คำว่า เร่ร่อน เป็นคำกิริยาหมายถึงไม่อยู่เป็นที่เป็นทาง สัญจรไปเรื่อยๆ ค่ำไหนนอนนั่น ไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง และยังมีคำซึ่งมีความหมายในทำนองเดียวกับคำว่า เร่ร่อน คือคำว่าจรจัด แต่คำนี้จะใช้กับสัตว์เลี้ยงที่ไม่มีเจ้าของ อาศัยอยู่ในชุมชนเช่น สุนัขจรจัด เป็นต้น นอกจากใช้กับสัตว์แล้วคำนี้ยังใช้กับคนที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ซึ่งอาศัยในที่สาธารณะเช่น สวนสาธารณะ และใต้สะพาน เป็นต้น
เมื่อหลายปีมาแล้ว ในสังคมเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เป็นต้น เคยมีปัญหาช้างเร่ร่อนที่คนเลี้ยงนำมาเดินขอเงินบ้าง ขออาหารให้ช้างบ้าง ก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด และช้างเกิดอันตรายจากการถูกรถชน เป็นต้น แต่ต่อมาปัญหานี้ได้ลดลงเนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนได้เข้ามาดูแลแก้ไข
วันนี้สังคมไทยได้เกิดปัญหาภิกษุและสามเณรเร่ร่อนเที่ยวแบกกลดเดินตามถนนบ้าง ปักกลดในย่านชุมชนบ้าง และเมื่อถึงเวลาเช้าออกบิณฑบาตและเรี่ยไรชาวบ้านบางคนให้ด้วยศรัทธา แต่มีอยู่ไม่น้อยให้เพื่อตัดความรำคาญ
แต่ที่น่าจะเป็นปัญหาสังคมและเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมก็คือ การขอเงินโดยอ้างความจำเป็นจากบุคคลที่มิใช่ญาติ และปวารณาซึ่งภิกษุไม่พึงกระทำ ดังตัวอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวทางทีวีช่องหนึ่ง มีภิกษุรูปหนึ่งโบกรถขอเงินโดยอ้างว่าขาเจ็บ และต้องเดินทางกลับบ้าน พร้อมทั้งขอโดยสารรถไปด้วย
ผู้เขียนในฐานะเป็นชาวพุทธ เห็นภาพที่ภิกษุรูปนั้นแสดงกิริยาท่าทางแล้วไม่อยากเชื่อว่าเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ที่บวชด้วยศรัทธา และต้องอยู่ในสมณเพศเพื่อศึกษา และปฏิบัติธรรมแล้วนำผลที่ได้จากการปฏิบัติเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ครั้งหนึ่งในอดีต ผู้เขียนมีประสบการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ ในขณะที่ทำงานอยู่ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ลูกน้องได้เข้ามาบอกว่า มีพระรูปหนึ่งยืนอยู่หน้าประตูด้านหน้าของอาคารที่ทำการ และแจ้งว่าอาพาธจะไปหาหมอ แต่ไม่มีเงิน ทั้งยังไม่ได้ฉันอาหารเช้า จึงได้บอกให้เจ้าหน้าที่ไปนิมนต์ให้เข้าข้างใน และจะซื้ออาหารมาถวายแล้วจะเรียกรถแท็กซี่ให้ไปส่งที่โรงพยาบาล แต่พระรูปนั้นปฏิเสธโดยยืนยันว่าจะไปเองและต้องการเงิน ผู้เขียนจึงบอกปฏิเสธไป
2. จากประสบการณ์ตามข้อ 1 จึงอนุมานได้ว่า พระภิกษุที่ปรากฏตามข่าวไม่น่าจะเป็นพระจริง หรือถ้าเป็นพระจริงก็เป็นประเภทไม่เคารพพระธรรมวินัย เนื่องจากเข้าข่ายแสวงหาอันไม่สมควร หรือที่พระวินัยเรียกว่า อเนสนา
3. ตามปกติการเรี่ยไรจะต้องได้รับอนุญาตจึงจะทำการเรี่ยไรได้ และถ้าจะอ้างว่าเอาเงินไปทำบุญวัดโน้นวัดนี้ ก็จะต้องมีใบฎีกาของวัดที่จะไปทำบุญระบุวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า จะทำอะไร
