นายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (วิปสปท.) กล่าวถึงกรณีที่ประชุมสปท. มีมติเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน และอยู่ระหว่างให้กมธ.ด้านสื่อสารมวลชน กลับไปทบทวนตามข้อสังเกตว่า ขั้นตอนนี้มีระยะเวลาการดำเนินการ 7 วัน หลังมีมติที่ประชุม ก่อนเสนอให้ประธาน สปท. ส่งให้ครม.พิจารณาเพื่อผลักดันเป็นร่างกฎหมายต่อไป
"สรุปแล้วสาระสำคัญของร่างกม.นี้ ยังคงสัดส่วนของภาครัฐ 2 ตำแหน่ง ในสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีข้อเห็นต่างเกิดขึ้นในการอภิปรายของที่ประชุมสปท. แต่ยืนยันว่า ที่เคยบัญญัติให้มีการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น ทางกมธ.ได้ตัดออกไปแล้ว เมื่อที่ประชุมมีมติเห็นชอบแล้ว ทราบว่าข้อเห็นต่าง ก็จะถูกบรรจุแนบเป็นภาคผนวกข้อสังเกตท้ายรายงาน เพื่อให้ครม.พิจารณา" นายคำนูณ กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สมัยที่ตนเป็นนายกฯได้จัดทำกฎหมายเพื่อจะมาคุ้มครองวิชาชีพสื่อ โดยใช้หลักการ การตรวจสอบสื่อจะต้องเกิดขึ้นโดยสื่อด้วยกันเองและสังคม กลไกที่ใช้คือ ต้องไปเติมเขี้ยวเล็บ หรือว่ามีกฎหมายที่มารองรับการทำงานขององค์กรสื่อ ในการที่จะจัดการกันเอง เนื่องจากในปัจจุบันแม้จะมีองค์กรสื่อที่รวมตัวกันมากมาย แต่ความสามารถในการที่จะไปจัดการกับปัญหาของสื่อด้วยกันเองนั้นมีจำกัด เนื่องจากอาจจะไม่สามารถที่จะไปทำให้เกิดสภาพบังคับอะไรกันได้ แต่การปฏิรูปสื่อ ทุกฝ่ายในสังคมก็เห็นด้วย รวมทั้งสื่อด้วยกันเอง เพื่อที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถที่จะส่งเสริมสื่อที่ดี มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ทั้งนี้ สิ่งที่พึงระวังมากที่สุดก็คือ การเอาอำนาจรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะรัฐ คือผู้ที่สื่อจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบมากที่สุด ไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะต้องมีตัวแทนของรัฐอยู่ในสัดส่วนสภาวิชาชีพ และไม่ควรมาต่อรอง ระยะเวลาว่า จะอยู่ 5-6 ปี การที่รัฐเข้าไปแทรกแซง ครอบงำสื่อ โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการมีกรรมการ และมีตัวแทนจากรัฐเข้าไป รัฐคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ดีขึ้น หรือแย่ลง เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จะไม่มีความไว้วางใจในการเดินหน้าในกฎหมายฉบับนี้ต่อไป เพราะเหมือนกับว่า เริ่มต้นเรามาพูดกันถึงเรื่องการคุ้มครองวิชาชีพสื่อ ช่วยส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อ แต่โครงสร้างของกฎหมาย หลักคิดของคนที่ทำกฎหมายนี้ สะท้อนออกมาจากร่างฯ แรกๆ นี้ มันคือ การควบคุมอย่างปฏิเสธไม่ได้
