นายสุริยะใส กตะศิลา รองคณบดีฯ วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม ม.รังสิต และ ผอ.สถาบันปฏิรูปประเทศไทย (สปท.) กล่าวว่า หลังการประกาศใช้รธน.ฉบับใหม่ หลายฝ่ายอาจคิดว่า การปฎิรูปประเทศเกิดขึ้นแล้ว และทุกอย่างคงเดินไปตามโรดแมป อีก 18- 19 เดือนเลือกตั้ง ซึ่งเป็นการมองข้ามบริบท และปัจจัยหลายตัวแปรที่อาจทำให้การเมืองไทยยังมีความเสี่ยง และภาระกิจเรื่องปฏิรูปก่อนเลือกตั้งที่หลายอย่างยังไม่เริ่มเลย
ฉะนั้น กระแสปี่กลองของการเลือกตั้ง อาจทำให้หลงลืมภารกิจสำคัญจนมองข้ามการบ้านต่างๆที่รัฐบาลคสช. ต้องดำเนินการคือ การปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมก่อนเลือกตั้ง ซึ่งมีการบ้านหลายข้อ ที่ยังต้องเฝ้าจับตาและผลักดันกันต่อไป เช่น ความต่อเนื่องของกระบวนการปฏิรูปตามรธน. โดยเฉพาะการตรากม.ลูก อีกกว่า 40 ฉบับ ที่ไม่ได้มี แค่กม.ประกอบรธน.10 ฉบับ เท่านั้น การตรากม.สำคัญเหล่านี้ จะมีส่วนร่วมของประชาชน และจะเป็นดัชนีตอบโจทย์การปฏิรูปอย่างแท้จริง
สำหรับพรรคการเมือง ไม่ควรนั่งนับถอยหลังเลือกตั้ง แต่ต้องวางแผนปฏิรูปพรรค กล้าสรุปบทเรียนในฐานะที่มีส่วนสำคัญทำให้การเมืองล้มเหลว ต้องอ่าน และศึกษารธน.ทุกมาตราอย่างจริงจัง เพราะมีกลไกใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย
ส่วนภาครัฐต้องเร่งเผยแพร่สาระสำคัญของรธน. ให้ประชาชนได้รับรู้ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และกลไกใหม่ๆ ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนและระบบเลือกตั้งที่เปลี่ยนไป กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม ต้องเตรียมความพร้อมในการเสนอความเห็น และผลักดันการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับกฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรธน. เพราะที่ ผ่านกระบวนการตรากฎหมายลูกหลายครั้ง พบว่าบิดเบือนเจตนารมน์รธน. และไม่ตอบโจทย์ปฏิรูป
ส่วนคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง(ป.ย.ป.) จะต้องเร่งสร้างผลงานโดยเฉพาะการปฎิรูประบบราชการ เพราะกระแสเลือกตั้งมา จะทำให้ข้าราชการเกียร์ว่างมากขึ้น
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งหลังจากนี้ประมาณ 18 เดือน เพื่อออกกม.ลูกสำคัญ 10 ฉบับว่า ขณะนี้เริ่มมีกระบวนการสำรวจความเห็นประชาชน หรือ การสร้างกระแสผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดีย กับสังคมไทยว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะมีการเลือกตั้งแล้วหรือไม่ ฝ่ายเชียร์ ทหาร ตอบไม่พร้อม อีกฝ่ายตอบพร้อม ซึ่งสังคมไม่ได้อะไรเลย จากการจุดกระแสเช่นนี้ แต่ที่น่าสังเกต คือ คนที่ตอบว่าไม่พร้อม กลับเป็นคนที่โหวตให้รธน. ผ่านประชามติ ส่วนตัวไม่อยากให้สังคมไทยต้องสับสนเช่นนี้ เพราะเมื่อรธน. ออกมาบังคับใช้แล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ตามรธน. ส่วนจะมีเลือกตั้งช้า เร็ว อยู่ที่เจตนาของรธน. รวมถึง กฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับ ที่ กรธ.ยกร่างให้เสร็จใน 240 วัน รวมถึงต้องส่งให้สนช.พิจารณาต่อ แต่ก่อนหน้านี้เคยระบุว่า เสร็จกฎหมายหมวดเลือกตั้ง 4 ฉบับ ก็สามารถจัดเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอให้เสร็จทั้ง10 ฉบับ เพราะต้องการให้ประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว จึงอยู่ที่ผู้มีอำนาจ รวมถึงกรธ.และสนช. ที่ต้องตอบคำถามนี้ต่อสังคมไทย
