ประธานกก.สิทธิฯ ร่อนหนังสือแจงการลาออก"หมอสุรเชษฐ์" เป็นดุลยพินิจเฉพาะตัว แม้รธน.ประกาศใช้ ก็ยังสรรหากสม.ใหม่ไม่ได้ โต้ไม่เข้าใจบรรยายกาศไม่เอื้อต่อการทำงาน หมายถึงอะไร เชื่อองค์กรระดับประเทศทุกองค์กร มีปัญหาการทำงาน ยันไม่มีเรื่องไม่ยอมรับมติข้างมาก ระบุ กสม.ในอดีต ก็ให้บันทึกความเห็นในรายงาน
วานนี้ (9เม.ย.) นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ได้ออกคำแถลงต่อกรณีการลาออกของ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ระบุว่า เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปทราบถึงปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วน
1.กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งได้ 2 กรณี คือ โดยสมัครใจ การลาออก และโดยไม่สมัครใจ เช่น ขาดคุณสมบัติ ถูกถอดถอน หรือครบวาระ การลาออกเป็นเรื่องดุลพินิจเฉพาะตัว ไม่อาจที่จะบีบบังคับหรือเรียกร้องให้มีการลาออกได้ และมีผลทันที
2. เมื่อรธน.60 มีผลใช้บังคับตั้ง แต่วันที่ 6 เม.ย ก็ไม่สามารถดำเนินการสรรหาบุคคลมาเป็นกก.สิทธิฯ แทนได้ เพราะแม้ว่าเมื่อวันที่ 6 เม.ย.60 จะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 23/2560 ยกเลิก คำสั่งคสช.ที่ 40/2559 ผ่อนคลายการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ แต่ยังคงให้งดเว้นการสรรหากสม. รวมทั้ง กกต.และผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไปจนกว่ากม.ประกอบรธน. ว่าด้วยการนั้นจะมีผลใช้บังคับ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ปี หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
3. ที่มีการระบุว่า บรรยากาศการทำงานอย่างไรจึงไม่เอื้อให้เกิดการทำงานที่สร้างสรรค์ ตนไม่ทราบว่ามีหมายความอย่างไร เพราะมีรายงานข่าวในสื่อสังคมรายหนึ่งว่า ต้องรอให้ฝุ่นหาย หรือจางลงก่อน
4. สำหรับปัญหาในการทำงาน เชื่อว่า ทุกองค์กรในสังคมระดับประเทศและระหว่างประเทศรวมทั้งองค์กรแห่งนี้ย่อมมีปัญหาในการทำงาน ดังนั้น บุคคลในแต่ละองค์กร จึงต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีให้ลุล่วงไปได้ จึงจะเป็นผลดี
5. ที่ระบุว่าในการทำงานของกสม. บางครั้งเสียงข้างน้อยไม่ยอมรับมติเสียงข้างมากนั้น ไม่เป็นความจริง ในการทำงานของกสม.ชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีมติเอกฉันท์ น้อยครั้งที่มีมติไม่เอกฉันท์ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของทุกองค์กร การขอให้ระบุมติของที่ประชุม ในรายงานผลการตรวจสอบ หรือพิจารณาของกสม. ในกรณีนี้ให้ตรงตามข้อเท็จจริง ย่อมสามารถกระทำได้ ซึ่งในการทำงานของกสม.ชุดที่สอง ถึงขนาดให้ระบุรายละเอียดของการลงมติในรายงาน หรือจะมีหมายเหตุข้างท้ายรายงาน (Footnote) ในหน้าที่มีการลงนามด้วยก็ได้
วานนี้ (9เม.ย.) นายวัส ติงสมิตร ประธานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.)ได้ออกคำแถลงต่อกรณีการลาออกของ นพ.สุรเชษฐ์ สถิตนิรามัย ระบุว่า เพื่อให้สาธารณชนทั่วไปทราบถึงปัญหาข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องได้ถูกต้องครบถ้วน
1.กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ พ้นจากตำแหน่งได้ 2 กรณี คือ โดยสมัครใจ การลาออก และโดยไม่สมัครใจ เช่น ขาดคุณสมบัติ ถูกถอดถอน หรือครบวาระ การลาออกเป็นเรื่องดุลพินิจเฉพาะตัว ไม่อาจที่จะบีบบังคับหรือเรียกร้องให้มีการลาออกได้ และมีผลทันที
2. เมื่อรธน.60 มีผลใช้บังคับตั้ง แต่วันที่ 6 เม.ย ก็ไม่สามารถดำเนินการสรรหาบุคคลมาเป็นกก.สิทธิฯ แทนได้ เพราะแม้ว่าเมื่อวันที่ 6 เม.ย.60 จะมีคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 23/2560 ยกเลิก คำสั่งคสช.ที่ 40/2559 ผ่อนคลายการสรรหากรรมการองค์กรอิสระ แต่ยังคงให้งดเว้นการสรรหากสม. รวมทั้ง กกต.และผู้ตรวจการแผ่นดินต่อไปจนกว่ากม.ประกอบรธน. ว่าด้วยการนั้นจะมีผลใช้บังคับ ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 1 ปี หรือจนกว่าจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น
3. ที่มีการระบุว่า บรรยากาศการทำงานอย่างไรจึงไม่เอื้อให้เกิดการทำงานที่สร้างสรรค์ ตนไม่ทราบว่ามีหมายความอย่างไร เพราะมีรายงานข่าวในสื่อสังคมรายหนึ่งว่า ต้องรอให้ฝุ่นหาย หรือจางลงก่อน
4. สำหรับปัญหาในการทำงาน เชื่อว่า ทุกองค์กรในสังคมระดับประเทศและระหว่างประเทศรวมทั้งองค์กรแห่งนี้ย่อมมีปัญหาในการทำงาน ดังนั้น บุคคลในแต่ละองค์กร จึงต้องร่วมกันแก้ไขปัญหาที่มีให้ลุล่วงไปได้ จึงจะเป็นผลดี
5. ที่ระบุว่าในการทำงานของกสม. บางครั้งเสียงข้างน้อยไม่ยอมรับมติเสียงข้างมากนั้น ไม่เป็นความจริง ในการทำงานของกสม.ชุดปัจจุบัน ส่วนใหญ่มีมติเอกฉันท์ น้อยครั้งที่มีมติไม่เอกฉันท์ ซึ่งก็เป็นเรื่องปกติของทุกองค์กร การขอให้ระบุมติของที่ประชุม ในรายงานผลการตรวจสอบ หรือพิจารณาของกสม. ในกรณีนี้ให้ตรงตามข้อเท็จจริง ย่อมสามารถกระทำได้ ซึ่งในการทำงานของกสม.ชุดที่สอง ถึงขนาดให้ระบุรายละเอียดของการลงมติในรายงาน หรือจะมีหมายเหตุข้างท้ายรายงาน (Footnote) ในหน้าที่มีการลงนามด้วยก็ได้