นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง โพสต์หนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคลัง ลงวั้นที่ 3 เม.ย.60 เรื่อง PTTOR ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว “Thirachai Phuvanatnaranubala” โดยมีสาระระบุว่า ขอให้ กรมธนารักษ์การอนุญาตให้ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (บมจ.ปตท.) นำสิทธิการเช่าที่ราชพัสดุ จำนวน 31 แปลง รวม 16 สัญญา ไปให้ บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (PTTOR) เช่าช่วงตามวัตถุประสงค์การเช่าเดิม โดยชำระค่าเช่าที่ราชพัสดุเพิ่มขึ้นร้อยละ 25 ของค่าเช่าเดิม เนื่องจาก ข้อ 1 กรณีสัญญาเช่าปัจจุบันระหว่างกรมธนารักษ์กับ บมจ.ปตท. นั้น ผลประโยชน์ที่ บมจ.ปตท. แสวงหาได้จากที่ราชพัสดุดังกล่าว ส่วนใหญ่ตกกลับเป็นของกระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และเนื่องจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) สามารถตรวจสอบ บมจ.ปตท. ดังนั้น กระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นจึงย่อมจะมั่นใจได้ว่า จะได้รับส่วนแบ่งจากการทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุดังกล่าวอย่างเป็นธรรม
ข้อ 2 แต่ บมจ.ปตท. ได้แถลงข่าวชัดแจ้งว่า มีนโยบายที่จะถือหุ้นใน PTTOR ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ผลประโยชน์ที่หาได้จากที่ราชพัสดุดังกล่าว ไม่ตกกลับเป็นของกระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้น ตามสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่ใน บมจ.ปตท. เช่นเดิม แต่จะได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าเดิมมาก ประกอบกับ สตง. ไม่สามารถตรวจสอบ PTTOR ได้ กระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นจึงย่อมจะไม่สามารถมั่นใจได้ว่าได้รับส่วนแบ่งจากการทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุดังกล่าวอย่างเป็นธรรม
ข้อ 3 การที่กรมธนารักษ์กำหนดอัตราค่าเช่าที่ราชพัสดุซึ่งอาจจะต่ำกว่ามูลค่าตามราคาตลาดอยู่บ้าง แต่เนื่องจากผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกลับเป็นของกระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ความเสียหาย (ถ้ามี) จึงไม่มากนัก แต่ในกรณีข้อ 2 นั้น เนื่องจากมีผลเป็นการเอาที่ราชพัสดุออกให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ของบริษัทเอกชนที่ บมจ.ปตท. จะถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 และจะเป็นองค์กรที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการตรวจสอบของ สตง. ดังนั้น ถ้าหากกรมธนารักษ์กำหนดอัตราค่าเช่าที่ราชพัสดุในกรณีข้อ 2 ที่ต่ำกว่ามูลค่าตามราคาตลาด สำหรับที่ดินในลักษณะเดียวกันที่ใช้เพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ก็จะเป็นการทำให้ราชการเสียประโยชน์ที่จะพึงได้ และอาจจะเป็นการดำเนินการที่ผิดมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ 4 นอกจากนี้ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ปตท. และในฐานะผู้ที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของรัฐ ควรพิจารณาความเหมาะสมของโครงการแยกกิจการและทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ออกไปไว้ในบริษัทลูกที่ บมจ.ปตท. จะถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 อย่างรอบคอบ เพราะถ้าหากการตีราคาทรัพย์สินที่โอนไปดังกล่าวไม่เป็นธรรมแก่รัฐ ก็จะทำให้กระทรวงการคลังได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่จะโอน อาจจะรวมไปถึงทรัพยสิทธิที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งอาจจะเป็นทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างข้อพิพาทว่ามิได้มีการโอนให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550อย่างครบถ้วน
“ข้าพเจ้าได้มีหนังสือถึงท่านจำนวนกว่า 20 ฉบับ แต่จนบัดนี้ ท่านก็ยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาของแต่ละกรณีเพื่อให้โอกาสข้าพเจ้าในฐานะผู้ร้องเรียนสามารถโต้แย้งก่อนที่จะปิดสำนวน เพื่อปฏิบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 จึงขอเร่งรัดให้ท่านปฏิบัติตามกฎหมายด้วย” นายธีระชัยระบุในช่วงท้าย.
