พระสารีบุตรเมื่อครั้งยังเป็นศิษย์ของสัญชัยปริพาชก เป็นเจ้าลัทธิผู้โด่งดังเป็นหนึ่งในหกเจ้าลัทธิในยุคนั้น วันหนึ่งได้พบพระอัสสชิและเกิดความเลื่อมใสในอากัปกิริยาที่ได้เห็น จึงถามว่าท่านบวชเพื่อใคร ใครเป็นครู ใครเป็นศาสดาของท่าน เมื่อได้รับคำตอบว่า พระสมณโคดมเป็นศาสดา จึงถามว่า พระสมณโคดมสอนอย่างไร พระอัสสชิจึงตอบว่า ธรรมทั้งหลายเกิดจากเหตุพระตถาคต ตรัสเหตุและความดับแห่งธรรมนั้น พระสมณโคดมตรัสอย่างนี้ ปริพาชกได้ฟังแล้วเกิดความเลื่อมใสยิ่งขึ้น และต้องการจะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า แต่จะกลับไปอำลาอาจารย์ก่อน และเมื่อได้พบหน้าอาจารย์ จึงได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง และขอลาไปเฝ้าพระพุทธเจ้า พร้อมทั้งชวนสัญชัยปริพาชกผู้เป็นอาจารย์ไปด้วย สัญชัยได้ถามว่าในโลกนี้มีคนโง่มากหรือมีคนฉลาดมาก เมื่อได้รับคำตอบว่า มีคนโง่มากกว่า จึงกล่าวว่า ถ้ากระนั้นคนฉลาดจงไปหาสมณโคดม ส่วนคนโง่จงมาหาเรา และได้ปฏิเสธที่จะไปเฝ้าพระพุทธเจ้า โดยให้เหตุผลว่า ถ้าตนเองไปเป็นศิษย์ของสมณโคดมก็เหมือนกับการจับจระเข้ใหญ่ ซึ่งเคยอาศัยในแม่น้ำไปขังไว้ในตุ่ม ปริพาชกจึงได้ไปเฝ้าพระพุทธเจ้า และได้บวชเป็นภิกษุนานกว่าสารีบุตร และได้รับการยกย่องเป็นอัครสาวกผู้เลิศทางปัญญาในเวลาต่อมา
จากนัยแห่งเนื้อหาสาระของเรื่องทั้งหมดที่เล่ามา ทำให้เกิดแง่คิดในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. จากอดีตจนถึงปัจจุบันในโลกใบนี้มีคนโง่มากกว่าคนฉลาด ทั้งนี้อนุมานได้จากการมีศักยภาพในการเรียนรู้ ก็จะพบว่าคนส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเรียนรู้ระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ ส่วนที่ศักยภาพในการเรียนรู้เร็วมีอยู่ค่อนข้างน้อย
อีกนัยหนึ่งจะเห็นได้จากคำสอนของพระพุทธองค์ที่แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภทเปรียบด้วยดอกบัว 4 เหล่าดังนี้
1. อุคคฏิตัญญู ได้แก่บุคคลที่ไม่เข้าใจในทันทีที่ได้ฟัง แต่เมื่อมีการอธิบายเพิ่มเติมก็เข้าใจ เปรียบด้วยดอกบัวที่กำลังจะพ้นน้ำและบานในวันถัดไป
2. วิปจิตัญญู ได้แก่ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็วในทันทีที่ได้ฟังก็เข้าใจแจ่มแจ้ง เปรียบด้วยดอกบัวที่บานอยู่เหนือน้ำ
3. เนยยะ ได้แก่บุคคลที่ไม่เข้าใจในทันที และแม้มีการอธิบายขยายความก็ยังไม่เข้าใจ จะต้องพร่ำสอนกันบ่อยๆ จึงจะเข้าใจได้ เปรียบด้วยดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำจะต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะพ้นน้ำ และเบ่งบานได้
4. ปทปรมะ ได้แก่บุคคลที่ไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับฟังคำสอนใดๆ ดื้อแพ่งทำทุกอย่างตามความคิดของตนเอง เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่ในตมรอวันที่ปลาและเต่าจะมากินเป็นอาหาร