4. ภิกษุและสามเณรทุกรูปที่บวชถูกต้องตามพระวินัย และเป็นไปตาม พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ พ.ร.บ. 2505 จะต้องมีใบสุทธิแสดงความเป็นภิกษุและสามเณรพกติดตัว ในทำนองเดียวกันกับคฤหัสถ์จะต้องมีบัตรประชาชนแสดงความเป็นพลเมืองของประเทศไทย
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านพบเห็นภิกษุหรือสามเณรมีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณรจริงหรือไม่ ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือพระสังฆาธิการมาทำการตรวจสอบสถานภาพความเป็นพระและเป็นเณรได้
แต่ในสังคมไทย วันนี้ถึงแม้จะมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ แต่ก็ยังมีภิกษุและสามเณรซึ่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมแก่เพศและภาวะของนักบวชให้เห็นอย่างดาษดื่น เนื่องจากชาวพุทธไม่ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนาตามที่ควรจะทำ ทั้งนี้น่าจะเนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในทางทฤษฎีคำสอนของพระพุทธศาสนา สอนให้ชาวพุทธมีศรัทธาประกอบด้วยปัญญาคือ หาเหตุผลก่อนจะเชื่อตามนัยแห่งกาลามสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับความเชื่อ
แต่ในความเป็นจริง มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยทำบุญด้วยการให้ทาน ด้วยหวังว่าตนเองจะได้สิ่งตอบแทนจากการให้เช่น การได้ไปเกิดในสวรรค์ หรือให้เพื่อตัดความรำคาญเพื่อหวังให้ผู้ขอไปให้พ้นๆ จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ให้ทานเพื่อลด ละ กิเลสคือความเห็นแก่ตัว หรือให้ทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับ เป็นการบำเพ็ญทานบารมีในทำนองเดียวกับการให้ของพระโพธิสัตว์
2. ในการให้ทาน ถ้าต้องการให้ได้บุญมากจะต้องเลือก (ผู้รับ) ก่อนการให้ (วิเจยฺย ทานํ)
โดยยึดหลักแห่งการให้ทานจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ จึงจะได้บุญมากคือ
1. ปฏิคาหก คือผู้รับจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายก คือผู้รับจะต้องมีศรัทธา
3. วัตถุทาน คือสิ่งที่ให้จะต้องเป็นของบริสุทธิ์ คือหามาได้โดยชอบธรรม ไม่ได้ลักหรือโกงของใครมา
ในองค์ประกอบ 3 ประการนี้ ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยบกพร่องในการพิจารณาก่อนให้ทาน
ความบกพร่อง ประการแรก คือ การไม่เลือกผู้รับ และความบกพร่องข้อนี้เองที่ทำให้ภิกษุ และสามเณรเร่ร่อนเที่ยวเรี่ยไรเกิดขึ้น และดำรงอยู่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และทำลายศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ความบกพร่อง ประการที่สอง คือ ผู้ให้มิได้มีศรัทธาในผู้รับ นอกจากผู้ให้จะไม่ได้บุญแล้ว ยังเป็นเหตุให้ผู้รับประเภทนักบวชเร่ร่อนดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่ผู้ให้ประเภทนี้ยังมีอยู่ในสังคมไทย