"ฟังดู ท่านนายกฯ ก็ไม่ได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับสปท. และพร้อมที่รับฟังสื่อ แต่อย่าไปรอให้มีร่างกฎหมายที่ออกมาแล้วมีปัญหาเลย เพราะเป็นการทำให้บรรยากาศของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และสถานการณ์แย่ลง ยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะในที่สุดแล้วรัฐบาล จะต้องเป็นผู้เสนอกฎหมายนี้เป็นหลักเข้าสู่ สนช. หรือจะเรียกว่า แม่น้ำ 5 สาย ผมเชื่อว่าไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ผมว่าตัดไฟเสีย รัฐบาลพูดให้ชัดเลยว่าอย่าเสนอมา ถ้าเป็นแบบนี้จะดีที่สุด" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
"สรุปแล้วสาระสำคัญของร่างกม.นี้ ยังคงสัดส่วนของภาครัฐ 2 ตำแหน่ง ในสภาวิชาชีพสื่อมวลชนแห่งชาติ ซึ่งเป็นประเด็นที่มีข้อเห็นต่างเกิดขึ้นในการอภิปรายของที่ประชุมสปท. แต่ยืนยันว่า ที่เคยบัญญัติให้มีการขอใบอนุญาตประกอบวิชาชีพนั้น ทางกมธ.ได้ตัดออกไปแล้ว เมื่อที่ประชุมมีมติเห็นชอบแล้ว ทราบว่าข้อเห็นต่าง ก็จะถูกบรรจุแนบเป็นภาคผนวกข้อสังเกตท้ายรายงาน เพื่อให้ครม.พิจารณา" นายคำนูณ กล่าว
ด้านนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า สมัยที่ตนเป็นนายกฯได้จัดทำกฎหมายเพื่อจะมาคุ้มครองวิชาชีพสื่อ โดยใช้หลักการ การตรวจสอบสื่อจะต้องเกิดขึ้นโดยสื่อด้วยกันเองและสังคม กลไกที่ใช้คือ ต้องไปเติมเขี้ยวเล็บ หรือว่ามีกฎหมายที่มารองรับการทำงานขององค์กรสื่อ ในการที่จะจัดการกันเอง เนื่องจากในปัจจุบันแม้จะมีองค์กรสื่อที่รวมตัวกันมากมาย แต่ความสามารถในการที่จะไปจัดการกับปัญหาของสื่อด้วยกันเองนั้นมีจำกัด เนื่องจากอาจจะไม่สามารถที่จะไปทำให้เกิดสภาพบังคับอะไรกันได้ แต่การปฏิรูปสื่อ ทุกฝ่ายในสังคมก็เห็นด้วย รวมทั้งสื่อด้วยกันเอง เพื่อที่จะทำให้สื่อนั้นสามารถที่จะส่งเสริมสื่อที่ดี มีคุณภาพ มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
ทั้งนี้ สิ่งที่พึงระวังมากที่สุดก็คือ การเอาอำนาจรัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง เพราะรัฐ คือผู้ที่สื่อจะต้องทำหน้าที่ตรวจสอบมากที่สุด ไม่มีเหตุผลอะไร ที่จะต้องมีตัวแทนของรัฐอยู่ในสัดส่วนสภาวิชาชีพ และไม่ควรมาต่อรอง ระยะเวลาว่า จะอยู่ 5-6 ปี การที่รัฐเข้าไปแทรกแซง ครอบงำสื่อ โดยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการมีกรรมการ และมีตัวแทนจากรัฐเข้าไป รัฐคิดว่าจะแก้ปัญหานี้ได้ดีขึ้น หรือแย่ลง เพราะฉะนั้น เรื่องนี้จะไม่มีความไว้วางใจในการเดินหน้าในกฎหมายฉบับนี้ต่อไป เพราะเหมือนกับว่า เริ่มต้นเรามาพูดกันถึงเรื่องการคุ้มครองวิชาชีพสื่อ ช่วยส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพสื่อ แต่โครงสร้างของกฎหมาย หลักคิดของคนที่ทำกฎหมายนี้ สะท้อนออกมาจากร่างฯ แรกๆ นี้ มันคือ การควบคุมอย่างปฏิเสธไม่ได้
"ฟังดู ท่านนายกฯ ก็ไม่ได้แสดงท่าทีเห็นด้วยกับสปท. และพร้อมที่รับฟังสื่อ แต่อย่าไปรอให้มีร่างกฎหมายที่ออกมาแล้วมีปัญหาเลย เพราะเป็นการทำให้บรรยากาศของความไม่ไว้เนื้อเชื่อใจ และสถานการณ์แย่ลง ยิ่งทำให้เกิดความขัดแย้งมากขึ้น เพราะในที่สุดแล้วรัฐบาล จะต้องเป็นผู้เสนอกฎหมายนี้เป็นหลักเข้าสู่ สนช. หรือจะเรียกว่า แม่น้ำ 5 สาย ผมเชื่อว่าไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง ผมว่าตัดไฟเสีย รัฐบาลพูดให้ชัดเลยว่าอย่าเสนอมา ถ้าเป็นแบบนี้จะดีที่สุด" นายอภิสิทธิ์ กล่าว