ส่วนความพร้อมของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรธน. เรายืนยันว่ามีความพร้อมเสมอ ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าเมื่อกม.พรรคการเมืองฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้แล้ว จะมีการรีเซ็ต หรือให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นั้น พรรคก็พร้อมทำตามกติกา ไม่มีปัญหาอะไร
ฉะนั้น กระแสปี่กลองของการเลือกตั้ง อาจทำให้หลงลืมภารกิจสำคัญจนมองข้ามการบ้านต่างๆที่รัฐบาลคสช. ต้องดำเนินการคือ การปฏิรูปประเทศให้เป็นรูปธรรมก่อนเลือกตั้ง ซึ่งมีการบ้านหลายข้อ ที่ยังต้องเฝ้าจับตาและผลักดันกันต่อไป เช่น ความต่อเนื่องของกระบวนการปฏิรูปตามรธน. โดยเฉพาะการตรากม.ลูก อีกกว่า 40 ฉบับ ที่ไม่ได้มี แค่กม.ประกอบรธน.10 ฉบับ เท่านั้น การตรากม.สำคัญเหล่านี้ จะมีส่วนร่วมของประชาชน และจะเป็นดัชนีตอบโจทย์การปฏิรูปอย่างแท้จริง
สำหรับพรรคการเมือง ไม่ควรนั่งนับถอยหลังเลือกตั้ง แต่ต้องวางแผนปฏิรูปพรรค กล้าสรุปบทเรียนในฐานะที่มีส่วนสำคัญทำให้การเมืองล้มเหลว ต้องอ่าน และศึกษารธน.ทุกมาตราอย่างจริงจัง เพราะมีกลไกใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย
ส่วนภาครัฐต้องเร่งเผยแพร่สาระสำคัญของรธน. ให้ประชาชนได้รับรู้ โดยเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน และกลไกใหม่ๆ ที่เปิดพื้นที่ให้ประชาชนและระบบเลือกตั้งที่เปลี่ยนไป กลุ่มองค์กรภาคประชาสังคม ต้องเตรียมความพร้อมในการเสนอความเห็น และผลักดันการจัดทำข้อเสนอเกี่ยวกับกฎหมายลูก และกฎหมายประกอบรธน. เพราะที่ ผ่านกระบวนการตรากฎหมายลูกหลายครั้ง พบว่าบิดเบือนเจตนารมน์รธน. และไม่ตอบโจทย์ปฏิรูป
ส่วนคณะกรรมการบริหารราชการแผ่นดินตามกรอบการปฏิรูปประเทศ ยุทธศาสตร์ชาติและการสร้างความสามัคคีปรองดอง(ป.ย.ป.) จะต้องเร่งสร้างผลงานโดยเฉพาะการปฎิรูประบบราชการ เพราะกระแสเลือกตั้งมา จะทำให้ข้าราชการเกียร์ว่างมากขึ้น
นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงกรณีรัฐบาลกำหนดให้มีการเลือกตั้งหลังจากนี้ประมาณ 18 เดือน เพื่อออกกม.ลูกสำคัญ 10 ฉบับว่า ขณะนี้เริ่มมีกระบวนการสำรวจความเห็นประชาชน หรือ การสร้างกระแสผ่านสื่อโซเชี่ยลมีเดีย กับสังคมไทยว่า ประเทศไทยมีความพร้อมที่จะมีการเลือกตั้งแล้วหรือไม่ ฝ่ายเชียร์ ทหาร ตอบไม่พร้อม อีกฝ่ายตอบพร้อม ซึ่งสังคมไม่ได้อะไรเลย จากการจุดกระแสเช่นนี้ แต่ที่น่าสังเกต คือ คนที่ตอบว่าไม่พร้อม กลับเป็นคนที่โหวตให้รธน. ผ่านประชามติ ส่วนตัวไม่อยากให้สังคมไทยต้องสับสนเช่นนี้ เพราะเมื่อรธน. ออกมาบังคับใช้แล้ว ทุกอย่างต้องเป็นไปตามที่บัญญัติไว้ตามรธน. ส่วนจะมีเลือกตั้งช้า เร็ว อยู่ที่เจตนาของรธน. รวมถึง กฎหมายลูกทั้ง 10 ฉบับ ที่ กรธ.ยกร่างให้เสร็จใน 240 วัน รวมถึงต้องส่งให้สนช.พิจารณาต่อ แต่ก่อนหน้านี้เคยระบุว่า เสร็จกฎหมายหมวดเลือกตั้ง 4 ฉบับ ก็สามารถจัดเลือกตั้งได้โดยไม่ต้องรอให้เสร็จทั้ง10 ฉบับ เพราะต้องการให้ประเทศเข้าสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว จึงอยู่ที่ผู้มีอำนาจ รวมถึงกรธ.และสนช. ที่ต้องตอบคำถามนี้ต่อสังคมไทย
ส่วนความพร้อมของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับรธน. เรายืนยันว่ามีความพร้อมเสมอ ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าเมื่อกม.พรรคการเมืองฉบับใหม่ออกมาบังคับใช้แล้ว จะมีการรีเซ็ต หรือให้มีการเลือกคณะกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่นั้น พรรคก็พร้อมทำตามกติกา ไม่มีปัญหาอะไร