วานนี้ (6 เม.ย.) นพ.สุรเชษฐ์ สถิตินิรามัย อดีตกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ยอมรับว่าได้ยื่นหนังสือลาออกจาการเป็นกก.สิทธิฯ จริง โดยเหตุผลว่าเป็นเพราะบรรยากาศไม่เอื้อต่อการทำงาน มันขับเคลื่อนไปข้างหน้าไม่ได้ ที่ผ่านมาก็พยายามปรับเปลี่ยนการทำงานภายใน เพื่อให้เดินหน้าต่อไปได้ แต่มันก็มีเรื่องอื่นๆอีกเยอะ
"ผมก็เลยจำเป็นต้องฮาราคีรีตัวเอง เพื่อให้องค์กรรู้ตัวบ้าง ซึ่งก็หวังว่าการลาออกของผม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงจากภายในสำคัญที่สุด องค์กรต้องเข้มแข็ง ต้องเดินหน้าเพราะองค์กรนี้เป็นประโยชน์กับสังคม ตัวบุคคลมาแล้วมันก็ต้องไป ตัวกรรมการสิทธิฯ มาแล้วก็ต้องไป" นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กก.สิทธิฯ กล่าวว่า หลายคนมีความอดทน อดกลั้น พยายามที่จะทำงาน แต่ว่าความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร ความมีธรรมาภิบาล การยอมรับ มันก็สำคัญ มันไม่ใช่จะยึดเสียงข้างมากอย่างเดียว ต้องรับฟังเสียงข้างน้อย และสุดท้ายมันก็ต้องเคารพกัน ส่วนตัวชื่นชม นพ.สุรเชษฐ์ เพราะก็พยายามอดทน อดกลั้นมา นาน แต่เมื่อวันหนึ่งมันทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ จนไม่เป็นผลดี ทุกคนก็ต้องทบทวน ตนเองก็ไม่อยากให้การลาออกของนพ.สุรเชษฐ์ สูญเปล่า อยากเห็นการแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนการทำงาน ซึ่งต้องเปิดใจกว้างยอมรับความจริง และรับฟังความเห็น มติต้องเป็นมติ ความมีอิสระ การให้เกียรติกันต้องมี
เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า ปัญหาความแตกแยกจะทำให้รัฐบาลใช้ ม. 44 ยุบ กสม. นางอังคณา กล่าวว่า ส่วนตัวไม่กลัว เพราะไม่ว่าตัวเองจะมีสถานะเป็นกสม.หรือไม่ ตนเองก็ทำงานด้านสิทธิฯ มาตลอดอยู่แล้ว และต้องยอมรับว่า การทำงานของกสม. ทำหน้าที่ปกป้องประชาชน ไม่ใช่ปกป้องรัฐ
"ตัวเองก็ยังไม่รู้จะอยู่อีกนานแค่ไหน ยอมรับว่า ช่วงปีกว่าต้องใช้ความอดทน หลายครั้งกดดัน แต่ก็พยายามที่จะทำงาน เรื่องเนื้องานถ้าเรายืนอยู่บนหลักการ ผิดถูกว่าไปตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งบางครั้งอาจจะกว้างกว่ากฎหมายก็ได้ แต่ปัญหาก็อย่างที่หมอสุรเชษฐ์บอก เป็นเรื่องบรรยากาศในการทำงาน ถ้าบรรยากาศเป็นมิตร ไม่มีอคติ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มองคนที่คิดต่างไม่ใช่พวก รับฟังกันงานที่เรามุ่งมั่นทำมันก็จะไปได้มากกว่านี้ ที่ผ่านมาก็โดนเยอะเหมือนกัน ก็พยายามทุกวิถีทางที่จะทำงาน แต่ถ้ามีการก้าวล่วงในหลักการก็จะไม่ยอม ซึ่งส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ไม่ลาออกก็อาสาเข้ามา เคยแถลงในที่ประชุมหลายครั้งว่า หากใครก็ตามเห็นว่าเราทำงานไม่ได้ หรือทำงานแล้วทำให้เกิดความเสียหาย ก็เสนอถอดถอนต่อรัฐสภาได้ ไม่เว้นแม้แต่ กสม.ด้วยกันก็เสนอได้ เรามาตามกฎหมายก็ยินดีและเต็มใจที่จะไปตามกฎหมาย แต่ถ้าหากเรายังมีอำนาจหน้าที่และกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนถ้าไม่ได้ทำงานเต็มที่ก็ละอายใจ นี่ก็ทบทวนตัวเองทุกวันไม่ได้ยึดติด ถ้าเมื่อไรหลักการทำงานที่เราเคารพต้องเสียไป ก็ต้องพิจารณาตัวเองต้องยอมถอย แต่ก็จะชี้แจงกับสาธารณะ ว่ามันทำไม่ได้เพราอะไร "
ด้านนางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กสม. ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าว แต่ระบุว่า นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. เตรียมที่จะแถลงข่าวเรื่องนี้เร็วๆ นี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายวัส ติงสมิตร ประธานกสม. อยู่ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ ซึ่งปัญหาความขัดแย้งภายในกสม. สาเหตุหลักน่าจะมาจาก กสม. ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับท่าที การบริหารงาน การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกสม. ของประธาน กสม.
