คสรท.จัด"วันเมย์เดย์"ที่ราชดำเนิน ขอปรับโครงสร้างค่าจ้างแทนการปรับค่าแรงขั้นต่ำ "อิสระ ว่องกุศลกิจ" ค้านขึ้นค่าแรง 410 บาทต่อวัน หวั่นกระทบการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมลดลง เหตุไทยยังโตไม่พอ คาดภาพรวมเศรษฐกิจปี 60 เริ่มปรับตัวดีขึ้น 3.5-4 %
วานนี้ (30เม.ย.) นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง กิจกรรมเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ที่มีขึ้นในวันนี้ (1 พ.ค.) ว่า คสรท. และเครือข่ายแรงงานต่างๆ ประมาณ 3,000 คน จะมีกิจกรรมเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และองค์การสหประชาชาติ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ซึ่งเป็นพิธีเปิดงาน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยจะเปิดข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ซึ่งเคยได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลไปแล้ว และจะมีกิจกรรมการปรับตัวของลูกจ้างในยุคข้ามผ่าน 3.0 ไปสู่ยุค 4.0 จากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปยัง องค์การสหประชาติ เพื่อปิดกิจกรรม
"สาเหตุที่ไม่เข้าร่วมกับสภาองค์การลูกจ้าง และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ที่จัดงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น เพราะมองว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นของภาครัฐ แม้ทางสภาองค์การลูกจ้างจะร่วมด้วย แต่ก็ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ ถึง 4.9 ล้านบาท การจะเคลื่อนไหวอาจไม่เต็มที่ ทาง คสรท.มองว่า วันแรงงานจึงควรเป็นลูกจ้างผู้ใช้แรงงานร่วมกันทำมากกว่า" นายชาลี กล่าว
ส่วนในปีนี้ จะมีการเรียกร้อง เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำด้วยหรือไม่ เนื่องจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลสำรวจ แรงงานส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 410 บาทต่อวัน นายชาลี กล่าวว่า เรื่องนี้เป็น 1 ใน 10 ข้อเรียกร้อง โดยทาง คสรท. เสนอว่า รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน อาทิ กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี เพราะหากเรียกร้องให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ยังไม่ทันจะปรับ แค่มีข่าวเรียกร้อง พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ ต่างก็ปรับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค โดยอ้างว่า รัฐจะมีการปรับค่าแรง ทั้งๆ ที่รัฐยังไม่ได้ปรับด้วยซ้ำ ดังนั้น ควรปรับโครงสร้างค่าจ้างตามความเป็นจริง และปรับค่าจ้างทุกปีดีกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ในวันนี้ จะจัดกิจกรรม 2 แห่ง แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน โดยแห่งแรก ที่บริเวณอาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และจะมีกิจกรรมของกระทรวงแรงงาน และทางสภาองค์การลูกจ้าง และอีกแห่งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่มี คสรท. และภาคีเครือข่ายแรงงาน ร่วมเรียกร้องกันเองอีกประมาณ 3,000 คน
** ค้านค่าแรงขั้นต่ำวันละ410 บาท
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานที่ปรึกษาหอการค้าไทย กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจปี 60 ว่า ในปีนี้ คณะกรรมการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (กกร.) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น 3.5 - 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มดีขึ้น การส่งออกเพิ่มขึ้นดี ราคาผลผลิตการเกษตรเริ่มดี รวมถึงการท่องเที่ยว ถึงแม้จะโตไม่มาก แต่สามารถเก็บรายได้เพิ่มขึ้น โดยภาพรวมหลายอย่างเริ่มดีขึ้น หากปีนี้ไม่มีภัยคุกคามทั้งการก่อการร้าย ปัญหาราคาน้ำมัน ส่วนวิกฤติเกาหลีเหนือเป็นที่วิกฤติที่ทุกฝ่ายกังวล แต่เราไม่ได้เป็นผู้ก่อและอยู่ห่างไกลจากปัญหา ตนคิดว่าภาคเอกชนก็ต้องดำเนินการไปตามปกติ ซึ่งภาคธุรกิจก็มีมาตราการป้องกนและเตรียมรับมืออยู่แล้ว อย่างไรตามเชื่อว่า ไม่น่าจะถึงขั้นรุนแรง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในการปรับตัวที่ผู้ประกอบการกับรัฐร่วมกันพัฒนาขีดความสารถด้านการแข่งขันเพิ่มขึ้นและปลดล็อกกฎระเบียบให้มีความข้องตัว
