"อนันตพร" เผยเปิดประมูล 2 แหล่งก๊าซฯเอราวัณ-บงกช ก.ค.นี้ อาจต้องเลื่อนออกไป 1-2 เดือน เหตุต้องใช้เวลาในขั้นตอนเปิดรับฟังความคิดเห็นกฏหมายลูกที่เกี่ยวข้อง เพื่อความโปร่งใส เอกชนเข้าใจและมั่นใจว่าจะมีเอกชนสนใจยื่นประมูลจำนวนมาก จับตา"กบง." 1 พ.ค. เคาะราคาขายปลีกแอลพีจี เดือนพ.ค.มีลุ้นราคาลด
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล (Bidding TOR) เพื่อการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 แล้วคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ทันเดือนพ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยอมรับว่ากรอบเวลาตามแผนงานเดิมที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลในเดือนก.ค.นี้ และจะคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ภายในธ.ค. กรอบเวลาดังกล่าวอาจจะเลื่อนออกไปประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในส่วนของกฏหมายลูก
" กระบวนการคือ จะต้องผ่านคณะกรรมการปิโตรเลียมเห็นชอบ แล้วจึงนำเสนอครม.ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จะมีการออกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งเป็นกฎกระทรวง 5 ฉบับ และ 1 ประกาศ ซึ่งขั้นตอนรายละเอียดต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นโดยจะมีทั้งการทำโฟกัสกรุ๊ป และการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส"รมว.พลังงาน กล่าว
สำหรับกฎหมายลูก ได้แก่ 1. ประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม"หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจ และผลิตปโตรเลียม 2. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิ เป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต 3. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข และระยะเวลาการให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตนำส่งค่าภาคหลวงแก่รัฐ 4. กฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต 5. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการได้มา ซึ่งผู้รับสัญญาจ้างสำรวจ และผลิต 6. กฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิต
ทั้งนี้ แม้ว่าระยะเวลาอาจจะเลื่อนไปจากกรอบเดิมเล็กน้อย แต่เอกชนเองก็ไม่ได้มีปัญหาใดๆ โดยล่าสุดก็ยังพบว่า มีเอกชนแสดงความสนใจที่จะประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช หลายราย อย่างไรก็ตาม ภายใต้พ.ร.บ.ฯใหม่ ได้เปิดทางเลือกไว้ทั้งระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC ) และระบบสัญญาจ้างบริการ(SC) ดังนั้น การเปิดประมูลแหล่งก๊าซฯเอราวัณ-บงกช จะมีการเสนอทางเลือกมากกว่า 1 ทางเลือกแน่นอน แต่จะเป็นแบบใดนั้น คงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) วันที่ 1 พ.ค.นี้ ยังไม่ทราบวาระรายละเอียด แต่หลักๆ จะมีการพิจารณาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี ประจำเดือนพ.ค.
แหล่งข่าวจาก กบง. กล่าวว่า กบง.วันที่ 1 พ.ค. จะมีการพิจารณาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี เดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งแนวโน้มราคาตลาดโลก (CP) ในเดือนนี้ ยังคงเป็นช่วงขาลงเล็กน้อย จึงมีแนวโน้มราคาขายปลีกอาจปรับตัวลดลงได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุม กบง.ว่าจะตัดสินใจลดราคาขายปลีกหรือลดอัตราการชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงจากที่ปัจจุบันชดเชยอยู่ที่ 3.72 บาท ต่อกิโลกรัม
พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติได้รายงานความคืบหน้าเกี่ยวกับแนวทางการกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการประมูล (Bidding TOR) เพื่อการเปิดประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช ที่จะสิ้นสุดอายุสัมปทานปี 2565-66 แล้วคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบให้ทันเดือนพ.ค.นี้
อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นยอมรับว่ากรอบเวลาตามแผนงานเดิมที่คาดว่าจะเริ่มเปิดประมูลในเดือนก.ค.นี้ และจะคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ภายในธ.ค. กรอบเวลาดังกล่าวอาจจะเลื่อนออกไปประมาณ 1-2 เดือน เนื่องจากต้องใช้เวลาในขั้นตอนการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนในส่วนของกฏหมายลูก
" กระบวนการคือ จะต้องผ่านคณะกรรมการปิโตรเลียมเห็นชอบ แล้วจึงนำเสนอครม.ซึ่งร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียม และภาษีเงินได้ปิโตรเลียม จะมีการออกฎหมายลูกมารองรับ ซึ่งเป็นกฎกระทรวง 5 ฉบับ และ 1 ประกาศ ซึ่งขั้นตอนรายละเอียดต้องมีการเปิดรับฟังความเห็นโดยจะมีทั้งการทำโฟกัสกรุ๊ป และการนำเสนอผ่านเว็บไซต์ เพื่อให้เกิดความโปร่งใส"รมว.พลังงาน กล่าว
สำหรับกฎหมายลูก ได้แก่ 1. ประกาศคณะกรรมการปิโตรเลียม"หลักเกณฑ์และวิธีการกำหนดพื้นที่ที่จะดำเนินการสำรวจ และผลิตปโตรเลียม 2. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการขอและการได้รับสิทธิ เป็นผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิต 3. กฎกระทรวง กำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไข และระยะเวลาการให้ผู้รับสัญญาแบ่งปันผลผลิตนำส่งค่าภาคหลวงแก่รัฐ 4. กฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาแบ่งปันผลผลิต 5. กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขในการได้มา ซึ่งผู้รับสัญญาจ้างสำรวจ และผลิต 6. กฎกระทรวงกำหนดแบบสัญญาจ้างสำรวจและผลิต
ทั้งนี้ แม้ว่าระยะเวลาอาจจะเลื่อนไปจากกรอบเดิมเล็กน้อย แต่เอกชนเองก็ไม่ได้มีปัญหาใดๆ โดยล่าสุดก็ยังพบว่า มีเอกชนแสดงความสนใจที่จะประมูลแหล่งก๊าซธรรมชาติเอราวัณ และบงกช หลายราย อย่างไรก็ตาม ภายใต้พ.ร.บ.ฯใหม่ ได้เปิดทางเลือกไว้ทั้งระบบสัมปทาน ระบบแบ่งปันผลผลิต (PSC ) และระบบสัญญาจ้างบริการ(SC) ดังนั้น การเปิดประมูลแหล่งก๊าซฯเอราวัณ-บงกช จะมีการเสนอทางเลือกมากกว่า 1 ทางเลือกแน่นอน แต่จะเป็นแบบใดนั้น คงยังไม่สามารถเปิดเผยได้ ส่วนการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน(กบง.) วันที่ 1 พ.ค.นี้ ยังไม่ทราบวาระรายละเอียด แต่หลักๆ จะมีการพิจารณาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี ประจำเดือนพ.ค.
แหล่งข่าวจาก กบง. กล่าวว่า กบง.วันที่ 1 พ.ค. จะมีการพิจารณาราคาขายปลีกก๊าซแอลพีจี เดือนพฤษภาคม 2560 ซึ่งแนวโน้มราคาตลาดโลก (CP) ในเดือนนี้ ยังคงเป็นช่วงขาลงเล็กน้อย จึงมีแนวโน้มราคาขายปลีกอาจปรับตัวลดลงได้ แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับที่ประชุม กบง.ว่าจะตัดสินใจลดราคาขายปลีกหรือลดอัตราการชดเชยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงจากที่ปัจจุบันชดเชยอยู่ที่ 3.72 บาท ต่อกิโลกรัม