นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ กล่าวเปิดการสัมมนารับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญว่า ศาลรัฐธรรมนูญเป็นองค์กรที่เป็นเสาหลักในการค้ำจุนขื่อแปของบ้านเมือง ดังนั้น การทำงานของศาลรัฐธรรมนูญต้องมีการวางกฎเกณฑ์ ให้มีการปฏิบัติอย่างเคร่งครัด แต่ในระหว่างที่ กรธ.ร่างรัฐธรรมนูญถึงหมวดว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ก็มีความกังวลมากว่าทำอย่างไรจะให้คนเข้าถึงศาลรัฐธรรมนูญได้ง่าย แต่ต้องไม่ให้ศาลรัฐธรรมนูญ เกิดภาระจนทำไม่ไหว เพราะไม่ใช่ศาลยุติธรรม หรือศาลปกครอง ที่มีทั่วไปทั้งประเทศ แต่ศาลรธน.มีตุลาการเพียง 9 ท่าน ถ้ามีคดีมากนักจะทำไม่ไหว จะเจอปัญหาความล่าช้าจนไม่เกิดความยุติธรรม
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า กลไกที่จะมาศาลรธน. ต้องไมง่ายจนเกินไป และต้องระมัดระวัง เพราะรธน. กำหนดหลักการให้หน่วยงานรัฐและประชาชนที่มีปัญหาเปิดช่องให้ไปศาลรธน.ได้มากกว่าเดิม จากที่เคยกำหนดว่าต้องเกิดเรื่องทะเลาะกันก่อนจึงจะไปศาลรธน.ได้ เป็นเปิดช่องว่า หากหน่วยใดมีความสงสัยก็ส่งให้ศาลรธน.ได้ ปัญหาจะได้ไม่ค้างคา และสามารถคลี่คลายวิกฤตได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรธน.ผูกพันทุกหน่วยงาน แม้ว่าการวินิจฉัยของศาลรธน. อาจมีการโต้แย้งทางวิชาการได้ แต่ต้องไม่ล่วงละเมิดศาลรธน. ดังนั้นการบบัญญัติในรธน. จึงเป็นการเปิดช่องที่ตีบตันในอดีต เพื่อให้มีข้อยุติได้โดยไม่ต้องรอให้มีความขัดแย้งระหว่างองค์กรเกิดขึ้นก่อน เช่นเดียวกับกรณีที่ประชาชนเกิดปัญหา ก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรธน.ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กำหนดในวิธีพิจารณาของศาลรธน.
"เราดูประสบการณ์การทำงานของศาลรธน.หลายครั้ง พบว่าคำวินิจฉัยน่ากังขาในแง่ที่ว่า มีการระดมสรรพกำลังของตุลาการ 9 คน อย่างเต็มที่หรือยัง เพราะบางเรื่องจะต้องใช้มติเสียงข้างมาก ว่าให้รับ ส่วนเสียงข้างน้อยก็ไม่ทำ เท่ากับไม่ได้ใช้ขีดความสามารถของทุกคนในการทำคดี ทำให้เสียพลังความคิดไป จึงเขียนในรธน.ว่าเมื่อศาลรธน. มีมติให้รับพิจารณาแล้ว จะอ้างว่าลงมติไม่รับแล้วไม่แสดงความเห็นไม่ได้ คล้ายๆ กับ กกต.ว่าทุกคนต้องลงมติตามประเด็นนั้น จะลาไปเข้าห้องน้ำ เพื่อให้เพื่อนเผชิญหน้าอย่างเดียวไม่ได้" นายมีชัย กล่าว
นายจรัญ ภักดีธากุล ตุลาการศาลรธน. เสนอความเห็นว่า ต้องมีการปรับปรุงระบบไต่สวน เพื่อให้ความสำคัญกับการกำหนดประเด็นวินิจฉัยของศาลรธน.ต้องทำก่อน จะได้ไม่สะเปะสะปะ แต่ต้องไม่เคร่งครัดจนแก้ไขไม่ได้ จนกลายเป็นเหตุแพ้ชนะในทางกฎหมาย โดยต้องใช้วิธีประชุมปรึกษาคดีระหว่างศาล และคู่กรณีทั้งสองฝ่าย แล้วให้ศาลกำหนดความรับรู้ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ทำให้ได้ข้อยุติในข้อพิพาท จะทำให้การพิจารณาคดีในศาลรธน.รัดกุม กระชับ ไมมีความแพ้ชนะเพราะความเก่งทางกฎหมายของทนายคู่ความ