นายอิสระ กล่าวยังกล่าวถึง ผลสำรวจหอการค้าไทยที่พบว่าแรงงานไทยต้องการปรับขึ้นค่าแรงต่อวันเป็น 410 บาท ภายใน3 ปี ว่า จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศขณะนี้ยังไม่โตพอที่จะปรับขึ้นค่าแรง จะทำให้ศักยภาพการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมลดลง จะเป็นการทำลายตัวเอง กระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย และอาจเพิ่มอัตราการว่างงาน แต่หากภาคแรงงานมีความเดือดร้อนจริงๆ คณะกรรมการค่าจ้าง(ไตรภาคี) จะต้องประเมินปัจจัยต่างๆ เป็นรายจังหวัด ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ
นายอิสระ ยังกล่าวด้วยว่า การที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ และโรดแมปเดินหน้า ถือเป็นการบ่งชี้ว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งเร็วๆนี้ ฉะนั้นจะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของต่างประเทศ ทูตานุทูตที่อยู่ในไทยที่ยึดถือประชาธิไตยเป็นสิ่งสำคัญ และคาดว่าการเดินหน้าโรดแมปจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต่างประเทศผ่อนปรนและเริ่มลงทุนกับไทยมากขึ้น
**แรงงานอยากได้ค่าตอบแทนเพิ่ม
โพล ม.กรุงเทพ สำรวจเรื่องแรงงานไทย ส่วนใหญ่รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และได้รับแล้ว มองว่าควรขึ้นมากกว่านี้ รับตอนพอดีกับค่าใช้จ่าย ไม่มีเหลือเก็บออม เปรียบว่าพออยู่พอกิน เสียงแตกพอๆ กัน เมื่อถามกลัวต่างด้าวแย่งงาน
เนื่องในวันที่ 1 พ.ค. เป็นวันแรงงานแห่งชาติ กรุงเทพโพล ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง"แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า"โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน1,149 คน พบว่า
ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 305-310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ เริ่ม 1 ม.ค.60 ขณะที่ร้อยละ 34.8 ไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ เมื่อถามต่อว่า ได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาท แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 ระบุว่า ได้รับแล้ว ขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่า ยังไม่ได้รับ
สำหรับความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.8 เห็นว่า น่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่า เป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนร้อยละ 14.4 เห็นว่า ยิ่งขึ้นยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อถามว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4 เห็นว่า พอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ส่วนร้อยละ 33.8 เห็นว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 18.8 เห็นว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีเงินเก็บออม
ทั้งนี้ เมื่อให้เปรียบสภาพทางการเงินของตนเองกับสำนวนไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.2 เปรียบได้กับสำนวน พออยู่พอกิน รองลงมา ร้อยละ 31.4 ชักหน้าไม่ถึงหลัง และ ร้อยละ 3.1 เหลือกินเหลือใช้
นอกจากนี้ เมื่อถามว่า การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน หรือกีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่ ส่วนใหญ่
