกมาชี้แจงอย่างเช่น
1.ไม่มีการชี้แจงในประเด็นรีบอนุมัติให้ นายสมประสงค์ เนตรสว่าง รองกรรมการผู้จัดการด้านการตลาดชิงลาออก ทั้งๆที่ยังอยู่ระหว่างการตรวจสอบการขาดทุน และการทุจริต
2.ทำไมจึงวางโครงสร้างการบริหารที่เน้นเอาแต่พวกของตนเองในสำนักงานใหญ่ขึ้นเป็นผู้จัดการฝ่าย และรองกรรมการผู้จัดการ ทั้งๆที่มีอัตรากำลังไม่เท่าไร โดยละเลยไม่ให้ความสำคัญกับโครงสร้างของด้านปฏิบัติการที่มีนับหมื่นคน ทำให้การลงมติในเรื่องสำคัญๆ ด้านปฏิบัติการไม่ได้รับการดูแล หรือมีการตัดสินใจไม่ถูกต้อง ไม่สอดคล้องกับความต้องการจริงในการให้บริการของ ปณท
3. ปณท ชี้แจงเรื่อง การจัดซื้อจัดจ้างอุปกรณ์ส่งต่อและนำจ่ายรองรับระบบนิวซีเอโพสต์ ว่าทำตามระเบียบว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้าง แต่ไม่อธิบายให้กระจ่างว่า สเปกอุปกรณ์ที่จัดซื้อมีการล็อกสเปกหรือไม่ และตามสเปกที่กำหนดจะสามารถเสนออุปกรณ์ได้หลากหลายยี่ห้อหรือไม่ หรือจำกัดเฉพาะบางยี่ห้อ ซึ่งเข้าข่ายล็อกสเปก ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็น ซึ่งจะมีความผิดทางอาญาตามมา
4.ปณท ชี้แจงเรื่อง การแก้ไขปัญหาบริษัทลูกของปณท ว่าได้เข้ามาแก้ไขเพื่อฟื้นฟู กิจการ ว่าจะสามารถทำกำไรได้อย่างแน่นอนภายในปี 60 แต่ไม่มีคำอธิบายทำอย่างไรจะมีกำไร ขาดแผนงานชัดเจนในการฟื้นฟู แต่ลึกๆ ปณท กำลังจะให้บริษัทลูกกินหัวคิวในการรับจ้างขนส่งไปรษณีย์ทั่วประเทศ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง และไม่ใช่การเข้ามาจัดระบบการให้บริการโลจิสติกส์ ตามที่ควรจะทำ
5. งบประมาณเกือบ 1,500 ล้านบาท ที่ ปณท อ้างว่าจะนำมาใช้เพื่อรองรับไทยแลนด์ 4.0 แต่ถ้าดูเนื้องานสิ่งที่จะทำ แม้จะยังไม่จำเป็นต้องซื้อตอนนี้ แต่ก็ได้เร่งกระบวนการจัดซื้อกันแล้วภายใน ซึ่งจะพบว่ามีแต่ความสูญเปล่าและสิ้นเปลืองเช่น การตั้งงบประมาณจัดหาตู้รับฝากไปรษณีย์อัตโนมัติ 250 ตู้ วงเงิน 200 ล้านบาท ซึ่งปณท เคยสั่งทำตู้แบบนี้มาแล้ว และไม่คุ้มค่าในเชิงพาณิชย์ และจะมาสั่งทำอีกทำไม การสั่งทำถ้าเพื่อสร้างภาพลักษณ์ก็ไม่จำเป็นต้องตั้งงบถึง 200 ล้านบาท
“ถ้าปณทอยากทำ ก็ทดลองแค่ 4-5 ตู้ก็พอ เมื่อได้ต้นแบบที่ดีแล้ว จะสั่งเป็นพันตู้ก็ไม่เสียหายต่องบประมาณของ ปณท แต่กรณีนี้ ตั้งงบครั้งเดียวถึง 250 ตู้ วงเงิน 200 ล้านบาทจึงเป็นการตั้งงบประมาณที่ขาดการวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าที่จะนำมาใช้ได้จริงและคุ้มการลงทุนหรือไม่ หรือจะเอางบ 200 ล้านบาทมาใช้โชว์ว่าได้ทำเพื่อรองรับ 4.0”
