วานนี้ (24เม.ย.) นายอลงกรณ์ พลบุตร รองประธานสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)คนที่ 1เป็นประธานการประชุมสปท. พิจารณารายงานผลการพิจารณาของ คณะกรรมาธิการจริยธรรมสปท. กรณี นายอนุสร จิรพงศ์ สมาชิกสปท. ที่ถูกร้องเรียนกรณีทำร้ายร่างกายเด็กเสริฟ ร้านอาหารชื่อดังแห่งหนึ่ง เนื่องจากถูกเรียกว่า “ป๋า”อาจเป็นการกระทำ หรือมีพฤติกรรมที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับว่าประมวลจริยธรรมของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และกรรมาธิการ พ.ศ.2558 ข้อ 32 ประกอบข้อบังคับสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ พ.ศ. 2558 ข้อ102 หรือไม่ โดยเป็นการประชุมลับ ซึ่งใช้เวลาพิจารณาในเรื่องนี้นานถึง 4 ชั่วโมง
รายงานข่าวแจงว่าในที่ประชุม ได้มีการอภิปรายแสดงความเห็น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มแรก ประกอบด้วย ตำรวจ ทหาร นักกฎหมาย ทนายความ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ร้ายแรง เพราะถือว่า นายอนุสร ไปแขกหัวใครก็ไม่เป็นไร เพราะจ่ายปรับไปแล้ว ถือว่าคดีจบแล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีความผิดอะไรอีก
ขณะนี้อีกกลุ่มมีความเห็นแย้งว่า แม้จะมีการจ่ายค่าปรับตามกม.แล้ว แค่ สปท.คือผู้ที่มีเกียรติในการทำหน้าที่ จึงควรมีมาตรฐานจริยธรรมที่สูงกว่าคนทั่วไปเพราะถูกคัดเลือกมาแล้ว ก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน อย่าให้เขาไปประณามได้ว่า มีพฤติกรรมไม่ต่างจากสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันบุคคลที่ได้เลือกเข้ามาเป็นสปท. ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ก็ควรจะมีการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะต่อที่สาธารณะให้มากกว่านี้ จึงไม่ควรทำให้สภาฯแห่งนี้ตกต่ำ
เมื่อแสดงความเห็นเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้ลงมติ เป็น 4 มติ คือ
มติที่ 1. ฝ่าฝืน ด้วยคะแนน 124 ต่อ 22 งดออกเสียง 22 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
มติที่ 2. ไม่ร้ายแรง เห็นด้วย 54 ไม่เห็นด้วย 93 งดออกเสียง 14
มติที่ 3. ให้ประณาม เห็นด้วย 29 ไม่เห็นด้วย 104 งดออกเสียง 17 ไม่ลงคะแนน 9 เสียง
มติที่ 4.ให้ว่ากล่าวตักเตือน เห็นด้วย 107 ไม่เห็นด้วย 38 งดออกเสียง 14 ไม่ลง 2 คะแนน
จึงทำให้ที่ประชุมมีมติเพียงแค่ให้กล่าวตักเตือนนายอนุสร เท่านั้น
ต่อมานายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปสปท. แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายงานเรื่องดังกล่าว จากคณะกรรมาธิการจริยธรรมฯ สปท. ซึ่งมีมติว่า การกระทำของนายอนุสร ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรม และข้อบังคับการประชุมสปท. ข้อที่ 102 โดยเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่าไม่ร้ายแรง และมีมติให้ว่ากล่าวตักเตือนเพียงเท่านั้น
รายงานข่าวแจงว่าในที่ประชุม ได้มีการอภิปรายแสดงความเห็น แบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ โดยกลุ่มแรก ประกอบด้วย ตำรวจ ทหาร นักกฎหมาย ทนายความ เห็นว่าเรื่องดังกล่าวไม่ร้ายแรง เพราะถือว่า นายอนุสร ไปแขกหัวใครก็ไม่เป็นไร เพราะจ่ายปรับไปแล้ว ถือว่าคดีจบแล้ว ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีความผิดอะไรอีก
ขณะนี้อีกกลุ่มมีความเห็นแย้งว่า แม้จะมีการจ่ายค่าปรับตามกม.แล้ว แค่ สปท.คือผู้ที่มีเกียรติในการทำหน้าที่ จึงควรมีมาตรฐานจริยธรรมที่สูงกว่าคนทั่วไปเพราะถูกคัดเลือกมาแล้ว ก็ควรเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับประชาชน อย่าให้เขาไปประณามได้ว่า มีพฤติกรรมไม่ต่างจากสภาผู้แทนราษฎร ขณะเดียวกันบุคคลที่ได้เลือกเข้ามาเป็นสปท. ล้วนแต่เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ ก็ควรจะมีการควบคุมอารมณ์ โดยเฉพาะต่อที่สาธารณะให้มากกว่านี้ จึงไม่ควรทำให้สภาฯแห่งนี้ตกต่ำ
เมื่อแสดงความเห็นเสร็จสิ้น ที่ประชุมได้ลงมติ เป็น 4 มติ คือ
มติที่ 1. ฝ่าฝืน ด้วยคะแนน 124 ต่อ 22 งดออกเสียง 22 ไม่ลงคะแนน 1 เสียง
มติที่ 2. ไม่ร้ายแรง เห็นด้วย 54 ไม่เห็นด้วย 93 งดออกเสียง 14
มติที่ 3. ให้ประณาม เห็นด้วย 29 ไม่เห็นด้วย 104 งดออกเสียง 17 ไม่ลงคะแนน 9 เสียง
มติที่ 4.ให้ว่ากล่าวตักเตือน เห็นด้วย 107 ไม่เห็นด้วย 38 งดออกเสียง 14 ไม่ลง 2 คะแนน
จึงทำให้ที่ประชุมมีมติเพียงแค่ให้กล่าวตักเตือนนายอนุสร เท่านั้น
ต่อมานายคำนูณ สิทธิสมาน โฆษกวิปสปท. แถลงภายหลังการประชุมว่า ที่ประชุมได้พิจารณารายงานเรื่องดังกล่าว จากคณะกรรมาธิการจริยธรรมฯ สปท. ซึ่งมีมติว่า การกระทำของนายอนุสร ฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับว่าด้วยประมวลจริยธรรม และข้อบังคับการประชุมสปท. ข้อที่ 102 โดยเป็นการฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมอย่าไม่ร้ายแรง และมีมติให้ว่ากล่าวตักเตือนเพียงเท่านั้น