ถ้านำการแบ่งประเภทบุคคลตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์เป็นเกณฑ์ในการหาจำนวนบุคคลในสังคม ก็พอจะอนุมานได้ว่าประเภท 2 และ 3 น่าจะมีมากที่สุด และประเภท 1 และ 4 น่าจะมีจำนวนน้อยที่สุด ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าถ้าประเภทที่ 1 มีมาก โลกนี้ก็เต็มไปด้วยอัจฉริยบุคคล และคงไม่มีความเลวร้ายให้เห็นอย่างดาษดื่นดังที่เป็นอยู่ ในทางกลับกัน ถ้าประเภทที่ 4 มีมาก โลกนี้ก็เต็มไปด้วยคนโง่และดื้อด้าน ถ้าเป็นเช่นนี้ สังคมมนุษย์คงไม่มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
2. จากการที่สังคมมนุษย์มีคนประเภท 2 และ 3 มากกว่านี้เอง จึงกลายเป็นโอกาสให้คนฉลาดเรียนรู้เร็ว แต่ขาดคุณธรรมกำกับและควบคุมความฉลาดแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบจากความด้อยกว่าของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในทุกยุคทุกสมัย และทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการธุรกิจและการเมืองในยุคที่วัตถุนิยมและบริโภคนิยมครอบงำจิตใจของประชาชนดังเช่นทุกวันนี้ และนี่เองคือที่มาของธุรกิจหลอกลวงและต้มตุ๋นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางใดป้องกันมิให้ตนเองตกเป็นเหยื่อ
ถ้าย้อนอดีตไปดูความเป็นมาของธุรกิจหลอกลวงและต้มตุ๋นในประเทศไทย ประมาณ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่าแชร์น้ำมันแม่ชะม้อยได้เกิดขึ้น และต่อจากนั้นก็เงียบหายไประยะหนึ่ง ต่อมาได้เกิดแชร์ประเภทนี้เกิดขึ้น และมีรูปแบบของการดำเนินการทำนองเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนชื่อสินค้าเท่านั้น
รูปแบบของธุรกิจประเภทนี้จะเริ่มด้วยการหาผู้ร่วมลงทุน และจูงใจด้วยการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูง เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลในธุรกิจทั่วไป แต่เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง มีผู้ร่วมลงทุนรายใหม่น้อยลง และรายเก่าไม่ลงทุนเพิ่ม การขาดแคลนเงินหมุนเวียนก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากการจ่ายเงินส่วนแบ่งช้าไม่ตรงตามเวลา และมีการทวงถามก็จะบ่ายเบี่ยง และอ้างเหตุผลแบบข้างๆ คูๆ ไม่น่าเชื่อถือ ในที่สุดก็จะปิดกิจการหลบหนีไปติดต่อไม่ได้ และเมื่อถึงตอนนั้นผู้ร่วมลงทุนจึงรู้ว่าถูกต้มตุ๋น และพากันไปแจ้งความดำเนินคดีเป็นเช่นนี้แทบทุกกิจการ และในทุกกิจการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหวังหลอกลวงในลักษณะนี้ จะมีผู้ร่วมลงทุนที่ได้รับความเสียหาย 2 ประเภทและได้กำไร 1 ประเภทคือ ผู้เสียหาย 2 ประเภทได้แก่ผู้ที่นำเงินมาลงทุน และได้ส่วนแบ่งตามกำหนดเวลาและมีการนำเงินที่ได้มาลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการถอนทุน
และอีกประการหนึ่งได้แก่ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ที่ได้รับส่วนแบ่งยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน หรือพูดง่ายๆ ก็คือได้น้อยกว่าเงินที่ลงทุนไป และผู้ประกอบการหนีไป