ส่วนคำร้องตรงของประชาชนที่จะยื่นต่อศาลรธน.นั้นเดิมต้องยื่นเฉพาะกฎหมายขัดแย้งต่อรธน. และต้องไปที่อื่นจนหมดหนทางแล้วเท่านั้น จึงจะมาศาลรธน.ได้ ซึ่งแคบมาก ทำให้แทบจะใช้ไม่ได้เลย จึงต้องทำไม่ให้รธน.เป็นหมัน ดังนั้น การที่กรธ.ขยายประตูที่จะให้ประชาชนยื่นต่อศาลรธน. กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดแค่เรื่องกฎหมาย แต่รวมถึงพฤติกรรมด้วย โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ ร่าง พ.ร.ป. ทั้งนี้ต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อไม่ทำให้เกิดปัญหาปริมาณล้นจนเกินกำลังด้วย
นายมีชัย กล่าวด้วยว่า กลไกที่จะมาศาลรธน. ต้องไมง่ายจนเกินไป และต้องระมัดระวัง เพราะรธน. กำหนดหลักการให้หน่วยงานรัฐและประชาชนที่มีปัญหาเปิดช่องให้ไปศาลรธน.ได้มากกว่าเดิม จากที่เคยกำหนดว่าต้องเกิดเรื่องทะเลาะกันก่อนจึงจะไปศาลรธน.ได้ เป็นเปิดช่องว่า หากหน่วยใดมีความสงสัยก็ส่งให้ศาลรธน.ได้ ปัญหาจะได้ไม่ค้างคา และสามารถคลี่คลายวิกฤตได้ เพราะคำวินิจฉัยของศาลรธน.ผูกพันทุกหน่วยงาน แม้ว่าการวินิจฉัยของศาลรธน. อาจมีการโต้แย้งทางวิชาการได้ แต่ต้องไม่ล่วงละเมิดศาลรธน. ดังนั้นการบบัญญัติในรธน. จึงเป็นการเปิดช่องที่ตีบตันในอดีต เพื่อให้มีข้อยุติได้โดยไม่ต้องรอให้มีความขัดแย้งระหว่างองค์กรเกิดขึ้นก่อน เช่นเดียวกับกรณีที่ประชาชนเกิดปัญหา ก็สามารถส่งเรื่องให้ศาลรธน.ได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข ที่กำหนดในวิธีพิจารณาของศาลรธน.
"เราดูประสบการณ์การทำงานของศาลรธน.หลายครั้ง พบว่าคำวินิจฉัยน่ากังขาในแง่ที่ว่า มีการระดมสรรพกำลังของตุลาการ 9 คน อย่างเต็มที่หรือยัง เพราะบางเรื่องจะต้องใช้มติเสียงข้างมาก ว่าให้รับ ส่วนเสียงข้างน้อยก็ไม่ทำ เท่ากับไม่ได้ใช้ขีดความสามารถของทุกคนในการทำคดี ทำให้เสียพลังความคิดไป จึงเขียนในรธน.ว่าเมื่อศาลรธน. มีมติให้รับพิจารณาแล้ว จะอ้างว่าลงมติไม่รับแล้วไม่แสดงความเห็นไม่ได้ คล้ายๆ กับ กกต.ว่าทุกคนต้องลงมติตามประเด็นนั้น จะลาไปเข้าห้องน้ำ เพื่อให้เพื่อนเผชิญหน้าอย่างเดียวไม่ได้" นายมีชัย กล่าว
นายจรัญ ภักดีธากุล ตุลาการศาลรธน. เสนอความเห็นว่า ต้องมีการปรับปรุงระบบไต่สวน เพื่อให้ความสำคัญกับการกำหนดประเด็นวินิจฉัยของศาลรธน.ต้องทำก่อน จะได้ไม่สะเปะสะปะ แต่ต้องไม่เคร่งครัดจนแก้ไขไม่ได้ จนกลายเป็นเหตุแพ้ชนะในทางกฎหมาย โดยต้องใช้วิธีประชุมปรึกษาคดีระหว่างศาล และคู่กรณีทั้งสองฝ่าย แล้วให้ศาลกำหนดความรับรู้ของคู่กรณีทั้งสองฝ่าย ทำให้ได้ข้อยุติในข้อพิพาท จะทำให้การพิจารณาคดีในศาลรธน.รัดกุม กระชับ ไมมีความแพ้ชนะเพราะความเก่งทางกฎหมายของทนายคู่ความ
ส่วนคำร้องตรงของประชาชนที่จะยื่นต่อศาลรธน.นั้นเดิมต้องยื่นเฉพาะกฎหมายขัดแย้งต่อรธน. และต้องไปที่อื่นจนหมดหนทางแล้วเท่านั้น จึงจะมาศาลรธน.ได้ ซึ่งแคบมาก ทำให้แทบจะใช้ไม่ได้เลย จึงต้องทำไม่ให้รธน.เป็นหมัน ดังนั้น การที่กรธ.ขยายประตูที่จะให้ประชาชนยื่นต่อศาลรธน. กว้างขึ้นโดยไม่จำกัดแค่เรื่องกฎหมาย แต่รวมถึงพฤติกรรมด้วย โดยให้เป็นไปตามบทบัญญัติของ ร่าง พ.ร.ป. ทั้งนี้ต้องกำหนดเงื่อนไขที่ชัดเจน เพื่อไม่ทำให้เกิดปัญหาปริมาณล้นจนเกินกำลังด้วย