เรื่องของรัฐบาลเผด็จการรัฐสภาที่มาจากการเลือกตั้งสกปรกกับรัฐบาลเผด็จการที่มาจากปากกระบอกปืน เป็นประเด็นที่น่าถกแถลงยิ่งนัก...
บทความของ “ดร.เขียน ธีระวิทย์” แห่งคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ “ดร.ประยูร อัครบวร” ส่งมาให้อ่าน มีแง่คิดที่เป็นประโยชน์มากมายต่อสาธารณะจนต้องขออนุญาต “ดร.เขียน ธีระวิทย์” ไว้ ณ ที่นี้ เพื่อนำมาเผยแพร่ในพื้นที่คอลัมน์ของผม ดังนี้
“นายกฯ คนนอก” เป็นคนไทยหรือเปล่า? ดร.เขียน ธีระวิทย์
เมื่อผมอายุไม่ถึง 7 ขวบ ผมชอบเอาหนังสติ๊กไปยิงนกกระจิบ ที่ชอบบินมาหาแมลงกินที่พุ่มไม้ใกล้บ้าน ผมเคยยิงมันตาย แล้วคิดภูมิใจว่า มีฝีมือยิงแม่น ภายหลังโตเป็นผู้ใหญ่ ผมจึงสำนึกได้ว่า ผมทำบาปยิงนกตาย พรากมันจากพ่อ-แม่-ลูก-คู่รักของมัน โดยไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเลย
เมื่อผมเรียนวิชารัฐศาสตร์จบปริญญาตรี-เอกใหม่ๆ ผมเชื่อว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีเลิศ ผมไม่ได้สนใจที่จะเรียนรู้ในการเลือกตั้งของไทยว่า เขาเลือกผู้แทนกันมาอย่างไร ผมเคยเขียนบทความลงในวารสารต่างๆ ยืนหยัดความเชื่อของผมว่า การทำรัฐประหารเป็นงานเลวร้าย ที่จะอ้างเหตุผลใดๆ มาลบล้างไม่ได้ทั้งสิ้น
เมื่อผมเกษียณอายุราชการแล้ว ผมเห็นคนพันธุ์ทักษิณยึดอำนาจรัฐในไทย โดยผ่านการเลือกตั้งสกปรก ผมเห็นพวกเขาโกงบ้านกินเมือง ใช้อำนาจปกครองประเทศ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก
จนที่สุดผมได้ข้อสรุปว่า คนไทยจะแตกแยกกันทุกหย่อมหญ้า และประเทศชาติจะล่มจมในที่สุด ถ้าหากเราจะหวังลมๆ แล้งๆ รอคอยพระสยามเทวาธิราชมากอบกู้สถานการณ์ให้
การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจโดยทหาร เป็นทางออกที่เลวร้ายน้อยที่สุด แล้วสถานการณ์บังคับให้ทหารทำรัฐประหารจริงๆ ถึง 2 ครั้ง ซึ่งผมก็เห็นชอบด้วย
นั่นคือ ผมได้เปลี่ยนทัศนคติทางการเมืองอย่างชัดเจน จากเดิมที่ว่าทหารต้องห้ามในการทำรัฐประหาร มาเป็นทหารมีสิทธิธรรมชาติที่จะทำรัฐประหารได้ ถ้าเรามีประชาธิปไตยจอมปลอม ที่ไม่ยึดหลักกฎหมายในการปกครองประเทศ
สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ ผมมีเวลาวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยมากขึ้น ผมดูจากของจริงมากกว่าเชื่อตามตำรา ผมเห็นคนไทยในวงการวิชาการ สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักการเมืองจำนวนมากมีทัศนคติทางการเมืองเหมือนผมสมัยมันสมองยังไม่โต ยิงนกกระจิบเล่นโดยไม่รู้จักคิดให้รอบคอบว่า แล้วใครจะได้อะไร
จะเอาระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ แล้วได้ประชาธิปไตยจอมปลอมที่ใครเป็นใหญ่กันแน่ รณรงค์ชวนคนอื่นให้ออกเสียง ไม่รับช่วงรัฐธรรมนูญโดยไม่คิดให้รอบคอบว่า ถ้าไม่รับฉบับนี้แล้วผลจะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีการรณรงค์อย่างแพร่หลายว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากการเลือกตั้ง “ไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนอก” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นแชมป์ล่าสุดที่ออกมาสอนให้คนเชื่อเช่นนั้น