วานนี้ (30เม.ย.) นายชาลี ลอยสูง รองประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) กล่าวถึง กิจกรรมเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ที่มีขึ้นในวันนี้ (1 พ.ค.) ว่า คสรท. และเครือข่ายแรงงานต่างๆ ประมาณ 3,000 คน จะมีกิจกรรมเนื่องในวันแรงงานแห่งชาติ ที่บริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และองค์การสหประชาชาติ โดยเริ่มตั้งแต่เวลา 09.00 น. ซึ่งเป็นพิธีเปิดงาน ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย โดยจะเปิดข้อเรียกร้อง 10 ข้อ ซึ่งเคยได้ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาลไปแล้ว และจะมีกิจกรรมการปรับตัวของลูกจ้างในยุคข้ามผ่าน 3.0 ไปสู่ยุค 4.0 จากนั้นจะเคลื่อนขบวนไปยัง องค์การสหประชาติ เพื่อปิดกิจกรรม
"สาเหตุที่ไม่เข้าร่วมกับสภาองค์การลูกจ้าง และสหพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจแห่งประเทศไทย ที่จัดงานร่วมกับกระทรวงแรงงาน และมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานนั้น เพราะมองว่า กิจกรรมดังกล่าวเป็นของภาครัฐ แม้ทางสภาองค์การลูกจ้างจะร่วมด้วย แต่ก็ได้รับงบประมาณจากภาครัฐ ถึง 4.9 ล้านบาท การจะเคลื่อนไหวอาจไม่เต็มที่ ทาง คสรท.มองว่า วันแรงงานจึงควรเป็นลูกจ้างผู้ใช้แรงงานร่วมกันทำมากกว่า" นายชาลี กล่าว
ส่วนในปีนี้ จะมีการเรียกร้อง เรื่องค่าจ้างขั้นต่ำด้วยหรือไม่ เนื่องจากศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจ และธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดผลสำรวจ แรงงานส่วนใหญ่เห็นว่า ควรปรับค่าแรงขั้นต่ำเป็น 410 บาทต่อวัน นายชาลี กล่าวว่า เรื่องนี้เป็น 1 ใน 10 ข้อเรียกร้อง โดยทาง คสรท. เสนอว่า รัฐต้องกำหนดค่าจ้างแรงงานที่เป็นธรรมให้ครอบคลุมผู้ใช้แรงงานทุกภาคส่วน อาทิ กำหนดให้มีโครงสร้างค่าจ้าง และปรับค่าจ้างทุกปี เพราะหากเรียกร้องให้ปรับค่าแรงขั้นต่ำ ยังไม่ทันจะปรับ แค่มีข่าวเรียกร้อง พ่อค้าแม่ค้า ผู้ประกอบการธุรกิจ อุตสาหกรรมต่างๆ ต่างก็ปรับราคาสินค้าอุปโภค บริโภค โดยอ้างว่า รัฐจะมีการปรับค่าแรง ทั้งๆ ที่รัฐยังไม่ได้ปรับด้วยซ้ำ ดังนั้น ควรปรับโครงสร้างค่าจ้างตามความเป็นจริง และปรับค่าจ้างทุกปีดีกว่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กิจกรรมวันแรงงานแห่งชาติ ในวันนี้ จะจัดกิจกรรม 2 แห่ง แบ่งเป็น 2 หน่วยงาน โดยแห่งแรก ที่บริเวณอาคารกีฬาเวสน์ 2 ศูนย์เยาวชนกรุงเทพมหานคร (ไทย-ญี่ปุ่น) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน และจะมีกิจกรรมของกระทรวงแรงงาน และทางสภาองค์การลูกจ้าง และอีกแห่งที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ที่มี คสรท. และภาคีเครือข่ายแรงงาน ร่วมเรียกร้องกันเองอีกประมาณ 3,000 คน
** ค้านค่าแรงขั้นต่ำวันละ410 บาท
นายอิสระ ว่องกุศลกิจ คณะกรรมาธิการการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม และการแรงงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และประธานที่ปรึกษาหอการค้าไทย กล่าวถึงภาพรวมเศรษฐกิจปี 60 ว่า ในปีนี้ คณะกรรมการร่วมสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย (กกร.) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจจะเติบโตขึ้น 3.5 - 4 เปอร์เซ็นต์ ซึ่ง 2 เดือนที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าความเชื่อมั่นของผู้บริโภคเริ่มดีขึ้น การส่งออกเพิ่มขึ้นดี ราคาผลผลิตการเกษตรเริ่มดี รวมถึงการท่องเที่ยว ถึงแม้จะโตไม่มาก แต่สามารถเก็บรายได้เพิ่มขึ้น โดยภาพรวมหลายอย่างเริ่มดีขึ้น หากปีนี้ไม่มีภัยคุกคามทั้งการก่อการร้าย ปัญหาราคาน้ำมัน ส่วนวิกฤติเกาหลีเหนือเป็นที่วิกฤติที่ทุกฝ่ายกังวล แต่เราไม่ได้เป็นผู้ก่อและอยู่ห่างไกลจากปัญหา ตนคิดว่าภาคเอกชนก็ต้องดำเนินการไปตามปกติ ซึ่งภาคธุรกิจก็มีมาตราการป้องกนและเตรียมรับมืออยู่แล้ว อย่างไรตามเชื่อว่า ไม่น่าจะถึงขั้นรุนแรง ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยอยู่ในการปรับตัวที่ผู้ประกอบการกับรัฐร่วมกันพัฒนาขีดความสารถด้านการแข่งขันเพิ่มขึ้นและปลดล็อกกฎระเบียบให้มีความข้องตัว
