เรื่องเรือดำน้ำที่ตกเป็นข่าวฉาว เพราะคณะรัฐมนตรี (ครม.) ลักหลับอนุมัติจัดซื้อเรือดำน้ำหยวนคลาส เอส 26 ที (Yuan Class S26T) จากประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 ลำ วงเงิน 13,500 ล้านบาท สร้างแรงสั่นสะเทือนอย่างหนักให้กับรัฐบาลของ *** “บิ๊กตู่” พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ***
เพราะข่าวจัดซื้อเรือดำน้ำได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในมิติการเมือง หรือแม้แต่มิติด้านความมั่นคง ในแง่ของศักยภาพและความคุ้มค่า ตลอดถึงมีนอกมีในอะไรหรือเปล่า
จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะฮือฮาอะไร เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า คสช.และรัฐบาล มีความประสงค์จะสานฝันของกองทัพเรือให้เป็นจริงในยุคที่ตัวเองมีอำนาจ เพราะถ้าหมดยุคนี้ไปแล้ว โอกาสที่จะเข้าใกล้ความจริงแบบนี้แทบไม่มี
เพราะที่ผ่านมากองทัพพยายามเสนอหลายครั้ง แต่ไม่มีรัฐบาลพลเรือนกล้าที่จะอนุมัติ เนื่องจากเสียงคัดค้านในสังคมมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ หรือเรื่องสงครามที่แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทย
ดังนั้น ยุคนี้จึงต้องทำให้สำเร็จ ทุกคนรับรู้กันดีว่าต้องเกิดขึ้น แต่วิธีการของคสช.และรัฐบาลทำให้เรื่องนี้ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า ตั้งแต่การอนุมัติเงียบๆ แบบลักหลับ จนมีข่าวหลุดมาเอง สังคมเลยตั้งข้อสังเกตถึงเจตนาในการกระทำแบบนี้
แน่นอน พอคสช.และรัฐบาลเอาจริงปิดดีลกับจีน จึงโดนคนวิพากษ์วิจารณ์หนัก กับการตัดสินใจอนุมัติซื้อเรือดำน้ำในภาวะที่เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ข้าวยากหมากแพง คนอดอยากธุรกิจเจ๊งกันระนาว
***ทำให้คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่า เป็นการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลนี้เป็นการทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองกับจีน ไม่ใช่ตอบสนองความต้องการของประชาชน***
งานนี้ คสช.และรัฐบาล เสียรังวัดอย่างแทบไม่เหลือเครดิต เพราะการเลือกอนุมัติเงินแผ่นดินก้อนโตเพื่อซื้อเรือดำน้ำในตอนนี้ แทนที่จะรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นสักนิดยังดีกว่า จะไม่มีใครว่า ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการสะท้อนว่า แท้จริงแล้วเรื่องของตัวเองมาก่อนเรื่องของประชาชน ประชาชนกำลังจะตาย แต่กลับไปให้ความสำคัญเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งเป็นเรื่องของกองทัพ
แต่เรื่องเรือดำน้ำไม่จบง่ายๆ แน่ แม้ว่าสังคมได้คำตอบรายละเอียดต่างๆ ในการจัดซื้อครั้งนี้ที่กองทัพเรือแถลงชี้แจงไปแล้ว แต่ถึงตรงนี้คำถามที่มีต่อโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำยังคาค้างในใจอีกมากมายเหลือเกิน
ประเด็นความไม่คุ้มค่า ประชาชนยังพอทำใจยอมรับได้ แต่เมื่อไหร่ที่มีกลิ่นอื้อฉาวเรื่องทุจริตขึ้นเมื่อนั้นต่อให้ “บิ๊กตู่” มีกองทัพ มีอำนาจตามมาตรา 44 ก็ช่วยอะไรไม่ได้
