นายชัยยุทธ คำคุณ รองอธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่ากรมได้สั่งคดีนำเข้ารถเมล์เอ็นจีวี 489 คัน ที่บริษัท ซูเปอร์ซาร่า จำกัด เป็นผู้นำเข้า มีความผิดสำแดงเท็จ เลี่ยงภาษี ซึ่งหากบริษัทผู้นำเข้าไม่ยอมความในชั้นการพิจารณาของกรม ก็จะส่งเรื่องให้อัยการทำสำนวนฟ้องศาลต่อไป
สำหรับการสั่งคดีนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก การนำเข้ารถเมล์เอ็นจีวี 100 คัน ที่ผู้นำเข้ายื่นใบขน Form D ว่าผลิตจากมาเลเซีย ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า 40% ซึ่งกรมได้สั่งคดีมีความผิดตามกม.ศุลกากร มาตรา 27 คือ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี และ มาตรา 99 สำแดงการนำเข้าสินค้าเป็นเท็จ
ส่วนที่เหลือ 389 คัน ผู้นำเข้ายอมเสียภาษีนำเข้า 40% แต่ยังยืนยันว่า เป็นรถที่ผลิตจากมาเลเซีย ซึ่งกรมได้สั่งคดีว่า มีความผิดตามมาตรา 99 คือการสำแดงนำเข้าเป็นเท็จเพียงอย่างเดียว
"กรมมีหลักฐานว่ารถเมล์เอ็นจีวีทั้งหมด ไม่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เป็นรถสำเร็จรูปทั้งคันที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งกรมได้ทำหนังสือให้ผู้นำเข้ามายอมความในชั้นของกรมศุลกากร หากไม่มา ก็ต้องส่งฟ้องศาลต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะส่งให้อัยการฟ้อง หรือส่งเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินคดี"
หากศาลเห็นว่า ผู้นำเข้ามีความผิดตามที่กรมแจ้งความ จะทำให้ผู้นำเข้าต้องเสียค่าปรับ 4 เท่า ของราคาสินค้ารวมอากร ซึ่งรถเมล์เอ็นจีวี ที่นำเข้ามา กรมเก็บภาษีนำเข้าที่ 40% หรือ 1.24 ล้านบาทต่อคัน หากรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ค่าอากรภาษี จะอยู่ที่คันละ 1.45 ล้านบาท
ปัจจุบัน ผู้นำเข้ายังไม่มีการนำรถเมล์เอ็นจีวี 99 คัน ออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งต้องวางประกันค่าภาษี 40% และค่าปรับอีก 2 เท่าของภาษีที่ยังไม่จ่าย รวมเป็นเงินคันละ 3.7 ล้านบาท
สำหรับการสั่งคดีนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก การนำเข้ารถเมล์เอ็นจีวี 100 คัน ที่ผู้นำเข้ายื่นใบขน Form D ว่าผลิตจากมาเลเซีย ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า 40% ซึ่งกรมได้สั่งคดีมีความผิดตามกม.ศุลกากร มาตรา 27 คือ หลีกเลี่ยงการจ่ายภาษี และ มาตรา 99 สำแดงการนำเข้าสินค้าเป็นเท็จ
ส่วนที่เหลือ 389 คัน ผู้นำเข้ายอมเสียภาษีนำเข้า 40% แต่ยังยืนยันว่า เป็นรถที่ผลิตจากมาเลเซีย ซึ่งกรมได้สั่งคดีว่า มีความผิดตามมาตรา 99 คือการสำแดงนำเข้าเป็นเท็จเพียงอย่างเดียว
"กรมมีหลักฐานว่ารถเมล์เอ็นจีวีทั้งหมด ไม่มีถิ่นกำเนิดในประเทศมาเลเซีย เป็นรถสำเร็จรูปทั้งคันที่นำเข้าจากประเทศจีน ซึ่งกรมได้ทำหนังสือให้ผู้นำเข้ามายอมความในชั้นของกรมศุลกากร หากไม่มา ก็ต้องส่งฟ้องศาลต่อไป ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาว่า จะส่งให้อัยการฟ้อง หรือส่งเรื่องให้ดีเอสไอ ดำเนินคดี"
หากศาลเห็นว่า ผู้นำเข้ามีความผิดตามที่กรมแจ้งความ จะทำให้ผู้นำเข้าต้องเสียค่าปรับ 4 เท่า ของราคาสินค้ารวมอากร ซึ่งรถเมล์เอ็นจีวี ที่นำเข้ามา กรมเก็บภาษีนำเข้าที่ 40% หรือ 1.24 ล้านบาทต่อคัน หากรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% ค่าอากรภาษี จะอยู่ที่คันละ 1.45 ล้านบาท
ปัจจุบัน ผู้นำเข้ายังไม่มีการนำรถเมล์เอ็นจีวี 99 คัน ออกจากท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งต้องวางประกันค่าภาษี 40% และค่าปรับอีก 2 เท่าของภาษีที่ยังไม่จ่าย รวมเป็นเงินคันละ 3.7 ล้านบาท