นายอิสระ กล่าวยังกล่าวถึง ผลสำรวจหอการค้าไทยที่พบว่าแรงงานไทยต้องการปรับขึ้นค่าแรงต่อวันเป็น 410 บาท ภายใน3 ปี ว่า จะส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรม เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศขณะนี้ยังไม่โตพอที่จะปรับขึ้นค่าแรง จะทำให้ศักยภาพการแข่งขันในภาคอุตสาหกรรมลดลง จะเป็นการทำลายตัวเอง กระทบกับผู้ประกอบการรายย่อย และอาจเพิ่มอัตราการว่างงาน แต่หากภาคแรงงานมีความเดือดร้อนจริงๆ คณะกรรมการค่าจ้าง(ไตรภาคี) จะต้องประเมินปัจจัยต่างๆ เป็นรายจังหวัด ประกอบกับปัจจัยอื่นๆ
นายอิสระ ยังกล่าวด้วยว่า การที่รัฐธรรมนูญประกาศใช้ และโรดแมปเดินหน้า ถือเป็นการบ่งชี้ว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่การเลือกตั้งเร็วๆนี้ ฉะนั้นจะส่งผลถึงความเชื่อมั่นของต่างประเทศ ทูตานุทูตที่อยู่ในไทยที่ยึดถือประชาธิไตยเป็นสิ่งสำคัญ และคาดว่าการเดินหน้าโรดแมปจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ต่างประเทศผ่อนปรนและเริ่มลงทุนกับไทยมากขึ้น
**แรงงานอยากได้ค่าตอบแทนเพิ่ม
โพล ม.กรุงเทพ สำรวจเรื่องแรงงานไทย ส่วนใหญ่รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ และได้รับแล้ว มองว่าควรขึ้นมากกว่านี้ รับตอนพอดีกับค่าใช้จ่าย ไม่มีเหลือเก็บออม เปรียบว่าพออยู่พอกิน เสียงแตกพอๆ กัน เมื่อถามกลัวต่างด้าวแย่งงาน
เนื่องในวันที่ 1 พ.ค. เป็นวันแรงงานแห่งชาติ กรุงเทพโพล ได้ดำเนินการสำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง"แรงงานไทย ใจสู้หรือเปล่า"โดยเก็บข้อมูลกับผู้ใช้แรงงาน ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน1,149 คน พบว่า
ผู้ใช้แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 65.2 รับทราบการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำจากเดิม 300 บาท เป็น 305-310 บาท ตามที่รัฐมีมติปรับขึ้นค่าจ้างใหม่ เริ่ม 1 ม.ค.60 ขณะที่ร้อยละ 34.8 ไม่ทราบข่าว ทั้งนี้ เมื่อถามต่อว่า ได้รับค่าแรงขั้นต่ำที่เพิ่มขึ้นจากเดิม 300 บาท เป็น 310 บาท แล้วหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 78.9 ระบุว่า ได้รับแล้ว ขณะที่ร้อยละ 21.1 ระบุว่า ยังไม่ได้รับ
สำหรับความเห็นต่อการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำดังกล่าวของภาครัฐ พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 52.8 เห็นว่า น่าจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 32.8 เห็นว่า เป็นการขึ้นที่สมเหตุสมผลแล้ว เหมาะกับสภาพเศรษฐกิจ ส่วนร้อยละ 14.4 เห็นว่า ยิ่งขึ้นยิ่งหางานทำยาก เพราะต้นทุนของนายจ้างเพิ่มสูงขึ้น
เมื่อถามว่า ค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 47.4 เห็นว่า พอดีกับค่าใช้จ่าย จึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม ส่วนร้อยละ 33.8 เห็นว่า ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ขณะที่ร้อยละ 18.8 เห็นว่า เพียงพอกับค่าใช้จ่าย และมีเงินเก็บออม
ทั้งนี้ เมื่อให้เปรียบสภาพทางการเงินของตนเองกับสำนวนไทย พบว่า ส่วนใหญ่ ร้อยละ 64.2 เปรียบได้กับสำนวน พออยู่พอกิน รองลงมา ร้อยละ 31.4 ชักหน้าไม่ถึงหลัง และ ร้อยละ 3.1 เหลือกินเหลือใช้
นอกจากนี้ เมื่อถามว่า การเข้ามาของแรงงานต่างด้าวจากประเทศเพื่อนบ้าน มีผลต่อการแย่งงาน หรือกีดกันการทำงานของแรงงานไทยใช่หรือไม่ ส่วนใหญ่