ข้อ 2 แต่ บมจ.ปตท. ได้แถลงข่าวชัดแจ้งว่า มีนโยบายที่จะถือหุ้นใน PTTOR ต่ำกว่าร้อยละ 50 ซึ่งจะทำให้ผลประโยชน์ที่หาได้จากที่ราชพัสดุดังกล่าว ไม่ตกกลับเป็นของกระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้น ตามสัดส่วนที่ถือหุ้นอยู่ใน บมจ.ปตท. เช่นเดิม แต่จะได้ในสัดส่วนที่น้อยกว่าเดิมมาก ประกอบกับ สตง. ไม่สามารถตรวจสอบ PTTOR ได้ กระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นจึงย่อมจะไม่สามารถมั่นใจได้ว่าได้รับส่วนแบ่งจากการทำประโยชน์ในที่ราชพัสดุดังกล่าวอย่างเป็นธรรม
ข้อ 3 การที่กรมธนารักษ์กำหนดอัตราค่าเช่าที่ราชพัสดุซึ่งอาจจะต่ำกว่ามูลค่าตามราคาตลาดอยู่บ้าง แต่เนื่องจากผลประโยชน์ส่วนใหญ่ตกกลับเป็นของกระทรวงการคลังและองค์กรภาครัฐที่เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อย่างเห็นได้ชัด ความเสียหาย (ถ้ามี) จึงไม่มากนัก แต่ในกรณีข้อ 2 นั้น เนื่องจากมีผลเป็นการเอาที่ราชพัสดุออกให้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เพื่อประโยชน์ของบริษัทเอกชนที่ บมจ.ปตท. จะถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 และจะเป็นองค์กรที่อยู่นอกเหนือขอบเขตการตรวจสอบของ สตง. ดังนั้น ถ้าหากกรมธนารักษ์กำหนดอัตราค่าเช่าที่ราชพัสดุในกรณีข้อ 2 ที่ต่ำกว่ามูลค่าตามราคาตลาด สำหรับที่ดินในลักษณะเดียวกันที่ใช้เพื่อการพาณิชย์อย่างเต็มรูปแบบ ก็จะเป็นการทำให้ราชการเสียประโยชน์ที่จะพึงได้ และอาจจะเป็นการดำเนินการที่ผิดมาตรา 157 แห่งประมวลกฎหมายอาญา
ข้อ 4 นอกจากนี้ กระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ปตท. และในฐานะผู้ที่ต้องดูแลผลประโยชน์ของรัฐ ควรพิจารณาความเหมาะสมของโครงการแยกกิจการและทรัพย์สินของ บมจ.ปตท. ออกไปไว้ในบริษัทลูกที่ บมจ.ปตท. จะถือหุ้นต่ำกว่าร้อยละ 50 อย่างรอบคอบ เพราะถ้าหากการตีราคาทรัพย์สินที่โอนไปดังกล่าวไม่เป็นธรรมแก่รัฐ ก็จะทำให้กระทรวงการคลังได้รับความเสียหาย นอกจากนี้ ทรัพย์สินที่จะโอน อาจจะรวมไปถึงทรัพยสิทธิที่ได้มาจากอำนาจมหาชนของรัฐ รวมทั้งอาจจะเป็นทรัพย์สินที่อยู่ระหว่างข้อพิพาทว่ามิได้มีการโอนให้แก่กระทรวงการคลังเพื่อปฏิบัติตามคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด คดีหมายเลขแดงที่ ฟ.35/2550อย่างครบถ้วน
“ข้าพเจ้าได้มีหนังสือถึงท่านจำนวนกว่า 20 ฉบับ แต่จนบัดนี้ ท่านก็ยังมิได้แจ้งผลการพิจารณาของแต่ละกรณีเพื่อให้โอกาสข้าพเจ้าในฐานะผู้ร้องเรียนสามารถโต้แย้งก่อนที่จะปิดสำนวน เพื่อปฏิบัติตามมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางการปกครอง พ.ศ.2539 จึงขอเร่งรัดให้ท่านปฏิบัติตามกฎหมายด้วย” นายธีระชัยระบุในช่วงท้าย.