***ตอนนี้รัฐบาลประยุทธ์เผชิญมรสุมปัญหาความขัดแย้งเข้ามารุมเร้าทุกด้าน นอกจากกรณีเรือดำที่ประชาชนข้องใจแล้ว ยังมีประเด็นร้อนกับสื่อมวลชน เรื่องการออกกฎหมายใส่โซ่ตรวจสื่อมวลชน ที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเข็นร่างพรบ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ออกมาเป็นเหตุการณ์ปะทะกับคนในอาชีพสื่ออย่างหนัก***
สปท. มือร่างอ้างการปฏิรูปสื่อแต่แท้ที่จริงเป็นการกดหัวสื่อไม่ให้มีอิสระเสรีภาพในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ตามที่รัฐธรรมนูญปี60 ได้ให้การรับรองไว้ในมาตรา34และ35 มีคนมองว่าถ้าขืนใข้ร่างตามกรรมาธิการลอกแบบประเทศสิงคโปร์มาทั้งดุ้น มีหวังเป็นขัดรัฐธรรมนูญแน่ และจะบานปลายทะเลาะกับสังคมทั้งสื่อมวลชนและคนทั่วไป จนคาดเดาใครจะจบในไม่ได้อนาคต
เรื่องนี้ยังต้องว่ากันเถียงกันอีกนาน ยังมีเวทีอีกหลายเวทีเพื่อหาทางลดหย่อนผ่อนปรนกันต่อไป ซึ่งจะว่าไปแล้วมีแนวโน้มที่จะลงเอยกันด้วยดี เพราะจากที่เมื่อวันก่อนพลเอกประยุทธ์ ให้ตัวแทนสื่อเข้าพบที่ทำเนียบก็พูดเหมือนจะลดโทนเนื้อหาที่กดขี่ตีตรวนสื่อลงมาให้
แต่สถานการณ์ของรัฐบาลก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะมีพวกข้างตัวนายกฯประยุทธ์ อย่างพลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร สปท.สายทหารจะกวนน้ำให้ขุ่นทำลายบรรยากาศดีๆไปเสียก่อน คนนี้นายกฯตู่ต้องเรียกมากักบริเวณ ปรับวิสัยทัศน์ ติวเข้มสักที เพราะแค่เรื่องเห็นต่างในการออกกฎหมาย ก็ถึงกับขู่จะฆ่าจะแกงยิงเป้าสื่อกันแล้ว
*** พลเอกธวัชชัยพูดเอามันปากในสภาอันทรงเกียรติ เสียหายมาถึงนายกฯที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร คนเป็นถึงพลเอก เคยเป็นแม่ทัพมาแล้วคิดแบบนี้ได้อย่างไร มันสะท้อนออกมาเหมือนคนขาดวุฒิภาวะ คนแบบนี้อย่ามายุ่งกับการบ้านการเมืองเลย กลับบ้านไปเลี้ยงหลานดีกว่า***
โปรย ... งานนี้ คสช.และรัฐบาล เสียรังวัดอย่างแทบไม่เหลือเครดิต เพราะการเลือกอนุมัติเงินแผ่นดินก้อนโตเพื่อซื้อเรือดำน้ำในตอนนี้ แทนที่จะรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นสักนิดยังดีกว่า จะไม่มีใครว่า ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการสะท้อนว่า แท้จริงแล้วเรื่องของตัวเองมาก่อนเรื่องของประชาชน
เพราะข่าวจัดซื้อเรือดำน้ำได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นในมิติการเมือง หรือแม้แต่มิติด้านความมั่นคง ในแง่ของศักยภาพและความคุ้มค่า ตลอดถึงมีนอกมีในอะไรหรือเปล่า
จริงๆ เรื่องนี้ไม่น่าจะฮือฮาอะไร เพราะเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า คสช.และรัฐบาล มีความประสงค์จะสานฝันของกองทัพเรือให้เป็นจริงในยุคที่ตัวเองมีอำนาจ เพราะถ้าหมดยุคนี้ไปแล้ว โอกาสที่จะเข้าใกล้ความจริงแบบนี้แทบไม่มี
เพราะที่ผ่านมากองทัพพยายามเสนอหลายครั้ง แต่ไม่มีรัฐบาลพลเรือนกล้าที่จะอนุมัติ เนื่องจากเสียงคัดค้านในสังคมมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ หรือเรื่องสงครามที่แทบไม่มีโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทย
ดังนั้น ยุคนี้จึงต้องทำให้สำเร็จ ทุกคนรับรู้กันดีว่าต้องเกิดขึ้น แต่วิธีการของคสช.และรัฐบาลทำให้เรื่องนี้ใหญ่กว่าเดิมหลายเท่า ตั้งแต่การอนุมัติเงียบๆ แบบลักหลับ จนมีข่าวหลุดมาเอง สังคมเลยตั้งข้อสังเกตถึงเจตนาในการกระทำแบบนี้
แน่นอน พอคสช.และรัฐบาลเอาจริงปิดดีลกับจีน จึงโดนคนวิพากษ์วิจารณ์หนัก กับการตัดสินใจอนุมัติซื้อเรือดำน้ำในภาวะที่เศรษฐกิจดิ่งลงเหว ข้าวยากหมากแพง คนอดอยากธุรกิจเจ๊งกันระนาว
