**ชะตากรรมร่วม "ธาริต เพ็งดิษฐ์-สวัสดิ์ แสงบางปลา" ร่วมอุ้มสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น รายแรกใช้อำนาจ อธิบดี DSI ส่วนอีกรายใช้เงินสหกรณ์จุฬาฯ อัดสภาพคล่อง ตั้งข้อสังเกตหลักประกันของสหกรณ์เครดิตยูเนียน คลองจั่น เป็นที่ตั้งยูฟันด์ แชร์ลูกโซ่รายใหญ่ที่เพิ่งถูกจับกุม สุดท้ายกรรมใคร-กรรมมัน ฝ่ายแรกถูกไล่ออกจากราชการ ฝ่ายหลังถูกออกหมายจับ
จากกรณีของพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ถูกออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร จากการยักยอกทรัพย์ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ และเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย
แม้รัฐบาลจะพยายามตรวจค้นภายในวัดพระธรรมกาย โดยอาศัยมาตรา 44 อยู่ 23 วัน แต่ก็ไม่พบตัวพระธัมมชโย เช่นเดียวกันการดำเนินการจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เสนอเรื่องให้มีการสึกพระธัมมชโย แต่ก็ยังติดขัดที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เรื่องคดีของพระธัมมชโย จึงยังไปไม่สุด และไม่มีความคืบหน้ามากนัก
แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับพบว่ามีบุคคลที่เคยเกี่ยวข้องกับปัญหาในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เชื่อมโยงกันจนเป็นคดีกับวัดพระธรรมกาย อยู่ 2 ราย กำลังประสบปัญหา คือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ถูกคำสั่งไล่ออกจากราชการ อีกราย รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานสหกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกออกหมายจับฐานฉ้อโกง
ทั้ง 2 ราย แม้จะเผชิญกับมรสุมในชีวิตที่ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่กลับพบว่าในช่วงการทำงานที่ผ่านมา ทั้งคู่ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ต้นทางของการยักยอกทรัพย์ที่เชื่อมต่อไปยังเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
เริ่มที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ คนที่ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองจะทราบดีว่า เขามีบทบาทในทุกรัฐบาล เรียกว่ารัฐบาลพรรคไหนมาก็ทำงานตอบสนองพรรคนั้นอย่างเต็มที่ ทั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ และรัฐบาลเพื่อไทย ชนิดที่เปลี่ยนแนวทางในการทำงานได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ
แต่ดูเหมือนว่า การเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทยมาเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายธาริตไม่ได้รับโอกาสที่จะทำงานรับใช้รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเพียง 2 วันหลังการยึดอำนาจ เขาถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กับมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องร่ำรวยผิดปกติ
จนกระทั่ง 10 มีนาคม 2559 ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า นายธาริต ร่ำรวยผิดปกติ รวมมูลค่า 346 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า ได้มีคำสั่งไล่นายธาริตออกจากราชการ เมื่อ 3 เมษายน 2560
การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นนั้น อยู่ในช่วงที่นายธาริต ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ซึ่งขณะนั้น สหกรณ์ฯ คลองจั่น มีปัญหาในการบริหารงาน อยู่ระหว่างการตรวจสอบคดียักยอกทรัพย์กว่าหมื่นล้านบาท โดยในวันที่ 12 เมษายน 2556 นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในขณะนั้น ได้ส่งหนังสือสอบถาม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ยืนยันผลการร้องเรียนกล่าวหา สหกรณ์ฯ ปัญหาความผิดพลาดต่างๆ ในการบริหาร ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ดีเอสไอ
เพียง 7 วันผ่านไป 19 เมษายน 2556 นายธาริต ทำหนังสือตอบกลับนายศุภชัย และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ไม่พบการกระทำความผิดตามข้อที่ได้ร้องเรียนแต่อย่างใด
นอกจากนี้ เมื่อนายธาริต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทางดีเอสไอ ได้ตรวจสอบพบว่า นายธาริตเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขายที่ดินของ นายศุภชัย จำนวน 1,822 ไร่ วงเงิน 477 ล้านบาท โดยระบุว่า เพื่อนำเงินมาใช้คืนสหกรณ์ฯ แต่กลับคืนเงินให้กับสหกรณ์เพียง 100 ล้านบาท เนื่องจากนายธาริต เป็นผู้อนุมัติให้ดำเนินการขายที่ดินดังกล่าว จึงได้ส่งเรื่องเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่นายธาริต
**"สวัสดิ์"อัดฉีดเงินให้สหกรณ์คลองจั่น
อีกบุคคลหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในเวลานี้ จากคดีฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงให้มีการนำเงินไปร่วมลงทุนในสหกรณ์ลอตเตอรี่ จนถูกออกหมายจับ คือ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธาน สหกรณ์ออมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กองปราบปรามพบว่า ผู้ต้องหารายนี้มีพฤติกรรมหลอกกลุ่มอาจารย์ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย ให้ลงทุนซื้อโควตาลอตเตอรี่ แลกผลตอบแทนร้อยละ 1 ต่อเดือน มีผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่า 160 คน ความเสียหายกว่า 1,400 ล้านบาท ก่อนหอบเงินหลบหนีไป โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แจ้งว่า ไม่มีการซื้อโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างแต่อย่างใด จึงน่าเชื่อว่าเป็นการหลอกลวงให้ร่วมลงทุน จนนำไปสู่ความเสียหาย และออกหมายจับ
ก่อนหน้านี้ ดร.สวัสดิ์ นั่งเป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ และที่ปรึกษาอยู่หลายสมัย โดยใช้เงินของสหกรณ์จุฬาฯ ให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น กู้ยืม 1,431 ล้านบาท ฝากเงินกับสหกรณ์มงคลเศรษฐี 200 ล้านบาท ซึ่งสหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง มีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร เป็นประธานในขณะนั้น และยังเป็นไวยาวัจกร ของวัดพระธรรมกาย อีกด้วย
โดยเฉพาะ สหกรณ์มงคลเศรษฐี ตั้งอยู่ในวัดพระธรรมกาย ที่เคยมีเรื่องฮือฮาว่า ปล่อยเงินกู้ให้กับลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย เพื่อใช้ในการทำบุญ
ยังมีสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ ที่ดร.สวัสดิ์ อนุมัติให้มีการฝากเงินในครั้งแรก 100 ล้านบาท และ ฝากเพิ่มอีก เป็น 915 ล้านบาท
**ปล่อยกู้-น่าสงสัย
ในเวลานั้น ทั้ง 3 สหกรณ์นี้ กลับมีปัญหาไม่สามารถนำเงินมาชดใช้สหกรณ์จุฬาฯ ได้ จนต้องมีการฟ้องร้อง ทั้งนี้ดร.สวัสดิ์ ขณะที่เป็นประธานสหกรณ์จุฬาฯ ชี้แจงว่า วงเงินกู้ 1,431 ล้านบาท ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น มีหลักทรัพย์ประกันเป็นโฉนดที่ดิน 28 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาคารยูทาวเวอร์ พร้อมศูนย์ประชุมติดถนนศรีนครินทร์ โดยมีกระบวนการฟื้นฟู และทยอยชำระหนี้ให้
ส่วนสหกรณ์มงคลเศรษฐี อยู่ในกระบวนการฟ้องร้อง และเจรจา ขณะที่สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ อ้างว่ามีหลักประกันเป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 218 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม นำมาจำนองเป็นประกัน ที่ดินดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนา อยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้อง
ในเรื่องนี้ อดีตประธานสหกรณ์จุฬาฯ ท่านอื่นได้ออกมาตั้งข้อสังเกตการบริหารงานของ ดร.สวัสดิ์ ว่า การปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เมื่อ 25 มิถุนายน 2556 นั้น เกิดขึ้นหลังจากผู้บริหารสหกรณ์คลองจั่น ชุดนายศุภชัย ถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ฉ้อโกงประชาชน ในเดือนเมษายน 2556 และการปล่อยกู้ในครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนมีมติยึดอายัดทรัพย์เครือข่ายนายศุภชัย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 เพียง 3 วัน
เช่นเดียวกับการฝากเงิน เมื่อ 6 มีนาคม 2556 ในสหกรณ์มงคลเศรษฐี ที่เป็นกลุ่มของนายศุภชัย และอยู่ในวัดพระธรรมกาย
ด้านหนึ่งเข้าใจได้ว่า ในฐานะของผู้บริหารสหกรณ์ฯ จำเป็นต้องหาผลตอบแทนที่สูง เพื่อเป็นประโยชน์กับสหกรณ์ที่บริหารอยู่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสหกรณ์ ด้วยเช่นกัน คนในวงการเดียวกันย่อมมองกันออกว่าสถานะของแต่ละสหกรณ์มีความมั่นคงเพียงใด
กรณีที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์จุฬาฯ น่าสังเกตว่า เหตุใด ดร.สวัสดิ์ จึงไปหาผลตอบแทนจากสหกรณ์ที่มีความเสี่ยงกับสหกรณ์คลองจั่น และสหกรณ์มงคลเศรษฐี เช่นเดียวกับการฝากเงินกับ สหกรณ์นพเก้ารวมใจ จาก 100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 915 ล้านบาท โดยที่สถานะของสหกรณ์นพเก้าฯ มีสถานะขาดทุน แม้จะมีที่ดินที่มหาสารคาม ค้ำประกันก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่า ในขณะนั้นสหกรณ์นพเก้ารวมใจ เป็นหนี้เงินฝากชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย ราว 4,865 ล้านบาท แต่สหกรณ์ธนกิจไทย กลับมีปัญหาค้างดอกเบี้ยเงินฝากกับสหกรณ์จุฬาฯ ในวงเงิน 550 ล้านบาท แต่สามารถนำเงินไปฝากจำนวนมาก กับสหกรณ์นพเก้าฯ ได้ และหากย้อนกลับไป ดร.สวัสดิ์ เคยเป็นประธานคนแรกของสหกรณ์ ธนกิจไทย
