ผู้จัดการรายวัน360-รฟม.ผนึก สคร. ชี้แจงสัญญารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ยันทุกขั้นตอนทำตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ ปี 56 ไม่มีเร่งรัด และยึดประชาชนสะดวก ประหยัด ค่าโดยสารไม่เพิ่ม ระบุใช้รายเดิมเดินรถ ช่วยรัฐประหยัดลงทุน 9,800 ล้านบาท พร้อมยืนยันไม่ได้ให้พื้นที่เอกชนเพิ่ม
นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงความไม่ชอบมาพากลในการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน เช่น กรณีเร่งรัดทำสัญญา , ผลตอบแทนการลงทุน 9.75% , กรณีการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ให้ประโยชน์กับผู้รับสัมปทานมากเกินไป เนื่องจากมีการยกเว้นภาษีนิติบุคคล ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ รวมถึงการให้ใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงที่ห้วยขวางเพิ่มอีก 20 ไร่ โดยขอยืนยันว่า รฟม.ได้ดำเนินการในส่วนของการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายตามขั้นตอนและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เป็นไปตามกฎกติกา ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยโครงการนี้ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งถูกจับจ้องมาตลอดกรณีเอื้อเอกชน ดังนั้น รฟม. จึงได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และปฎิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ในฐานะที่ สคร. เป็นเลขาฯ ของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ในการพิจารณาโครงการที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน จะมีขั้นตอน มีกระบวนการ ไม่สามารถเร่งรัดได้ ซึ่งประเด็นแรกจะต้องให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด คือ การเดินรถต่อเนื่องเป็นโครงข่าย (Through Operation) เพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ส่วนการร่วมกับเอกชน หัวใจสำคัญ คือ การแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ดังนั้น เมื่อได้ภาพใหญ่จึงเป็นการพิจารณารูปแบบจะประมูลหรือไม่ประมูล ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56
"เมื่อกรรมการ PPP เห็นชอบหลักการเดินรถต่อเนื่องแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงพิจารณารูปแบบ เป็นการเจรจาตรงกับผู้รับสัมปทานเดินรถเดิม ซึ่ง สคร. ได้เสนอคณะกรรมการ PPP ขณะเดียวกัน ได้มีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมา ซึ่งเป็นหลักการเดียวกัน คือ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สะดวก ปลอดภัย ซึ่งเป็นคำสั่งที่ช่วยให้กรรมการมาตรา 43 ซึ่งบริหารสัญญาเดินรถสายสีน้ำเงินเดิม (เฉลิมรัชมงคล) ประชุมร่วมกับกรรมการมาตรา 35 (สัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ได้"
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตุของคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรม จะมีเรื่อง EIRR ว่าควรให้บุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเรื่องรายได้ว่าเป็นไปตามที่คำนวนกันไว้หรือไม่ ไม่มีการยัดใส้แอบช่อนรายได้ ซึ่ง สคร. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีมติให้มีคนนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเป็นกรรมการประเมินอิสระ เพื่อความรอบคอบ โปร่งใส และเป็นธรรม