ความบกพร่อง ประการสุดท้าย คือ ถ้าผู้รับไม่พิจารณาว่าสิ่งที่เขาให้มีความบริสุทธิ์หรือไม่ การรับของโจรก็อาจเกิดขึ้นได้ดังเช่นของพระธัมมชโย เป็นตัวอย่าง
ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีพระเร่ร่อนเที่ยวเรี่ยไรจนชาวบ้านเดือดร้อนรำคาญ ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรจะได้ทำการศึกษาและกำหนดมาตรการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมเช่น ห้ามพระภิกษุเดินธุดงค์และปักกลดในเขตชุมชนเมือง เป็นต้น
เมื่อหลายปีมาแล้ว ในสังคมเมืองใหญ่ เช่น กรุงเทพฯ เป็นต้น เคยมีปัญหาช้างเร่ร่อนที่คนเลี้ยงนำมาเดินขอเงินบ้าง ขออาหารให้ช้างบ้าง ก่อให้เกิดปัญหาจราจรติดขัด และช้างเกิดอันตรายจากการถูกรถชน เป็นต้น แต่ต่อมาปัญหานี้ได้ลดลงเนื่องจากหลายหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชนได้เข้ามาดูแลแก้ไข
วันนี้สังคมไทยได้เกิดปัญหาภิกษุและสามเณรเร่ร่อนเที่ยวแบกกลดเดินตามถนนบ้าง ปักกลดในย่านชุมชนบ้าง และเมื่อถึงเวลาเช้าออกบิณฑบาตและเรี่ยไรชาวบ้านบางคนให้ด้วยศรัทธา แต่มีอยู่ไม่น้อยให้เพื่อตัดความรำคาญ
แต่ที่น่าจะเป็นปัญหาสังคมและเป็นเหตุให้พระพุทธศาสนาเสื่อมก็คือ การขอเงินโดยอ้างความจำเป็นจากบุคคลที่มิใช่ญาติ และปวารณาซึ่งภิกษุไม่พึงกระทำ ดังตัวอย่างที่ปรากฏเป็นข่าวทางทีวีช่องหนึ่ง มีภิกษุรูปหนึ่งโบกรถขอเงินโดยอ้างว่าขาเจ็บ และต้องเดินทางกลับบ้าน พร้อมทั้งขอโดยสารรถไปด้วย
ผู้เขียนในฐานะเป็นชาวพุทธ เห็นภาพที่ภิกษุรูปนั้นแสดงกิริยาท่าทางแล้วไม่อยากเชื่อว่าเป็นนักบวชในพระพุทธศาสนา ที่บวชด้วยศรัทธา และต้องอยู่ในสมณเพศเพื่อศึกษา และปฏิบัติธรรมแล้วนำผลที่ได้จากการปฏิบัติเผยแผ่คำสอนของพระพุทธองค์ ทั้งนี้ด้วยเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ครั้งหนึ่งในอดีต ผู้เขียนมีประสบการณ์ในทำนองเดียวกันนี้ ในขณะที่ทำงานอยู่ที่การทางพิเศษแห่งประเทศไทย ลูกน้องได้เข้ามาบอกว่า มีพระรูปหนึ่งยืนอยู่หน้าประตูด้านหน้าของอาคารที่ทำการ และแจ้งว่าอาพาธจะไปหาหมอ แต่ไม่มีเงิน ทั้งยังไม่ได้ฉันอาหารเช้า จึงได้บอกให้เจ้าหน้าที่ไปนิมนต์ให้เข้าข้างใน และจะซื้ออาหารมาถวายแล้วจะเรียกรถแท็กซี่ให้ไปส่งที่โรงพยาบาล แต่พระรูปนั้นปฏิเสธโดยยืนยันว่าจะไปเองและต้องการเงิน ผู้เขียนจึงบอกปฏิเสธไป
2. จากประสบการณ์ตามข้อ 1 จึงอนุมานได้ว่า พระภิกษุที่ปรากฏตามข่าวไม่น่าจะเป็นพระจริง หรือถ้าเป็นพระจริงก็เป็นประเภทไม่เคารพพระธรรมวินัย เนื่องจากเข้าข่ายแสวงหาอันไม่สมควร หรือที่พระวินัยเรียกว่า อเนสนา
3. ตามปกติการเรี่ยไรจะต้องได้รับอนุญาตจึงจะทำการเรี่ยไรได้ และถ้าจะอ้างว่าเอาเงินไปทำบุญวัดโน้นวัดนี้ ก็จะต้องมีใบฎีกาของวัดที่จะไปทำบุญระบุวัตถุประสงค์ชัดเจนว่า จะทำอะไร
4. ภิกษุและสามเณรทุกรูปที่บวชถูกต้องตามพระวินัย และเป็นไปตาม พ.ร.บ.ปกครองคณะสงฆ์ พ.ร.บ. 2505 จะต้องมีใบสุทธิแสดงความเป็นภิกษุและสามเณรพกติดตัว ในทำนองเดียวกันกับคฤหัสถ์จะต้องมีบัตรประชาชนแสดงความเป็นพลเมืองของประเทศไทย
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านพบเห็นภิกษุหรือสามเณรมีพฤติกรรมน่าสงสัยว่าจะเป็นภิกษุหรือสามเณรจริงหรือไม่ ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ หรือพระสังฆาธิการมาทำการตรวจสอบสถานภาพความเป็นพระและเป็นเณรได้
แต่ในสังคมไทย วันนี้ถึงแม้จะมีประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธ แต่ก็ยังมีภิกษุและสามเณรซึ่งมีพฤติกรรมไม่เหมาะสมแก่เพศและภาวะของนักบวชให้เห็นอย่างดาษดื่น เนื่องจากชาวพุทธไม่ช่วยกันปกป้องพระพุทธศาสนาตามที่ควรจะทำ ทั้งนี้น่าจะเนื่องจากเหตุปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ในทางทฤษฎีคำสอนของพระพุทธศาสนา สอนให้ชาวพุทธมีศรัทธาประกอบด้วยปัญญาคือ หาเหตุผลก่อนจะเชื่อตามนัยแห่งกาลามสูตร ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงสอนเกี่ยวกับความเชื่อ
แต่ในความเป็นจริง มีชาวพุทธจำนวนไม่น้อยทำบุญด้วยการให้ทาน ด้วยหวังว่าตนเองจะได้สิ่งตอบแทนจากการให้เช่น การได้ไปเกิดในสวรรค์ หรือให้เพื่อตัดความรำคาญเพื่อหวังให้ผู้ขอไปให้พ้นๆ จะมีอยู่ส่วนน้อยที่ให้ทานเพื่อลด ละ กิเลสคือความเห็นแก่ตัว หรือให้ทานเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้รับ เป็นการบำเพ็ญทานบารมีในทำนองเดียวกับการให้ของพระโพธิสัตว์
2. ในการให้ทาน ถ้าต้องการให้ได้บุญมากจะต้องเลือก (ผู้รับ) ก่อนการให้ (วิเจยฺย ทานํ)
โดยยึดหลักแห่งการให้ทานจะต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ จึงจะได้บุญมากคือ
1. ปฏิคาหก คือผู้รับจะต้องเป็นผู้มีศีล
2. ทายก คือผู้รับจะต้องมีศรัทธา
3. วัตถุทาน คือสิ่งที่ให้จะต้องเป็นของบริสุทธิ์ คือหามาได้โดยชอบธรรม ไม่ได้ลักหรือโกงของใครมา
ในองค์ประกอบ 3 ประการนี้ ชาวพุทธจำนวนไม่น้อยบกพร่องในการพิจารณาก่อนให้ทาน
ความบกพร่อง ประการแรก คือ การไม่เลือกผู้รับ และความบกพร่องข้อนี้เองที่ทำให้ภิกษุ และสามเณรเร่ร่อนเที่ยวเรี่ยไรเกิดขึ้น และดำรงอยู่ได้ ทั้งๆ ที่เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย และทำลายศรัทธาต่อพระพุทธศาสนา
ความบกพร่อง ประการที่สอง คือ ผู้ให้มิได้มีศรัทธาในผู้รับ นอกจากผู้ให้จะไม่ได้บุญแล้ว ยังเป็นเหตุให้ผู้รับประเภทนักบวชเร่ร่อนดำรงอยู่ได้ตราบเท่าที่ผู้ให้ประเภทนี้ยังมีอยู่ในสังคมไทย
ความบกพร่อง ประการสุดท้าย คือ ถ้าผู้รับไม่พิจารณาว่าสิ่งที่เขาให้มีความบริสุทธิ์หรือไม่ การรับของโจรก็อาจเกิดขึ้นได้ดังเช่นของพระธัมมชโย เป็นตัวอย่าง
ดังนั้น เพื่อป้องกันมิให้มีพระเร่ร่อนเที่ยวเรี่ยไรจนชาวบ้านเดือดร้อนรำคาญ ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ ควรจะได้ทำการศึกษาและกำหนดมาตรการป้องกันอย่างเป็นรูปธรรมเช่น ห้ามพระภิกษุเดินธุดงค์และปักกลดในเขตชุมชนเมือง เป็นต้น