***ทำให้คนส่วนหนึ่งเข้าใจว่า เป็นการใช้งบประมาณจำนวนมหาศาลนี้เป็นการทำเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเองกับจีน ไม่ใช่ตอบสนองความต้องการของประชาชน***
งานนี้ คสช.และรัฐบาล เสียรังวัดอย่างแทบไม่เหลือเครดิต เพราะการเลือกอนุมัติเงินแผ่นดินก้อนโตเพื่อซื้อเรือดำน้ำในตอนนี้ แทนที่จะรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นสักนิดยังดีกว่า จะไม่มีใครว่า ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการสะท้อนว่า แท้จริงแล้วเรื่องของตัวเองมาก่อนเรื่องของประชาชน ประชาชนกำลังจะตาย แต่กลับไปให้ความสำคัญเรื่องอาวุธยุทโธปกรณ์ซึ่งเป็นเรื่องของกองทัพ
แต่เรื่องเรือดำน้ำไม่จบง่ายๆ แน่ แม้ว่าสังคมได้คำตอบรายละเอียดต่างๆ ในการจัดซื้อครั้งนี้ที่กองทัพเรือแถลงชี้แจงไปแล้ว แต่ถึงตรงนี้คำถามที่มีต่อโครงการจัดซื้อเรือดำน้ำยังคาค้างในใจอีกมากมายเหลือเกิน
ประเด็นความไม่คุ้มค่า ประชาชนยังพอทำใจยอมรับได้ แต่เมื่อไหร่ที่มีกลิ่นอื้อฉาวเรื่องทุจริตขึ้นเมื่อนั้นต่อให้ “บิ๊กตู่” มีกองทัพ มีอำนาจตามมาตรา 44 ก็ช่วยอะไรไม่ได้
***ตอนนี้รัฐบาลประยุทธ์เผชิญมรสุมปัญหาความขัดแย้งเข้ามารุมเร้าทุกด้าน นอกจากกรณีเรือดำที่ประชาชนข้องใจแล้ว ยังมีประเด็นร้อนกับสื่อมวลชน เรื่องการออกกฎหมายใส่โซ่ตรวจสื่อมวลชน ที่สภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศเข็นร่างพรบ. คุ้มครองสิทธิเสรีภาพสื่อ ส่งเสริมจริยธรรม และมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน ออกมาเป็นเหตุการณ์ปะทะกับคนในอาชีพสื่ออย่างหนัก***
สปท. มือร่างอ้างการปฏิรูปสื่อแต่แท้ที่จริงเป็นการกดหัวสื่อไม่ให้มีอิสระเสรีภาพในการเสนอข้อมูลข่าวสาร ตามที่รัฐธรรมนูญปี60 ได้ให้การรับรองไว้ในมาตรา34และ35 มีคนมองว่าถ้าขืนใข้ร่างตามกรรมาธิการลอกแบบประเทศสิงคโปร์มาทั้งดุ้น มีหวังเป็นขัดรัฐธรรมนูญแน่ และจะบานปลายทะเลาะกับสังคมทั้งสื่อมวลชนและคนทั่วไป จนคาดเดาใครจะจบในไม่ได้อนาคต
เรื่องนี้ยังต้องว่ากันเถียงกันอีกนาน ยังมีเวทีอีกหลายเวทีเพื่อหาทางลดหย่อนผ่อนปรนกันต่อไป ซึ่งจะว่าไปแล้วมีแนวโน้มที่จะลงเอยกันด้วยดี เพราะจากที่เมื่อวันก่อนพลเอกประยุทธ์ ให้ตัวแทนสื่อเข้าพบที่ทำเนียบก็พูดเหมือนจะลดโทนเนื้อหาที่กดขี่ตีตรวนสื่อลงมาให้
แต่สถานการณ์ของรัฐบาลก็ยังน่าเป็นห่วง เพราะมีพวกข้างตัวนายกฯประยุทธ์ อย่างพลเอก ธวัชชัย สมุทรสาคร สปท.สายทหารจะกวนน้ำให้ขุ่นทำลายบรรยากาศดีๆไปเสียก่อน คนนี้นายกฯตู่ต้องเรียกมากักบริเวณ ปรับวิสัยทัศน์ ติวเข้มสักที เพราะแค่เรื่องเห็นต่างในการออกกฎหมาย ก็ถึงกับขู่จะฆ่าจะแกงยิงเป้าสื่อกันแล้ว
*** พลเอกธวัชชัยพูดเอามันปากในสภาอันทรงเกียรติ เสียหายมาถึงนายกฯที่เป็นเพื่อนร่วมรุ่นเตรียมทหาร คนเป็นถึงพลเอก เคยเป็นแม่ทัพมาแล้วคิดแบบนี้ได้อย่างไร มันสะท้อนออกมาเหมือนคนขาดวุฒิภาวะ คนแบบนี้อย่ามายุ่งกับการบ้านการเมืองเลย กลับบ้านไปเลี้ยงหลานดีกว่า***
โปรย ... งานนี้ คสช.และรัฐบาล เสียรังวัดอย่างแทบไม่เหลือเครดิต เพราะการเลือกอนุมัติเงินแผ่นดินก้อนโตเพื่อซื้อเรือดำน้ำในตอนนี้ แทนที่จะรอให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นสักนิดยังดีกว่า จะไม่มีใครว่า ทำแบบนี้ก็เหมือนเป็นการสะท้อนว่า แท้จริงแล้วเรื่องของตัวเองมาก่อนเรื่องของประชาชน