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. กล่าวชี้แจงในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ว่า การเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า ควรประมูลคัดเลือกเอกชน แต่เมื่อ รฟม. ได้ปรับรูปแบบการลงทุนจาก PPP-Gross Cost โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนเดินรถ เป็น PPP-Net Cost เพื่อลดภาระภาครัฐ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด รัฐไม่ชำระคืน โดยเอกชนได้สิทธิ์เก็บค่าโดยสาร จนถึงผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสม รัฐจึงจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ดังนั้น จึงถือเป็นสาระสำคัญ ขณะที่ปี 2558 ตัวพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 มีผลบังคับใช้แล้ว จึงให้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และตั้งคณะกรรมการมาตรา 35ขึ้นมาพิจารณาและมีมติให้เจรจาตรงกับผู้เดินรถเดิมสอดคลัองกับคำสั่งคสช.ที่ 42 /2559 เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่อง ที่ประชาชนได้รับความสะดวก
ส่วนประเด็นที่ญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการเดินรถ3 ราย ในการเดินรถต่อเนื่อง นายภคพงศ์ กล่าวว่า ทางเทคนิคทำได้ แต่ผู้ประกอบการ 3 ราย ต้องมีอาณัติสัญญาณ 3 ระบบ ติดตั้งในรถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าติดตั้ง ค่าลงทุนเพิ่ม ขณะที่สายสีน้ำเงินใช้รายเดียว ประหยัดค่าลงทุนได้ถึง 9,800 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นค่าระบบอาณัติสัญญาณ และอีกส่วนเป็นค่าอุปกรณ์ซ่อมบำรุงหนัก ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง เพชรเกษม 48 ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากศูนย์ซ่อมบำรุงดังกล่าวจะลงทุนเพียงงานโยธาและโครงสร้างอาคารเท่านั้น เพราะสามารถใช้ศูนย์ซ่อมร่วมของสายเฉลิมรัชมงคลที่ห้วยขวางร่วมกันได้
นอกจากนี้ รฟม.ไม่ได้ให้พื้นที่ศูนย์ซ่อมที่ห้วยขวางเพิ่ม 20 ไร่ โดยBEMได้สิทธิ์ในการใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมห้วยขวางประมาณ 270 ไร่ โดย 20ไร่ เป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่ง BEM ต้องลงทุนก่อสร้างอาคาร สำหรับบุคลากรที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการบริหารการเดินรถส่วนต่อขยาย
ส่วนกรณีที่ระบุว่า เอกชนได้รับการยกเว้นเงินภาษีทั้งหมดภายใน 8 ปี นั้น นายภคพงษ์กล่าวว่า ระยะ 8 ปี ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนของรถไฟฟ้าเลย ซึ่งที่ผ่านมา แม้ได้สิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้ใช้สิทธิ์
นายธีรพันธ์ เตชะศิรินุกูล รองผู้ว่าการ (กลยุทธ์และแผน) ในฐานะรักษาการผู้ว่าฯ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดเผยว่า กรณีที่นายวิลาศ จันทร์พิทักษ์ อดีต ส.ส.กทม.พรรคประชาธิปัตย์ ระบุถึงความไม่ชอบมาพากลในการต่อสัญญาโครงการรถไฟฟ้ามหานครสายสีน้ำเงิน เช่น กรณีเร่งรัดทำสัญญา , ผลตอบแทนการลงทุน 9.75% , กรณีการส่งเสริมการลงทุน (BOI) ที่ให้ประโยชน์กับผู้รับสัมปทานมากเกินไป เนื่องจากมีการยกเว้นภาษีนิติบุคคล ภาษีนำเข้าอุปกรณ์ รวมถึงการให้ใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุงที่ห้วยขวางเพิ่มอีก 20 ไร่ โดยขอยืนยันว่า รฟม.ได้ดำเนินการในส่วนของการเดินรถสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายตามขั้นตอนและสอดคล้องกับ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556 เป็นไปตามกฎกติกา ส่วนที่มีการตั้งข้อสงสัยโครงการนี้ ได้ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553 ซึ่งถูกจับจ้องมาตลอดกรณีเอื้อเอกชน ดังนั้น รฟม. จึงได้ดำเนินการด้วยความระมัดระวัง และปฎิบัติตามระเบียบทุกขั้นตอน
นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) กล่าวว่า ในฐานะที่ สคร. เป็นเลขาฯ ของคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) ในการพิจารณาโครงการที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน จะมีขั้นตอน มีกระบวนการ ไม่สามารถเร่งรัดได้ ซึ่งประเด็นแรกจะต้องให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด คือ การเดินรถต่อเนื่องเป็นโครงข่าย (Through Operation) เพื่อความสะดวกรวดเร็วปลอดภัย ส่วนการร่วมกับเอกชน หัวใจสำคัญ คือ การแบ่งผลประโยชน์ที่เป็นธรรม ดังนั้น เมื่อได้ภาพใหญ่จึงเป็นการพิจารณารูปแบบจะประมูลหรือไม่ประมูล ซึ่งเป็นหน้าที่ของคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56