ส่วนผู้ที่ได้กำไรคือผู้ที่ร่วมลงทุนในระยะแรก และไม่ลงทุนเพิ่ม ถ้ากิจการดำเนินไปได้นานพอที่การได้รับส่วนแบ่งเลยจุดคุ้มทุน ก็มีโอกาสได้กำไร รวมไปถึงผู้ลงทุนและเป็นแม่ข่ายหาสมาชิกแล้วมีรายได้จากค่าหัวคิว ก็มีโอกาสมีกำไรถ้าไม่นำมาลงทุนเพิ่ม ก็จะได้กำไรจากเงินของผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ๆ เพราะเท่าที่ปรากฏธุรกิจประเภทนี้ทุกประเภท มิได้ประกอบธุรกิจอย่างจริงจัง แต่ทำการขายเพื่อบังหน้าเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าผู้ที่จะร่วมลงทุนถามตนเองเมื่อมีผู้มาชักชวน ด้วยคำถามง่ายๆ ว่าถ้าตนเองเป็นเจ้าของกิจการที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินในระบบ หรือแม้กระทั่งนอกระบบเท่าที่ปรากฏเป็นข่าว ท่านจะไปกู้เงินมาลงทุนแทนที่จะไปชักชวนคนอื่นไหม และอีกคำถามหนึ่ง ถ้าตนเองเป็นเจ้าของกิจการที่ให้ผลตอบแทนดังกล่าว โดยไม่มีอัตราเสี่ยงหรือมีน้อย ทำไมท่านไม่ชักชวนญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงใกล้ชิดมาร่วมลงทุน แทนที่จะชวนคนอื่นเช่นท่านไหม
เพียงแค่สองคำถาม ท่านก็จะได้แง่คิดว่าเป็นธุรกิจที่น่าเชื่อถือ และควรแก่การลงทุนหรือไม่ เพราะคำตอบที่ท่านคิดได้เองคือไม่ทั้งสองคำถาม
จากนัยแห่งเนื้อหาสาระของเรื่องทั้งหมดที่เล่ามา ทำให้เกิดแง่คิดในเชิงตรรกะดังต่อไปนี้
1. จากอดีตจนถึงปัจจุบันในโลกใบนี้มีคนโง่มากกว่าคนฉลาด ทั้งนี้อนุมานได้จากการมีศักยภาพในการเรียนรู้ ก็จะพบว่าคนส่วนใหญ่มีศักยภาพในการเรียนรู้ระดับปานกลางค่อนไปทางต่ำ ส่วนที่ศักยภาพในการเรียนรู้เร็วมีอยู่ค่อนข้างน้อย
อีกนัยหนึ่งจะเห็นได้จากคำสอนของพระพุทธองค์ที่แบ่งคนออกเป็น 4 ประเภทเปรียบด้วยดอกบัว 4 เหล่าดังนี้
1. อุคคฏิตัญญู ได้แก่บุคคลที่ไม่เข้าใจในทันทีที่ได้ฟัง แต่เมื่อมีการอธิบายเพิ่มเติมก็เข้าใจ เปรียบด้วยดอกบัวที่กำลังจะพ้นน้ำและบานในวันถัดไป
2. วิปจิตัญญู ได้แก่ผู้ที่เรียนรู้ได้เร็วในทันทีที่ได้ฟังก็เข้าใจแจ่มแจ้ง เปรียบด้วยดอกบัวที่บานอยู่เหนือน้ำ
3. เนยยะ ได้แก่บุคคลที่ไม่เข้าใจในทันที และแม้มีการอธิบายขยายความก็ยังไม่เข้าใจ จะต้องพร่ำสอนกันบ่อยๆ จึงจะเข้าใจได้ เปรียบด้วยดอกบัวที่อยู่ใต้น้ำจะต้องใช้เวลาหลายวันจึงจะพ้นน้ำ และเบ่งบานได้
4. ปทปรมะ ได้แก่บุคคลที่ไม่รู้ไม่เข้าใจและไม่ยอมรับฟังคำสอนใดๆ ดื้อแพ่งทำทุกอย่างตามความคิดของตนเอง เปรียบได้กับดอกบัวที่อยู่ในตมรอวันที่ปลาและเต่าจะมากินเป็นอาหาร
ถ้านำการแบ่งประเภทบุคคลตามนัยแห่งคำสอนของพระพุทธองค์เป็นเกณฑ์ในการหาจำนวนบุคคลในสังคม ก็พอจะอนุมานได้ว่าประเภท 2 และ 3 น่าจะมีมากที่สุด และประเภท 1 และ 4 น่าจะมีจำนวนน้อยที่สุด ทั้งนี้ด้วยเหตุว่าถ้าประเภทที่ 1 มีมาก โลกนี้ก็เต็มไปด้วยอัจฉริยบุคคล และคงไม่มีความเลวร้ายให้เห็นอย่างดาษดื่นดังที่เป็นอยู่ ในทางกลับกัน ถ้าประเภทที่ 4 มีมาก โลกนี้ก็เต็มไปด้วยคนโง่และดื้อด้าน ถ้าเป็นเช่นนี้ สังคมมนุษย์คงไม่มีการพัฒนาจนเจริญรุ่งเรืองดังที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้