ส่วนงบในการจัดสร้างตู้ไปรษณีย์อัจฉริยะ (iBox) 550 ตู้ วงเงิน 330 ล้านบาท ระบุว่าเป็นตู้อัจฉริยะสำหรับใช้นำจ่ายที่ตู้ และให้ลูกค้ามารับของ โดยไม่ทำต้นแบบที่สมบูรณ์ และใช้งานได้ดีจริงออกมาให้เรียบร้อยก่อน เป็นการใช้งบที่สิ้นเปลืองไม่คุ้มค่าการลงทุน และพฤติกรรมลูกค้าในประเทศไทย นิยมให้เอาพัสดุหรือสิ่งของไปส่งถึงมือ ไม่ใช่ไปไขเอาเองจากตู้ที่วางไว้ตามจุดต่างๆ เหมือนในต่างประเทศ ดังนั้นถ้าปณท จะทำ ก็ทำเพื่อทดลอง 4-5 ตู้ ก็ดูจะเหมาะสมกว่า
*** ท้าทายอำนาจตรวจสอบรัฐ
ที่ผ่านมา ปณท มีการใช้งบประมาณอย่างมันปาก หลายโครงการที่ไม่เคยมีใครเข้าไปตรวจสอบว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างโครงการปรับปรุงอาคาร และที่ทำการไปรษณีย์ ที่จะใช้วิธีจัดซื้อพิเศษ 6,000 กว่าล้านบาท ในการเข้าไปปรับปรุงที่ทำการไปรษณีย์ ในช่วง 2 ปีข้างหน้า โดยมีข้อสังเกตว่า ใช้งบเกินจริง อย่างที่ทำการไปรษณีย์ ขนาด 6 x 8 ตารางเมตร ใช้งบประมาณถึง 2-3 ล้านบาท ในการปรับปรุง หรือที่ทำการไปรษณีย์ในพื้นที่ภาคอีสานบางแห่ง 1 ห้องทำงานใช้แอร์แขวนเกือบ 30 ตัว แขวนห่างกันสักฟุตเดียว
นอกจากนี้ ยังมีงานเรื่องจ้างผู้พัฒนาแอปพลิเคชันรายย่อย วงเงินไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อให้อยู่ในอำนาจไม่ต้องเสนอใคร อนุมัติได้เอง อย่างบริการ Prompt Post ที่หวังว่าจะมาช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ส่งไปรษณีย์ให้ใช้งานง่ายขึ้น แต่กลายเป็นว่า ไม่ได้ถูกนำมาใช้งานจริง รวมถึงแอปแยกย่อยอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งหากอยากรู้ว่าดาวน์โหลดไปสักกี่ร้อยราย ก็สามารถเช็กดูได้ ทั้งนี้การจะทำแอปพลิเคชันที่เป็นของ ปณท จริงๆ ควรจะทำแบบรวมศูนย์อยู่ในแพลตฟอร์มเดียวกัน ไม่ใช่แยกย่อยๆ ออกมา ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสน เพราะปัจจุบันทั้งการเช็กสถานะ เช็กสถานที่ส่งไปรษณีย์ บริการฝากขายสินค้าที่ส่งผ่านไปรษณีย์ บริการฝากส่งออนไลน์ ทุกอย่างแยกแอปออกจากกันหมดทั้งสิ้น
“หากไม่ทำอะไร ก็ฟันธงได้ว่า งานนี้บอร์ดรู้เห็นเป็นใจกับผู้บริหาร” แหล่งข่าว กล่าว