**กรรมร่วม "ธาริต-สวัสดิ์"
"เราไม่พบว่า ดร.สวัสดิ์ เป็นศิษย์ของวัดพระธรรมกายหรือไม่ แต่น่าจะสนิทสนมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร เพราะอยู่ในวงการสหกรณ์ด้วยกัน หลายธุรกรรมจึง
เกี่ยวข้องกับ นายศุภชัย อีกทั้ง ดร.สวัสดิ์ เคยได้รับตำแหน่งนักสหกรณ์แห่งชาติ ปี 2549 และ นายศุภชัย ได้รับในปี 2550"
หนึ่งในหลักทรัพย์ที่สหกรณ์คลองจั่น นำมาเป็นหลักประกันกับสหกรณ์จุฬาฯ คือ อาคารยูทาวเวอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ บริษัทยูฟันด์ แชร์ลูกโซ่ที่เพิ่งถูกจับกุมไป โดยหนึ่งในผู้ต้องหาคือ นางสาวณมนพรรณ์ ธาราบัณฑิต ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ ดร.สวัสดิ์ เมื่อพ้นจากประธานสหกรณ์จุฬาฯ แล้วจะมีทำสหกรณ์ลอตเตอรี่ จนเกิดความเสียหายในวงกว้าง ซึ่งในวัดพระธรรมกายนั้น มีกลุ่มแชร์ลูกโซ่ เข้าไปหาสมาชิกในวัดไม่ต่ำกว่า 20 เจ้า
ส่วนกรณีนายธาริตนั้น การเข้ามามีส่วนให้ความช่วยเหลือสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยและนายธาริต ก็ทำงานตอบสนองทุกพรรคการเมืองอย่างสุดลิ่มมาตลอด อีกทั้งวัดพระธรรมกายนั้น ครอบครัวชินวัตร และสมาชิกพรรคเพื่อไทย มักจะไปทำบุญที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และภายในวัดยังเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคเพื่อไทย รวมไปถึง นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ก็เป็นศิษย์เอกคนหนึ่ง ของพระธัมมชโย
**แม้ทั้งบุคคลทั้งสอง จะประสบปัญหาในชีวิตที่ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ทั้งสองคนกลับมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ เข้ามาเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของคดียักยอกทรัพย์ และเกี่ยวข้องกับพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
จากกรณีของพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ที่ถูกออกหมายจับข้อหาสมคบกันฟอกเงิน ร่วมกันฟอกเงิน และร่วมกันรับของโจร จากการยักยอกทรัพย์ในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ของนายศุภชัย ศรีศุภอักษร อดีตประธานสหกรณ์ฯ และเป็นไวยาวัจกรของวัดพระธรรมกาย
แม้รัฐบาลจะพยายามตรวจค้นภายในวัดพระธรรมกาย โดยอาศัยมาตรา 44 อยู่ 23 วัน แต่ก็ไม่พบตัวพระธัมมชโย เช่นเดียวกันการดำเนินการจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ที่เสนอเรื่องให้มีการสึกพระธัมมชโย แต่ก็ยังติดขัดที่เจ้าคณะจังหวัดปทุมธานี เรื่องคดีของพระธัมมชโย จึงยังไปไม่สุด และไม่มีความคืบหน้ามากนัก
แต่ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา กลับพบว่ามีบุคคลที่เคยเกี่ยวข้องกับปัญหาในสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่เชื่อมโยงกันจนเป็นคดีกับวัดพระธรรมกาย อยู่ 2 ราย กำลังประสบปัญหา คือนายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ถูกคำสั่งไล่ออกจากราชการ อีกราย รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธานสหกรณ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถูกออกหมายจับฐานฉ้อโกง