2. จากการที่สังคมมนุษย์มีคนประเภท 2 และ 3 มากกว่านี้เอง จึงกลายเป็นโอกาสให้คนฉลาดเรียนรู้เร็ว แต่ขาดคุณธรรมกำกับและควบคุมความฉลาดแสวงหาประโยชน์ในทางมิชอบจากความด้อยกว่าของเพื่อนมนุษย์ด้วยกันในทุกยุคทุกสมัย และทุกสาขาอาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในวงการธุรกิจและการเมืองในยุคที่วัตถุนิยมและบริโภคนิยมครอบงำจิตใจของประชาชนดังเช่นทุกวันนี้ และนี่เองคือที่มาของธุรกิจหลอกลวงและต้มตุ๋นเกิดขึ้นได้อย่างไร และจะมีแนวทางใดป้องกันมิให้ตนเองตกเป็นเหยื่อ
ถ้าย้อนอดีตไปดูความเป็นมาของธุรกิจหลอกลวงและต้มตุ๋นในประเทศไทย ประมาณ 40 กว่าปีที่ผ่านมา ก็จะพบว่าแชร์น้ำมันแม่ชะม้อยได้เกิดขึ้น และต่อจากนั้นก็เงียบหายไประยะหนึ่ง ต่อมาได้เกิดแชร์ประเภทนี้เกิดขึ้น และมีรูปแบบของการดำเนินการทำนองเดียวกันเพียงแต่เปลี่ยนชื่อสินค้าเท่านั้น
รูปแบบของธุรกิจประเภทนี้จะเริ่มด้วยการหาผู้ร่วมลงทุน และจูงใจด้วยการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูง เมื่อเทียบกับดอกเบี้ยเงินฝาก และเงินปันผลในธุรกิจทั่วไป แต่เมื่อดำเนินการไปได้ระยะหนึ่ง มีผู้ร่วมลงทุนรายใหม่น้อยลง และรายเก่าไม่ลงทุนเพิ่ม การขาดแคลนเงินหมุนเวียนก็จะเกิดขึ้น ทั้งนี้จะเห็นได้จากการจ่ายเงินส่วนแบ่งช้าไม่ตรงตามเวลา และมีการทวงถามก็จะบ่ายเบี่ยง และอ้างเหตุผลแบบข้างๆ คูๆ ไม่น่าเชื่อถือ ในที่สุดก็จะปิดกิจการหลบหนีไปติดต่อไม่ได้ และเมื่อถึงตอนนั้นผู้ร่วมลงทุนจึงรู้ว่าถูกต้มตุ๋น และพากันไปแจ้งความดำเนินคดีเป็นเช่นนี้แทบทุกกิจการ และในทุกกิจการที่ตั้งขึ้นมาเพื่อหวังหลอกลวงในลักษณะนี้ จะมีผู้ร่วมลงทุนที่ได้รับความเสียหาย 2 ประเภทและได้กำไร 1 ประเภทคือ ผู้เสียหาย 2 ประเภทได้แก่ผู้ที่นำเงินมาลงทุน และได้ส่วนแบ่งตามกำหนดเวลาและมีการนำเงินที่ได้มาลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีการถอนทุน
และอีกประการหนึ่งได้แก่ผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ที่ได้รับส่วนแบ่งยังไม่ถึงจุดคุ้มทุน หรือพูดง่ายๆ ก็คือได้น้อยกว่าเงินที่ลงทุนไป และผู้ประกอบการหนีไป
ส่วนผู้ที่ได้กำไรคือผู้ที่ร่วมลงทุนในระยะแรก และไม่ลงทุนเพิ่ม ถ้ากิจการดำเนินไปได้นานพอที่การได้รับส่วนแบ่งเลยจุดคุ้มทุน ก็มีโอกาสได้กำไร รวมไปถึงผู้ลงทุนและเป็นแม่ข่ายหาสมาชิกแล้วมีรายได้จากค่าหัวคิว ก็มีโอกาสมีกำไรถ้าไม่นำมาลงทุนเพิ่ม ก็จะได้กำไรจากเงินของผู้ร่วมลงทุนรายใหม่ๆ เพราะเท่าที่ปรากฏธุรกิจประเภทนี้ทุกประเภท มิได้ประกอบธุรกิจอย่างจริงจัง แต่ทำการขายเพื่อบังหน้าเท่านั้น
ดังนั้น ถ้าผู้ที่จะร่วมลงทุนถามตนเองเมื่อมีผู้มาชักชวน ด้วยคำถามง่ายๆ ว่าถ้าตนเองเป็นเจ้าของกิจการที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่าดอกเบี้ยเงินกู้จากสถาบันการเงินในระบบ หรือแม้กระทั่งนอกระบบเท่าที่ปรากฏเป็นข่าว ท่านจะไปกู้เงินมาลงทุนแทนที่จะไปชักชวนคนอื่นไหม และอีกคำถามหนึ่ง ถ้าตนเองเป็นเจ้าของกิจการที่ให้ผลตอบแทนดังกล่าว โดยไม่มีอัตราเสี่ยงหรือมีน้อย ทำไมท่านไม่ชักชวนญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงใกล้ชิดมาร่วมลงทุน แทนที่จะชวนคนอื่นเช่นท่านไหม
เพียงแค่สองคำถาม ท่านก็จะได้แง่คิดว่าเป็นธุรกิจที่น่าเชื่อถือ และควรแก่การลงทุนหรือไม่ เพราะคำตอบที่ท่านคิดได้เองคือไม่ทั้งสองคำถาม