"ผมก็เลยจำเป็นต้องฮาราคีรีตัวเอง เพื่อให้องค์กรรู้ตัวบ้าง ซึ่งก็หวังว่าการลาออกของผม จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เพราะการเปลี่ยนแปลงจากภายในสำคัญที่สุด องค์กรต้องเข้มแข็ง ต้องเดินหน้าเพราะองค์กรนี้เป็นประโยชน์กับสังคม ตัวบุคคลมาแล้วมันก็ต้องไป ตัวกรรมการสิทธิฯ มาแล้วก็ต้องไป" นพ.สุรเชษฐ์ กล่าว
ด้านนางอังคณา นีละไพจิตร กก.สิทธิฯ กล่าวว่า หลายคนมีความอดทน อดกลั้น พยายามที่จะทำงาน แต่ว่าความเป็นประชาธิปไตยในองค์กร ความมีธรรมาภิบาล การยอมรับ มันก็สำคัญ มันไม่ใช่จะยึดเสียงข้างมากอย่างเดียว ต้องรับฟังเสียงข้างน้อย และสุดท้ายมันก็ต้องเคารพกัน ส่วนตัวชื่นชม นพ.สุรเชษฐ์ เพราะก็พยายามอดทน อดกลั้นมา นาน แต่เมื่อวันหนึ่งมันทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกาย จิตใจ จนไม่เป็นผลดี ทุกคนก็ต้องทบทวน ตนเองก็ไม่อยากให้การลาออกของนพ.สุรเชษฐ์ สูญเปล่า อยากเห็นการแก้ไขปัญหาการปรับเปลี่ยนการทำงาน ซึ่งต้องเปิดใจกว้างยอมรับความจริง และรับฟังความเห็น มติต้องเป็นมติ ความมีอิสระ การให้เกียรติกันต้องมี
เมื่อถามว่า เกรงหรือไม่ว่า ปัญหาความแตกแยกจะทำให้รัฐบาลใช้ ม. 44 ยุบ กสม. นางอังคณา กล่าวว่า ส่วนตัวไม่กลัว เพราะไม่ว่าตัวเองจะมีสถานะเป็นกสม.หรือไม่ ตนเองก็ทำงานด้านสิทธิฯ มาตลอดอยู่แล้ว และต้องยอมรับว่า การทำงานของกสม. ทำหน้าที่ปกป้องประชาชน ไม่ใช่ปกป้องรัฐ
"ตัวเองก็ยังไม่รู้จะอยู่อีกนานแค่ไหน ยอมรับว่า ช่วงปีกว่าต้องใช้ความอดทน หลายครั้งกดดัน แต่ก็พยายามที่จะทำงาน เรื่องเนื้องานถ้าเรายืนอยู่บนหลักการ ผิดถูกว่าไปตามกฎหมาย ตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งบางครั้งอาจจะกว้างกว่ากฎหมายก็ได้ แต่ปัญหาก็อย่างที่หมอสุรเชษฐ์บอก เป็นเรื่องบรรยากาศในการทำงาน ถ้าบรรยากาศเป็นมิตร ไม่มีอคติ มีการยอมรับซึ่งกันและกัน ไม่มองคนที่คิดต่างไม่ใช่พวก รับฟังกันงานที่เรามุ่งมั่นทำมันก็จะไปได้มากกว่านี้ ที่ผ่านมาก็โดนเยอะเหมือนกัน ก็พยายามทุกวิถีทางที่จะทำงาน แต่ถ้ามีการก้าวล่วงในหลักการก็จะไม่ยอม ซึ่งส่วนหนึ่งที่ยังอยู่ไม่ลาออกก็อาสาเข้ามา เคยแถลงในที่ประชุมหลายครั้งว่า หากใครก็ตามเห็นว่าเราทำงานไม่ได้ หรือทำงานแล้วทำให้เกิดความเสียหาย ก็เสนอถอดถอนต่อรัฐสภาได้ ไม่เว้นแม้แต่ กสม.ด้วยกันก็เสนอได้ เรามาตามกฎหมายก็ยินดีและเต็มใจที่จะไปตามกฎหมาย แต่ถ้าหากเรายังมีอำนาจหน้าที่และกินเงินเดือนจากภาษีประชาชนถ้าไม่ได้ทำงานเต็มที่ก็ละอายใจ นี่ก็ทบทวนตัวเองทุกวันไม่ได้ยึดติด ถ้าเมื่อไรหลักการทำงานที่เราเคารพต้องเสียไป ก็ต้องพิจารณาตัวเองต้องยอมถอย แต่ก็จะชี้แจงกับสาธารณะ ว่ามันทำไม่ได้เพราอะไร "
ด้านนางประกายรัตน์ ต้นธีรวงศ์ กสม. ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อกรณีดังกล่าว แต่ระบุว่า นายวัส ติงสมิตร ประธาน กสม. เตรียมที่จะแถลงข่าวเรื่องนี้เร็วๆ นี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่า นายวัส ติงสมิตร ประธานกสม. อยู่ระหว่างเดินทางไปปฏิบัติภารกิจที่ต่างประเทศ ซึ่งปัญหาความขัดแย้งภายในกสม. สาเหตุหลักน่าจะมาจาก กสม. ส่วนหนึ่งไม่เห็นด้วยกับท่าที การบริหารงาน การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานกสม. ของประธาน กสม.