ทั้ง 2 ราย แม้จะเผชิญกับมรสุมในชีวิตที่ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่กลับพบว่าในช่วงการทำงานที่ผ่านมา ทั้งคู่ล้วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับ สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยน คลองจั่น ต้นทางของการยักยอกทรัพย์ที่เชื่อมต่อไปยังเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย
เริ่มที่ นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อดีตอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ คนที่ติดตามสถานการณ์บ้านเมืองจะทราบดีว่า เขามีบทบาทในทุกรัฐบาล เรียกว่ารัฐบาลพรรคไหนมาก็ทำงานตอบสนองพรรคนั้นอย่างเต็มที่ ทั้งรัฐบาลประชาธิปัตย์ และรัฐบาลเพื่อไทย ชนิดที่เปลี่ยนแนวทางในการทำงานได้แบบหน้ามือเป็นหลังมือ
แต่ดูเหมือนว่า การเปลี่ยนรัฐบาลจากพรรคเพื่อไทยมาเป็นคณะรักษาความสงบแห่งชาติ นายธาริตไม่ได้รับโอกาสที่จะทำงานรับใช้รัฐบาลของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพราะเพียง 2 วันหลังการยึดอำนาจ เขาถูกย้ายไปเป็นที่ปรึกษาประจำสำนักนายกรัฐมนตรี พร้อมๆ กับมีการตรวจสอบจากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เรื่องร่ำรวยผิดปกติ
จนกระทั่ง 10 มีนาคม 2559 ป.ป.ช.มีมติเป็นเอกฉันท์ว่า นายธาริต ร่ำรวยผิดปกติ รวมมูลค่า 346 ล้านบาท จนเป็นเหตุให้หน่วยงานต้นสังกัด สำนักงานเลขาธิการนายกรัฐมนตรีแจ้งว่า ได้มีคำสั่งไล่นายธาริตออกจากราชการ เมื่อ 3 เมษายน 2560
การเข้าไปเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นนั้น อยู่ในช่วงที่นายธาริต ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI)ซึ่งขณะนั้น สหกรณ์ฯ คลองจั่น มีปัญหาในการบริหารงาน อยู่ระหว่างการตรวจสอบคดียักยอกทรัพย์กว่าหมื่นล้านบาท โดยในวันที่ 12 เมษายน 2556 นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ประธานสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ในขณะนั้น ได้ส่งหนังสือสอบถาม นายธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ เพื่อขอทราบผลการตรวจสอบข้อเท็จจริง และให้ยืนยันผลการร้องเรียนกล่าวหา สหกรณ์ฯ ปัญหาความผิดพลาดต่างๆ ในการบริหาร ซึ่งอยู่ระหว่างการสอบสวนของ ดีเอสไอ
เพียง 7 วันผ่านไป 19 เมษายน 2556 นายธาริต ทำหนังสือตอบกลับนายศุภชัย และสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่นว่า ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้ว ไม่พบการกระทำความผิดตามข้อที่ได้ร้องเรียนแต่อย่างใด
นอกจากนี้ เมื่อนายธาริต พ้นจากตำแหน่งอธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ ทางดีเอสไอ ได้ตรวจสอบพบว่า นายธาริตเข้าไปเกี่ยวข้องกับการขายที่ดินของ นายศุภชัย จำนวน 1,822 ไร่ วงเงิน 477 ล้านบาท โดยระบุว่า เพื่อนำเงินมาใช้คืนสหกรณ์ฯ แต่กลับคืนเงินให้กับสหกรณ์เพียง 100 ล้านบาท เนื่องจากนายธาริต เป็นผู้อนุมัติให้ดำเนินการขายที่ดินดังกล่าว จึงได้ส่งเรื่องเสนอต่อสำนักนายกรัฐมนตรี ดำเนินการตั้งคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยแก่นายธาริต