ตอนที่ผมเป็นหนุ่มและฟุ้งซ่านประชาธิปไตยในแผ่นกระดาษนั้น ผมตกหลุมตำราวิชาการฝรั่งไม่ลึกเท่ากับอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เรามีตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา เรามีนายกรัฐมนตรี 9 คน (ไม่รวมที่เป็นไม่เกิน 2 เดือน) เป็น “คนนอก” 5 คน ได้แก่ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คุณอานันท์ ปันยารชุน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ส่วนที่เป็น “คนใน” มี 9 คน คือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายชวน หลีกภัย นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เราเห็นแล้วยังว่าใครทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ใครทำลายประเทศชาติมากกว่ากัน มีใครมองไม่เห็นบ้าง “นายกฯ คนนอก” เช่น พลเอกเปรม และคุณอานันท์ นั้น มีคุณูปการต่อประเทศชาติมากเพียงใด
พลเอกประยุทธ์ใช้เวลา 2 ปีเศษ กอบกู้ประเทศเรา ซึ่งจมปลักอยู่กับกองเพลิงแห่งความขัดแย้ง ให้เป็นได้อย่างทุกวันนี้ เรียกว่าเป็นผู้นำที่ไม่ธรรมดา แต่อนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น เรายังมองไม่เห็น
ส่วน “นายกฯ คนใน” นั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติกอบกู้ชื่อเสียงของนักการเมืองในสายตาของผมมีคนเดียว คือ คุณชวน หลีกภัย ส่วนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นพูดเก่ง มีหลักการ-หลักวิชาเหมาะกับการเป็นผู้นำของประเทศประชาธิปไตยตะวันตก ท่านมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง
กรณีการประชุมสุดยอดอาเซียน+6 ที่โรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท ที่พัทยา (10 เมษายน 2552) ซึ่งถูกม็อบเสื้อแดงบุกขับไล่อภิสิทธิ์และผู้นำต่างประเทศหนีกระเจิงตั้งแต่วันแรกและต้องล้มเลิกการประชุมคราวนั้น ประเทศไทยเสียหายอย่างใหญ่หลวง อย่างประเมินค่ามิได้ การประชุมที่สำคัญยิ่งครั้งนั้น นายกรัฐมนตรีผู้เป็นเจ้าภาพจะต้องมีข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้าน
(อ่านบทความของ “ดร.เขียน ธีระวิทย์” ต่อวันพุธหน้าครับ)
บทความของ “ดร.เขียน ธีระวิทย์” แห่งคณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ “ดร.ประยูร อัครบวร” ส่งมาให้อ่าน มีแง่คิดที่เป็นประโยชน์มากมายต่อสาธารณะจนต้องขออนุญาต “ดร.เขียน ธีระวิทย์” ไว้ ณ ที่นี้ เพื่อนำมาเผยแพร่ในพื้นที่คอลัมน์ของผม ดังนี้
“นายกฯ คนนอก” เป็นคนไทยหรือเปล่า? ดร.เขียน ธีระวิทย์
เมื่อผมอายุไม่ถึง 7 ขวบ ผมชอบเอาหนังสติ๊กไปยิงนกกระจิบ ที่ชอบบินมาหาแมลงกินที่พุ่มไม้ใกล้บ้าน ผมเคยยิงมันตาย แล้วคิดภูมิใจว่า มีฝีมือยิงแม่น ภายหลังโตเป็นผู้ใหญ่ ผมจึงสำนึกได้ว่า ผมทำบาปยิงนกตาย พรากมันจากพ่อ-แม่-ลูก-คู่รักของมัน โดยไม่มีใครได้ประโยชน์อะไรเลย
เมื่อผมเรียนวิชารัฐศาสตร์จบปริญญาตรี-เอกใหม่ๆ ผมเชื่อว่าการปกครองในระบอบประชาธิปไตยดีเลิศ ผมไม่ได้สนใจที่จะเรียนรู้ในการเลือกตั้งของไทยว่า เขาเลือกผู้แทนกันมาอย่างไร ผมเคยเขียนบทความลงในวารสารต่างๆ ยืนหยัดความเชื่อของผมว่า การทำรัฐประหารเป็นงานเลวร้าย ที่จะอ้างเหตุผลใดๆ มาลบล้างไม่ได้ทั้งสิ้น
เมื่อผมเกษียณอายุราชการแล้ว ผมเห็นคนพันธุ์ทักษิณยึดอำนาจรัฐในไทย โดยผ่านการเลือกตั้งสกปรก ผมเห็นพวกเขาโกงบ้านกินเมือง ใช้อำนาจปกครองประเทศ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ เพื่อประโยชน์ของตนและพรรคพวก
จนที่สุดผมได้ข้อสรุปว่า คนไทยจะแตกแยกกันทุกหย่อมหญ้า และประเทศชาติจะล่มจมในที่สุด ถ้าหากเราจะหวังลมๆ แล้งๆ รอคอยพระสยามเทวาธิราชมากอบกู้สถานการณ์ให้
การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจโดยทหาร เป็นทางออกที่เลวร้ายน้อยที่สุด แล้วสถานการณ์บังคับให้ทหารทำรัฐประหารจริงๆ ถึง 2 ครั้ง ซึ่งผมก็เห็นชอบด้วย
นั่นคือ ผมได้เปลี่ยนทัศนคติทางการเมืองอย่างชัดเจน จากเดิมที่ว่าทหารต้องห้ามในการทำรัฐประหาร มาเป็นทหารมีสิทธิธรรมชาติที่จะทำรัฐประหารได้ ถ้าเรามีประชาธิปไตยจอมปลอม ที่ไม่ยึดหลักกฎหมายในการปกครองประเทศ
สิบกว่าปีที่ผ่านมานี้ ผมมีเวลาวิเคราะห์ปัญหาการเมืองไทยมากขึ้น ผมดูจากของจริงมากกว่าเชื่อตามตำรา ผมเห็นคนไทยในวงการวิชาการ สื่อมวลชน นักเคลื่อนไหวทางการเมือง และนักการเมืองจำนวนมากมีทัศนคติทางการเมืองเหมือนผมสมัยมันสมองยังไม่โต ยิงนกกระจิบเล่นโดยไม่รู้จักคิดให้รอบคอบว่า แล้วใครจะได้อะไร
จะเอาระบอบประชาธิปไตยที่ประชาชนเป็นใหญ่ แล้วได้ประชาธิปไตยจอมปลอมที่ใครเป็นใหญ่กันแน่ รณรงค์ชวนคนอื่นให้ออกเสียง ไม่รับช่วงรัฐธรรมนูญโดยไม่คิดให้รอบคอบว่า ถ้าไม่รับฉบับนี้แล้วผลจะเป็นอย่างไร
ปัจจุบันมีการรณรงค์อย่างแพร่หลายว่า นายกรัฐมนตรีจะต้องมาจากการเลือกตั้ง “ไม่เอานายกรัฐมนตรีคนนอก” อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์เป็นแชมป์ล่าสุดที่ออกมาสอนให้คนเชื่อเช่นนั้น
ตอนที่ผมเป็นหนุ่มและฟุ้งซ่านประชาธิปไตยในแผ่นกระดาษนั้น ผมตกหลุมตำราวิชาการฝรั่งไม่ลึกเท่ากับอดีตนายกฯ อภิสิทธิ์ เรามีตัวอย่างให้เห็นกันชัดๆ ตั้งแต่ปี 2520 เป็นต้นมา เรามีนายกรัฐมนตรี 9 คน (ไม่รวมที่เป็นไม่เกิน 2 เดือน) เป็น “คนนอก” 5 คน ได้แก่ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ คุณอานันท์ ปันยารชุน พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
ส่วนที่เป็น “คนใน” มี 9 คน คือ พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ นายชวน หลีกภัย นายบรรหาร ศิลปอาชา พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ นายทักษิณ ชินวัตร นายสมัคร สุนทรเวช นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
เราเห็นแล้วยังว่าใครทำประโยชน์ให้แก่ชาติ ใครทำลายประเทศชาติมากกว่ากัน มีใครมองไม่เห็นบ้าง “นายกฯ คนนอก” เช่น พลเอกเปรม และคุณอานันท์ นั้น มีคุณูปการต่อประเทศชาติมากเพียงใด
พลเอกประยุทธ์ใช้เวลา 2 ปีเศษ กอบกู้ประเทศเรา ซึ่งจมปลักอยู่กับกองเพลิงแห่งความขัดแย้ง ให้เป็นได้อย่างทุกวันนี้ เรียกว่าเป็นผู้นำที่ไม่ธรรมดา แต่อนาคตจะเป็นอย่างไรนั้น เรายังมองไม่เห็น
ส่วน “นายกฯ คนใน” นั้น ผู้ที่มีคุณสมบัติกอบกู้ชื่อเสียงของนักการเมืองในสายตาของผมมีคนเดียว คือ คุณชวน หลีกภัย ส่วนคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นั้นพูดเก่ง มีหลักการ-หลักวิชาเหมาะกับการเป็นผู้นำของประเทศประชาธิปไตยตะวันตก ท่านมีปัญหาเรื่องการตัดสินใจในการแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง
กรณีการประชุมสุดยอดอาเซียน+6 ที่โรงแรมรอยัลคลิฟบีช รีสอร์ท ที่พัทยา (10 เมษายน 2552) ซึ่งถูกม็อบเสื้อแดงบุกขับไล่อภิสิทธิ์และผู้นำต่างประเทศหนีกระเจิงตั้งแต่วันแรกและต้องล้มเลิกการประชุมคราวนั้น ประเทศไทยเสียหายอย่างใหญ่หลวง อย่างประเมินค่ามิได้ การประชุมที่สำคัญยิ่งครั้งนั้น นายกรัฐมนตรีผู้เป็นเจ้าภาพจะต้องมีข้อมูลที่ทันต่อเหตุการณ์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของฝ่ายต่อต้าน
(อ่านบทความของ “ดร.เขียน ธีระวิทย์” ต่อวันพุธหน้าครับ)