"เมื่อกรรมการ PPP เห็นชอบหลักการเดินรถต่อเนื่องแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงพิจารณารูปแบบ เป็นการเจรจาตรงกับผู้รับสัมปทานเดินรถเดิม ซึ่ง สคร. ได้เสนอคณะกรรมการ PPP ขณะเดียวกัน ได้มีคำสั่ง คสช. มาตรา 44 ออกมา ซึ่งเป็นหลักการเดียวกัน คือ ให้ประชาชนได้รับประโยชน์สูงสุด สะดวก ปลอดภัย ซึ่งเป็นคำสั่งที่ช่วยให้กรรมการมาตรา 43 ซึ่งบริหารสัญญาเดินรถสายสีน้ำเงินเดิม (เฉลิมรัชมงคล) ประชุมร่วมกับกรรมการมาตรา 35 (สัญญาสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย) ได้"
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตุของคณะกรรมการข้อตกลงคุณธรรม จะมีเรื่อง EIRR ว่าควรให้บุคคลที่ 3 มาตรวจสอบเรื่องรายได้ว่าเป็นไปตามที่คำนวนกันไว้หรือไม่ ไม่มีการยัดใส้แอบช่อนรายได้ ซึ่ง สคร. ได้นำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีมติให้มีคนนอกที่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือเป็นกรรมการประเมินอิสระ เพื่อความรอบคอบ โปร่งใส และเป็นธรรม
นายภคพงศ์ ศิริกันทรมาศ รองผู้ว่าการ (วิศวกรรมและก่อสร้าง) รฟม. กล่าวชี้แจงในฐานะประธานคณะกรรมการมาตรา 35 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ว่า การเจรจากับผู้เดินรถรายเดิม ซึ่งสภาพัฒน์ฯ ระบุว่า ควรประมูลคัดเลือกเอกชน แต่เมื่อ รฟม. ได้ปรับรูปแบบการลงทุนจาก PPP-Gross Cost โดยรัฐลงทุนงานโยธา เอกชนลงทุนเดินรถ เป็น PPP-Net Cost เพื่อลดภาระภาครัฐ โดยเอกชนเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด รัฐไม่ชำระคืน โดยเอกชนได้สิทธิ์เก็บค่าโดยสาร จนถึงผลตอบแทนในระดับที่เหมาะสม รัฐจึงจะได้รับส่วนแบ่งรายได้ ดังนั้น จึงถือเป็นสาระสำคัญ ขณะที่ปี 2558 ตัวพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 มีผลบังคับใช้แล้ว จึงให้ดำเนินการตามพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 และตั้งคณะกรรมการมาตรา 35ขึ้นมาพิจารณาและมีมติให้เจรจาตรงกับผู้เดินรถเดิมสอดคลัองกับคำสั่งคสช.ที่ 42 /2559 เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่อง ที่ประชาชนได้รับความสะดวก
ส่วนประเด็นที่ญี่ปุ่นมีผู้ประกอบการเดินรถ3 ราย ในการเดินรถต่อเนื่อง นายภคพงศ์ กล่าวว่า ทางเทคนิคทำได้ แต่ผู้ประกอบการ 3 ราย ต้องมีอาณัติสัญญาณ 3 ระบบ ติดตั้งในรถไฟฟ้า ซึ่งมีค่าติดตั้ง ค่าลงทุนเพิ่ม ขณะที่สายสีน้ำเงินใช้รายเดียว ประหยัดค่าลงทุนได้ถึง 9,800 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นค่าระบบอาณัติสัญญาณ และอีกส่วนเป็นค่าอุปกรณ์ซ่อมบำรุงหนัก ที่ศูนย์ซ่อมบำรุง เพชรเกษม 48 ที่ไม่ต้องลงทุนเพิ่มประมาณ 1,800 ล้านบาท เนื่องจากศูนย์ซ่อมบำรุงดังกล่าวจะลงทุนเพียงงานโยธาและโครงสร้างอาคารเท่านั้น เพราะสามารถใช้ศูนย์ซ่อมร่วมของสายเฉลิมรัชมงคลที่ห้วยขวางร่วมกันได้
นอกจากนี้ รฟม.ไม่ได้ให้พื้นที่ศูนย์ซ่อมที่ห้วยขวางเพิ่ม 20 ไร่ โดยBEMได้สิทธิ์ในการใช้พื้นที่ศูนย์ซ่อมห้วยขวางประมาณ 270 ไร่ โดย 20ไร่ เป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้ว ซึ่ง BEM ต้องลงทุนก่อสร้างอาคาร สำหรับบุคลากรที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการบริหารการเดินรถส่วนต่อขยาย
ส่วนกรณีที่ระบุว่า เอกชนได้รับการยกเว้นเงินภาษีทั้งหมดภายใน 8 ปี นั้น นายภคพงษ์กล่าวว่า ระยะ 8 ปี ยังไม่ครอบคลุมต้นทุนของรถไฟฟ้าเลย ซึ่งที่ผ่านมา แม้ได้สิทธิ์ แต่ก็ไม่ได้ใช้สิทธิ์