**"สวัสดิ์"อัดฉีดเงินให้สหกรณ์คลองจั่น
อีกบุคคลหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงในเวลานี้ จากคดีฉ้อโกงด้วยการหลอกลวงให้มีการนำเงินไปร่วมลงทุนในสหกรณ์ลอตเตอรี่ จนถูกออกหมายจับ คือ รศ.ดร.สวัสดิ์ แสงบางปลา อดีตประธาน สหกรณ์ออมทรัพย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
กองปราบปรามพบว่า ผู้ต้องหารายนี้มีพฤติกรรมหลอกกลุ่มอาจารย์ เพื่อนร่วมมหาวิทยาลัย ให้ลงทุนซื้อโควตาลอตเตอรี่ แลกผลตอบแทนร้อยละ 1 ต่อเดือน มีผู้ตกเป็นเหยื่อมากกว่า 160 คน ความเสียหายกว่า 1,400 ล้านบาท ก่อนหอบเงินหลบหนีไป โดยสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล แจ้งว่า ไม่มีการซื้อโควตาสลากกินแบ่งรัฐบาลตามที่ผู้ต้องหากล่าวอ้างแต่อย่างใด จึงน่าเชื่อว่าเป็นการหลอกลวงให้ร่วมลงทุน จนนำไปสู่ความเสียหาย และออกหมายจับ
ก่อนหน้านี้ ดร.สวัสดิ์ นั่งเป็นประธานสหกรณ์ออมทรัพย์จุฬาฯ และที่ปรึกษาอยู่หลายสมัย โดยใช้เงินของสหกรณ์จุฬาฯ ให้สหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น กู้ยืม 1,431 ล้านบาท ฝากเงินกับสหกรณ์มงคลเศรษฐี 200 ล้านบาท ซึ่งสหกรณ์ทั้ง 2 แห่ง มีนายศุภชัย ศรีศุภอักษร เป็นประธานในขณะนั้น และยังเป็นไวยาวัจกร ของวัดพระธรรมกาย อีกด้วย
โดยเฉพาะ สหกรณ์มงคลเศรษฐี ตั้งอยู่ในวัดพระธรรมกาย ที่เคยมีเรื่องฮือฮาว่า ปล่อยเงินกู้ให้กับลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย เพื่อใช้ในการทำบุญ
ยังมีสหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ ที่ดร.สวัสดิ์ อนุมัติให้มีการฝากเงินในครั้งแรก 100 ล้านบาท และ ฝากเพิ่มอีก เป็น 915 ล้านบาท
**ปล่อยกู้-น่าสงสัย
ในเวลานั้น ทั้ง 3 สหกรณ์นี้ กลับมีปัญหาไม่สามารถนำเงินมาชดใช้สหกรณ์จุฬาฯ ได้ จนต้องมีการฟ้องร้อง ทั้งนี้ดร.สวัสดิ์ ขณะที่เป็นประธานสหกรณ์จุฬาฯ ชี้แจงว่า วงเงินกู้ 1,431 ล้านบาท ของสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น มีหลักทรัพย์ประกันเป็นโฉนดที่ดิน 28 ไร่ 2 งาน 96 ตารางวา พร้อมสิ่งปลูกสร้าง อาคารยูทาวเวอร์ พร้อมศูนย์ประชุมติดถนนศรีนครินทร์ โดยมีกระบวนการฟื้นฟู และทยอยชำระหนี้ให้
ส่วนสหกรณ์มงคลเศรษฐี อยู่ในกระบวนการฟ้องร้อง และเจรจา ขณะที่สหกรณ์เคหสถานนพเก้ารวมใจ อ้างว่ามีหลักประกันเป็นโฉนดที่ดิน จำนวน 218 ไร่ 3 งาน 48 ตารางวา อยู่ใกล้มหาวิทยาลัยมหาสารคาม จ.มหาสารคาม นำมาจำนองเป็นประกัน ที่ดินดังกล่าวอยู่ระหว่างการพัฒนา อยู่ในขั้นตอนการฟ้องร้อง
ในเรื่องนี้ อดีตประธานสหกรณ์จุฬาฯ ท่านอื่นได้ออกมาตั้งข้อสังเกตการบริหารงานของ ดร.สวัสดิ์ ว่า การปล่อยกู้ให้กับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น เมื่อ 25 มิถุนายน 2556 นั้น เกิดขึ้นหลังจากผู้บริหารสหกรณ์คลองจั่น ชุดนายศุภชัย ถูกแจ้งความดำเนินคดีข้อหายักยอกทรัพย์ฉ้อโกงประชาชน ในเดือนเมษายน 2556 และการปล่อยกู้ในครั้งนี้ เกิดขึ้นก่อนมีมติยึดอายัดทรัพย์เครือข่ายนายศุภชัย เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2556 เพียง 3 วัน
