1. กล่าวนำ
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีผู้อ่านท่านหนึ่งสอบถามความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับแนวทางสร้างความสามัคคีปรองดอง พร้อมทั้งได้มอบภาพถ่ายหนังสือ รมต.กระทรวงกลาโหม (ดูภาพที่ 1) ที่มีไปยังพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ภาคประชาสังคม NGO รวมทั้งภาคธุรกิจ ฯลฯ เพื่อเชิญมาร่วมเสนอความเห็น และแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดอง และยังได้กำชับให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นผ่านบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบด้วย
ภาพที่ 1 ภาพถ่ายหนังสือของรมต.กลาโหม*
ในหนังสือของ รมต.กลาโหมได้สอบถามความคิดเห็นและแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดองรวม 10 ประเด็นคือ ด้านการเมือง, ด้านความเหลื่อมล้ำและการครอบครองที่ดินทำกินของเกษตรกร, ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม, ด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุข, ด้านสื่อสารมวลชน, ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ด้านการต่างประเทศ, ด้านการป้องกันทุจริตคอร์รัปชัน, ด้านปฏิรูป และด้านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่า ทำไมไม่ถามความคิดเห็นด้านการป้องกันประเทศและการทหารบ้าง หรือคงคิดว่า ในแผ่นดินไทยคงไม่มีใครแตกฉาน และเจนจบทุกกระบวนยุทธ์เท่ากับพวกท่าน เลยไม่ต้องถามใครๆ ให้เสียเวลาอีก
แม้รมต.กระทรวงกลาโหมจะไม่ได้มีหนังสือสอบถามผู้เขียนมาโดยตรง แต่ก็จะขอถือโอกาส (ที่มีผู้อ่านได้ถามผู้เขียนมา) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองในประเด็นต่างๆ โดยจะเขียนลงในบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย(10)เรื่องที่ 10.4” ตามที่ท่านผู้อ่านได้ร้องขอมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านได้นำไปพิจารณากันต่อไป
การนำเสนอข้อเสนอแนะในบทความนี้เป็นการนำเสนอความคิดเห็นที่เรียกว่า ความคิดที่ไร้ขีดจำกัด (Unlimited Thinking) หรือความคิดนอกกรอบ ซึ่งอาจไม่ตรงกับแนวทางที่สถาบันต่างๆ ได้ทำการศึกษาไว้ โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเชื่อว่า การสร้างความสามัคคีปรองดองให้ได้ผลตามที่มุ่งหวังจะต้องนำแนวทางต่างๆ มาผสมผสานกันและใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี การนำเสนอความคิดเห็นเพื่อตอบคำถามของ รมต.กลาโหมในบทความนี้จะแบ่งเป็น 3 ตอน โดยในตอนที่ 1 จะนำเสนอแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดองในประเด็นที่ 1 - 2, ส่วนในตอนที่ 2 จะตอบคำถามในประเด็นที่ 3 - 5 และในตอนที่ 3 จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ 6 - 10 รวมทั้งหมด 10 ประเด็น และถ้าผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไร ขออย่าได้รีรอ กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ udomdee@gmail.com
2. ความขัดแย้ง : ความหมายโดยทั่วไป
ความขัดแย้ง* เป็นสถานะของความไม่เห็นด้วย หรือความเป็นปรปักษ์ต่อกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า หรือระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองกลุ่มหรือมากกว่า
โดยปกติแล้วความขัดแย้งเป็นเรื่องตามธรรมชาติของมนุษย์ และเกิดขึ้นได้ในทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย หรือสังคมนิยม หรือระบอบอื่นใด เพราะกลุ่มคนในสังคมอาจมีความคิดเห็นหลากหลาย แตกต่างกัน และอาจมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน บางครั้งอาจนำไปสู่การโต้แย้งและได้ข้อยุติร่วมกันซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กร และสังคมโดยส่วนรวม แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรง และอาจถึงขั้นมีการใช้อาวุธต่อสู้กันจนทำให้ความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด ดังเช่น กรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ กรณีสงครามกลางเมืองในศรีลังกา และรวมทั้งกรณีสงครามกลางเมืองในซีเรียที่มีการแทรกแซงจากมหาอำนาจหลายประเทศอยู่ในขณะนี้ (เม.ย. 2017)
(*ความหมายพัฒนาจาก www.dictionary.com/browse/conflict และhttp://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/conflict และในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงความขัดแย้งที่ใช้อาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
3. การศึกษาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในประเทศไทย
3.1 สรุปรายงานการศึกษาความขัดแย้งจากรายงานความคืบหน้าครั้งที่ 1-2 ของ คอป.
รายงานครั้งที่ 1 ของ คอป. (คือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ) ได้สรุปว่าปัญหาความขัดแย้งของไทยเป็นผลสะสมมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เริ่มตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่แม้จะสร้างความเข้มแข็งให้พรรคการเมือง สร้างกลไกการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น แต่ก็อาจเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชันทางนโยบาย และมีการแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม จนส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นที่มาของการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อขับไล่รัฐบาลในปี พ.ศ. 2549 และเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่อมาได้เกิดกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือนปช.(เดิมใช้ชื่อว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือเรียกย่อๆ ว่า นปช.) ออกมาชุมนุมประท้วงการรัฐประหาร และรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ จนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีการใช้อาวุธในเดือนเมษายน 2552 และระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม 2553
ในรายงานความคืบหน้า (ระหว่างกาล) ครั้งที่ 2 ของ คอป.สรุปว่า ปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่มีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ จนมีการใช้อำนาจนอกระบบมาแก้ไขปัญหา
จากการศึกษารายงานของ คอป.ได้พบว่า มีการกล่าวถึงเหตุผลต่างๆ ในการชุมนุมประท้วง โดยอ้างว่า มีความไม่เป็นธรรมในสังคม กระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน มีการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยเป็นอำมาตย์กับไพร่ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการนำพลังมวลชนมาสร้างความกดดันทางการเมือง โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปในทิศทางหรือแนวทางที่กลุ่มของตนต้องการ เช่น ต้องการให้ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
3.2 สำหรับรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าได้ระบุถึงความขัดแย้งภายในรัฐ (Intra-State Conflict) มี 3 ประการ คือ
(1) ความขัดแย้งที่มุ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ตามความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่ง เช่น ความขัดแย้งระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับระบบกษัตริย์ในประเทศเนปาล ความขัดแย้งระหว่างคนพื้นเมืองผิวดำที่ต้องการสิทธิและความเสมอภาคทางการเมืองกับคนผิวขาวในแอฟริกาใต้ เป็นต้น
(2) ความขัดแย้งที่มุ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองหรือจัดสรรผลประโยชน์ กลุ่มที่มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนและของกลุ่ม เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศโบลิเวีย ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ในประเทศไทย เป็นต้น
(3) ความขัดแย้งที่มุ่งแยกตัวเป็นรัฐอิสระ มีสาเหตุมาจากความแตกต่างในอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ หรือสถานทางสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มประชาชนในแต่ละภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่างทิเบตกับจีน ความขัดแย้งระหว่างชาวกระเหรี่ยงกับพม่า และชาวไอริชกับอังกฤษ เป็นต้น
ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากการศึกษาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2552 และในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ต่อมาภายหลังการเลือกตั้งในปี 2554 และได้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำแล้ว เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ก็ยุติลง จึงอาจสรุปได้ว่า สาเหตุความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ที่กล่าวมาเป็นความขัดแย้งที่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองนั่นเอง
4. แนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของ คอป. และสถาบันพระปกเกล้า
4.1 แนวทางในการสร้างความปรองดองที่สำคัญของ คอป.
(1) การนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์รุนแรง และการดำเนินการกับผู้ชุมนุมโดยใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเคร่งครัดไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
(2) หนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คือ การที่สังคมได้รับทราบความจริงถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
(3) หน่วยงานทุกหน่วยในกระบวนการยุติธรรมต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
(4) ทุกฝ่ายควรแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันที่อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง
(5) รัฐบาลควรให้การสนับสนุนการเยียวยาและฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
4.2 แนวทางในการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าที่สำคัญมี 3 ทางเลือก คือ
(1) ทางเลือกที่หนึ่ง : ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุกประเภท ซึ่งรวมทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
(2) ทางเลือกที่สอง : ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเฉพาะคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความผิดอาญาอื่น ซึ่งแม้มีเหตุจูงใจทางการเมือง จะไม่ได้รับการยกเว้น
(3) ทางเลือกที่สาม : ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่กำหนดโดย คตส. ( คตส. คือ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ทั้งหมดและไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันทั้งสอง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรนำแนวทางการสร้างความปรองดองของ คอป. ในข้อ 4.1(2) - (5) และแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ในข้อ 4.2(2) มาเป็นกรอบในการสร้างความสามัคคีปรองดองต่อไป
5. ข้อเสนอในการสร้างความสามัคคีปรองดองโดยการขจัดสาเหตุของความขัดแย้ง
(ข้อเสนอนี้สรุปมาจากความคิดของคนไทยกลุ่มอาชีพต่างๆ และรวมทั้งกลุ่มนิสิตนักศึกษาด้วย)
นอกจากแนวทางในการสร้างความปรองดองของ คอป.และสถาบันพระปกเกล้าที่กล่าวในข้อ 4 แล้ว ในข้อที่ 5 จะกล่าวถึงข้อเสนอในการสร้างความสามัคคีปรองดองในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การขจัดสาเหตุของความขัดแย้ง (สาเหตุจากบุคคล, สาเหตุจากระบบ และสาเหตุอื่นๆ) ให้หมดไปหรือให้ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง นั่นเอง (ดูภาพที่ 2 )
ภาพที่ 2 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง: ต้องขจัดสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้
ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ เพราะมนุษย์ย่อมมีความคิด และความเชื่อที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ความขัดแย้งยังอาจมีสาเหตุมาจาก ระบบการเมือง ตัวอย่างเช่น การเดินขบวนของชาวอเมริกันที่ต่อต้าน Trump ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ดูภาพที่ 3) เป็นต้น หรืออาจเป็นผลมาจากระบบงานในองค์กร หรืออาจมีสาเหตุมาจากการแทรกแซงจากองค์กรต่างชาติ หรือรัฐต่างชาติ ดังเช่น กรณีการสู้รบในซีเรีย เป็นต้น
หลังจากศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในข้อที่ 4 แล้ว จะพบว่า ความขัดแย้งของไทยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล โดยมุ่งหมายเพื่อให้ได้อำนาจทางการเมือง และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ ของกลุ่มของตนนั่นเอง ดังแสดงในภาพที่ 4
ภาพที่ 3 กลุ่มประชาชนที่ต่อต้านประธานาธิบดี Trump*
*http://www.cbc.ca/news/world/trump-protests-portland-shot-1.3848253 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
กลุ่มผู้ประท้วงเดินขบวนต่อต้าน Trump หน้า Trump Tower ใน New York. (Kevin Hagen/EPA)
ภาพที่ 4 รูปแบบของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
สรุปก็คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นความขัดแย้งที่มาจากความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง หรือความเชื่อทางด้านศาสนาที่แตกต่างกัน หรือไม่ได้เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างระว่างชนชั้นในสังคมไทยแต่อย่างใด ส่วนการนำ “ชนชั้นในสังคม และอุดมการณ์ทางการเมือง” มากล่าวก็เพียงเพื่อจะใช้อ้างความชอบธรรมในการต่อสู้เพื่อสร้างความแตกแยกและความขัดแย้งให้มีความรุนแรงมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเพื่อมุ่งหวังอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มตนนั่นเอง
สำหรับการสร้างความสามัคคีปรองดองของไทยที่จะนำเสนอในบทความนี้อาจเปรียบได้กับการรักษาคนไข้ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะแรกคือ การป้องกัน(โรค)ไม่ให้สาเหตุของความขัดแย้งเกิดขึ้น ระยะที่สองคือ การขจัดสาเหตุ(รักษาโรค)ของความขัดแย้งเมื่อได้เกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว และระยะสุดท้ายคือ การแก้ไข บำรุงรักษา และฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้ง โดยผู้เขียนขอเสนอแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อแก้ไขปัญหา(โรค)ความขัดแย้งของประเทศไทยในระยะที่สอง และสาม ตามประเด็นต่างๆ ที่ได้ถามมา ดังนี้
5.1 ด้านการเมือง : เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น ควรสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยเอง
ไทยต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยขึ้นเอง ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยคือ ระบบการเมืองและระบบการปกครองต้องเป็นของคนไทย โดยคนไทย และเพื่อคนไทย หมายถึง ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบหรือเดินตามระบอบประชาธิปไตยและระบบการปกครองของประเทศใดๆในโลกนี้นั่นเอง ซึ่งมีข้อเสนอที่สำคัญเพื่อพิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) พรรคการเมืองจะต้องเป็นของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของบุคคลหรือของครอบครัวหรือของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้น รัฐจะต้องออกกฎหมายหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งพรรคการเมืองของรัฐขึ้นจำนวนไม่เกิน 5 พรรค เช่นเดียวกับการจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาล เพื่อให้เกิดการแข่งขันกับพรรคการเมืองที่เอกชนได้จัดตั้งขึ้น (ซึ่งอาจเปรียบได้กับโรงเรียนราษฎร์) และจะต้องห้ามคนต่างด้าวร่วมกันเองหรือร่วมกับคนไทยจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองทั้งในและนอกอาณาเขตประเทศไทยอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องมีบทลงโทษผู้กระทำผิดในอัตราโทษที่สูงเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างให้บุคคลอื่นกระทำตาม
(2) นักการเมืองไทยต้องมีสัญชาติไทยสัญชาติเดียว ห้ามถือสองสัญชาติ และต้องมีบิดามารดาถือสัญชาติไทยด้วย ต้องผ่านการฝึกอบรมและจดทะเบียนเป็นนักการเมืองไทยตามระเบียบที่กำหนด และต้องผ่านการตรวจสอบร่างกาย จิตใจ และคุณลักษณะต้องห้ามต่างๆ จากนั้นจึงจะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
(3) จัดตั้งองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) สำหรับบุคลากรทางการเมือง โดยให้มีหน้าที่ในการพัฒนาฝึกอบรม จัดการเลือกตั้งเพื่อคัดเลือกบุคลากรทางการเมือง ตรวจสอบร่างกายและจิตใจ คุณวุฒิการศึกษา การจัดทำทะเบียนประวัติ จดทะเบียนและให้ใบรับรองแก่บุคลากรทางการเมือง ทั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง จนถึงช่วงที่บุคคลนั้นไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีกแล้ว
(4) ห้ามคนต่างด้าวหรือรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรต่างชาติหรือองค์กรสิทธิมนุษยชนให้การสนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง นักการเมืองไทย หรือองค์กรทางการเมืองของไทยอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องออกกฎหมายกำหนดบทลงโทษอย่างรุนแรงตามฐานความผิดที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้มีการแทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองของไทยจากประเทศอื่นๆ อย่างเด็ดขาด
(5) ยุบเลิกกลุ่มหรือองค์กรนอกกฎหมายทุกกลุ่มทุกองค์กร ที่ไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างถูกกฎหมายทั้งหมดทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินงานต่างๆ ในประเทศไทย และถ้ากลุ่มบุคคลใดต้องการจะให้องค์กรใดดำเนินงานต่อ จะต้องยื่นขอจัดตั้งหรือจดทะเบียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยต่อไป
5.2 ด้านความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินทำกิน: ที่ดินคือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุด
เนื่องจากที่ดินคือ ทรัพยากรธรรมที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ จึงต้องมีการบริหารจัดการใช้ที่ดิน (Land Resources Management) โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Benefit) จึงขอเสนอให้ฝ่ายบริหารดำเนินการดังนี้
(1) ควรออกกฎหมายจัดรูปที่ดินทั้งประเทศ และออกระเบียบกำหนดจำนวนการถือครองที่ดินที่องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนแต่ละคนจะมีสิทธิถือครองให้เป็นไปอย่างเท่าเทียม และถูกต้องตามหลักการบริหารจัดการที่ดินที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ควรนำมาตรการการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive) มาใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดิน คือ การจัดเก็บภาษีที่ดินตามลักษณะการใช้ประโยชน์ และไม่ใช้ประโยชน์ (คือ การซื้อที่ดินเพื่อเกร็งกำไร) มูลค่าที่ดิน ที่ตั้ง และปริมาณการถือครองที่ดินของผู้เสียภาษี
(3) ควรจัดสรรที่ดินทำกินให้ประชาชนไทยที่มีบิดามารดาถือสัญชาติไทย และตนเองมีอาชีพทำการเกษตรจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี ในจำนวนที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างยุติธรรม
(4) ควรกำหนดบทลงโทษอย่างรุนแรงโดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนโทษแก่บุคคลที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหรือป่าที่ได้อนุรักษ์ไว้แล้ว หรือป่าที่เป็นเนินเขา ภูเขา หรือพื้นที่ป่าต้นน้ำ เป็นต้น และถ้าเป็นการกระทำบุกรุกที่ดินโดยคนต่างด้าว คนต่างด้าวที่กระทำผิดในกรณีนี้จะต้องได้รับโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษที่ระบุไว้ในกฎหมาย
(5) ควรห้ามบุคคลต่างด้าวที่เข้ามาจดทะเบียนแต่งงานกับคนไทย เข้ามามีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศไทยอย่างเด็ดขาด แม้คู่สมรสที่เป็นคนไทยเสียชีวิต โดยบุคคลต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสจะต้องขายที่ดินนั้นออกไปให้กับผู้ซื้อที่เป็นคนไทยหรือนิติบุคคลคนไทยนั่นเอง
(6) ควรกำหนดบทลงโทษขั้นสูงสุดประหารชีวิตโดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนโทษแก่บุคคลใดๆ ซึ่งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ให้การช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้บุคคลต่างด้าวในฐานะบุคคลธรรมดาหรือในฐานะนิติบุคคลในทุกรูปแบบเข้าถือครองหรือเข้ามามีกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือพื้นที่อื่นใด ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ส่วนใดของประเทศไทย
(โปรดติดตามในตอนต่อไป ในตอนที่ 2 ประเด็นที่ 3 - 5)
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีผู้อ่านท่านหนึ่งสอบถามความคิดเห็นของผู้เขียนเกี่ยวกับแนวทางสร้างความสามัคคีปรองดอง พร้อมทั้งได้มอบภาพถ่ายหนังสือ รมต.กระทรวงกลาโหม (ดูภาพที่ 1) ที่มีไปยังพรรคการเมือง กลุ่มการเมือง ภาคประชาสังคม NGO รวมทั้งภาคธุรกิจ ฯลฯ เพื่อเชิญมาร่วมเสนอความเห็น และแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดอง และยังได้กำชับให้ผู้เขียนแสดงความคิดเห็นผ่านบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย” เพื่อเผยแพร่ให้สาธารณชนได้รับทราบด้วย
ภาพที่ 1 ภาพถ่ายหนังสือของรมต.กลาโหม*
ในหนังสือของ รมต.กลาโหมได้สอบถามความคิดเห็นและแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดองรวม 10 ประเด็นคือ ด้านการเมือง, ด้านความเหลื่อมล้ำและการครอบครองที่ดินทำกินของเกษตรกร, ด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม, ด้านสังคม เศรษฐกิจ การศึกษา และสาธารณสุข, ด้านสื่อสารมวลชน, ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ด้านการต่างประเทศ, ด้านการป้องกันทุจริตคอร์รัปชัน, ด้านปฏิรูป และด้านยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แต่ผู้เขียนมีข้อสงสัยว่า ทำไมไม่ถามความคิดเห็นด้านการป้องกันประเทศและการทหารบ้าง หรือคงคิดว่า ในแผ่นดินไทยคงไม่มีใครแตกฉาน และเจนจบทุกกระบวนยุทธ์เท่ากับพวกท่าน เลยไม่ต้องถามใครๆ ให้เสียเวลาอีก
แม้รมต.กระทรวงกลาโหมจะไม่ได้มีหนังสือสอบถามผู้เขียนมาโดยตรง แต่ก็จะขอถือโอกาส (ที่มีผู้อ่านได้ถามผู้เขียนมา) แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการสร้างความสามัคคีปรองดองในประเด็นต่างๆ โดยจะเขียนลงในบทความ “แผ่นดินของไทย ปัญหาของคนไทย(10)เรื่องที่ 10.4” ตามที่ท่านผู้อ่านได้ร้องขอมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจ และผู้ที่เกี่ยวข้องทุกท่านได้นำไปพิจารณากันต่อไป
การนำเสนอข้อเสนอแนะในบทความนี้เป็นการนำเสนอความคิดเห็นที่เรียกว่า ความคิดที่ไร้ขีดจำกัด (Unlimited Thinking) หรือความคิดนอกกรอบ ซึ่งอาจไม่ตรงกับแนวทางที่สถาบันต่างๆ ได้ทำการศึกษาไว้ โดยส่วนตัวแล้วผู้เขียนเชื่อว่า การสร้างความสามัคคีปรองดองให้ได้ผลตามที่มุ่งหวังจะต้องนำแนวทางต่างๆ มาผสมผสานกันและใช้ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
อย่างไรก็ดี การนำเสนอความคิดเห็นเพื่อตอบคำถามของ รมต.กลาโหมในบทความนี้จะแบ่งเป็น 3 ตอน โดยในตอนที่ 1 จะนำเสนอแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดองในประเด็นที่ 1 - 2, ส่วนในตอนที่ 2 จะตอบคำถามในประเด็นที่ 3 - 5 และในตอนที่ 3 จะเป็นการแสดงความคิดเห็นในประเด็นที่ 6 - 10 รวมทั้งหมด 10 ประเด็น และถ้าผู้อ่านท่านใดมีความคิดเห็นเพิ่มเติมอย่างไร ขออย่าได้รีรอ กรุณาส่งความคิดเห็นของท่านมาที่ udomdee@gmail.com
2. ความขัดแย้ง : ความหมายโดยทั่วไป
ความขัดแย้ง* เป็นสถานะของความไม่เห็นด้วย หรือความเป็นปรปักษ์ต่อกันระหว่างบุคคลตั้งแต่สองคนหรือมากกว่า หรือระหว่างกลุ่มบุคคลตั้งแต่สองกลุ่มหรือมากกว่า
โดยปกติแล้วความขัดแย้งเป็นเรื่องตามธรรมชาติของมนุษย์ และเกิดขึ้นได้ในทุกระบอบการปกครองไม่ว่าจะเป็นประชาธิปไตย หรือสังคมนิยม หรือระบอบอื่นใด เพราะกลุ่มคนในสังคมอาจมีความคิดเห็นหลากหลาย แตกต่างกัน และอาจมีความคิดเห็นที่ไม่ตรงกัน บางครั้งอาจนำไปสู่การโต้แย้งและได้ข้อยุติร่วมกันซึ่งจะส่งผลดีต่อองค์กร และสังคมโดยส่วนรวม แต่ในบางครั้งก็อาจนำไปสู่ความขัดแย้งที่มีการใช้ความรุนแรง และอาจถึงขั้นมีการใช้อาวุธต่อสู้กันจนทำให้ความขัดแย้งขยายตัวกลายเป็นสงครามกลางเมืองในที่สุด ดังเช่น กรณีความขัดแย้งในไอร์แลนด์เหนือ กรณีสงครามกลางเมืองในศรีลังกา และรวมทั้งกรณีสงครามกลางเมืองในซีเรียที่มีการแทรกแซงจากมหาอำนาจหลายประเทศอยู่ในขณะนี้ (เม.ย. 2017)
(*ความหมายพัฒนาจาก www.dictionary.com/browse/conflict และhttp://dictionary.cambridge.org/dictionary/english/conflict และในบทความนี้จะไม่กล่าวถึงความขัดแย้งที่ใช้อาวุธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้)
3. การศึกษาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรงในประเทศไทย
3.1 สรุปรายงานการศึกษาความขัดแย้งจากรายงานความคืบหน้าครั้งที่ 1-2 ของ คอป.
รายงานครั้งที่ 1 ของ คอป. (คือ คณะกรรมการอิสระตรวจสอบและค้นหาความจริงเพื่อการปรองดองแห่งชาติ) ได้สรุปว่าปัญหาความขัดแย้งของไทยเป็นผลสะสมมาจากเหตุการณ์ทางการเมืองที่เริ่มตั้งแต่การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ 2540 ที่แม้จะสร้างความเข้มแข็งให้พรรคการเมือง สร้างกลไกการตรวจสอบโดยองค์กรอิสระ เช่น ศาลรัฐธรรมนูญและคณะกรรมการการเลือกตั้ง เป็นต้น แต่ก็อาจเปิดช่องให้มีการคอร์รัปชันทางนโยบาย และมีการแทรกแซงองค์กรอิสระต่างๆ รวมทั้งกระบวนการยุติธรรม จนส่งผลกระทบต่อกระบวนการยุติธรรมของประเทศ ทำให้ประชาชนขาดความเชื่อมั่นในกระบวนการยุติธรรม จึงเป็นที่มาของการชุมนุมประท้วงของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเพื่อขับไล่รัฐบาลในปี พ.ศ. 2549 และเกิดการรัฐประหารในวันที่ 19 กันยายน 2549 ต่อมาได้เกิดกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือนปช.(เดิมใช้ชื่อว่า แนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการ หรือ นปก. เป็นกลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมือง ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น แนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติหรือเรียกย่อๆ ว่า นปช.) ออกมาชุมนุมประท้วงการรัฐประหาร และรัฐบาลที่นำโดยพรรคประชาธิปัตย์ จนนำไปสู่เหตุการณ์ความรุนแรงที่มีการใช้อาวุธในเดือนเมษายน 2552 และระหว่างเดือนเมษายน ถึงเดือนพฤษภาคม 2553
ในรายงานความคืบหน้า (ระหว่างกาล) ครั้งที่ 2 ของ คอป.สรุปว่า ปัญหาความขัดแย้งส่วนหนึ่งมาจากกระบวนการที่ละเมิดหลักนิติธรรม กระบวนการประชาธิปไตย กระบวนการบังคับใช้กฎหมายที่มีความอ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ จนมีการใช้อำนาจนอกระบบมาแก้ไขปัญหา
จากการศึกษารายงานของ คอป.ได้พบว่า มีการกล่าวถึงเหตุผลต่างๆ ในการชุมนุมประท้วง โดยอ้างว่า มีความไม่เป็นธรรมในสังคม กระบวนการยุติธรรมมีสองมาตรฐาน มีการแบ่งชนชั้นในสังคมไทยเป็นอำมาตย์กับไพร่ เป็นต้น เพื่อใช้เป็นเงื่อนไขในการนำพลังมวลชนมาสร้างความกดดันทางการเมือง โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองไปในทิศทางหรือแนวทางที่กลุ่มของตนต้องการ เช่น ต้องการให้ยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ เป็นต้น
3.2 สำหรับรายงานวิจัยของสถาบันพระปกเกล้าได้ระบุถึงความขัดแย้งภายในรัฐ (Intra-State Conflict) มี 3 ประการ คือ
(1) ความขัดแย้งที่มุ่งเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง ตามความเชื่อหรืออุดมการณ์ทางการเมืองแบบใดแบบหนึ่ง เช่น ความขัดแย้งระหว่างลัทธิคอมมิวนิสต์กับระบบกษัตริย์ในประเทศเนปาล ความขัดแย้งระหว่างคนพื้นเมืองผิวดำที่ต้องการสิทธิและความเสมอภาคทางการเมืองกับคนผิวขาวในแอฟริกาใต้ เป็นต้น
(2) ความขัดแย้งที่มุ่งเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองหรือจัดสรรผลประโยชน์ กลุ่มที่มีอำนาจและกลุ่มผลประโยชน์ต้องการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจการปกครองเพื่อผลประโยชน์ของตนและของกลุ่ม เช่น ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศโบลิเวีย ความขัดแย้งทางการเมืองภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองปี 2475 ในประเทศไทย เป็นต้น
(3) ความขัดแย้งที่มุ่งแยกตัวเป็นรัฐอิสระ มีสาเหตุมาจากความแตกต่างในอัตลักษณ์ชาติพันธุ์ หรือสถานทางสังคมและเศรษฐกิจของกลุ่มประชาชนในแต่ละภูมิภาค เช่น ความขัดแย้งระหว่างทิเบตกับจีน ความขัดแย้งระหว่างชาวกระเหรี่ยงกับพม่า และชาวไอริชกับอังกฤษ เป็นต้น
ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากการศึกษาเหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองของไทยที่เกิดขึ้นในเดือนเมษายน 2552 และในระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม 2553 ต่อมาภายหลังการเลือกตั้งในปี 2554 และได้มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยพรรคเพื่อไทยเป็นแกนนำแล้ว เหตุการณ์ความรุนแรงทางการเมืองต่างๆ ก็ยุติลง จึงอาจสรุปได้ว่า สาเหตุความขัดแย้งที่ก่อให้เกิดความรุนแรงในเหตุการณ์ที่กล่าวมาเป็นความขัดแย้งที่มุ่งหวังที่จะเปลี่ยนแปลงรัฐบาลหรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองนั่นเอง
4. แนวทางการสร้างความสามัคคีปรองดองของ คอป. และสถาบันพระปกเกล้า
4.1 แนวทางในการสร้างความปรองดองที่สำคัญของ คอป.
(1) การนิรโทษกรรมผู้เกี่ยวข้องในสถานการณ์รุนแรง และการดำเนินการกับผู้ชุมนุมโดยใช้กระบวนการยุติธรรมทางอาญาอย่างเคร่งครัดไม่ใช่แนวทางการแก้ปัญหาความขัดแย้ง
(2) หนทางที่ดีที่สุดในการแก้ปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้น คือ การที่สังคมได้รับทราบความจริงถึงสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น
(3) หน่วยงานทุกหน่วยในกระบวนการยุติธรรมต้องวางตัวเป็นกลาง ไม่เข้าข้างฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
(4) ทุกฝ่ายควรแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ให้เป็นสถาบันที่อยู่เหนือความขัดแย้งทางการเมือง
(5) รัฐบาลควรให้การสนับสนุนการเยียวยาและฟื้นฟูทั้งด้านร่างกาย จิตใจ และทรัพย์สินแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความรุนแรงอย่างต่อเนื่อง
4.2 แนวทางในการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้าที่สำคัญมี 3 ทางเลือก คือ
(1) ทางเลือกที่หนึ่ง : ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมคดีที่เกี่ยวเนื่องกับการชุมนุมทางการเมืองทั้งหมดทุกประเภท ซึ่งรวมทั้งคดีการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และคดีอาญาที่มีมูลเหตุจูงใจทางการเมือง
(2) ทางเลือกที่สอง : ออกพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมเฉพาะคดีเกี่ยวกับการกระทำความผิดตามพระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยความผิดอาญาอื่น ซึ่งแม้มีเหตุจูงใจทางการเมือง จะไม่ได้รับการยกเว้น
(3) ทางเลือกที่สาม : ให้เพิกถอนผลทางกฎหมายที่กำหนดโดย คตส. ( คตส. คือ คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ) ทั้งหมดและไม่นำคดีที่อยู่ระหว่างกระบวนการและตัดสินไปแล้วมาพิจารณาใหม่อีกครั้ง
ความคิดเห็นของผู้เขียน
จากการศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันทั้งสอง ผู้เขียนมีความเห็นว่า ควรนำแนวทางการสร้างความปรองดองของ คอป. ในข้อ 4.1(2) - (5) และแนวทางการสร้างความปรองดองของสถาบันพระปกเกล้า ในข้อ 4.2(2) มาเป็นกรอบในการสร้างความสามัคคีปรองดองต่อไป
5. ข้อเสนอในการสร้างความสามัคคีปรองดองโดยการขจัดสาเหตุของความขัดแย้ง
(ข้อเสนอนี้สรุปมาจากความคิดของคนไทยกลุ่มอาชีพต่างๆ และรวมทั้งกลุ่มนิสิตนักศึกษาด้วย)
นอกจากแนวทางในการสร้างความปรองดองของ คอป.และสถาบันพระปกเกล้าที่กล่าวในข้อ 4 แล้ว ในข้อที่ 5 จะกล่าวถึงข้อเสนอในการสร้างความสามัคคีปรองดองในอีกรูปแบบหนึ่งคือ การขจัดสาเหตุของความขัดแย้ง (สาเหตุจากบุคคล, สาเหตุจากระบบ และสาเหตุอื่นๆ) ให้หมดไปหรือให้ลดลงจนอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง นั่นเอง (ดูภาพที่ 2 )
ภาพที่ 2 การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่ใช้ความรุนแรง: ต้องขจัดสาเหตุของความขัดแย้งให้ได้
ความขัดแย้งเป็นเรื่องปกติ เพราะมนุษย์ย่อมมีความคิด และความเชื่อที่แตกต่างกัน นอกจากนี้ความขัดแย้งยังอาจมีสาเหตุมาจาก ระบบการเมือง ตัวอย่างเช่น การเดินขบวนของชาวอเมริกันที่ต่อต้าน Trump ในช่วงหาเสียงเลือกตั้งและสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน (ดูภาพที่ 3) เป็นต้น หรืออาจเป็นผลมาจากระบบงานในองค์กร หรืออาจมีสาเหตุมาจากการแทรกแซงจากองค์กรต่างชาติ หรือรัฐต่างชาติ ดังเช่น กรณีการสู้รบในซีเรีย เป็นต้น
หลังจากศึกษาความเป็นมาของความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในข้อที่ 4 แล้ว จะพบว่า ความขัดแย้งของไทยที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคล และความขัดแย้งระหว่างกลุ่มบุคคล โดยมุ่งหมายเพื่อให้ได้อำนาจทางการเมือง และเพื่อปกป้องผลประโยชน์ต่างๆ ของกลุ่มของตนนั่นเอง ดังแสดงในภาพที่ 4
ภาพที่ 3 กลุ่มประชาชนที่ต่อต้านประธานาธิบดี Trump*
*http://www.cbc.ca/news/world/trump-protests-portland-shot-1.3848253 ขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย
กลุ่มผู้ประท้วงเดินขบวนต่อต้าน Trump หน้า Trump Tower ใน New York. (Kevin Hagen/EPA)
ภาพที่ 4 รูปแบบของความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศไทย
สรุปก็คือ ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในอดีตที่ผ่านมา ไม่ได้เป็นความขัดแย้งที่มาจากความแตกต่างด้านอุดมการณ์ทางการเมือง หรือความเชื่อทางด้านศาสนาที่แตกต่างกัน หรือไม่ได้เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากความแตกต่างระว่างชนชั้นในสังคมไทยแต่อย่างใด ส่วนการนำ “ชนชั้นในสังคม และอุดมการณ์ทางการเมือง” มากล่าวก็เพียงเพื่อจะใช้อ้างความชอบธรรมในการต่อสู้เพื่อสร้างความแตกแยกและความขัดแย้งให้มีความรุนแรงมากขึ้น โดยมุ่งหวังให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองและเพื่อมุ่งหวังอำนาจและผลประโยชน์ทางการเมืองของกลุ่มตนนั่นเอง
สำหรับการสร้างความสามัคคีปรองดองของไทยที่จะนำเสนอในบทความนี้อาจเปรียบได้กับการรักษาคนไข้ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 ระยะได้แก่ ระยะแรกคือ การป้องกัน(โรค)ไม่ให้สาเหตุของความขัดแย้งเกิดขึ้น ระยะที่สองคือ การขจัดสาเหตุ(รักษาโรค)ของความขัดแย้งเมื่อได้เกิดความขัดแย้งขึ้นแล้ว และระยะสุดท้ายคือ การแก้ไข บำรุงรักษา และฟื้นฟูผลกระทบที่เกิดจากความขัดแย้ง โดยผู้เขียนขอเสนอแนวทางในการสร้างความสามัคคีปรองดอง เพื่อแก้ไขปัญหา(โรค)ความขัดแย้งของประเทศไทยในระยะที่สอง และสาม ตามประเด็นต่างๆ ที่ได้ถามมา ดังนี้
5.1 ด้านการเมือง : เพื่อป้องกันไม่ให้ความขัดแย้งเกิดขึ้น ควรสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยเอง
ไทยต้องสร้างระบอบประชาธิปไตยแบบไทยขึ้นเอง ระบอบประชาธิปไตยแบบไทยคือ ระบบการเมืองและระบบการปกครองต้องเป็นของคนไทย โดยคนไทย และเพื่อคนไทย หมายถึง ประเทศไทยไม่จำเป็นต้องลอกเลียนแบบหรือเดินตามระบอบประชาธิปไตยและระบบการปกครองของประเทศใดๆในโลกนี้นั่นเอง ซึ่งมีข้อเสนอที่สำคัญเพื่อพิจารณาดำเนินการดังต่อไปนี้
(1) พรรคการเมืองจะต้องเป็นของประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของบุคคลหรือของครอบครัวหรือของกลุ่มบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ดังนั้น รัฐจะต้องออกกฎหมายหรือพระราชบัญญัติจัดตั้งพรรคการเมืองของรัฐขึ้นจำนวนไม่เกิน 5 พรรค เช่นเดียวกับการจัดตั้งโรงเรียนรัฐบาล เพื่อให้เกิดการแข่งขันกับพรรคการเมืองที่เอกชนได้จัดตั้งขึ้น (ซึ่งอาจเปรียบได้กับโรงเรียนราษฎร์) และจะต้องห้ามคนต่างด้าวร่วมกันเองหรือร่วมกับคนไทยจัดตั้งพรรคการเมืองเพื่อดำเนินกิจกรรมทางการเมืองทั้งในและนอกอาณาเขตประเทศไทยอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องมีบทลงโทษผู้กระทำผิดในอัตราโทษที่สูงเพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างให้บุคคลอื่นกระทำตาม
(2) นักการเมืองไทยต้องมีสัญชาติไทยสัญชาติเดียว ห้ามถือสองสัญชาติ และต้องมีบิดามารดาถือสัญชาติไทยด้วย ต้องผ่านการฝึกอบรมและจดทะเบียนเป็นนักการเมืองไทยตามระเบียบที่กำหนด และต้องผ่านการตรวจสอบร่างกาย จิตใจ และคุณลักษณะต้องห้ามต่างๆ จากนั้นจึงจะสามารถลงสมัครรับเลือกตั้งได้
(3) จัดตั้งองค์กรกลางที่ทำหน้าที่ด้านทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) สำหรับบุคลากรทางการเมือง โดยให้มีหน้าที่ในการพัฒนาฝึกอบรม จัดการเลือกตั้งเพื่อคัดเลือกบุคลากรทางการเมือง ตรวจสอบร่างกายและจิตใจ คุณวุฒิการศึกษา การจัดทำทะเบียนประวัติ จดทะเบียนและให้ใบรับรองแก่บุคลากรทางการเมือง ทั้งในช่วงก่อนการเลือกตั้ง จนถึงช่วงที่บุคคลนั้นไม่ได้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ อีกแล้ว
(4) ห้ามคนต่างด้าวหรือรัฐบาลต่างประเทศหรือองค์กรต่างชาติหรือองค์กรสิทธิมนุษยชนให้การสนับสนุน หรือให้ความช่วยเหลือ หรือเข้าร่วมกิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพรรคการเมือง นักการเมืองไทย หรือองค์กรทางการเมืองของไทยอย่างเด็ดขาด โดยจะต้องออกกฎหมายกำหนดบทลงโทษอย่างรุนแรงตามฐานความผิดที่เข้ามาแทรกแซงทางการเมือง เพื่อเป็นการยับยั้งไม่ให้มีการแทรกแซงกิจกรรมทางการเมืองของไทยจากประเทศอื่นๆ อย่างเด็ดขาด
(5) ยุบเลิกกลุ่มหรือองค์กรนอกกฎหมายทุกกลุ่มทุกองค์กร ที่ไม่ได้รับการจัดตั้งอย่างถูกกฎหมายทั้งหมดทุกองค์กร รวมทั้งองค์กรต่างประเทศที่เข้ามาดำเนินงานต่างๆ ในประเทศไทย และถ้ากลุ่มบุคคลใดต้องการจะให้องค์กรใดดำเนินงานต่อ จะต้องยื่นขอจัดตั้งหรือจดทะเบียนให้ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายไทยต่อไป
5.2 ด้านความเหลื่อมล้ำในการถือครองที่ดินทำกิน: ที่ดินคือทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญที่สุด
เนื่องจากที่ดินคือ ทรัพยากรธรรมที่สำคัญที่สุดต่อการดำรงชีพของมนุษย์ทุกคนในโลกนี้ จึงต้องมีการบริหารจัดการใช้ที่ดิน (Land Resources Management) โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความเหมาะสมกับสภาพสังคมและเศรษฐกิจเพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด (Maximize Benefit) จึงขอเสนอให้ฝ่ายบริหารดำเนินการดังนี้
(1) ควรออกกฎหมายจัดรูปที่ดินทั้งประเทศ และออกระเบียบกำหนดจำนวนการถือครองที่ดินที่องค์กรภาครัฐ องค์กรภาคเอกชน และประชาชนแต่ละคนจะมีสิทธิถือครองให้เป็นไปอย่างเท่าเทียม และถูกต้องตามหลักการบริหารจัดการที่ดินที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
(2) ควรนำมาตรการการจัดเก็บภาษีแบบก้าวหน้า (Progressive) มาใช้ในการจัดเก็บภาษีที่ดิน คือ การจัดเก็บภาษีที่ดินตามลักษณะการใช้ประโยชน์ และไม่ใช้ประโยชน์ (คือ การซื้อที่ดินเพื่อเกร็งกำไร) มูลค่าที่ดิน ที่ตั้ง และปริมาณการถือครองที่ดินของผู้เสียภาษี
(3) ควรจัดสรรที่ดินทำกินให้ประชาชนไทยที่มีบิดามารดาถือสัญชาติไทย และตนเองมีอาชีพทำการเกษตรจนถึงปัจจุบันเป็นเวลาไม่น้อยกว่า 25 ปี ในจำนวนที่เหมาะสมต่อการประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างยุติธรรม
(4) ควรกำหนดบทลงโทษอย่างรุนแรงโดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนโทษแก่บุคคลที่บุกรุกพื้นที่ป่าสงวนหรือป่าที่ได้อนุรักษ์ไว้แล้ว หรือป่าที่เป็นเนินเขา ภูเขา หรือพื้นที่ป่าต้นน้ำ เป็นต้น และถ้าเป็นการกระทำบุกรุกที่ดินโดยคนต่างด้าว คนต่างด้าวที่กระทำผิดในกรณีนี้จะต้องได้รับโทษเป็นสองเท่าของอัตราโทษที่ระบุไว้ในกฎหมาย
(5) ควรห้ามบุคคลต่างด้าวที่เข้ามาจดทะเบียนแต่งงานกับคนไทย เข้ามามีกรรมสิทธิ์ถือครองที่ดินส่วนใดส่วนหนึ่งของประเทศไทยอย่างเด็ดขาด แม้คู่สมรสที่เป็นคนไทยเสียชีวิต โดยบุคคลต่างด้าวซึ่งเป็นคู่สมรสจะต้องขายที่ดินนั้นออกไปให้กับผู้ซื้อที่เป็นคนไทยหรือนิติบุคคลคนไทยนั่นเอง
(6) ควรกำหนดบทลงโทษขั้นสูงสุดประหารชีวิตโดยไม่มีการลดหย่อนผ่อนโทษแก่บุคคลใดๆ ซึ่งรวมทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐที่ให้การช่วยเหลือ หรือให้การสนับสนุน หรือกระทำการใดๆ เพื่อให้บุคคลต่างด้าวในฐานะบุคคลธรรมดาหรือในฐานะนิติบุคคลในทุกรูปแบบเข้าถือครองหรือเข้ามามีกรรมสิทธิ์ที่ดิน หรือพื้นที่อื่นใด ไม่ว่าจะอยู่ในพื้นที่ส่วนใดของประเทศไทย
(โปรดติดตามในตอนต่อไป ในตอนที่ 2 ประเด็นที่ 3 - 5)