นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีกรมธนารักษ์ ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาประเมินราคาที่ดินทั่วประเทศเพื่อให้ทันกับการประกาศใช้กม.ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ที่กำลังอยู่ในการพิจารณาของสนช. โดยมีหลักเกณฑ์ว่า สิ่งปลูกสร้างไม่ว่าจะเป็นบ้านหรูหรา หรือบ้านในชนบท จะมีราคาประเมินต่อตารางเมตรเท่ากัน ทำให้มีการวิจารณ์ว่าคนรวยจะได้ประโยชน์ ว่า ฐานภาษีที่ดินคือตัวทรัพย์สิน แต่สิ่งที่ควรพิจารณาในแง่การยกเว้น ควรดูวัตถุประสงค์ และสภาพความเป็นจริง เช่น เรื่องเกษตรกรรม จะยกเว้นให้ที่ดินเพื่อการเกษตร ต้องดูว่าคนที่มีรายได้ไม่มาก ควรจะเป็นอย่างไร ทำให้สอดคล้องกับความเป็นจริง ที่มีปัญหาคือ กำหนดไว้แปลงเดียว แต่เกษตรกร อาจมีที่ดินไม่มาก แต่มีสองแปลง เป็นต้น
ส่วนที่อยู่อาศัย ควรพิจารณาจากเนื้อที่ ว่าจะยกเว้นให้เท่าไร อย่างไร แต่พอไปผูกกับมูลค่า ก็มีปัญหา เพราะมีบางคนที่ครอบครองพื้นที่มาแต่เดิม ก่อนที่ที่ดินจะแพง ต่อมาที่ดินแพงขึ้น แต่ไม่ใช่คนที่ร่ำรวยก็จะมีปัญหา ดังนั้นการพิจารณาโดยผูกกับมูลค่า เป็นแนวคิดว่าต้องมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่น่าจะเป็นวัตถุประสงค์หลัก ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามว่า ในเมืองใหญ่ย่านที่ดินแพง ร้านค้าขนาดเล็ก จะอยู่ได้หรือไม่
"เวลาทำกฎหมายมีหลายวัตถุประสงค์ซ้อนกัน เพราะกฎหมายนี้ระบุกันว่า ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ก็ต้องบอกให้ชัดด้วยว่า มีความตั้งใจใช้ประโยชน์ที่ดินหรือไม่ ถ้ากำหนดแนวทางบางอย่างออกมา ทำให้เกิดสภาพว่าที่ดินย่านราคาแพงต้องทำธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้มากๆ เท่านั้น รัฐบาลต้องการอย่างนี้หรือไม่ ถ้าต้องการ ก็ต้องพูดให้ชัดว่า ไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ออกกฎหมายนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมูลค่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแม้ในรายละเอียดบทบัญญัติของกฎหมายจะมีข้อโต้แย้งมาก แต่ต้องผลักดันให้มีผลบังคับใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ โดยถือว่ากฎหมายดังกล่าวจะเป็นฐานภาษีของท้องถิ่นที่ดี แต่ถ้าถกเถียงมากจนออกมาบังคับใช้ไม่ได้ ก็จะผิดจากความตั้งใจที่รัฐบาลบอกว่าจะทำให้เสร็จสิ้น และเห็นว่าก่อนกฎหมายจะมีผลบังคับใช้มีเวลาอีกประมาณปีกว่า สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ ซึ่งในยุคนี้การออกกฎหมายไม่ยากอยู่แล้ว ถ้าเป็นนโยบายสำคัญก็ควรทำให้สำเร็จเรียบร้อย
ส่วนที่อยู่อาศัย ควรพิจารณาจากเนื้อที่ ว่าจะยกเว้นให้เท่าไร อย่างไร แต่พอไปผูกกับมูลค่า ก็มีปัญหา เพราะมีบางคนที่ครอบครองพื้นที่มาแต่เดิม ก่อนที่ที่ดินจะแพง ต่อมาที่ดินแพงขึ้น แต่ไม่ใช่คนที่ร่ำรวยก็จะมีปัญหา ดังนั้นการพิจารณาโดยผูกกับมูลค่า เป็นแนวคิดว่าต้องมาใช้ประโยชน์ทางธุรกิจ ไม่น่าจะเป็นวัตถุประสงค์หลัก ไม่เช่นนั้นจะเกิดคำถามว่า ในเมืองใหญ่ย่านที่ดินแพง ร้านค้าขนาดเล็ก จะอยู่ได้หรือไม่
"เวลาทำกฎหมายมีหลายวัตถุประสงค์ซ้อนกัน เพราะกฎหมายนี้ระบุกันว่า ต้องการลดความเหลื่อมล้ำ ก็ต้องบอกให้ชัดด้วยว่า มีความตั้งใจใช้ประโยชน์ที่ดินหรือไม่ ถ้ากำหนดแนวทางบางอย่างออกมา ทำให้เกิดสภาพว่าที่ดินย่านราคาแพงต้องทำธุรกิจขนาดใหญ่ มีรายได้มากๆ เท่านั้น รัฐบาลต้องการอย่างนี้หรือไม่ ถ้าต้องการ ก็ต้องพูดให้ชัดว่า ไม่ได้ลดความเหลื่อมล้ำ แต่ออกกฎหมายนี้เพื่อเป็นเครื่องมือในการใช้ประโยชน์ที่ดินตามมูลค่า" นายอภิสิทธิ์ กล่าว
อย่างไรก็ตาม เห็นว่าแม้ในรายละเอียดบทบัญญัติของกฎหมายจะมีข้อโต้แย้งมาก แต่ต้องผลักดันให้มีผลบังคับใช้ เพื่อเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ โดยถือว่ากฎหมายดังกล่าวจะเป็นฐานภาษีของท้องถิ่นที่ดี แต่ถ้าถกเถียงมากจนออกมาบังคับใช้ไม่ได้ ก็จะผิดจากความตั้งใจที่รัฐบาลบอกว่าจะทำให้เสร็จสิ้น และเห็นว่าก่อนกฎหมายจะมีผลบังคับใช้มีเวลาอีกประมาณปีกว่า สามารถแก้ไขเพิ่มเติมได้ ซึ่งในยุคนี้การออกกฎหมายไม่ยากอยู่แล้ว ถ้าเป็นนโยบายสำคัญก็ควรทำให้สำเร็จเรียบร้อย