เช่นเดียวกับการฝากเงิน เมื่อ 6 มีนาคม 2556 ในสหกรณ์มงคลเศรษฐี ที่เป็นกลุ่มของนายศุภชัย และอยู่ในวัดพระธรรมกาย
ด้านหนึ่งเข้าใจได้ว่า ในฐานะของผู้บริหารสหกรณ์ฯ จำเป็นต้องหาผลตอบแทนที่สูง เพื่อเป็นประโยชน์กับสหกรณ์ที่บริหารอยู่ แต่ในทางปฏิบัติแล้วก็ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับสหกรณ์ ด้วยเช่นกัน คนในวงการเดียวกันย่อมมองกันออกว่าสถานะของแต่ละสหกรณ์มีความมั่นคงเพียงใด
กรณีที่เกิดขึ้นกับสหกรณ์จุฬาฯ น่าสังเกตว่า เหตุใด ดร.สวัสดิ์ จึงไปหาผลตอบแทนจากสหกรณ์ที่มีความเสี่ยงกับสหกรณ์คลองจั่น และสหกรณ์มงคลเศรษฐี เช่นเดียวกับการฝากเงินกับ สหกรณ์นพเก้ารวมใจ จาก 100 ล้านบาท เพิ่มเป็น 915 ล้านบาท โดยที่สถานะของสหกรณ์นพเก้าฯ มีสถานะขาดทุน แม้จะมีที่ดินที่มหาสารคาม ค้ำประกันก็ตาม
นอกจากนี้ยังพบว่า ในขณะนั้นสหกรณ์นพเก้ารวมใจ เป็นหนี้เงินฝากชุมนุมสหกรณ์ธนกิจไทย ราว 4,865 ล้านบาท แต่สหกรณ์ธนกิจไทย กลับมีปัญหาค้างดอกเบี้ยเงินฝากกับสหกรณ์จุฬาฯ ในวงเงิน 550 ล้านบาท แต่สามารถนำเงินไปฝากจำนวนมาก กับสหกรณ์นพเก้าฯ ได้ และหากย้อนกลับไป ดร.สวัสดิ์ เคยเป็นประธานคนแรกของสหกรณ์ ธนกิจไทย
**กรรมร่วม "ธาริต-สวัสดิ์"
"เราไม่พบว่า ดร.สวัสดิ์ เป็นศิษย์ของวัดพระธรรมกายหรือไม่ แต่น่าจะสนิทสนมกับ นายศุภชัย ศรีศุภอักษร เพราะอยู่ในวงการสหกรณ์ด้วยกัน หลายธุรกรรมจึง
เกี่ยวข้องกับ นายศุภชัย อีกทั้ง ดร.สวัสดิ์ เคยได้รับตำแหน่งนักสหกรณ์แห่งชาติ ปี 2549 และ นายศุภชัย ได้รับในปี 2550"
หนึ่งในหลักทรัพย์ที่สหกรณ์คลองจั่น นำมาเป็นหลักประกันกับสหกรณ์จุฬาฯ คือ อาคารยูทาวเวอร์ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของ บริษัทยูฟันด์ แชร์ลูกโซ่ที่เพิ่งถูกจับกุมไป โดยหนึ่งในผู้ต้องหาคือ นางสาวณมนพรรณ์ ธาราบัณฑิต ลูกศิษย์วัดพระธรรมกาย
ดังนั้น จึงไม่แปลกที่ ดร.สวัสดิ์ เมื่อพ้นจากประธานสหกรณ์จุฬาฯ แล้วจะมีทำสหกรณ์ลอตเตอรี่ จนเกิดความเสียหายในวงกว้าง ซึ่งในวัดพระธรรมกายนั้น มีกลุ่มแชร์ลูกโซ่ เข้าไปหาสมาชิกในวัดไม่ต่ำกว่า 20 เจ้า
ส่วนกรณีนายธาริตนั้น การเข้ามามีส่วนให้ความช่วยเหลือสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ขณะนั้นเป็นรัฐบาลของ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จากพรรคเพื่อไทยและนายธาริต ก็ทำงานตอบสนองทุกพรรคการเมืองอย่างสุดลิ่มมาตลอด อีกทั้งวัดพระธรรมกายนั้น ครอบครัวชินวัตร และสมาชิกพรรคเพื่อไทย มักจะไปทำบุญที่วัดแห่งนี้เป็นประจำ และภายในวัดยังเป็นฐานเสียงที่สำคัญของพรรคเพื่อไทย รวมไปถึง นายศุภชัย ศรีศุภอักษร ก็เป็นศิษย์เอกคนหนึ่ง ของพระธัมมชโย
**แม้ทั้งบุคคลทั้งสอง จะประสบปัญหาในชีวิตที่ต่างกรรมต่างวาระกัน แต่ทั้งสองคนกลับมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือ เข้ามาเกี่ยวข้องกับสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น ที่กลายเป็นจุดเริ่มต้นของคดียักยอกทรัพย์ และเกี่ยวข้องกับพระธัมมชโย อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย